ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยJettrin Kulawanit ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วย การเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 26 ตุลาคม 2555
2
สรุปสาระสำคัญ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ เป็นต้นไป ให้ยกเลิก (1) ระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วย การเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ พ.ศ.2543 (2) ระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วย การเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 บรรดาระเบียบ วิธีปฏิบัติ หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับความในระเบียบนี้ให้ใช้ความในระเบียบนี้แทน
3
สรุปสาระสำคัญ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 หมายถึง บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้าง เช่นลาออกจากงาน ถูกเลิกจ้างหรือเหตุใดก็ตามที่ทำให้ไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว แต่ต้องการเป็นผู้ประกันตนต่อไปซึ่งต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน คือเคยเป็นลูกจ้างและได้จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือน 2. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเพราะสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเช่น ลาออกจากงาน ถูกเลิกจ้าง หรือเหตุใดก็ตามที่ทำให้ไม่ได้ทำงานให้กับนายจ้าง 3. ยื่นแบบแสดงความจำนงของใบสมัครภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
4
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
1. ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้นประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้ยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) แนบท้ายระเบียบนี้ ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน พร้อมด้วยหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีเลขประจำตัวประชาชนและรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา
5
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
2. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีหน้าที่นำส่งเงินสมทบตามอัตราที่กฎหมายกำหนดเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละครั้ง โดยให้นำส่งเงินสมทบงวดแรกตั้งแต่วันที่ได้ยื่นคำขอให้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จนถึงวันที่ 15 ของเดือนถัดไป สำหรับเงินสมทบในงวดถัดไปให้นำส่งตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนนั้นจนถึงวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 3. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สามารถดำเนินการนำ ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ณ สำนักงานหรือหน่วยบริการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานกำหนด
6
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
4. กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อให้แจ้งต่อสำนักงานตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ (แบบ สปส. 1-34) แนบท้ายระเบียบนี้ 5. กรณีที่ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงหากผู้นั้นมีความประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 อีก จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ที่ประสงค์จะลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน หรือกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ แจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (แบบ สปส. 1-21) แนบท้ายระเบียบนี้
7
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
6. บุคคลที่ยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วย การเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ พ.ศ และระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วย การเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แนบท้ายแบบ สปส แบบ สปส แบบ สปส. 1-21
8
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.