งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
นายอังคาร พวงนาค นักวิชาการชั่งตวงวัด 8 ว

2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ. ศ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 116 ตอนที่ 29 ก วันที่ 21 เมษายน 2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม เป็นต้นมา

3 มาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ๒)
พระราชบัญญัติ มาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2549 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 123 ตอนที่ 29 ก วันที่ 22 มีนาคม 2549 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม เป็นต้นมา

4 ความสำคัญของการปฏิรูประบบราชการ
การปฏิรูประบบราชการ เป็นสิ่งที่มีการพูดถึงและศึกษากันมานาน เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการพัฒนาของกระแสโลกไปสู่แนวความคิดโลกาภิวัฒน์ ทำให้ระบบราชการเดิมๆ ของไทยขาดความสามารถในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของประชาชาติไทยในสังคมโลกนั้น ไม่สัมฤทธิผลเท่าที่ควร

5 เป้าหมายของการปฏิรูประบบราชการ มีด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้
1. เพื่อให้ภาครัฐสามารถนำบริการที่ดีคุณภาพสูง ไปสู่ประชาชน 2. เพื่อให้ภาครัฐมีระบบการทำงานและเจ้าหน้าที่ ที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับมาตรฐานสากล 3. เพื่อให้ภาครัฐมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 4. เพื่อให้ภาครัฐเป็นระบบที่เกื้อกูลและไวต่อ ปัญหา และความต้องการของประชาชน ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ทันการณ์ต่อการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและ ประชากรโลก รวมทั้งสร้างเสริมวิสัยทัศน์ที่ กว้างไกล 5. เพื่อให้ภาครัฐเป็นระบบที่ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธาของประชาชน

6 การปฏิรูประบบราชการ เป็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือออกแบบใหม่อย่างมีเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญต่อโครงสร้างกลไก และกระบวนการทำงานในระบบราชการ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานของระบบของระบบราชการ และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการตอบสนองต่อสภาพต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก

7 การปฏิรูปการจัดการภาครัฐ เป็นการมุ่งแสวงหาทางเลือกที่เป็นแนวคิดการบริหารจัดการใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือออกแบบวิธีการบริหารจัดการใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อมุ่งไปสู่การเพิ่มผลผลิตของการบริหารงานของรัฐให้สูงขึ้นและสามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกให้ดีขึ้น

8 การปฏิรูประบบราชการและการปฏิรูปการจัดการภาครัฐมีความสำคัญ ดังนี้
เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานเดิมที่องค์การแบบระบบราชการมีอยู่ เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงานเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความทันสมัย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของประชาชน

9 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่แล้ว โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแด่นดิน ด้วยการออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 โดยเฉพาะมาตรา 3/1 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545 เป็นต้นมา

10 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545
“มาตรา ๓/๑ การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน

11 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545
การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ

12 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรานี้ จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้”

13 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545
หมวด ๑๒ กระทรวงพาณิชย์ มาตรา ๒๘ กระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์

14 พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545
มาตรา ๒๙ กระทรวงพาณิชย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการค้าต่างประเทศ (๔) กรมการค้าภายใน (๕) กรมการประกันภัย (๖) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (๗) กรมทรัพย์สินทางปัญญา (๘) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (๙) กรมส่งเสริมการส่งออก

15 โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ “มาตรา 95 ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของกรมทะเบียนการค้า เฉพาะที่เกี่ยวกับ สำนักชั่งตวงวัด มาเป็นของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์” (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 119 ตอนที่ 102 ก วันที่ 8 ตุลาคม 2545)

16 “มาตรา 89 ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ. ศ
“มาตรา 89 ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ ให้แก้ไขคำว่า “กรมทะเบียนการค้า” เป็น “กรมการค้าภายใน” และคำว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้า” เป็น “อธิบดีกรมการค้าภายใน” ” (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 116 ตอนที่ 29 ก วันที่ 21 เมษายน 2542) มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒” มาตรา ๒[1][๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

17 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังนี้ (1) เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ (3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ (4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น (5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์ (6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการ ตอบสนองความต้องการ (7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

18 ประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง การจัดตั้งและกำหนดอำนาจหน้าที่สำนักงานสาขาชั่งตวงวัด ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่มที่ 123 ตอนที่ 56 ง วันที่ 8 มิถุนายน 2549)

19 ข้อ ๔ ให้สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดตามข้อ ๓ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เก็บรักษาแบบมาตราชั่งตวงวัด (๒) ออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจในการผลิต นำเข้า ขาย ซ่อม เครื่องชั่งตวงวัด หรือให้บริการชั่งสินค้าของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้า (๓) ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด (๔) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.๒๕๔๒

20 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒

21 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๑๗ ผู้ใดจะประกอบธุรกิจในการผลิต นำเข้า ขาย ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัด หรือให้บริการชั่ง ตวง หรือวัด ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานกลางหรือสำนักงานสาขา ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง

22 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(มาตรา ๑๗ วรรคสอง) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่งและตรวจสอบว่าถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงให้แก่ผู้แจ้งภายใน เจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

23 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(มาตรา ๑๗ วรรคสาม) ในกรณีที่การแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล

24 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(มาตรา ๑๗ วรรคสี่) ในกรณีที่ผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง เจ็ดวัน

25 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(มาตรา ๑๗ วรรคห้า) ผู้ได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจต้องเสียค่าธรรมเนียมในการประกอบธุรกิจตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

26 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจสูญหายหรือถูกทำลาย ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบการสูญหายหรือถูกทำลาย

27 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๑๙ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจหรือใบแทนหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิต สำนักงานนำเข้า สถานที่ขาย สถานที่ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัด หรือสถานที่ให้บริการชั่งตวงหรือวัด แล้วแต่กรณี เว้นแต่อยู่ในระหว่างการขอรับใบแทนหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๘

28 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งตามมาตรา ๑๗ วรรคสาม ถ้าผู้ที่ได้รับคำสั่งไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล

29 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(มาตรา ๒๐ วรรคสอง) ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์แล้วแจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ (มาตรา ๒๐ วรรคสาม) คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

30 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๒๑ ผู้ประกอบธุรกิจต้องประกอบกิจการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง

31 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๒๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจในการให้บริการชั่ง ตวง หรือวัด ออกหนังสือแสดงผลการชั่งการตวง หรือการวัด ให้แก่ผู้ขอรับบริการชั่ง ตวง หรือวัด ทุกครั้ง ในหนังสือดังกล่าวให้มีลายมือชื่อผู้ควบคุมการชั่ง การตวง หรือการวัด พร้อมทั้งระบุ วัน เวลา และสถานที่ที่ทำการชั่ง ตวง หรือวัด ด้วย

32 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๒๓ อธิบดีมีอำนาจประกาศกำหนดข้อปฏิบัติในการบำรุงรักษาเครื่องชั่งตวงวัด และการให้บริการชั่ง ตวง หรือวัด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการชั่ง ตวง หรือวัด หรือผู้ควบคุมการชั่ง การตวง หรือการวัด ถือปฏิบัติ

33 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(มาตรา ๒๓ วรรคสอง) ในกรณีที่มีการปฏิบัติผิดข้อปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายสั่งเป็นหนังสือให้ทำการแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด

34 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจในการขายเครื่องชั่งตวงวัด ขายหรือจำหน่ายเครื่องชั่งตวงวัดที่ไม่มีการให้คำรับรองตามมาตรา ๓๐ หรือที่คำรับรองสิ้นอายุแล้วตามมาตรา ๓๓ เว้นแต่เครื่องชั่งตวงวัดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้ยกเว้นการให้คำรับรองตามมาตรา ๒๙ วรรคสอง

35 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๒๘ ในกรณีที่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย ผู้ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัดหรือผู้ให้บริการชั่ง ตวงหรือวัด เปลี่ยนแปลงสถานที่ผลิต สำนักงานนำเข้า สถานที่ขาย สถานที่ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัดหรือสถานที่ให้บริการชั่ง ตวง หรือวัด หรือมีสถานที่ผลิต สำนักงานนำเข้า สถานที่ขาย สถานที่ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัดหรือสถานที่ให้บริการชั่ง ตวง หรือวัดหลายแห่ง ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือการประกอบกิจการสำหรับสถานที่หรือสำนักงานนั้นๆ ทุกแห่ง

36 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(มาตรา ๒๘ วรรคสอง) ในกรณีที่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย ผู้ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัดหรือผู้ให้บริการชั่งตวงหรือวัดมีสถานที่เก็บเครื่องชั่งตวงวัด ณ สถานที่อื่นนอกจากสถานที่ผลิต สำนักงานนำเข้า สถานที่ขาย สถานที่ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัดหรือสถานที่ให้บริการชั่ง ตวงหรือวัด ต้องแจ้งสถานที่เก็บนั้นด้วยทุกแห่ง

37 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๘ ผู้ใดประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ โดยไม่มีหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

38 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๙ ผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ หรือผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ไม่แสดงไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ไม่ยื่นคำขอรับใบแทน

39 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๗๐ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๒๘ หรือผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

40 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๗๑ ในการประกอบธุรกิจการให้บริการชั่ง ตวงหรือวัด ถ้าผู้ประกอบธุรกิจไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

41 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๗๒ ในการประกอบธุรกิจการให้บริการชั่ง ตวงหรือวัด ตามมาตรา ๑๗ ผู้ใดออกหนังสือแสดงผลการชั่ง ตวงหรือวัด อันเป็นเท็จเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

42 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ
เกี่ยวกับการชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๔

43 กฎกระทรวง ข้อ ๑ ผู้ใดจะประกอบธุรกิจในการผลิต นำเข้า ขาย ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัด หรือให้บริการชั่งสินค้าของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้า ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

44 กฎกระทรวง (๑) ต้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย และในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องจดทะเบียนหรือจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานอยู่ในราชอาณาจักรไทย

45 กฎกระทรวง (๒) ต้องมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในสถานที่ที่จะใช้ประกอบธุรกิจ ซึ่งมีสภาพมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย และมีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมที่จะใช้ประกอบธุรกิจนั้น

46 กฎกระทรวง (๓) ในกรณีที่จะประกอบธุรกิจในการผลิตหรือซ่อมเครื่องชั่งตวงวัด ต้องมีแบบมาตราและเครื่องมือเครื่องใช้ตามที่สำนักงานกลางกำหนด

47 กฎกระทรวง การประกอบธุรกิจให้บริการชั่งสินค้าของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้า ที่จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งนั้น จะต้องเป็นการใช้เครื่องชั่งที่ติดตั้งอยู่กับที่ และมีพิกัดกำลังตั้งแต่ ๒๐ เมตริกตันขึ้นไป

48 กฎกระทรวง ข้อ ๒ ผู้จะประกอบธุรกิจตามข้อ ๑ ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานกลางหรือสำนักงานสาขาที่มีเขตอำนาจในจังหวัดที่สถานที่ประกอบธุรกิจตั้งอยู่ ตามแบบ ชว.๐๐๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยหลักฐานที่ระบุไว้ในแบบ ชว.๐๐๑

49 กฎกระทรวง ข้อ ๓ หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจในการผลิต นำเข้า ขาย ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัด หรือการให้บริการชั่ง ให้ใช้แบบ ชว.๑๐๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้

50 จบการบรรยาย


ดาวน์โหลด ppt หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google