ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การเตรียมตัวถ่ายภาพ Outdoor Photography
ประจำวันที่ 5 ธันวาคม 2551
2
อุปกรณ์การถ่ายภาพที่จำเป็นต้องใช้
กล้องดิจิตอล – แบบ Compact หรือ DSLR
3
แบตเตอรี่
4
เมมโมรี่ การ์ด (Memory card)
5
ขาตั้งกล้อง
6
รายละเอียดการเดินทาง
06.00 น. พร้อมกันที่แท่นพระเทพฯ เบรกฟาสต์เบา ๆ บนรถ 08.30 น. ถึง อ.มวกเหล็ก ทุ่งทานตะวันกำลังผลิดอกสะพรั่ง เชิญเพื่อน ๆ ทดสอบฝีมือ พร้อมคำแนะนำจากช่างภาพมืออาชีพ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย 11.00 น. ถึง อ.ปากช่อง ร้านอาหาร(คาดว่าจะเป็นร้านบ้านไม้ชายน้ำ) ร่วมรับประทาน อาหารกลางวันร่วมกัน ที่ร้านนี้ มีมุมถ่ายภาพให้ได้ทดลองกล้องกันหลายมุม 14.00 น. เดินทางถึง ศูนย์ฝึกสุนัขสงคราม ริมถนนมิตรภาพ แยกย้ายกันชมโชว์ต่าง ๆ ตามใจชอบ เช่นโชว์สุนัขทหาร โชว์ขี่ม้าข้ามเครื่องกีดขวางต่างๆ 15.00 น. ชมโชว์ร่มบิน (พารามอเตอร์) 16.00 น. ขบวนบอลลูน เคลื่อนเข้าประจำที่ เตรียมกล้องให้พร้อม ไฮไลท์ นับแต่นาทีนี้เป็น ต้นไป 18.00 น. บอลลูนลูกสุดท้าย ลอยสู่ท้องฟ้า ขอเชิญสมาชิก เตรียมเดินทางกลับ 18.30 น. พบกันที่รถ เดินทางกลับ กคช.
7
เทคนิคการถ่ายภาพที่ทุกคนควรทราบ
8
กฎสามส่วน (Rule of Third)
การจัดวางตำแหน่งหลักของภาพถ่าย เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดผลทางด้านแนวความคิด และความรู้สึก การวางตำแหน่งที่เหมาะสมของจุดสนใจในภาพ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ และที่นิยมกันโดยทั่วไปคือ กฎสามส่วน กฎสามส่วนกล่าวไว้ว่า ไม่ว่าภาพจะอยู่แนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม หากเราแบ่งภาพนั้นออกเป็นสามส่วน ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน แล้วลากเส้นแบ่งภาพทั้งสามเส้น จะเกิดจุดตัดกันทั้งหมด 4 จุด ซึ่งจุดตัดของเส้นทั้งสี่นี้ เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางวัตถุที่ต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่นหลัก ส่วนรายละเอียดอื่นๆนั้น เป็นส่วนสำคัญที่รองลงมา
9
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า อัตราส่วนระหว่างพื้นดินกับท้องฟ้าเป็น 1:3 นอกจากนี้ตำแหน่งจุดสนใจยังอยู่ที่บริเวณจุดตัด ทำให้ภาพดูสมบูรณ์ และน่าสนใจยิ่งขึ้น และเรายังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพอื่นๆ โดยใช้หลักการเดียวกัน
13
เทคนิคการวางเส้นขอบฟ้า
การวางเส้นขอบฟ้า กรณีที่ต้องการถ่ายภาพที่มีเส้นสาย ไม่ว่าจะเป็นขอบฟ้า ขอบน้ำ หรือภูเขา การวางเส้นเหล่านี้ มักจะแบ่งพื้นที่ของภาพออกเป็น 3 ส่วน โดยอาจแบ่งเป็นพื้นที่น้ำ 2 ส่วน แล้วฟ้าหนึ่งส่วน หรือสลับกันได้ตามความสวยงาม โดยจะวางเส้นเหล่านี้ในแนวเส้นทึบตามรูป
16
เทคนิคเล่นสีคู่ตรงข้าม
การเลือกใช้สีคู่ตรงข้ามจะทำให้งานที่ได้มีความสะดุดตาในการมองแต่ก็ต้องระวังการ ใช้สีคู่ตรงข้าม เพราะการเลือกใช้สึคู่ตรงข้ามด้วยกันนั้นถ้าเราหยิบสี 2 สีที่ตรงข้ามกันมาใช้ในพื้นที่พอๆกัน งานนั้นจะดูไม่มีจุดเด่น ทางที่ดีเราควรแบ่งพื้นที่ของสีในภาพของการใช้สีใดสีหนึ่งมากกว่าอีกสีหนึ่งโดยประมาณมักจะใช้สีหนึ่ง70 % อีกสีหนึ่ง 30 % ภาพที่ได้ก็จะคงความมีเอกภาพอยู่ และยังมีความเด่นสะดุดตาไปได้ในตัว
19
มุม Polarization มุม PL คือมุมที่ท้องฟ้าให้สีฟ้าเข้มที่สุด
20
สำหรับคนที่ใช้กล้อง DSLR แนะนำให้ใช้ตัวช่วยหนึ่งตัว ซึ่งก็คือ Circular Polarizer หรือ C-PL
21
รูปเปรียบเทียบระหว่างใช้ C-PL กับไม่ใช้ C-PL
22
เทคนิคการถ่ายภาพย้อนแสง (Silhouete)
การถ่ายภาพย้อนแสงหรือภาพเงาดำ ภาพประเภทนี้นักถ่ายภาพสมัครเล่นไม่ค่อย ให้ความสนใจ เพราะจะได้ภาพที่ไม่ชัด ไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ ถ้าถ่ายภาพ คนจะมองดูแล้วมืด แต่ที่จริงแล้วภาพย้อนแสงไม่ว่าจะเป็นภาพสี หรือขาว–ดำ ก็ตามจะช่วยให้เราเรียนรู้เรื่องรูปร่าง (Shape) ของวัตถุที่บังแสงอยู่ นักถ่ายภาพ อาชีพมักจะเสาะแสวงหาภาพประเภทนี้อยู่เสมอ เพราะภาพย้อนแสงจะให้ทั้งความงาม ให้อารมณ์ ให้สีสันรุนแรง ให้ความแปลกตาไปอีกลักษณะหนึ่งการถ่ายภาพย้อนแสง ควรถ่ายให้ภาพมีช่วงความชัดลึก โดยเปิดช่องรับแสงให้แคบกว่าปกติเล็กน้อย พยายามเลือกวัตถุที่มีโครงร่างที่สวยงามหามุมย้อนแสง โดยวางจังหวะของดวงอาทิตย์ ให้พอดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.