ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ศึกษาการแก้ปัญหาพฤติกรรมการไม่ตั้งใจเรียน
งานวิจัยในชั้นเรียน ศึกษาการแก้ปัญหาพฤติกรรมการไม่ตั้งใจเรียน ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.ปีที่ 2 สาขางานการขาย วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ในรายวิชาการเงินส่วนบุคคลผู้วิจัย.. นางสาวสมฤทัย สมัยพิทักษ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
2
ปัญหาการวิจัย จากการจัดการเรียนการสอนวิชาการเงินส่วนบุคคล สำหรับนักเรียน สาขางานการขาย ห้อง ชกข.2/1 ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 28 คน ลักษณะเนื้อหารายวิชาเป็นทฤษฎี เมื่อทำการเรียนการสอนจะมีนักเรียนอยู่จำนวน 6 คน ที่ไม่ค่อยสนใจฟังและปฏิบัติตามที่ครูอธิบาย/สาธิต และมีการออกนอกเนื้อหาโดยการฟังเพลง เล่นเกมส์ในโทรศัพท์มือถือ เมื่อสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนทั้ง 6 คน ประมาณ 2 สัปดาห์จึงรู้ว่านักเรียนดังกล่าวไม่เคยปฏิบัติงานตามที่อาจารย์มอบหมายให้เมื่อถึงกำหนดเวลาส่งงานก็จะไปขอของเพื่อนมาดู/คัดลอก แล้วถึงจะมาส่งทุกครั้ง
3
ปัญหาการวิจัย (ต่อ) จึงทำให้ครูผู้สอนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว เพราะจะส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักเรียน จะทำให้นักเรียนได้คะแนนต่ำ อาจไม่ผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลได้ จากปัญหาดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นจะต้องแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการแก้ปัญหาพฤติกรรมการไม่ตั้งใจเรียนของนักเรียน ระดับชั้นปวช.2 สาขางานการขายวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต เพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการไม่ตั้งใจเรียนของนักเรียน และทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
4
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาพฤติกรรมการไม่ตั้งใจเรียนของนักเรียนระดับชั้น ปวช.ปีที่ 2 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน
5
กรอบแนวคิดการวิจัย สมมติฐานการวิจัย
การแก้ปัญหาพฤติกรรมการไม่ตั้งใจเรียน ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม พฤติกรรมการตั้งใจเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมมติฐานการวิจัย การแก้ปัญหาพฤติกรรมการไม่ตั้งใจเรียน ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
6
ระเบียบวิธีวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ การรวบรวม
นักเรียนระดับปวช.2 สาขางานการขาย ห้อง ชกข.2/1 จำนวน 28 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการเงินส่วนบุคคล ในภาคเรียนที่ 1/2556 ประชากร นักเรียนสาขางานการขาย ห้อง ชกข.2/1 จำนวน 6 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง 1. แบบทดสอบ เรื่อง การจัดทำงบการเงินส่วนบุคคล 2. แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกผลลงในแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน การรวบรวม
7
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ 1 แสดงคะแนนจากการประเมินพฤติกรรม ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จากตารางที่ 1 พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมในการเรียนที่ดีขึ้น รวมคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.67
8
ตารางที่ 2 แสดงคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
ตารางที่ 2 แสดงคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จากตารางที่ 2 พบว่า จากการทดสอบนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่องการจัดทำงบการเงินส่วนบุคคล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 8.33 คะแนน คิดเป็นร้อยละ ของคะแนนเต็ม และหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 14 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
9
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การทดสอบ N X S.D t ก่อนเรียน 6 8.33 1.366 8.500** หลังเรียน 14.00 1.789 จากตารางที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่องการจัดทำงบการเงินส่วนบุคคล ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
10
สรุปผลการวิจัย การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการไม่ตั้งใจเรียนของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.2 สาขางานการขายในรายวิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง การจัดทำงบการเงินส่วนบุคคล จากการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบในการเรียนการสอนแล้ว พบว่า ทำให้นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาในชั้นเรียนได้ดียิ่งขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยพิจารณาจากคะแนนทดสอบก่อนเรียน และคะแนนทดสอบหลังเรียน และเมื่อทำการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ก็พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมในการเรียนที่ดีขึ้น ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะการที่นักเรียนได้มีโอกาสทำแบบฝึกหัดด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้ครูสามารถแก้ปัญหาให้กับนักเรียนระหว่างเรียนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง...เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้...ว่าการแก้ปัญหาพฤติกรรมการไม่ตั้งใจเรียน ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
11
ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.