ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยDok-ban-yen Cheenchamras ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ความคาดหวังกับรพ.สต.มิติใหม่ของการพัฒนางานสาธารณสุข
โดย นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย
2
ที่มาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยพัฒนาระบบบริการสุขภาพตำบล และเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ รมต.ว่าการกระทรวงสาธารณสุข สนองนโยบายรัฐบาล จัดทำแผนพัฒนาโรงพยาบาลสุขภาพตำบล พ.ศ – 2555 เป้าหมายเริ่มต้นจากสถานีอนามัย 1,000 แห่ง ในปี 2552 แล้วขยายครอบคลุมทั่วประเทศ ปี 2555
3
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คือ การยกระดับศักยภาพของสถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เน้นการทำงานเชิงรุก ให้ชุมชนมีส่วนร่วม เพิ่มคุณภาพการรักษาพยาบาล ระบบส่งต่อ ยา เวชภัณฑ์สามารถเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ข่าย
4
คุณลักษณะของรพ.สต. ขอบเขตการดำเนินงาน ผสมผสานทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ พื้นที่ดำเนินการ มีความชัดเจน (Catchment Area) และการใช้บ้านเป็นหอผู้ป่วย (Home Ward) บุคลากรผู้ปฎิบัติงาน มีความรู้ ทักษะการให้บริการผสมผสานและทักษะเฉพาะด้าน ทำงานเชิงรุก การใช้และการจัดการระบบข้อมูล เทคโนโลยี สารสนเทศ
5
คุณลักษณะของรพ.สต. (ต่อ)
การบริหารจัดการ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรเอกชน เป้าหมาย คือระบบที่มีความยืดหยุ่น ยั่งยืน ชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ระบบสนับสนุน ระบบข้อมูล สารสนเทศ ระบบการให้คำปรึกษา ระบบยา และเวชภัณฑ์ สอดคล้องกับ รพ.พี่เลี้ยง จำนวนบุคลากร ขึ้นกับขนาดของรพ.สต มีตั้งแต่ 5 – 10 คน ประกอบด้วย ทีมสหสาขาวิชาชีพ
6
คุณลักษณะของรพ.สต. (ต่อ)
การพัฒนาบุคลากร CUP แม่ข่ายจัดสรรกำลังคนมาช่วย จัดเพิ่ม ภายใต้งบประมาณจาก CUP ใช้คนที่มีอยู่ แต่มีค่าตอบแทนมากขึ้น ส่งคนไปศึกษาเพื่อกลับมาทำงาน
7
ภารกิจของ รพสต. มี 2 ลักษณะ
ภารกิจหลักพื้นฐาน เป็นการบริการผสมผสานให้แก่ประชากรทุกกลุ่มอายุ ทั้งในสถานบริการ และชุมชน ภารกิจเสริม ตามสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของชุมชน
8
บทบาทของ รพ.สต.ต้องมี 2 ประการหลัก
การจัดบริการสาธารณสุข (Service Oriented Approach) ต้องทำงานเป็นระบบ มีผลผลิต ผลลัพธ์ ที่ตรวจวัดได้ การพัฒนา (Development Oriented Approach) คือ การใช้พลัง ปัญญา ความตั้งใจ ประสานกับภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะอปท. สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการพัฒนาสุขภาพในพื้นที่อย่างยั่งยืน
9
การจัดบริการที่พึงประสงค์ของ รพ.สต.
การให้บริการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย ได้แก่ กลุ่มแม่และเด็ก ANC Well Baby พัฒนาการเด็กสมวัย โรงเรียนพ่อแม่ ศูนย์เด็กเล็ก ทันตสุขภาพ โภชนาการ กลุ่มวัยเรียน & วัยรุ่น โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ยาเสพติด กลุ่มวัยทำงาน การวางแผนครอบครัว เตรียมความพร้อมก่อนสมรส การเฝ้าระวังมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก วัยทอง การป้องกัน Metabolic Syndrome
10
การจัดบริการที่พึงประสงค์ของ รพ.สต.(ต่อ)
กลุ่มสูงอายุ Long-term Care ทันตสุขภาพ ภาวะโภชนาการ ป้องกันอุบัติเหตุ คนสุขภาพดี ให้ดูแลรักษาให้คงสภาพ คนสุขภาพไม่ดี ให้บริการรักษาตามมาตรฐานของระดับบริการ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และต้องมีเครือข่ายให้คำปรึกษา การส่งต่อที่เป็นระบบ
11
การจัดบริการที่พึงประสงค์ของ รพ.สต.(ต่อ)
การพัฒนา หรือการจัดการให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการดูแลจัดการปัญหาในพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยการทำแผนที่ยุทธศาสตร์ชุมชน (Strategic Route Map : SRM) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขับเคลื่อนให้ชุมชนมีระบบข้อมูล ข่าวสาร มีระบบเฝ้าระวังโรค มีกระบวนการนำปัญหามาคิด วิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขที่เหมาะสม และใช้แหล่งเงินทุนในชุมชน โดยประชาชนมีส่วนร่วม เป็นการยกระดับการดูแลสุขภาพของชุมชน
12
ความคาดหวังกับ รพ.สต.มิติใหม่ คือ
การสร้างดุลยภาพระหว่าง Service Oriented กับ Development Oriented โรงพยาบาลที่ดำเนินการตามกระบวนการโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพต้องทำงานเชื่อมโยงอย่างเป็นเครือข่ายกับ รพ.สต. ทั้งด้านการให้คำปรึกษา และการส่งต่ออย่างเป็นระบบ การเกิดนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับบริบทที่ได้จากการจัดการความรู้หรือจากการทำ R to R
13
ความคาดหวังกับ รพ.สต.มิติใหม่ (ต่อ)
สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาบทบาทในการร่วมดำเนินการร่วมลงทุนเพื่อตอบสนองกับปัญหาของพื้นที่ ปรับระบบบริการสุขภาพของ รพ.สต.ให้เป็นบริการที่มีคุณภาพ เป็นที่ศรัทธา และเชื่อมั่นของชุมชน และเน้นบริการเชิงรุกในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยง
14
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.