ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยDeng Ornwimol ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
หลักเกณฑ์และแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการ เพื่อเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา หลักเกณฑ์การประเมินและวิธีการประเมินผลการ ปฏิบัติราชการให้ถือปฏิบัติตามคู่มือการเลื่อน เงินเดือนข้าราชการ และให้ข้าราชการได้รับ ค่าตอบแทนพิเศษในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข
2
๒. คณะกรรมการได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการ ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ มีข้อเสนอแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการโดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการ ครั้งที่ ๒ ประจำปี ๒๕๕๕
3
๒.๑ องค์ประกอบการประเมินและสัดส่วนคะแนนของ แต่ละองค์ประกอบ - การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการในจังหวัดสงขลาให้ประเมินจาก ๒ องค์ประกอบได้แก่ผลสัมฤทธิ์ของงานและจากพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ หรือสมรรถนะโดยมีสัดส่วนคะแนนร้อยละ ๗๕ และ ๒๕ ตามลำดับ - ในกรณีที่เป็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการสัดส่วนคะแนน ร้อยละ ๕๐:๕๐
4
๒.๒ วิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน และพฤติกรรมการปฏิบัติราชการให้ดำเนินการดังนี้ การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน ให้ประเมินจากปริมาณผลงาน และคุณภาพผลงาน ความรวดเร็ว หรือตรงตามเวลาที่กำหนด หรือความประหยัด หรือความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร โดยกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของงานรายบุคคล จำนวน ๖ ตัวชี้วัด
5
- การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการหรือสมรรถนะให้ประเมินจากสมรรถนะหลักที่ ก.พ.กำหนดได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และการทำงานเป็นทีม
6
๒.๓ ระดับผลการประเมิน การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการ ในแต่ละรอบการประเมิน ให้จัดกลุ่มคะแนนผลการประเมิน เป็น ๕ ระดับ คือ ๑. ระดับดีเด่น ๙๐ - ๑๐๐ คะแนนไม่เกิน 15% ๒. ระดับดีมาก ๘๐ - ๘๙.๙๙ คะแนน ๓. ระดับดี ๗๐ - ๗๙.๙๙ คะแนน ๔. ระดับพอใช้ ๖๐ - ๖๙.๙๙ คะแนน ๕. ต้องปรับปรุง ต่ำกว่า ๖๐
7
๔. การประเมินผลการปฏิบัติราชการ การประเมินฯ ของข้าราชการให้ใช้แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ หรือสมรรถนะ และแบบสรุปการประเมินฯ โดยกำหนดระยะเวลาการประเมินถึง ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายรายบุคคล ในรอบที่ ๒ (ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ – ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕) ให้แต่ละหน่วยงานในสังกัด จัดทำตัวชี้วัดรายบุคคล คนละ ๖ ตัวชี้วัด โดยพิจารณาดังนี้
8
๑. ตัวชี้วัดกลุ่มงาน/ฝ่าย ๑ ตัว น้ำหนัก ๓๐% ๒
๑. ตัวชี้วัดกลุ่มงาน/ฝ่าย ๑ ตัว น้ำหนัก ๓๐% ๒. ตัวชี้วัดรายบุคคล ๔ ตัว น้ำหนัก ๒๐% ๑๐% ๑๐% ๑๐% ๓. ส่วนของผู้บังคับบัญชาประเมิน จากภารกิจที่มอบหมายนอกเหนือจากภารกิจหลัก หรือโครงการ/กิจกรรมอื่น ๆ น้ำหนัก ๒๐%
9
สำหรับผู้บริหาร (ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และสาธารณสุขอำเภอ) ตัวชี้วัดตัวรายบุคคลเน้น เรื่อง เบาหวาน ความดัน และ เรื่อง ยาเสพติด ตัวที่ ๑ ตัวชี้วัดหน่วยงาน ๑ ตัว น้ำหนักตัวละ ๓๐% ตัวที่ ๒ ตัวชี้วัดรายบุคคล ๔ ตัว ตัวละ ๒๐,๑๐,๑๐,๑๐% ตัวที่ ๓ ส่วนของผู้บังคับบัญชาประเมิน จากภารกิจที่มอบหมายนอกเหนือจากภารกิจหลัก หรือโครงการ/กิจกรรมอื่นๆ น้ำหนัก ๒๐%
10
๕. การพิจารณาผลการประเมิน และการบริหารวงเงินที่ใช้ใน การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ ในรอบที่ ๒ ปี ๒๕๕๕ การคำนวณวงเงิน ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนรวมของข้าราชการที่ปฏิบัติงานอยู่จริง ณ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๕ เฉพาะข้าราชการที่มีบัญชีถือจ่าย (จ.๑๘) อยู่ที่จังหวัดสงขลา (ยกเว้น) รพ.หาดใหญ่ รพ.สงขลา โดยคำนวณร้อยละ ๒.๙๕ ไว้ก่อน เนื่องจากจังหวัดยังไม่ได้แจ้งการจัดสรรวงเงินที่ใช้ในการเลื่อนเงินเดือน ณ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
11
๖. สำหรับกลุ่มผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน และตำแหน่งอื่น ๆ ที่ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ ให้จัดส่งแบบสรุปผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามตัวชี้วัดที่กำหนด พร้อมหลักฐานอ้างอิง โดยให้ประเมินจากสององค์ประกอบได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ของงานและพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ หรือสมรรถนะ โดยมีสัดส่วนคะแนนร้อยละ ๗๐ และ ๓๐ ตามลำดับ
12
สวัสดี กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.