ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ประเวศ ยอดยิ่ง 11 ก.ค. 56
2
จากนโยบายของรัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะสร้าง สังคมผู้ประกอบการขึ้นในประเทศไทย
โดยมีนโยบายอย่างชัดเจนในการส่งเสริม พัฒนา วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในการ พื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว กลยุทธ์ใหม่ในการส่งเสริม SMEs จึงต้องมุ่งสร้าง ผู้ประกอบการใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิด การสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นในประเทศ เติบโตและ เข้มแข็งยิ่งๆ ขึ้นไป
3
หัวข้อที่จะนำเสนอ 1. บทบาท หน้าที่ของศูนย์บ่มเพาะ
วิสาหกิจฯ วท.นครราชสีมา 2. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจของ มหาวิทยาลัย (UBI) 3. กองทุนตั้งตัวได้
4
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษา วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
โครงการนี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2549 รู้จักกันใน หลายชื่อ เช่น...... โครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ โครงการบ่มเพาะผู้ประกอการใหม่ โครงการหนึ่งวิทยาลัย หนึ่งธุรกิจ และชื่อปัจจุบัน : โครงการบ่มเพาะ ผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร ศูนย์บ่มเพาะฯ เป็นหน่วยงานสนับสนุน ส่งเสริม บ่มเพาะ ให้เกิดผู้ประกอบการใหม่
5
ศูนย์บ่มเพาะฯ เป็นหน่วยงานสนับสนุน ส่งเสริม บ่มเพาะ ให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ที่มีศักยภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และธุรกิจ ที่วิทยาลัยมีอยู่ มาวิจัย พัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ บริการที่ผู้เรียนทำ หรือผู้ประกอบการภายนอกมารับบริการ
6
วัตถุประสงค์ของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจฯ
1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาขีดความสามารถ ของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้ สามารถนำความรู้ ทักษะวิชาชีพไปประกอบธุรกิจได้ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน 2. เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์เชิงธุรกิจให้กับ ผู้ประกอบการใหม่ และผู้ประกอบการเดิม ให้สามารถ ประกอบการได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 3. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการใหม่และ ผู้ประกอบการเดิมได้ใช้บริการด้านงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และข้อมูลของศูนย์บ่มเพาะในการพัฒนา ธุรกิจของตนเอง
7
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการบ่มเพาะ
นักเรียน นักศึกษาปัจจุบัน ของสถานศึกษา สังกัด สอศ. หรือ ครู บุคลากร และศิษย์เก่าของสถานศึกษา สังกัด สอศ. หรือ ประชาชนทั่วไปที่สนใจประกอบธุรกิจ หรือ ผู้ประกอบการเดิมที่ต้องการพัฒนาธุรกิจ มีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้ประกอบการที่จะประสบ ความสำเร็จ สามารถเข้ารับการพัฒนาตามที่ศูนย์บ่มเพาะฯ จัด
8
บริการของศูนย์บ่มเพาะฯ
ธุรกิจเป้าหมาย : อุตสาหกรรม และบริหารธุรกิจ ให้บริการ : บริการใช้อาคาร เครื่องมือ อุปกรณ์ในการ ทำงาน บริการให้คำปรึกษา และดูแลจากพี่เลี้ยง (Mentor) ในเรื่องเริ่มต้นและการดำเนินธุรกิจ ศึกษาวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝึกอบรมให้ความรู้พื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาองค์การ เทคโนโลยีใหม่
9
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการฯ
1. ติดต่อ และสมัครได้ที่ศูนย์บ่มเพาะฯ 2. คณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติและความ เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการแต่ละโครงการ 3. รับการฝึกอบรม และปฏิบัติการทำแผนธุรกิจ 4. เสนอแผนธุรกิจให้คณะกรรมการพิจารณา ความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ
10
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการฯ
5. ดำเนินการ บ่มเพาะจนผู้ประกอบการใหม่ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นใจ 6. ประเมินผลสำเร็จของการทำธุรกิจ ผลตอบแทนที่เป็นกำไร...นร. นศ. เอาไป / ครุภัณฑ์ที่เกิดจากเงินลงทุน ขอคืนเมื่อจบ การศึกษา เพื่อให้รุ่นต่อไปสานต่อ
11
กระบวนการบ่มเพาะสำหรับ นร. นศ.
ปชส. โครงการ ดำเนินการต่อ เปลี่ยนแนว รับสมัคร /สรรหา สำเร็จ ไม่สำเร็จ สรุปผล /ประเมินผลการประกอบธุรกิจ คัดเลือกจาก ใบสมัคร ประเมินศักยภาพผู้เข้ารับการบ่มเพาะ ดำเนินการประกอบธุรกิจ (ใน/นอกสถานศึกษา) จัดตั้งกลุ่มธุรกิจ / เขียนแผนธุรกิจ / ประเมินแผน เข้ารับการอบรมการเป็นผู้ประกอบการ
13
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator : UBI)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เริ่มโครงการนี้เมื่อปลายปี 2547 โดย มุ่งหวัง... บ่มเพาะให้เกิด “บริษัทใหม่” (Start-Up) และให้เกิด “ผู้ประกอบการใหม่” (Entrepreneurs) ที่จะถูกฟูมฟักโดย ศูนย์/หน่วยบ่มเพาะ วิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI)
14
วัตถุประสงค์หลักของ UBI
Inspire : ผลักดัน และส่งเสริม ผลงานวิจัยของ สถาบันอุดมศึกษา มาแลงเป็นผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าสู่ ภาควิสาหกิจ Teach : ให้คำปรึกษา และข้อมูล ในการจัดตั้งบริษัทของ หน่วยงานบ่มเพาะและจัดฝึกอบรม ให้ผู้เข้าโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจในฐานะผู้ประกอบการ Connect : ประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อ อำนวยความสะดวกในการจัดตั้งบริษัท Create : ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ธุรกิจใหม่ และ ผู้ประกอบการรายใหม่ในภาคธุรกิจ
15
ขั้นตอนดำเนินงานของ UBI
1.รับสมัคร 2.ประเมินศักยภาพ 3.รับเข้าร่วมบ่มเพาะ 4.ฝึกอบรมและพัฒนา 5.เขียนแผนธุรกิจ 6.ประเมินแผนธุรกิจ 7.พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 8.ทดสอบตลาด 9.ประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจ 10.แผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์
16
ขั้นตอนดำเนินงานของ UBI
17
ปัจจุบันมีสถานบันอุดมศึกษาที่จัดตั้ง ศูนย์หรือหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ แล้วจำนวน 56 มหาวิทยาลัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 8 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ของ มรภ.นครราชสีมา (แม่ข่าย), ม.อุบลฯ, ม.วงษ์ชวลิตกุล, ม.ทส., มรภ.บุรีรัมย์, มรภ.สุรินทร์, มรภ.อุบลฯ, มทร.อีสาน ดูรายละเอียดที่
18
สำหรับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา สอศ
สำหรับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา สอศ. ได้เลือกให้สถานศึกษา จำนวน 15 แห่ง มีศักยภาพจัดตั้งเป็น “ศูนย์บ่มเพาะในการ บูรณาการสหวิชาชีพ” ในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี, ?
19
ที่จัดอบรมโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ในวันที่ 11-13 ก. ค
ที่จัดอบรมโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ในวันที่ ก.ค. 56 เพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก พัฒนาศักยภาพผู้เรียน ให้มีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการในระหว่างศึกษา โดยมีทุนประกอบธุรกิจให้ (20,000) และจะเป็นตัวแทนวิทยาลัยในการประกวด /เสนอผลงานในเรื่องของบ่มเพาะวิสาหกิจ
21
กองทุนตั้งตัวได้ นโยบายรัฐบาย นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัฒน์
กองทุนตั้งตัวได้ นโยบายรัฐบาย นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัฒน์ เพื่อ ส่งแสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้าง วิสาหกิจ นวัตกรรม และแนวทางเศรษฐกิจใหม่ มติ ครม. ให้จัดตั้ง กองทุนตั้งตัวได้ เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 55 อยู่ในการบริหารของสำนักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) งบประมาณ 2556 : 5,000 ล้านบาท ปี 2557 : 5,000 ล้านบาท 2558 : 10,000 ล้านบาท และ : 20,000 ล้านบาท (กู้ยืม แบบคงเงินต้น) เป้าหมาย ปี 2556 สร้างนักศึกษา ผู้ประกอบการ (ที่ได้รับการกู้ยืม) จำนวน 5,000 คน
22
หลักเกณฑ์การให้กู้ยืม เป็นระเบียบสำนักนายก ว่าด้วยกองทุนตั้งตัวได้ พ.ศ. 2555
- นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา/อาชีวศึกษา หรือ บุคคลที่สำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน 5 ปี (ต้องมี สัญชาติไทย) ร่วมกับธนาคาร / สมาคมศิษย์เก่า / ผู้ทรงคุณวุฒิ ในแต่ละสาขาวิชา พิจารณาให้สิ้นเชื่อลงทุน (มีคณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งตัวได้ กำหนด) - ต้องสมัครเข้ารับการบ่มเพาะวิสาหกิจ และพัฒนา เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ (Product) จากหน่วย ABI (Authorized Business Incubators ซึ่งเป็นหน่วย UBI เดิม)
23
ขั้นตอนการเข้าร่วมกองทุนตั้งตัวได้
1. มีสัญชาติไทย ต้องเป็น นศ.ปัจจุบันหรือจบ มาแล้วไม่เกิน 5 ปี ใน ม.หรือ อาชีวะในประเทศไทย 2. มีไอเดียธุรกิจ และ Business Model 3. สมัครเข้าอบรม/พัฒนาจากศูนย์บ่มเพาะ (ABI-56 แห่ง) และผ่านการคัดเลือกจาก ABI 5. ผู้เข้าอบรมผ่านการประเมิน Business Planจาก ABI 6. กองทุนฯ ร่วมกับธนาคารให้กู้ไม่เกิน 1.0ล้าน 7. ดำเนินธุรกิจภายใต้การดูแลของ ABI และส่ง เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยในเวลาที่เหมาะสม
24
สอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้ที่
หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ทั่วประเทศ และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โทร , สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ติดต่อ คุณเจิดฤดี สำนักมาตรฐานการ อาชีวศึกษาและวิชาชีพ ขอบคุณ / สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.