งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คุณเป็นคนไทย คุณทราบไหมว่า... นายวัลลภ วิริยะสมบัติ ครู ชำนาญการพิเศษ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คุณเป็นคนไทย คุณทราบไหมว่า... นายวัลลภ วิริยะสมบัติ ครู ชำนาญการพิเศษ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คุณเป็นคนไทย คุณทราบไหมว่า... นายวัลลภ วิริยะสมบัติ ครู ชำนาญการพิเศษ
นายวัลลภ วิริยะสมบัติ ครู ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ เข้าสู่บทเรียน

2 ๑. ๒. ประเมินตนเอง หน้าอุทิศ ๑๐ ออกจากโปรแกรม

3 ๑. เพลงนี้ ชื่อเพลงอะไร ใช้ในโอกาสใด
๑. เพลงนี้ ชื่อเพลงอะไร ใช้ในโอกาสใด เพลงมหาชัย           เพลงมหาชัยเป็นเพลงเกียรติยศใช้ในพิธีที่สมเด็จพระบรมราชกุมารี หรือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จฯ หรือเสด็จเป็นประธานในพิธี ทั้งเวลาเสด็จฯ มาถึง หรือเสด็จมาถึง และเวลาเสด็จฯ กลับ หรือเสด็จกลับ           สำหรับทำนองเพลงนั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงพระนิพนธ์ดัดแปลงขึ้นจากเพลงมหาชัยของเดิม  ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ลำดับที่ ๕  ในเพลงเรื่องทำขวัญให้มีทวงทำนองเป็นเพลงสากล เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๓  ขณะทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เพื่อให้วงดุริยางค์ทหารบกนำไปบรรเลง ต่อมาสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงดัดแปลงแก้ไขทำนองเพลงของสมเด็จฯ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ให้มีจังหวะกระชับและกะทัดรัดขึ้น  ปรากฏว่าเป็นที่นิยมใช้บรรเลงกันอย่างแพร่หลายต่อมาตราบจนปัจจุบัน ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก

4 เป็นหนึ่งในสองเพลงนี้หรือเปล่า ลองฟังดู
๑. เพลงมหาฤกษ์ ๒. เพลงมหาชัย เพลงมหาฤกษ์ เป็นเพลงที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์ดัดแปลงจากทำนองไทยของเดิม โดยพระองค์ท่านได้ยึดหลักทำนองของเก่า แต่แก้ไขเพียงเฉพาะตอนขึ้นต้นและลงท้ายให้สง่าผ่าเผยขึ้น เพื่อให้การประสานเสียงตามแบบสากล ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังเกิดความเร้าใจขึ้นเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศ ต่อมาก็ใช้บรรเลงกล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกัน ในพิธีมงคลฤกษ์ต่างๆ เช่น งานเปิดป้าย การเจิมศิลาฤกษ์ การกล่าวคำปราศรัย / การกล่าวสุนทรพจน์  นอกจากนั้นก็ยังมีมหาฤกษ์แบบสั้น ๆ ที่ใช้ในการอวยพรคู่บ่าวสาว เมื่อเพลงนี้ดังขึ้น ทุกคนในงานก็จะยืนขึ้น เป็นการให้เกียรติพร้อมกัน "เพลงมหาฤกษ์" และ "เพลงมหาชัย" เปิดได้ทุกงานตั้งแต่ระดับชาวบ้านยันงานหรูหรา ข้อสังเกตุสำหรับการใช้งาน 2 เพลงนี้ - เพลงมหาฤกษ์ใช้กับบุคคลทั่วไป - เพลงมหาชัยใช้กับประธานในงาน (ไม่จำเป็นต้องเป็นงานที่พระมหากษัตริย์เสด็จเป็นประธานก็ได้) - เพลงมหาชัยถูกเข้าใจผิดว่าต้องใช้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น (จนในปัจจุบันก็ยังเข้าใจผิดอยู่ แต่ให้ดี ถ้าไม่ใช่พระมหากษัตริย์เสด็จ ก็ใช้เพลงมหาฤกษ์ไปเหอะ) - เพลงมหาฤกษ์ถูกใช้เป็นเพลงสำหรับอวยพรเจ้าบ่าว เจ้าสาวในงานแต่งด้วย (ไม่ว่างานจะ style ไหนก็ตาม จีน, ผรั่ง, แขก และไทย ถ้าเป็นงานที่ประธานเป็นคนสูงวัยหน่อย ท่านก็เรียกหาเพลงนี้ในการ "ไชโย" ทุกครั้ง) - เนื่องจากความ "สูง" ของเพลงทั้งสองไม่เท่ากัน ความเกร็งจากการเปิดเพลงทั้ง 2 เพลงก็ไม่เท่ากันไปด้วย แน่นอน...เพลงมหาชัย เวลาเปิดจะเกร็งกว่า - เพลงมหาชัยมีความยาว 47 วินาที เวลาเปิดควรจะเล็งให้ดีๆ ที่จะให้ "ท่าน" มาถึงที่ประทับก่อนเพลงจบไม่นาน เพราะไม่ควรให้ "ท่าน" ต้องประทับยืนนานเกินควร (ตรงนี้แหละ ที่เกร็งมั่กๆ) - จุดที่ถูกต้องสำหรับการเพลงมหาชัยคือ "ล้อหยุด เพลงจบ, ล้อหมุน เพลงเริ่ม" - ทั้ง 2 เพลง เมื่อเปิดไปแล้ว "ต้อง" เปิดให้จบ ห้าม fade จบก่อนเด็ดขาด - มหาฤกษ์มีความยาว 2 เวอร์ชั่น คือแบบสั้น 15 วินาที และแบบยาว 30 วินาที - เพิ่มเติมประวัติเพลงมหาฤกษ์ มหาชัย กลับหน้าหลัก

5 ๒. คุณรู้จักธงนี้หรือเปล่า
ธงพระพุทธศาสนาสากล ธงฉัพพรรณรังสี ธงพระพุทธศาสนาในระดับสากลนั้น ใช้ธงที่มีชื่อว่า ธงฉัพพรรณรังสี คำว่า "ฉัพพรรณรังสี" แปลว่ารัศมี 6 สี ซึ่งกล่าวกันว่าแผ่ออกจากพระกายของพระพุทธเจ้า คือ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน (นีละ) สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง (ปีตะ) สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน (โรหิตะ) สีขาวเงินยวง (โอทาตะ) สีแสดเหมือนหงอนไก่ (มัญเชฏฐะ) และสีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก หรือสีประภัสสร (คือ สีทั้ง 5 ข้างต้นรวมกัน) อนึ่ง สีในธงแต่ละสียังมีความหมายอื่นแฝงดังต่อไปนี้ ๒. คุณรู้จักธงนี้หรือเปล่า ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก

6 ธงพระพุทธศาสนาสากล กลับหน้าหลัก
สีนีละ: พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแผ่ไพศาลไปทั่วสกลจักรวาล สีปีตะ: มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คือ การหลีกเหลี่ยงความสุดโต่งทั้งปวง สีโรหิตะ: The blessings of practice - achievement, wisdom, virtue, fortune and dignity สีโอทาตะ: ความบริสุทธิ์แห่งพระธรรม ซึ่งเป็นของที่ไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) และนำชนไปสู่ความหลุดพ้น สีมัญเชฏฐะ: พระปัญญาคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สีประภัสสร: ความจริงทั้งหมดในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธงพระพุทธศาสนาสากล ธงฉัพพรรณรังสี ธงพระพุทธศาสนาในระดับสากลนั้น ใช้ธงที่มีชื่อว่า ธงฉัพพรรณรังสี คำว่า "ฉัพพรรณรังสี" แปลว่ารัศมี 6 สี ซึ่งกล่าวกันว่าแผ่ออกจากพระกายของพระพุทธเจ้า คือ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน (นีละ) สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง (ปีตะ) สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน (โรหิตะ) สีขาวเงินยวง (โอทาตะ) สีแสดเหมือนหงอนไก่ (มัญเชฏฐะ) และสีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก หรือสีประภัสสร (คือ สีทั้ง 5 ข้างต้นรวมกัน) อนึ่ง สีในธงแต่ละสียังมีความหมายอื่นแฝงดังต่อไปนี้ กลับหน้าหลัก

7 ๓.นี้เป็นเสียงเดี่ยวซออะไร แล้วคันไหน เอ่ย
ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก

8 ซอด้วง ซออู้ กลับหน้าหลัก

9 ๔. ท่านรู้จัก เทวรูป ในภาพนี้หรือไม่ ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก

10 พระสยามเทวาธิราช กลับหน้าหลัก
ประวัติความเป็นมาของพระสยามเทวาธิราช เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า เมืองไทยมีเหตุการณ์ร้ายเกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่ก็มีเหตุให้รอดพ้นได้เสมอน่าจะมีเทพยดาคอยพิทักษ์รักษาอยู่ สมควรสร้างรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นไว้สักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ นายช่างเอก ทรงปั้นรูปเทพยดาที่มีลักษณะเป็นเทวรูปหล่อยืน หล่อด้วยทองคำทั้งพระองค์ งดงามได้สัดส่วน สูงประมาณ 8 นิ้ว ทรงเครื่องกษัตริยาธิราช พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นจีบพระดรรชนีเสมอพระอุระ องค์พระสยามเทวาธิราชสถิตในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์แบบวิมานเก๋งจีน มีคำจารึกที่ผนังเบื้องหลังเป็นอักษรจีนแปลความว่า เทพยดาผู้สิงสถิตรักษาสยามประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามว่า พระสยามเทวาธิราช ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง กลับหน้าหลัก

11 ๕. นกในภาพเป็นนก ประจำชาติไทย ท่านรู้จักหรือไม่ ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก
ไก่ฟ้าพญาลอ ตัวผู้มีขนด้านหลังสีเทา อกและหางสีดำเหลือบเขียวแก่ ท้องสีดำ ตัวผู้มีหงอน บนหัวยาวกว่าตัวเมีย ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบรกทึบ กินแมลงและเมล็ดพืชตามพื้นดินเป็นอาหาร พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก pioneer.netserv.chula.ac.th/.../pheasant.html

12 นกในภาพคือ ไก่ฟ้าพญาลอ นกประจำชาติไทยครับ
กลับหน้าหลัก

13 ๖. พระพุทธรูปในภาพ เป็นพระพุทธรูป ปางใด ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก

14 พระพุทธรูปปางมารวิชัย
สองภาพทางซ้ายประทับนั่งขัดสมาธิ(ขัดสะ-หมาด)ราบ และสองภาพทางขวาประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระพุทธรูปปางมารวิชัย กลับหน้าหลัก

15 ๗. แม่ไม้มวยไทย ในภาพมีชื่อว่าอะไร ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก

16 แม่ไม้มวยไทย “จระเข้ฟาดหาง” ครับ กลับหน้าหลัก

17 ๘. คำว่า “คน” ใช้สระอะไร ทำไมไม่เห็นรูปสระ ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก

18 คำว่า “คน” ใช้สระ “โ–ะ” เมื่อมีตัวสะกด ลดรูปเป็นตัดรูปออก
กลับหน้าหลัก

19 ๒. ๑. ๙. ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทย ทุกคนคงทราบ
แต่ท่านระบุได้ไหมว่าตัวไหนคือช้างไทย หรือช้างแอฟริกา ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก

20 ๒. ๑. หมายเลข ๑ คือช้างไทย หมายเลข ๒ คือช้างแอฟริกา ขอรายละเอียด
กลับหน้าหลัก

21 ๑๐. สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ ทรงใช้นามสกุลอะไร
ขอดูเฉลย กลับหน้าหลัก

22 สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ ทรงใช้ราชสกุล “มหิดล”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้ราชสกุล " พระราชวงศ์จักรี "สำหรับพระองค์อื่นนั้นใช้ราชสกุล ตามนี้ -สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร : มหิดล - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี : มหิดล - สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี : มหิดล - สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ : มหิดล - ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี  : มหิดล ในปัจจุบันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้ราชสกุล " พระราชวงศ์จักรี "สำหรบพระองค์อื่นนั้นตามนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร : มหิดล - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี : มหิดล - สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี : มหิดล - สมเด็จพระเจ้าภคนีเธอ เจ้าฟ้าเพ็ชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี  : ไม่ทรงมีราชสกุลเนื่องด้วย ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงทรงไม่มีราชสกุล - สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ : มหิดล - ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี  : มหิดล - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ : มหิดล - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ  : กิติยากร - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา : มหิดล - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวลีนารีรัตน์ : มหิดล - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ : มหิดล - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ : มหิดล - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตยาทรกิติคุณ : มหิดล เกณฑ์ประเมิน กลับหน้าหลัก

23 ตอบถูก ๘-๑๐ ข้อ ดี - เยี่ยม ครับ ตอบถูก ๕-๗ ข้อ ใช้ได้ –พอไหว ๆ
ตอบถูก ๕-๗ ข้อ ใช้ได้ –พอไหว ๆ ตอบถูก ๑-๔ ข้อ ปรับตัวหน่อยนะครับ ตอบไม่ถูกเลย โอย...แย่แล้ว ลืมตาเสียบ้างซิคุณ กลับ

24 จบ กลับหน้าหลัก

25 ขออุทิศผลบุญของงานนี้แด่บรรพชนไทย
ทั้งที่ปรากฏนาม และไม่ปรากฏนาม ผู้จัดทำ


ดาวน์โหลด ppt คุณเป็นคนไทย คุณทราบไหมว่า... นายวัลลภ วิริยะสมบัติ ครู ชำนาญการพิเศษ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google