งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการธนาคารพันธุกรรมพืช 50 ปี แห่งการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการธนาคารพันธุกรรมพืช 50 ปี แห่งการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการธนาคารพันธุกรรมพืช 50 ปี แห่งการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายธำรงศิลป โพธิสูง ผลงานวิจัย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างพันธุ์แท้โดยวิธีจดประวัติประยุกต์ (Modified Pedigree Selection) เพื่อใช้เป็นพันธุ์ส่งเสริมและเป็นแหล่งพันธุกรรม สำหรับปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่าง เป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ จนถึงปัจจุบัน โดยมีสายพันธุ์แท้ส่งเสริมให้แก่เกษตรกร 5 พันธุ์ และข้าวฟ่างลูกผสม 5 พันธุ์ คือ - พันธุ์ เคยู 439 และเคยู 408 ส่งเสริมในปี พ.ศ. 2526 - พันธุ์ เคยู 8501 ส่งเสริมในปี พ.ศ. 2529 - พันธุ์ เคยู 526 ส่งเสริมในปี พ.ศ. 2528 - พันธุ์ เคยู 8702 และ เคยู 8703 ส่งเสริมในปี พ.ศ. 2531 - พันธุ์ เคยู 630 ส่งเสริมในปี พ.ศ. 2530 - พันธุ์ เคยู 9501 และ เคยู 9502 ส่งเสริมในปี พ.ศ. 2538 - พันธุ์ เคยู 804 ส่งเสริมในปี พ.ศ. 2532 - พันธุ์ เคยู 900 และ เคยู 901 ส่งเสริมในปี พ.ศ. 2541 การปรับปรุงประชากรข้าวฟ่างโดยวิธี S1 selection และ S2 selection : ผู้ร่วมโครงการเป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ โดยใช้สายพันธุ์เพศผู้เป็นหมันแบบ genetic male sterile ในปี พ.ศ ได้มีประชากรข้าวฟ่างจำนวน 8 ประชากร เพื่อใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่าง คือ KU. Population 1-8 การทดสอบพันธุ์ข้าวฟ่างลูกผสมของประเทศไทย : ผู้ร่วมโครงการในปี พ.ศ และเป็นหัวหน้าโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ ถึงปัจจุบัน ทดสอบพันธุ์ข้าวฟ่างลูกผสมของบริษัทเอกชนและของทางราชการที่จำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งมีข้าวฟ่างลูกผสมพันธุ์ใหม่ออกสู่ตลาดทุกปี จึงทำการทดสอบต่อเนื่องเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับแนะนำเกษตรกร การทดสอบพันธุ์ข้าวฟ่างลูกผสมสามทาง (Three way cross hybrid) ดำเนินการในปี พ.ศ : ผู้ร่วมโครงการ

2 การทดสอบพันธุ์ข้าวฟ่างจากต่างประเทศ (exotic sorghum) ร่วมกับ ICRISAT ประเทศอินเดีย โดยทำการทดสอบดังนี้ ปี พ.ศ ทดสอบพันธุ์ชุด ISPYT 1 และ ISPYT 2 ปี พ.ศ ทดสอบพันธุ์ SEPON 80 และ SEPON 81 ปี พ.ศ ทดสอบพันธุ์ (ISHVAT-MED 89-92) การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างต้านทานต่อหนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่าง (Shootfly Resistance) : หัวหน้าโครงการ ทำการวิจัยในปี พ.ศ และทำการวิจัยต่อในปี พ.ศ ถึงปัจจุบัน การพัฒนาข้าวฟ่างลูกผสมเพื่อใช้เป็นพันธุ์ปลูกในประเทศไทย : ผู้ร่วมโครงการ โครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ จนถึงปัจจุบัน โดยมีข้าวฟ่างลูกผสมส่งเสริมให้แก่เกษตรกร 5 พันธุ์ คือ พันธุ์ เคยู 8501 ส่งเสริมในปี พ.ศ พันธุ์ เคยู 8702 และ 8703 ส่งเสริมในปี พ.ศ พันธุ์ เคยู 9501 และ 9502 ส่งเสริมในปี พ.ศ. 2539 การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างอาหารสัตว์ (Forage Sorghum) โดยวิธีการจดประวัติ (Pedigree Selection) : ผู้ร่วมโครงการ โครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ ได้แนะนำพันธุ์ข้าวฟ่างอาหารสัตว์สู่เกษตรกร 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์กลางดง 1 และกลางดง 2การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างหวาน (Sweet Sorghum) : ผู้ร่วมโครงการ โครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ ได้รวบรวมและพัฒนาพันธุ์ข้าวฟ่างหวานไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต จำนวน 10 สายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างทนทานต่ออลูมินัม (Aluminum Toxicity Tolerance) ดำเนินการในปี พ.ศ : ผู้ร่วมโครงการ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างสายพันธุ์เพศผู้เป็นหมันที่ไซโตปลาสซึมแบบ A-1 และ A-2 โดยวิธีการผสมกลับ : ผู้ร่วมโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ และเป็นหัวหน้าโครงการตั้งแต่ปี 2536 ถึงปัจจุบัน โครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ จนถึงปัจจุบัน ได้สายพันธุ์เพศผู้เป็นหมันที่ใช้ เป็นสายพันธ์แม่ในการผลิตข้าวฟ่างลูกผสม จำนวน 10 สายพันธุ์ การศึกษาสมรรถนะการผสมพันธุ์ของข้าวฟ่าง 8 สายพันธุ์ โดยวิธีการผสมพันธุ์แบบพบกันหมด (Diallele Cross) ดำเนินการในปี พ.ศ : หัวหน้าโครงการ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างให้มีคุณค่าทางอาหารในเมล็ดสูง ดำเนินการในปี พ.ศ : ผู้ร่วมโครงการ

3 การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างต้านทานต่อโรคราบนช่อข้าวฟ่าง (head mold) ดำเนินการในปี พ.ศ : ผู้ร่วมโครงการ การทดสอบพันธุ์ข้าวฟ่างไม้กวาด ดำเนินการในปี พ.ศ : หัวหน้าโครงการ การคัดเลือกพันธุ์หญ้าไข่มุก (Pearl Millet ) เพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ ดำเนินการในปี พ.ศ และรายงานผลงานวิจัยในผลงานวิจัยเพื่อสนับสนุนโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง (อีสานเขียว) : ผู้ร่วมโครงการ การคัดเลือกพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่างไม้กวาดสำหรับเพาะปลูกในประเทศไทย ดำเนินการในปี พ.ศ และรายงานผลงานวิจัยในผลงานวิจัยเพื่อสนับสนุนโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง (อีสานเขียว) : หัวหน้าโครงการ


ดาวน์โหลด ppt โครงการธนาคารพันธุกรรมพืช 50 ปี แห่งการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google