งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจำแนกประเภทรายจ่าย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจำแนกประเภทรายจ่าย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจำแนกประเภทรายจ่าย
งบประมาณแผ่นดิน ยุทธนา พรหมณี

2 จำแนกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
จำแนกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ 2. รายจ่ายงบกลาง

3 1. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
หมายถึง รายจ่ายซึ่งกำหนดไว้สำหรับแต่ละส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

4 1. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 1. งบบุคลากร 2. งบดำเนินงาน 3. งบลงทุน 4. งบอุดหนุน 5. งบรายจ่ายอื่น

5 งบบุคลากร หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคล ในลักษณะ - เงินเดือน - ค่าจ้างประจำ - ค่าจ้างชั่วคราว - ค่าตอบแทนพนักงานราชการ

6 งบบุคลากร เงินเดือน คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการทุกเดือน ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีถือจ่ายประจำปี และรวมถึง เงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม รวม 15 รายการ เช่น ประธานสภา สส. สมาชิก วุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้าน เงินเพิ่มค่าวิชา เงินเพิ่มค่าภาษามลายู เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ เงินเบี้ยกันดาร ฯลฯ

7 งบบุคลากร 3. ค่าจ้างชั่วคราว 2. ค่าจ้างประจำ
คือ เงินที่จ่ายเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างประจำ ทุกเดือน ตามที่กำหนดในบัญชีถือจ่ายค่าจ้างประจำ 3. ค่าจ้างชั่วคราว คือ เงินที่จ่ายเป็นค่าจ้างสำหรับการทำงาน ปกติแก่ลูกจ้างชั่วคราว

8 งบบุคลากร 4. ค่าตอบแทนพนักงานราชการ
คือ เงินที่จ่ายเป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานให้แก่ พนักงานราชการ ตามอัตราที่กำหนดในประกาศ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ และเงินเพิ่ม อื่นที่จ่ายควบกับค่าตอบแทนพนักงานราชการ เช่น เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ

9 งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำในลักษณะ - ค่าตอบแทน - ค่าใช้สอย - ค่าวัสดุ - ค่าสาธารณูปโภค

10 งบดำเนินงาน 1. ค่าตอบแทน 2. ค่าใช้สอย
คือ เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้ทางราชการ เงินตอบแทนตำแหน่ง และเงินอื่น ๆให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล ค่าตอบแทนกรรมการตรวจคะแนน เงินรางวัล เงินสมนาคุณวิทยากร ค่าอาหารทำการนอกเวลา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ฯลฯ 2. ค่าใช้สอย คือ รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งการบริการ ค่าจ้างเหมาบริการ ซ่อมครุภัณฑ์ ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด ค่าจ้างเหมาพนักขับรถ ค่าจ้างเหมาขนย้ายสิ่งของ ค่าธรรมเนียมลงทะเบียน ค่าธรรมเนียมการขอจดทะเบียน ค่าใช้ในการเดินทางไปราชการ (ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ) ค่าเช่าอาคารสำนักงาน ค่าเช่าสถานที่ ค่าเช่ารถยนต์

11 งบดำเนินงาน 3. ค่าวัสดุ 4. ค่าสาธารณูปโภค
คือ รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของเมื่อใช้แล้วสิ้นเปลือง (เช่น ค่าวัสดุสำนักงาน ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ค่าวัสดุโฆษณา ค่าวัสดุไฟฟ้า ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว ค่าวัสดุก่อสร้าง และค่าวัสดุอื่น ๆ) สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีราคาต่อหน่วย ไม่เกิน 5,000 บาท 4. ค่าสาธารณูปโภค คือ รายจ่ายค่าบริการสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าไปรษณีย์ ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม ค่าเช่าสัญญาดาวเทียม

12 งบลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้เพื่อการลงทุน ในลักษณะ - ค่าครุภัณฑ์
ที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีราคาต่อหน่วย เกิน 5,000 บาท - ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เช่น อาคาร บ้านพัก สนาม สะพาน เขื่อน ฯลฯ

13 งบเงินอุดหนุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้เป็นค่าบำรุง
หรือเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินของหน่วยงานอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น 2 ประเภท

14 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 2. เงินอุดหนุนทั่วไป 1. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ คือ เงินที่ให้จ่ายตามวัตถุประสงค์ที่สำนัก งบประมาณกำหนด เช่น ค่าครุภัณฑ์ ทีดินและสิ่งก่อสร้าง 2. เงินอุดหนุนทั่วไป คือ เงินที่กำหนดให้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของรายการ เช่น ค่าบำรุงสมาชิกองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

15 งบรายจ่ายอื่น หมายถึง
รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใด หรือรายจ่ายที่สำนักงบประมาณกำหนด เช่น - เงินราชการลับ - ค่าจ้างที่ปรึกษา

16 2. รายจ่ายงบกลาง หมายถึง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใช้จ่าย

17 เช่น - เงินสำรองสมทบและเงินชดเชย - เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน
- เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ - ค่ารักษาพยาบาล - เงินช่วยการศึกษาบุตร - เงินช่วยเหลือข้าราชการ - เงินสำรองสมทบและเงินชดเชย - เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน - ค่าใช้จ่ายในการรักษาความมั่นคง ของประเทศ - เงินราชการลับในการรักษาความมั่นคง

18 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt การจำแนกประเภทรายจ่าย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google