ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยUdom Wongsawat ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
การสัมมนา เรื่อง เอฟทีเอ : ไทยได้ประโยชน์แค่ไหน โดย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายการุณ กิตติสถาพร) ณ ห้องจามจุรี โรงแรมปทุมวันพริ้นซ์เซส วันพุธที่ 25 สิงหาคม 2547 เวลา น.
2
ออสเตรเลีย เป็นประเทศพัฒนาขนาดเล็ก มีกำลังซื้อสูง
นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น อาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ แหล่งนำเข้าสำคัญ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย ฮ่องกง สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น และไทย ออสเตรเลียจัดทำเขตการค้าเสรีแล้ว กับ สิงคโปร์ ไทย อยู่ระหว่างการเจรจากับสหรัฐอเมริกา • ออสเตรเลียเป็นประเทศพัฒนาแล้วขนาดเล็ก มีประชากร 20 ล้านคน มีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยประมาณ 24,685 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคน ต่อปี จึงเป็นประเทศที่มีกำลังการซื้อสูง โครงสร้างเศรษฐกิจ การค้ามีความเกื้อหนุนกับประเทศไทย กล่าวคือ ออสเตรเลียมีความต้องการนำเข้าสินค้าอุปโภค บริโภค เช่น อาหารสำเร็จรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ โดยมีการนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย อินเดีย ฮ่องกง สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น และไทย การทำ FTA จะทำให้ไทยได้เปรียบคู่แข่งด้านอัตราภาษี • ออสเตรเลียจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ดังนี้ - สิงคโปร์–ออสเตรเลีย (SAFTA) มีผลบังคับเมื่อ 28 กรกฎาคม 2546 - ออสเตรเลีย-สหรัฐฯ (AUSFTA) อยู่ระหว่างการเจรจา - ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ลงนามความตกลงฯ 5 กรกฎาคม และจะมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2548
3
เป้าหมายการเจรจา FTA กับออสเตรเลีย
ขยายการค้าและการลงทุน สร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ แก้ไขอุปสรรคทางการค้าทั้งภาษีและมิใช่ภาษี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสการส่งออก สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เป้าหมายการเจรจา FTA กับออสเตรเลีย - ขยายการค้าและการลงทุน สร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ - แก้ไขอุปสรรคทางการค้าทั้งภาษีและมิใช่ภาษี - เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน - เพิ่มโอกาสการส่งออก - สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
4
แนวทางการเจรจาของไทย
การเปิดตลาดสินค้า ให้ออสเตรเลียลดภาษีเหลือ 0% ทันทีให้มากที่สุด ณ วันแรกที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ ลดภาษีลงมาระดับหนึ่ง ณ วันแรกที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้แล้วค่อยๆ ทยอยลดเหลือ 0% ภายใน 5 ปี สำหรับสินค้าอ่อนไหว จะมีระยะเวลาการลดภาษีที่ยาวกว่า (ของออสเตรเลีย ภายใน 10 ปี ของไทยภายใน 20 ปี) มีมาตรการปกป้องพิเศษสำหรับสินค้าเกษตรอ่อนไหวบางรายการ ในการเจรจาฯ กระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับหน่วยงานราชการต่างๆ และภาคเอกชน เพื่อร่วมกันพิจารณารูปแบบและวิธีการลดภาษีสินค้า ตลอดจนชนิดสินค้าที่เป็นสินค้าอ่อนไหวของไทย ผลการเจรจา สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่ไม่อ่อนไหว จะมีระยะเวลาในการให้ลดภาษีเหลือ 0% ภายใน 5 ปี ส่วนสินค้าอ่อนไหวของออสเตรเลีย จะลดภาษีเหลือ 0% ภายใน 10 ปี ของไทยจะลดภาษีเหลือ 0% ภายใน 20 ปี และมีมาตรการปกป้องพิเศษ (special safeguards) สำหรับสินค้าเกษตรอ่อนไหวบางรายการ สินค้าเกษตรที่มีโควตา จะเริ่มลดเฉพาะภาษีในโควตา ส่วนภาษีนอกโควตาจะลดตาม WTO และให้สิทธิพิเศษ (Margin of Preference) แก่ออสเตรเลีย 10% สินค้าเกษตรที่มีโควตา จะกำหนด specific quota ให้ออสเตรเลียจำนวนหนึ่งและค่อยๆ ทยอยลดภาษีในโควตา ส่วนภาษีนอกโควตาลดตาม WTO ( Margin of Preference : MOP 10%)
5
ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
TAFTA ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย Thailand-Australia Free Trade Agreement (TAFTA) นายกรัฐมนตรีของไทยและออสเตรเลียได้ประกาศร่วมกัน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2545 ให้มีการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างสองประเทศ คณะเจรจาทั้งสองฝ่ายได้เริ่มเจรจาครั้งแรก เมื่อเดือนสิงหาคม 2545 โดยใช้เวลาในการเจรจาทั้งสิ้น 1 ปี 7 เดือนและได้สรุปผลการเจรจาเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2547 (รวม 10 ครั้ง) สถานะปัจจุบัน : คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 เห็นชอบผลการเจรจาความตกลงฯ และการลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการลงนามจะมีขึ้นในวันที่ 5 ก.ค ในระหว่างการเยือนออสเตรเลียของนายกรัฐมนตรี ไทยและออสเตรเลียตั้งเป้าหมายให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 1 มกราคม 2548 ความตกลงฯ ฉบับนี้เป็นความตกลงการค้าเสรีสองฝ่ายที่สมบูรณ์ (comprehensive) ฉบับแรกที่ไทยกับทำประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งครอบคลุมการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้า ขณะเดียวกัน ความตกลงฯ ฉบับนี้เป็นความตกลงการค้าเสรีฉบับที่ 2 ที่ออสเตรเลียทำกับประเทศกลุ่มอาเซียน (รองจากสิงคโปร์)
6
ประโยชน์และผลกระทบที่ไทยจะได้รับจากการทำ FTA ไทย- ออสเตรเลีย
ออสเตรเลีย ลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ให้ไทยเหลือ 0% ทันที ในวันที่ 1 มกราคม 2548 จำนวนถึง 5,087 รายการ สินค้าที่ไทยจะได้ประโยชน์ สินค้าเกษตร เช่น ข้าว กุ้งสด ผักและผลไม้ ทูนากระป๋อง และ สับปะรดกระป๋อง ฯลฯ สินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ขนาดเล็ก รถปิกอัพ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอและ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ ฯลฯ ปัญหา SPS จะได้รับการแก้ไข ออสเตรเลีย ลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ให้ไทยเหลือ 0% ทันที ในวันที่ 1 มกราคม 2548 จำนวนถึง 5,087 รายการ สินค้าที่ไทยจะได้ประโยชน์ - สินค้าเกษตร เช่น ข้าว กุ้งสด ผักและผลไม้ ทูนากระป๋องและสับปะรดกระป๋อง ฯลฯ - สินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ขนาดเล็ก รถปิกอัพ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอและ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ ฯลฯ ปัญหา SPS จะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น และตกลงให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยดูแล และแก้ปัญหาให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปี สินค้าที่อยู่ใน Pirorityได้แก่ ผลไม้ (มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน สับปะรด มะม่วง) เนื้อไก่ กุ้งและปลาสวยงาม
7
ประโยชน์และผลกระทบที่ไทยจะได้รับจากการทำ FTA ไทย- ออสเตรเลีย (ต่อ)
ด้านบริการและการลงทุน - ตลาดในออสเตรเลียจะเปิดกว้างขึ้น โดยออสเตรเลียอนุญาตให้คนไทยเข้าไปลงทุนในสาขาธุรกิจต่างๆ 100% เช่น ที่ปรึกษากฎหมาย ซ่อมรถยนต์ สถาบันสอนภาษาไทย สถาบันสอนทำอาหาร และการผลิตสินค้าทุกประเภท - อนุญาตให้ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งผู้ติดตามเข้าไปทำงานได้คราวละ 4 ปี และต่ออายุได้ ไม่เกิน 10 ปี
8
ประโยชน์ที่ออสเตรเลียจะได้รับจากการทำ FTA
ด้านสินค้า - สินค้าที่จะได้ประโยชน์ ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์ สังกะสี ทองแดง ฝ้าย นมผงขาดมันเนย เนื้อวัวแช่เย็น แช่แข็ง การแก้ปัญหา SPS ได้แก่ ส้ม หน่อไม้ฝรั่ง มันฝรั่ง โคและกระบือมีชีวิต อาหารสัตว์เลี้ยง
9
สินค้าที่อาจได้รับผลกระทบจาก TAFTA การเปิดตลาดของไทย
นมผงขาดมันเนย 2548 2563 2567 2568 ปริมาณโควตา (ตัน) อัตราภาษีในโควตา (%) 2,200 20 3,523.5 5 3,523.55 1 Free นมผงขาดมันเนย ภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งถือ ปฎิบัติมา 10 ปีแล้ว ประเทศไทยมีข้อผูกพันที่จะต้องเปิดโควตานำเข้านมผงขาดมันเนยอย่างต่ำ 55,000 ตันต่อปี โดยมีภาษีในโควตาไม่เกินร้อยละ 20 อัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 216 แต่ในทางปฏิบัติมีการนำเข้าจริงประมาณ 70,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นการนำเข้าเกินโควตาอยู่ประมาณ 15,000 ตันต่อปี โดยเรียกเก็บภาษีในอัตราต่ำ เพียงร้อยละ 5 ภายใต้ FTA ไทย - ออสเตรเลีย ไทยเปิดโควตานมผงขาดมันเนยให้แก่ออสเตรเลีย เป็นการเฉพาะจำนวน 2,200 ตันในปี 2548 ซึ่งจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ 15,000 ตันต่อปีที่ไทยต้องนำเข้าอยู่แล้ว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศ มิใช่ส่วนที่ต้องนำเข้าเกินกว่าความต้องการปกติแต่อย่างใด และแม้ว่าจำนวนโควตาจะเพิ่มขึ้นไปเป็นลำดับจนถึง 3,500 ตันในปี 2563 และคงปริมาณนี้ไปจนถึงปี 2567 แต่ก็ยังอยู่ภายใต้ปริมาณความต้องการที่ไทยต้องนำเข้าโดยปกติอยู่แล้ว อนึ่ง นมผงขาดมันเนยมีอัตราภาษีในโควตาไม่เกิน 20% ในปี 2548 โดยจะลดลงปีละ 1% เท่าๆกัน ต่อปี จนเหลือ 0% ในปี ที่ 20 (ปี 2568 ) แต่ในทางปฏิบัติประเทศไทยก็เรียกเก็บภาษีนมผงในส่วนนี้ในระดับต่ำ คือ ประมาณ 5% อยู่แล้ว จึงไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด
10
สินค้าที่อาจได้รับผลกระทบจาก TAFTA การเปิดตลาดของไทย
เนื้อโคแช่เย็นแช่แข็ง 2548 2562 2563 ปริมาณ Trigger Level (ตัน) 776 1,613.25 Free base rate (%) 51 TAFTA rate (%) 40 2.67 สินค้าเกษตรอ่อนไหว มีมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguards) โดยขึ้นภาษีนำเข้าได้ หากมีการนำเข้ามากเกินเกณฑ์ที่กำหนดในแต่ละปี เนื้อโคแช่เย็นแช่แข็ง เป็นสินค้าเกษตรที่ค่อนข้างอ่อนไหว และเกี่ยวข้องกับเกษตรกรจำนวนมาก จึงมีการลดภาษีนำเข้าเป็น 0โดยใช้ระยะเวลายาวนานกว่าสินค้าเกษตรที่ไม่อ่อนไหว อื่น ๆ เพื่อให้มีเวลาในการหารือ และมีการใช้มาตรการปกป้องพิเศษ หากปีใดมีการนำเข้าสินค้าเนื้อวัวแช่เย็นแช่แข็งสูงเกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ หรือที่เรียกว่า Trigger Level (คำนวณจากปริมาณนำเข้าจากออสเตรเลีย เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ( ) โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์) ไทยสามารถกลับไปเก็บภาษีกับปริมาณนำเข้าเนื้อโคส่วนที่เกิน Trigger Level นั้นที่อัตราเดิมก่อนลดภาษี คือที่ 51% หรือที่อัตราปกติ (MFN rate) ได้ ซึ่งเชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยปกป้องการนำเข้าเนื้อโคได้ในระดับหนึ่ง
11
การเตรียมมาตรการรองรับ
คณะทำงานติดตามผลการเจรจา เพื่อวางมาตรการปรับตัวรองรับ FTA วางมาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์เข้ามาใช้ประโยชน์จากการเจรจา FTA เร่งรัดจัดทำมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อปิดกั้นสินค้าเข้าที่ไม่ได้มาตรฐาน กำหนดยุทธศาสตร์รายสินค้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น โคเนื้อ โคนม ฯลฯ
12
มาตรการเตรียมการรองรับของกระทรวงพาณิชย์
Monitor การส่งออก Call Center คลินิก FTA STF ดูลู่ทางและกฎระเบียบ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูล FTA ให้กว้างขวาง มีทีมงาน Monitor การส่งออกนำเข้า ทุก 3 เดือน เพื่อติดตามผลหลังจากข้อตกลง FTA มีผล ใช้บังคับ การจัดตั้ง Call Center เพื่อตอบข้อซักถามกับผู้สนใจในเรื่อง FTA คลินิก FTA ได้จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาร่วมกับหน่วยอื่นในกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการ จัดงานศูนย์ฯ ทั้งในกรุงเทพและภูมิภาค ประมาณ 6 ครั้ง จัดตั้ง Special Task Force (STF) เพื่อเปิดตลาดสินค้า ในตลาดจีน อินเดีย ออสเตรเลีย เป็นต้น เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูล FTA โดยการจัดสัมมนาให้แก่ภาครัฐและเอกชน และโดย ทาง Internet
13
นิวซีแลนด์ เป็นประเทศคู่ค้าอ้นดับที่ 65 ของไทยในปี 2546
สินค้าเข้าสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า น้ำมัน พลาสติก ประเทศคู่ค้าสำคัญ ออสเตรเลีย EU สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน (ตามลำดับ) สินค้าออก ผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ไม้ เครื่องจักร และอาหารทะเล • นิวซีแลนด์เป็นคู่ค้าอันดับที่ 65 ของไทยในปี 2546 โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันเป็น ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งออกมูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้า ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 56.5 ล้านเหรียญสหรัฐ • ประเทศคู่ค้าสำคัญ ออสเตรเลีย EU สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน (ตามลำดับ) • สินค้าเข้าของนิวซีแลนด์ รถยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า น้ำมัน พลาสติก สินค้าออกของนิวซีแลนด์ ผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ไม้ เครื่องจักร และอาหารทะเล • สินค้าจากไทย รถยนต์และชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องปรับอากาศ เหล็กและเหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ • สินค้าออกมาไทย นมและผลิตภัณฑ์นม ไม้แปรรูป/ไม้ซุง เยื่อกระดาษ ปลาแช่แข็ง เนื้อวัวแช่แข็ง เป็นต้น
14
เป้าหมายการเจรจา FTA กับนิวซีแลนด์
เพื่อขยายการค้า และการลงทุน สินค้าที่ไทยสนใจ ได้แก่ สินค้าเกษตรอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน และแฟชั่น การบริการและการลงทุน ได้แก่ร้านอาหาร / ผลิตภัณฑ์ครัวไทย ความงาม สปา และการศึกษา เป้าหมายการเจรจา FTA กับนิวซีแลนด์ - เพื่อขยายการค้าและการลงทุน การบริการ - แก้ไขอุปสรรคทางการค้าทั้งภาษีและมิใช่ภาษี - เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน - เพิ่มโอกาสการส่งออก - สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
15
แนวทางการดำเนินการ การค้าสินค้า
- CEP ระหว่างทั้งสองประเทศเป็นข้อตกลงที่ Comprehensive โดยครอบคลุมสินค้าทุกชนิด - กฎแหล่งกำเนิดสินค้า • การค้าบริการ • การลงทุน • กฎเกณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการค้า • การค้าสินค้า CEP ระหว่างทั้งสองประเทศควรเป็นข้อตกลงที่ Comprehensive โดยครอบคลุมสินค้าทุกชนิด และการเจรจาควรอยู่บนพื้นฐานหลักการต่างตอบแทน (Reciprocity) - การลดภาษีควรให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี ยกเว้นสินค้าที่มีความอ่อนไหว ให้มีระยะเวลาการลดภาษีที่นานกว่า - ให้มีมาตรการปกป้องพิเศษ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีในภาคเกษตรกรรม - ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องกฎแหล่งกำเนิดสินค้า ทั้งนี้ในหลักการควรเป็นกฎที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติได้ และ ไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อการค้า • การค้าบริการ - รูปแบบการเปิดเสรีควรเป็น Positive List Approach และค่อย ๆ เปิดโดยให้มีการเจรจาการเปิดตลาดทุก ๆ 3-4 ปี รวมทั้งให้ความสำคัญกับเรื่องการอนุญาตให้เข้าไปทำงาน (Movement of Natural Person) เป็นการชั่วคราว และการยอมรับมาตรฐานวิชาชีพระหว่างกัน • การลงทุน - ครอบคลุมเฉพาะเรื่องการลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) เท่านั้น และให้รวมถึงทั้งเรื่องการเปิดเสรี การลงทุน และการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน • กฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า - จะครอบคลุมเรื่องมาตรการสุขอนามัย อุปสรรคเทคนิคต่อการค้า มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด การระงับ ข้อพิพาท ทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และนโยบายการแข่งขัน ทั้งสองฝ่ายต้องจัดหาบริษัทเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ ซึ่งในการทำการศึกษาร่วม จะต้องมีการพิจารณาร่วมกันในการกำหนดกรอบและขอบเขตที่จะทำการศึกษา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการต่อไป
16
การเจรจาทำความตกลง การเปิดตลาดสินค้า อยู่ระหว่างการหารือรูปแบบ
การเปิดตลาดสินค้า อยู่ระหว่างการหารือรูปแบบ การค้าบริการ ได้มีการพิจารณาร่างโดยอ้างอิงตาม TAFTA • ได้มีการเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2004 ณ จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้ - การเปิดตลาดสินค้า อยู่ระหว่างการหารือรูปแบบตารางการลดภาษีสินค้าปกติ และเปิดโอกาสให้มีการเพิ่มรายการ Specific Request List ได้ รวมทั้งตกลงเรื่องรูปแบบและวิธีการยื่น Offer List โดยจัดทำเป็น 2 ส่วน คือ สำหรับรายการที่เป็น Specific Offer List และรายการสินค้าที่เหลือทั้งหมด ซึ่งกำหนดแลกเปลี่ยน Offer List ภายในกลางเดือนกันยายน 2004 - การค้าบริการ ได้มีการพิจารณาร่างข้อบทด้านบริการตามที่ฝ่ายนิวซีแลนด์เสนอ ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบกับถ้อยคำส่วนใหญ่ซึ่งอ้างอิงตาม TAFTA และได้ตกลงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กันยายน 2004 และแลกเปลี่ยนข้อเสนอเบื้องต้น (Initial Offer) ภายในวันที่ 15 กันยายน 2004 รวมทั้งพิจารณาประเด็นที่ติดค้างในร่างข้อบทการค้าบริการ และการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา ที่จะแลกเปลี่ยนข้อบทระหว่างกันภายในวันที่ 17 กันยายน 2004
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.