ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิวัฒนาการ เต่าทะเล
2
วิวัฒนาการของเต่าทะเล
เต่าได้พัฒนาสายพันธุ์โดยเป็นการวิวัฒนาการของ สัตว์เลื้อยคลานในยุค TRIASSIC เมื่อ 200 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็น ยุคของไดโนเสาร์ ตอนแรกเข้าใจว่าเต่ามีฟันแหลมคมเช่นเดียวกับ ฉลาม เต่าบางชนิดอาศัยในพื้นที่ที่มีน้ำ บางชนิดอาศัยเฉพาะบน บก และมีบางชนิดดำรงชีวิต เฉพาะในน้ำเท่านั้น เป็นที่น่าสังเกต ว่า ถึงแม้เต่าทะเลจะดำรงชีวิตในทะเล แต่ก็ยังคงคุณลักษณะของ สัตว์เลื้อยคลานทั่วไป เต่าทะเลมีกระดอง เป็นเกล็ดปกคลุม ร่างกาย
3
ข้อสรุปอีกประการหนึ่งที่เต่าทะเลยังคงคล้ายคลึงกับ สัตว์เลื้อยคลาน คือ มีอายุยืนและอดอาหารได้เป็น เวลานาน ส่วนเรื่องของ อายุขัยของเต่าทะเลยังไม่ทราบชัดเจน แต่คาดว่ามากกว่า 50 ปี การ ที่เต่าทะเลสามารถดำรงชีวิตมาได้จนถึงทุกวันนี้ เนื่องจากการที่เต่า มีกระดองที่ช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในได้เป็นอย่างดี เต่า ทั่วไปกระดองจะเป็นรูปโคม เพื่อให้หัวและขาหดเข้าไปได้ เป็น การป้องกันอันตรายจากสัตว์อื่นที่จะทำร้าย ส่วนเต่าทะเลนั้น ไม่ สามารถหดหัวและขาเข้าไปกระดองได้
4
เนื่องจาก การที่ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำตลอดเวลา ทำให้กระดอง ได้วิวัฒนาการรูปร่างให้เหมาะสมในการว่ายน้ำ นอกจาก นี้เต่า ทะเลยังพัฒนา รูปร่างใหญ่กว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ทำให้ลำไส้ มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นการช่วยย่อยอาหารได้ดีขึ้น รวมทั้งการที่มีไข มากกว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ทำให้การดำรงพันธุ์ดีกว่า ส่วนที่เป็นขาของเต่าบกพัฒนาเป็นรูปพายแบนเพื่อช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการว่ายน้ำ พายคู่หน้าใช้ในการผลักดัน และพุ้ยน้ำ ส่วนพายคู่หลังใช้เป็นเหมือนหางเสือกำหนดทิศทาง เต่าทะเลบาง ตัวสามารถที่จะว่ายน้ำได้เร็วถึง 35 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือสามารถที่ จะ ว่ายน้ำในมหาสมุทรเป็นร้อยๆ ไมล์
5
การที่เท้าพัฒนาเป็นพายก็มีผลเสียที่ทำให้เคลื่อนไหวบน บกได้ช้า ซึ่งผิดแผกจากเต่าบกหรือเต่าน้ำจืดที่ยังเดิน ได้ดี ทั้งนี้ เต่าทะเลตัวเมียยังมีความจำเป็นที่จะต้องคลานขึ้นมาวางไข่บน หาดทราย เต่าทะเลที่คลานบนบกก็มีลักษณะเช่นเดียวกับสัตว์บก คือ เดินทีละข้าง ยกเว้นเต่าตะนุที่เวลาคลานจะเคลื่อนพายไปใน ทิศทางเดียวพร้อมกัน การวิวัฒนาการเท้าให้กลายเป็นพายสำหรับว่ายน้ำ เกล็ดบนผิวตัว แสดงแผ่นกระดูกของกระดองเต่า
6
เต่าทะเลทุกชนิดมีการวิวัฒนาการตัวเองให้เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมในทะเล และลดการแก่งแย่งกันเอง เช่น การกิน อาหารที่แตกต่างกัน การขึ้นมาวางไข่บนหาดที่มีลักษณะและ ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กระดองก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปรได้ตาม สิ่งแวดล้อม เช่น เต่ากระมีสีของกระดอง เข้าสภาพของปะการัง กระดองสีเข้มของเต่าตะนุก็กลมกลืนกับแหล่งหญ้าทะเลที่หากิน เต่าหัวฆ้อนมีขากรรไกรที่เหมาะในการกินหอยและปู ปากที่ แหลมคล้ายเหยี่ยวของกระก็ทำให้กินอาหารพวกฟองน้ำตามหิน ผาได้น้ำสะดวก
7
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของลูกเต่ากระ ที่เพาะพันธุ์ในธรรมชาติ
8
บรรณานุกรม ส่วนนันทนาการและสื่อความหมาย สำนักอุทยานแห่งชาติ กรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.วิวัฒนาการ (ออนไลน์). แหล่งที่มา: rtle.html (วันที่สืบค้นข้อมูล: 21 สิงหาคม 2555 )
9
จัดทำโดย กลุ่มที่ 5 1.นาย กฤษดา ศาสตราวิสุทธิ์ เลขที่ 5ก (พิมพ์งาน) 2.นางสาว พีรยา สว่างอารมณ์ เลขที่ 15ก (ตกแต่ง) 3.นางสาว ไพลิน เวศวงศ์ษาทิพย์ เลขที่ 18ก (ตกแต่ง) 4.นาย ฉัตรินทร์ พยัคฆ์จำเริญ เลขที่ 8ข (หาข้อมูล) 5.นางสาว ภัทรวดี สุทธิประภา เลขที่ 14ข (หาข้อมูล) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.