ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSua Plai'nukool ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
โดย คุณนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มเพื่อนประชาชน
สรุปเวที อนาคตผู้ใช้แรงงานกับการปฏิรูปประเทศไทย วันเสาร์ที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ โดย คุณนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มเพื่อนประชาชน
2
กล่าวเปิดเวทีและบรรยายพิเศษ
โดย อาจารย์สุจิต บุญบงการ ประธานสภาพัฒนาการเมือง การปฏิรูปประเทศไทยเป็นสิ่งที่ทุกคนปารถนา ซึ่งที่สำคัญคือทุกภาคส่วนต้องมีบทบาทในขั้นตอนเหล่านี้ ทั้งนี้ผู้ใช้แรงงานเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่และมีบทบาทที่สำคัญในประเทศ โดยเฉพาะในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม งานบริการ หรือแม้แต่เกษตรกรรม ซึ่งคนเหล่านี้คือผู้ใช้แรงงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติ ดังนั้นการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความมั่นคงและเจริญก้าวหน้าตามระบอบประชาธิปไตย ก็ไม่สามารถมองข้ามผู้ใช้แรงงานได้ และปัญหาหนึ่งของคนงานก็คือปัญหาด้านการเลือกตั้งที่ยังไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงของคนงาน
3
กล่าวเปิดเวทีและบรรยายพิเศษ (ต่อ)
โดย อาจารย์สุจิต บุญบงการ ประธานสภาพัฒนาการเมือง ทั้งนี้ประเทศตะวันตกและยุโรปหลายประเทศกว่าจะมาถึงรูปแบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมก็ได้ฟันฝ่าอุปสรรคกันมามากมายจนถึงปัจจุบันภายใต้ข้อจำกัดที่ต่างกันออกไป เช่น สิทธิเลือกตั้งที่จำกัดทางเพศ หรือการให้สิทธิเลือกตั้งตามฐานะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น สิ่งที่สำคัญกว่าคือ การกระตุ้นให้ประชาชนรู้ถึงความเป็นพลเมืองของตนเอง ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
4
เวที “วิเคราะห์สถานการณ์ประเทศไทย (ในมิติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม) ที่ส่งผลต่อผู้ใช้แรงงาน”
นำเสนอโดย คุณศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการแรงงานอิสระ ผศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ดำเนินรายการโดย คุณสุนี ไชยรส
5
คุณศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา
การปฏิรูปเราต้องมองภาพใหญ่ในระดับมหภาค ซึ่งต้องมองโครงสร้างสังคมที่แบ่งเป็นสามส่วน คือ ภาคเศรษฐกิจ , การเมือง และสังคม ซึ่งโครงสร้างทั้ง ๓ ส่วนนี้ไม่เอื้อต่อผู้ใช้แรงงานที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ทางเศรษฐกิจ ความเป็นเสรีนิยมทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนมาก การเมือง ที่เป็นประชาธิปไตยแบบเน้นที่รูปแบบ แต่เมื่อดูเนื้อหาแล้วไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะเป็นการกำหนดจากคนส่วนน้อย รัฐไทยจึงเป็นเวทีแห่งการช่วงชิงแบ่งปันผลประโยชน์ และอำนาจของชนชั้นสูง ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดวิกฤตทางการเมืองเช่นปัจจุบัน สังคมและวัฒนธรรม ภายใต้ระบบศักดินา ถูกอุดมการหล่อหลอมภายใต้การยอมจำนนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นการตอกย้ำกระบวนการผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำทางสังคม
6
คุณศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา (ต่อ)
การปฏิรูปคือการแก้โจทย์ทั้งสามอย่าง ได้แก่ เศรษฐกิจ ตลาดเสรีที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็ต้องเปลี่ยนให้เป็น Social Market Economy ซึ่งมีรัฐเข้าไปกำกับแทรกแซงการตลาดเพื่อความเป็นธรรม การเมือง ต้องเป็นประชาธิปไตยที่มีส่วนร่วมมากกว่านี้ ต้องไม่ใช่การกำหนดจากเฉพาะคนในสภา ต้องเป็นประชาธิปไตยทางตรง ไม่ผูกขาดจากผู้มีอำนาจทางการเงิน ประชาธิปไตยแบบผู้แทนต้องสะท้อนถึงความหลากหลายจากภาคส่วนต่างๆ สังคมและวัฒนธรรม เราต้องเปลี่ยนคุณภาพของประชาชน ให้มีความรู้เท่าทันทางการเมือง พัฒนาประชาชนให้เป็นพลเมือง ต้องมีการพูดถึง Social Democracy
7
คุณศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา (ต่อ)
สิ่งสำคัญที่สุดคือ คนงานขณะนี้มีการรวมตัวที่อ่อนแอ ดังนั้นเราต้องพัฒนาให้มีการรวมตัวที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างอำนาจในการเจรจาต่อรอง เราต้องคิดรูปแบบในการจัดตั้งใหม่ในลักษณะการผนึกรวมตัวกันระหว่างสหภาพแรงงาน ภาคประชาชน และองค์กรเคลื่อนไหวต่างๆ ในลักษณะของ “ขบวนการทางสังคม” ร่วมกันในการขับเคลื่อนเพื่อกดดันเจรจากับภาครัฐ และมีความเห็นว่ากระบวนการในการปฏิรูปขณะนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
8
ผศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ การปฏิรูป คือ การสร้างสมดุลย์ใหม่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประชาธิปไตยต้องเป็นแบบทางตรงที่ควบคุมประชาธิปไตยแบบตัวแทนในปัจจุบัน เป็นประชาธิปไตยแบบเป็นส่วนร่วม สิทธิเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก็ต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ต้องสร้างสถาบันที่เป็นทางการภายใต้กติกาที่เป็นทางการ (กฎหมาย) เพื่อลดการแทรกแซงจากอำนาจของชนชั้นนำ สร้างอำนาจประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง โดยประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม
9
ผศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ (ต่อ)
โครงสร้างอำนาจทางการเมือง ได้แบ่งคนจำนวนมหาศาลให้อยู่นอกโครงสร้างอำนาจทางการเมือง โดยโครงสร้างอำนาจทางการเมืองปัจจุบัน เป็นลกัษณะสามเหลี่ยมที่เอื้อผลประโยชน์การเมืองต่อกัน คือ สถาบันประเพณี “การสร้างอุดมการณ์รัฐ ให้เป็นอุมดมการณ์ทางสังคม ทำให้เกิดสัญลักษณ์ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมทางอำนาจ” ระบบอำมาต “เป็นระบบที่มีความจงรักษ์ภักดีต่อสถาบันทางประเพณี โดยเป็นสื่อในการนำอุดมการณ์จากด้านบนมาใช้” เครือข่ายผู้ทรงอิทธิพล ภายใต้ระบอบอุปถัมภ์ “ซึ่งจะเป็นผู้มีอิทธิพลและเป็นชนชั้นนำในชุมชน เข้าไปมีบทบาทในกระบวนการต่างๆ และปัจจุบันได้พัมนาเข้าไปสู่ระบบการปกครองที่เป็นทางการมากขึ้น”
10
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
ศูนย์กลางการปฏิรูป คือ การปรับปรุงโครงสร้างอำนาจ โครงสร้างทางเศรษกิจ ซึ่งกรรมการและสมัชชาปฏิรูป ไม่ใช่ผู้แก้ปัญหาการปฏิรูปประเทศไทย แต่เป็นเพียงการจุดประกายการปฏิรูป เพื่อให้ประชาชนออกมาแก้ไขปฏิรูปปัญหาของตนเอง ปัญหาของผู้ใช้แรงงานแทบไม่ได้รับความสนใจจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเลย นายทุน มองแรงงานเป็นภาระเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต นักการเมือง/ผู้กุมอำนาจรัฐ ก็คือนายทุน ผู้ใช้แรงงานเองก็ไม่ใช่ใจเรียนรู้ของวิวัฒนาการของโลกที่เปลี่ยนไป คนงานให้เวลาส่วนใหญ่กับการทำงานล่วงเวลา
11
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (ต่อ)
๖ ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่มีผลต่อคนงาน เราจะมีประชากรชราภาพมากขึ้น และรัฐบาลเองก็ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในการรับมือต่อปัญหาของคนงานเอกชนที่ปลดเกษียณอายุ ๕๕ ปี ซึ่งภายใน ๑๕ ปี จะมีประชากร ๘๐ ล้านคน แต่มีวัยทำงานเพียง ๔๐ ล้านคน จากนี้ไปทุกประเทศจะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณของตนเอง ก็จะลดรายจ่ายภาครัฐลงอาจจะมากถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อหลายประเทศลดงบประมาณจะลดการนำเข้า ก็จะทำให้ประเทศส่งออกอย่างเราเกิดผลกระทบ ทำให้ค่าจ้างคนงานมีปัญหาและส่งผลต่อตลาดในประเทศ กองทุนประกันสังคมในอนาคตอันใกล้จะมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ การทำให้เงินเพิ่มคือการเพิ่มค่าจ้างคนงานเพื่อเพิ่มอัตราการสมทบ ต้องนำแรงงานนอกระบบและข้ามชาติเข้าประกันสังคม
12
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (ต่อ)
๖ ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่มีผลต่อคนงาน (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้าง แต่การเลือกตั้งยังไม่สอดคล้องกับชีวิตคนงาน ดังนั้นการเลือกตั้งต้องสามารถใช้สิทธิในพื้นที่ทำงานเป็นสิ่งถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงของโลกในสิบปีนี้ อำนาจทางการเมืองจะย้ายมาอยู่ทางเอเซีย คือจีน และอินเดีย เพราะขณะนี้ระบบทุนนิยมมีปัญหา แนวคิด Social Market Economy จึงกำลังจะกลับมาเป็นแนวทางปฏิรูปของเศรษฐกิจโลก Global Warming จะทำให้เกิดการลดการผลิตภาคอุตสาหกรรมและกลับมาสู่ภาคเกษตรมากขึ้น
13
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (ต่อ)
การปฏิรูปประเทศไทย เราต้องปฏิรูปขบวนการแรงงานก่อนให้มีเอกภาพของขบวนการแรงงาน ไม่ใช่เป็นขบวนการแรงงานที่แตกแยกและคานอำนาจกันเองเช่นที่เป็นอยู่ปัจจุบัน วาระในการปฏิรูปของกรรมการปฏิรูป มี ๑๔ หัวข้อ ซึ่งเรื่องของคนงานเป็นหนึ่งในนั้น
14
คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข
ปัจจุบันสังคมเราถูกครอบโดยระบบจริงๆ ดังนั้นทิศทางการกำหนดการเปลี่ยนแปลงต้องเอื้อต่อความมั่นคงในชีวิต ไม่ว่าการทำงานหรือการดำรงชีพ ซึ่งระบบตัวแทนในปัจจุบัน ไม่เป็นทางออกในการปฏิรูปได้จริง ดังนั้นเราจะจัดขบวนกันอย่างไร เพื่อร่วมกำหนดทิศทางของประเทศในการสร้างความมั่นคงของความเป็นมนุษย์ตลอดชีวิต ข้อเสนอในเรื่องหลักประกันทางสังคม มีความจำเป็นมากในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งภาคประชาชนก็ต้องมีการขับเคลื่อนข้อเสนอให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
15
คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข
ช่องว่างระหว่างภาคประชาชน และคณะกรรมการปฏิรูปที่มีอยู่มีอยู่มาก เราต้องลดช่องว่างเหล่านี้ โดยการปรับขบวนให้มีการเชื่อมต่อข้อเสนอ นำประเด็นข้อเสนอภาคประชาชนเข้ามาในการพิจารณาหาทางออก ภาคประชาชนก็ต้องวางยุทธวิธีในการขับเคลื่อนร่วมกัน เพื่อผลักดันข้อเสนอเข้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เวทีเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ กลไกปฏิรูปก็จะเกิดประโยชน์มากขึ้น และต้องขับเคลื่อนให้คณะปฏิรูป ตั้งอนุกรรมการที่เป็นผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆที่มีความเข้าใจในสภาพปัญหาที่ชัดเจน ที่สุดของการเปลี่ยนแปลง ประชาชนต้องเป็นผู้กำหนดอนาคตของตนเอง และต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับมัน
16
“ข้อเสนอของผู้ใช้แรงงาน ต่อการปฏิรูปประเทศไทย”
เวทีนำเสนอ “ข้อเสนอของผู้ใช้แรงงาน ต่อการปฏิรูปประเทศไทย” คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย คุณชาลี ลอยสูง ประธาน TEAM คุณชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ ประธานสหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินฯ ดำเนินรายการโดย คุณสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
17
๑๐ ประเด็น ข้อเสนอ รับรองอนุสัญญา ILO 87,98 ค่าจ้างที่เป็นธรรม
สิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ทำงาน สถานประกอบการ พรบ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูปประกันสังคม ศูนย์เลี้ยงเด็ก คุ้มครองแรงงานนอกระบบ คุ้มครองแรงงานข้ามชาติ กองทุนประกันความเสี่ยง
18
“ความเห็นต่อข้อเสนอของผู้ใช้แรงงาน
จะทำอย่างไรให้ไปสู่ความป็นจริง…?” รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณอัภยุทธ์ จันทรพา ผู้ประสานงานเครือข่ายสลัม ๔ ภาค ดำเนินรายการโดย คุณสาวิทย์ แก้วหวาน
19
รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ ข้อเสนอต่างๆ เป็นข้อเสนอที่ขับเคลื่อนมานาน ดังนั้นขณะนี้ควรมาพิจารณากันว่าที่เราไม่สามารถขับเคลื่อนจนบรรลุได้เพราะอะไร เป็นรายประเด็นไป ที่สำคัญคือเราเป็นเหยื่อของการครอบงำทางความเชื่อมาอย่างยาวนาน ดังนั้นเราต้องสลัดสิ่งเหล่านี้ออกไป และสร้างความเป็นเอกภาพของขบวนการแรงงาน ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจของคนงานให้ตรงกันในประเด็นต่างๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการขับเคลื่อนเรื่องนั้นๆ
20
รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ จะทำอย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ มีรายได้ที่เพียงพอต่อการครองชีพและเลี้ยงดูครอบครัว ต้องไม่ด้อยไปกว่าอาชีพอื่นๆ การต่อสู้เรื่องค่าจ้างเป็นเป็นค่าจ้างที่เป็นธรรม ไม่ใช่ต่อสู้แค่พอกินไปวันๆเท่านั้น จะทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งความมั่นคงในการทำงาน
21
คุณอัภยุทธ์ จันทรพา ทุกขบวนการภาคประชาชนต้องมีการจัดตั้งที่เข้มแข็ง และพัฒนาจิตสำนึกทางชนชั้นขึ้นให้ได้ การพัฒนาองค์ความรู้ของมวลชนผ่านกระบวนการต่างๆ มิติทางวัฒนธรรมของภาคประชาชน คนงานต้องสร้างเครือข่ายแนวร่วมการต่อสู้กับภาคประชาชนและองค์กรเคลื่อนไหวอื่นอย่างต่อเนื่อง ยกระดับขบวนการต่อสู้ของคนงานให้เป็นขบวนการทางสังคม ข้อเสนอที่สำคัญคือเรื่องรัฐสวัสดิการ สวัสดิการทางสังคม รวมถึงการเลือกตั้งในพื้นที่ทำงาน
22
ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตกุล
การผลักดันต้องมีการจัดลำดับความสำคัญก่อนว่า อะไรจะเป็นเรื่องหลักหรือเรื่องรอง เพราะไม่สามารถทำได้พร้อมกันหมด ประเด็นที่สำคัญคือ การเลือกตั้งตามข้อเสนอของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน แต่มันก็จะติดในเรื่องแก้ไขกฎหมายที่จะเป็นไปได้ยาก ทางออกคือการขอให้บังคับใช้ พ.ร.บ.ทะเบียนราษฏร์ ในการขอย้ายทะเบียนบ้านที่เช่าอยู่
23
ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตกุล
เรื่องค่าจ้างที่เป็นธรรม เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยพัฒนาเศรษฐกิจโดยการกดค่าแรง เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ เป็นผลทำให้คนงานไม่พอครองชีพ ก็เป็นผลต่อตลาดในประเทศ การขึ้นค่าจ้างต้องมากกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น และต้องเปลี่ยนแนวคิดรัฐบาลในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบกดขี่แรงงานแบบนี้ ต้องเปลี่ยนการส่งเสริมการลงทุนในลักษณะ Productivities เป็นแรงงานที่มีคุณภาพมีฝีมือ อีกเรื่องหนึ่งคือ สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงของคนงาน กรณีที่ถูกเลิกจ้าง
24
ข้อเสนอ 5 ประเด็นของแรงงาน
1. รับรองอนุสัญญา ILO 87, คะแนน 2. ค่าจ้างที่เป็นธรรม คะแนน 3. สิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ทำงาน สถานประกอบการ 48 คะแนน 4. พรบ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ คะแนน 5. ยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คะแนน 6. ปฏิรูปประกันสังคม คะแนน 7. ศูนย์เลี้ยงเด็ก คะแนน 8. คุ้มครองแรงงานนอกระบบ คะแนน 9. คุ้มครองแรงงานข้ามชาติ 9 คะแนน 10. กองทุนประกันความเสี่ยง คะแนน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.