ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Introduction to Epidemiology
ระบาดวิทยาการแพทย์
2
ความหมายและที่มา Epidemic หมายถึง “โรคระบาด” Logy หมายถึง Study
ระบาดวิทยาจึงหมายถึง “การศึกษาการเกิดโรคระบาด” ในอดีต ระบาดวิทยามีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดโรคระบาดเป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ระบาดวิทยาไม่ได้จำกัดขอบเขตของการศึกษาอยู่แต่เฉพาะโรคระบาดเท่านั้น แต่ขยายขอบเขตออกไปศึกษาโรคอื่นๆ ตลอดจนปัญหาสาธารณสุขที่ไม่ใช่ “โรค” เช่น การบาดเจ็บหรืออุบัติภัย ระบาดวิทยาไม่ใช่ “สาขาวิชา” แต่เป็น “เครื่องมือ”ที่ใช้ในการศึกษาปัญหาสาธารณสุข
3
นิยาม ระบาดวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาหรือกล่าวถึงการกระจายของโรคในประชากร โดยดูถึงอิทธิพล หรือปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เกิดการกระจายตัวแบบนั้น ระบาดวิทยามีรากฐานมาจากความจริงที่พบว่า โรค หรือความเจ็บป่วย ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนทุกๆคน ด้วยโอกาสที่เท่าๆกัน แต่คนบางคนจะมีลักษณะบางอย่างที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าคนอื่นๆ โดยลักษณะดังกล่าวอาจมาจากพันธุกรรม หรือเป็นผลจากการสัมผัสต่อปัจจัยบางอย่างในสิ่งแวดล้อม
4
บทบาทของระบาดวิทยากับการศึกษาโรค
การศึกษาระบาดวิทยา มีลักษณะเหมือนกับการศึกษาชนิดอื่นๆ ที่ศึกษาในเรื่องโรค ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ Sub-molecular หรือ Molecular level Tissue หรือ Organ level Individual level Population level
5
Classification มีผู้จำแนกระบาดวิทยาออกเป็น “Classical” และ “Clinical epidemiology” ดังนี้ Classical (Traditional) epidemiology หรือ “The big E Epidemiology” Clinical epidemiology
6
บทบาทของระบาดวิทยาต่อวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข
การเรียนรู้เกี่ยวกับ Natural History หรือ Clinical Picture การสอบสวนวิธีการติดต่อ (Mode of Transmission) การค้นหาสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของโรค การป้องกันโรค การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย การศึกษาขอบเขตของปัญหาในประชากร การวางแผนงานและนโยบายด้านสาธารณสุข การตัดสินคดีความในศาล
7
The Epidemiology Approach
ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ระบาดวิทยาเชิงปฎิบัติการ
8
บทบาทของระบาดวิทยาและ Clinical Practice
การวิเคราะห์โรค การหาสาเหตุของโรค การพยากรณ์โรค การศึกษาผลของการรักษา การวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจเลือกการรักษา
9
Thank you
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.