งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน

2 การเกิดปฏิกิริยาเคมี
คือ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้น และ ได้สารชนิดใหม่ (product) ซึ่งมี คุณสมบัติต่างจากสารตั้งต้น (reactant)

3 อาจจะมีการ ดูดพลังงาน หรือ คายพลังงาน ให้กับสิ่งแวดล้อม
- การเกิดปฏิกิริยาเคมีจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานเกิดขึ้นด้วย อาจจะมีการ ดูดพลังงาน หรือ คายพลังงาน ให้กับสิ่งแวดล้อม ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นมีหลายประเภท แบ่งได้เป็น * ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส * ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับกรด * ปฏิกิริยาการเผาไหม้ * ปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบคาร์บอเนตกับกรด

4 การเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเกิดสนิมของเหล็ก การเผาไหม้เชื้อเพลิงของรถมอเตอร์ไซด์ เกิดเป็นเขม่าควัน กระบวนการหายใจ ในการหายใจออกจะได้แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ ภาชนะที่ทำจากโลหะ เมื่อวางทิ้งไว้จะทำปฏิกิริยากับแก๊ส ออกซิเจนในอากาศ ทำให้โลหะหมองคล้ำไม่แวววาว

5 เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน
เช่น เกิดควัน เขม่า ตะกอน มีฟองแก๊สเกิดขึ้น หรือมีความร้อนเกิดขึ้น สีของสารมีการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ปฏิกิริยาเคมี - สารตั้งต้น หรือ ตัวทำปฏิกิริยา (reactant) ทำปฏิกิริยา กัน แล้วเกิดสารใหม่ ซึ่งมีคุณสมบัติต่างจากสารตั้งต้น เรียกสารใหม่ที่ เกิดขึ้นว่า สารผลิตภัณฑ์ (product)

6 พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาคายความร้อน (exothermic reaction) คือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้ว ให้พลังงานความร้อนออกมา ทำให้สิ่งแวดล้อม มีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่อุณหภูมิของสารลดลง เช่น การเผาไหม้ของ เชื้อเพลิง การละลายน้ำของโซดาไฟ เป็นต้น ปฏิกิริยาดูดความร้อน (endothermic reaction) คือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้ว ดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าไป ทำให้ อุณหภูมิสูงขึ้น แต่สิ่งแวดล้อมอุณหภูมิลดลง เช่น การสังเคราะห์ด้วย แสงของพืช การละลายเกลือแกงด้วยน้ำ เป็นต้น

7 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
ปฏิกิริยาการเผาไหม้ เป็นปฏิกิริยาที่มักเกิดกับแก๊สออกซิเจนและเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน การเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ เกิดแล้วได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซต์และน้ำ การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เกิดจากการเผาไหม้ที่มีปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอ เกิดแล้วได้แก๊สคาร์บอนมอนอกไซต์และเขม่าควัน

8 กำมะถัน ออกซิเจน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2SO2 + O2 2SO3
ปนอยู่ด้วย เมื่อเกิดการเผาไหม้ กำมะถันจะรวมตัวกับ ออกซิเจน (O2)ได้ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ซึ่ง สามารถเกิดปฏิกิริยาการรวมตัวกับแก๊สออกซิเจนต่อไปได้ แก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซต์ (SO3) S O SO3 กำมะถัน ออกซิเจน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2SO O SO3 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกซิเจน ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์

9 เมื่อแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์และแก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์โดนความชื้น ในอากาศ จะเกิดปฏิกิริยารวมตัวกับละออกน้ำเกิดเป็นกรดซัลฟิวรัส (H2SO3) และกรดซัลฟิวริก หรือกรดกำมะถัน (H2SO4) ถ้ากรดที่ เกิดขึ้นมีปริมาณมาก เมื่อฝนตกลงมาก็จะถูกชะลงมากับฝน เรียกว่า ฝนกรด SO H2O H2SO3 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ น้ำ กรดซัลฟิวรัส SO H2O H2SO4 ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ น้ำ กรดซัลฟิวริค

10

11 ปฏิกิริยาเคมีระหว่างโลหะกับกรด
ปฏิกิริยานี้เกิดเมื่อ โลหะสัมผัสกับกรดจะได้แก๊สไฮโดรเจน (H2) และเกลือ เช่นโลหะพวก Zn, Fe, Mg, Al Mg + H2SO4 MgSO H2 (โลหะ) (กรด) (เกลือ) (แก๊ส) Fe + 2HCl FeCl H2

12 ปฏิกิริยาการเกิดสนิม
4Fe + 3O2 2Fe2O3 เหล็ก ออกซิเจน สนิมเหล็ก

13 ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส
ถ้ากรดรวมตัวพอดีกับเบส จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น เกลือ และ น้ำ ซึ่งเรียก ปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาสะเทิน (neutralization reaction) HCl + NaOH NaCl H2O (กรด) (เบส) (เกลือ) (น้ำ)

14 ปฏิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
2NaHCO Na2CO3 + CO2 + H2O โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต โซเดียมคาร์บอเนต คาร์บอนไดออกไซต์ - ใช้ทำขนมหลายชนิด เช่น ขนมเค้ก ขนมสาลี่ ขนมถ้วยฟู - ใช้ในการดับไฟป่า

15 ปฏิกิริยาการสลายตัวของหินปูนหรือหินอ่อน
CaCO3 ความร้อน CaO + CO2 แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) ปูนขาว คาร์บอนไดออกไซต์ - ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งมีปูนขาวเป็นส่วนประกอบหลัก


ดาวน์โหลด ppt ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google