งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผลการประเมินแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผลการประเมินแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผลการประเมินแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2
การสัมมนา ผลการประเมินแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 นำเสนอโดย บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด 15 พฤศจิกายน 2548

2 เป้าหมายแผนอนุรักษ์พลังงานระยะที่ 2 (2543-2547)
626 2

3 จำนวนโครงการตัวอย่างในการประเมินผล
3

4 การประเมินผลโครงการ แผนงานภาคบังคับ

5 ผลการดำเนินงานโดยรวม
ผลการประเมิน : แผนงานภาคบังคับ ผลการดำเนินงานโดยรวม กระบวนการดำเนินงาน อยู่ในระดับ ปานกลาง มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานประมาณร้อยละ 55 ของโครงการ ตามแผนการดำเนินงานของ พพ. โดยโครงการที่ดำเนินการจนถึงขั้นการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในโครงการอาคารของรัฐและอาคารควบคุม ประสิทธิภาพ อยู่ในระดับ ปานกลาง โดยผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่ได้เทียบกับเงินลงทุนของโครงการภายใต้แผนงานภาคบังคับเท่ากับ 2.25 บาท/KWh และมีระยะเวลาคืนทุน 5.84 ปี ประสิทธิผลอยู่ในระดับ อยู่ในระดับ ปานกลาง มีมูลค่าของผลการอนุรักษ์เทียบกับเป้าหมายการอนุรักษ์ตามแผนการดำเนินงานของ พพ.โดยรวมประมาณร้อยละ 50 4

6 ผลการประเมิน : แผนงานภาคบังคับ
ผลกระทบ ด้านเศรษฐกิจ ผลประหยัดพลังงานรวม 697 ล้านบาทต่อปี โดยมีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 6 (เงินลงทุน 4,359 ล้านบาท) ด้านสังคม บุคลากรของหน่วยราชการและเอกชนยังขาดจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของ และพฤติกรรมต่อการอนุรักษ์พลังงาน เนื่องจากได้รับเงินช่วยเหลือในการปรับปรุงทั้งหมด ด้านสิ่งแวดล้อม ได้รับความสะดวกสบายในการทำงาน ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก หน่วยงานส่วนใหญ่ยังเก็บอุปกรณ์เดิมไว้เพื่อรอจำหน่าย ยังไม่มีการจัดการซากที่เหมาะสม 5

7 โครงการประชาสัมพันธ์ในส่วนที่ พพ. รับผิดชอบ
ผลการประเมิน : แผนงานภาคบังคับ โครงการประชาสัมพันธ์ในส่วนที่ พพ. รับผิดชอบ กระบวนการดำเนินการ : ระยะเวลาของโครงการ และระยะเวลาในการอนุมัติโครงการ เหมาะสม แต่ การเบิกจ่ายงบประมาณ ยังมีความล่าช้า บุคลากรของ พพ. ที่ดูแลโครงการ มีความเหมาะสม ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ การรับรู้และเข้าใจในประเด็นที่สื่อสารของกลุ่มเป้าหมาย : การรับรู้ข้อมูลดี เนื่องจาก พพ. มีการเน้นย้ำการสื่อสารผ่านทางกิจกรรมประชาสัมพันธ์ของ พพ. ทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมของ พพ. : สามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความชื่นชอบ และเห็นประโยชน์ การเกิดพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงาน : การประชาสัมพันธ์ของ พพ. สามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดพฤติกรรมอนุรักษ์พลังงานแบบเป็นนิสัยเพิ่มมากขึ้น 6

8 สิ่งที่พบจากการสำรวจ
ผลการประเมิน : แผนงานภาคบังคับ สิ่งที่พบจากการสำรวจ โครงการโรงงาน/อาคารควบคุม ปัญหาการดำเนินงานตามกฎกระทรวงฯ ไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนด ปัญหาเรื่องความถูกต้องของรายงานการวิเคราะห์การใช้พลังงาน ผู้ประกอบการไม่มั่นใจในผลการประหยัดพลังงานหลังปรับปรุงตามมาตรการอนุรักษ์พลังงาน ความไม่พร้อมของบุคลากรของโรงงาน/อาคาร อุปกรณ์ประหยัดพลังงานมีราคาสูง ยังไม่มีการบังคับใช้บทลงโทษเมื่อผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตาม พรบ.ฯ 7

9 สิ่งที่พบจากการสำรวจ
ผลการประเมิน : แผนงานภาคบังคับ สิ่งที่พบจากการสำรวจ โครงการอาคารของรัฐ ขาดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ระหว่างผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆ ขาดงบประมาณในการดูแลรักษาอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน วิธีการจัดซื้อตามระเบียบของหน่วยงานราชการทำให้ไม่สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน อุปกรณ์ประหยัดพลังงานไม่มีจำหน่ายแพร่หลายในต่างจังหวัดและมีราคาแพง ขาดผู้รับผิดชอบที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการดูแลรักษาอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ผู้บริหาร/ผู้ประสานงานโยกย้ายตามระบบราชการ จึงขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน 8

10 ข้อเสนอแนะ โครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม บังคับใช้บทลงโทษตาม พรบ.ฯ
ผลการประเมิน : แผนงานภาคบังคับ ข้อเสนอแนะ โครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม บังคับใช้บทลงโทษตาม พรบ.ฯ รัฐควรส่งเสริมโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น สร้างแรงจูงใจให้กับโรงงาน/อาคาร เช่น ลดภาษีอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น ผลักดันให้มีการใช้ข้อกำหนดหรือมาตรฐานด้านพลังงานสำหรับอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบก่อสร้าง จัดทำและเผยแพร่คู่มือประหยัดพลังงานแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 9

11 ข้อเสนอแนะ โครงการอาคารของรัฐ
ผลการประเมิน : แผนงานภาคบังคับ ข้อเสนอแนะ โครงการอาคารของรัฐ ควรจัดการอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึก ความรู้ความเข้าใจ เหตุผลในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการก่อนทำการปรับปรุงอาคาร และควรให้ผู้บริหารอาคารและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ รัฐควรจัดทำมาตรฐานในการจัดซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าในหน่วยงานราชการให้เป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงานทั้งหมด 10

12 ข้อเสนอแนะ โครงการประชาสัมพันธ์ในส่วนที่ พพ. รับผิดชอบ
ผลการประเมิน : แผนงานภาคบังคับ ข้อเสนอแนะ โครงการประชาสัมพันธ์ในส่วนที่ พพ. รับผิดชอบ ด้านการประชาสัมพันธ์ ควรใช้การสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และต่อเนื่อง รูปแบบของกิจกรรมและเนื้อหาตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ควรมีการตรวจสอบ ติดตาม และเผยแพร่ผลสำเร็จของโครงการอย่างต่อเนื่อง กำหนดมาตรการลงโทษทางสังคมแก่หน่วยงานที่ไม่ประหยัดพลังงาน ด้านการประเมินผล ควรกำหนดกรอบและเกณฑ์ในการประเมินผลให้ชัดเจน ควรมีการติดตามผลภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมเป็นระยะ ควรแยกงบประมาณในการจัดจ้างผู้ติดตามประเมินผล ออกจากงบประมาณในการจ้างที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ 11

13 แผนงานภาคความร่วมมือ
การประเมินผลโครงการ แผนงานภาคความร่วมมือ

14 ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ
ผลประเมินในภาพรวม ผลการดำเนินงานโดยรวมของแผนงานภาคความร่วมมือ อยู่ในระดับ ปานกลาง กระบวนการดำเนินงาน อยู่ระดับ ค่อนข้างดี มีกระบวนการดำเนินงานที่เหมาะสม แม้โครงการบางส่วนจะประสบปัญหาความล่าช้า ประสิทธิภาพ อยู่ในระดับ ปานกลาง โดยการพัฒนาพลังงานทดแทนหรือการอนุรักษ์พลังงานส่วนใหญ่ ยังคงต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ ประสิทธิผล อยู่ในระดับ ค่อนข้างดี สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ในระดับโครงการรองได้ดี แต่ยังสามารถไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของแผนงาน ฯ หรือส่งผลด้านพลังงานของประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ ผลกระทบ อยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนใหญ่ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านบวก เช่น ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือสามารถลดค่าใช้จ่ายในกลุ่มเป้าหมาย แต่ยังคงดำเนินการอยู่ในวงจำกัด เช่น ติดตั้งระบบสาธิต 12

15 ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน
ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน กลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ และความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์อยู่ที่ บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง (กรณีโครงการ สาธิตระบบและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และโครงการ สาธิตระบบและจำหน่ายไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านระยะที่ 2) ยังต้องพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตในเชิงพาณิชย์ และการเพิ่มประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ 13

16 ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน
ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน กลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ และความร้อนใต้พิภพ พลังงานความร้อนใต้พิภพ จากการศึกษาในระดับเบื้องต้น พบว่า เป็นแหล่งขนาดเล็กที่อยู่ในแถบภาคเหนือ มีศักยภาพประมาณ กิโลวัตต์ มีความคุ้มค่าการลงทุน โดยมีต้นทุนการผลิตพลังงานอยู่ที่ 2.02 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง (กรณีโครงการ ศึกษาเพื่อประเมินศักยภาพแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ จังหวัดแม่ฮ่องสอน) 14

17 ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน
ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน กลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ และความร้อนใต้พิภพ พลังงานน้ำ โรงไฟฟ้าขนาดจิ๋วส่วนใหญ่ใช้งานมานาน ทำให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพทรุดโทรม หลายหมู่บ้านได้เลิกใช้งานแล้ว (กรณีโครงการ จัดการด้านโรงไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านแบบพึ่งพาตนเองได้) ในพื้นที่ที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง พบว่า ส่วนใหญ่ผลิตไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอความต้องการ พลังงานลม มีศักยภาพที่จะดำเนินการเฉพาะในบางพื้นที่ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าค่อนข้างสูง ( บาท) 15

18 ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน
ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน กลุ่มพลังงานจากก๊าซชีวภาพ มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการมาก มีโอกาสในการขยายผลสูง และมีองค์ความรู้ภายในประเทศ บางโครงการมีผลตอบแทนทางการเงินที่คุ้มค่าการลงทุน เช่น โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังที่มีผลตอบแทนการลงทุนถึงประมาณร้อยละ 20 (กรณีโครงการ ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียอุตสาหกรรมเพื่อใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยระบบ UASB) ปัญหาที่พบ คือ การนำก๊าซไปใช้ไม่เต็มที่ และมีการปล่อยทิ้งในบรรยากาศ (โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ฯ ส่วนที่ 2 : เกษตรกรรายย่อย) โครงการผลิตพลังงานและปุ๋ยอินทรีย์ พบว่า ปริมาณขยะที่ป้อนเข้าสู่โรงงานยังต่ำกว่าเกณฑ์การออกแบบ เนื่องจากกิจกรรมการคัดแยกขยะอินทรีย์จากครัวเรือนยังไม่เต็มพื้นที่ตามเป้าหมาย และมีปัญหาความไม่พร้อมของอุปกรณ์ในระบบคัดแยกขยะ 16

19 ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน
ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน กลุ่มพลังงานจากชีวมวล การใช้งานชีวมวลเพื่อผลิตพลังงานมีความคุ้มทุนในบางกรณี เช่น ผลิตพลังงานความร้อนร่วม (Co-generation) หรือการใช้ชีวมวลที่เป็นของเหลือใช้ในอุตสาหกรรม เชื้อเพลิงชีวมวลบางชนิดที่มีความคุ้มทุนในการใช้งาน ได้ถูกใช้งานอยู่แล้วเกือบเต็มศักยภาพด้านปริมาณที่มี เช่น แกลบ เส้นใยปาล์ม และชานอ้อย จนทำให้ปัจจุบันราคาของชีวมวล เช่น แกลบ มีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยในปัจจุบันบางฤดูจะอยู่ที่ 900-1,100 บาท/ตัน การดำเนินการยังต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และการนำเข้าเครื่องจักร 17

20 ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน
ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน กลุ่มการส่งเสริมเทคโนโลยีการนำกลับมาใช้ใหม่ ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี เนื่องจากก่อให้เกิดรายได้ แต่มีข้อจำกัดในการขยายผลโครงการ เนื่องจากไม่มีการแยกประเภทขยะ กลุ่มการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โครงการประหยัดพลังงานโดยใช้เทคนิคการจัดการ (VE) ใช้เงินลงทุนต่ำ แต่มีศักยภาพในการประหยัดค่าใช้จ่ายสูง โครงการอนุรักษ์พลังงานในโรงบ่มใบยาสูบ สามารถลดปริมาณการใช้พลังงานได้กว่าร้อยละ 30 และช่วยลดมลพิษ 18

21 ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน
ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน กลุ่มส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในบ้านและการจัดการด้านการใช้ (DSM) โครงการ TOU (สำหรับบ้านพักอาศัย) ขณะนี้สามารถดำเนินการได้ในบางพื้นที่ แต่ยังประสบปัญหาในด้านราคาของมิเตอร์ที่มีราคาแพง ผลการศึกษาโครงการศึกษากำหนดยุทธศาสตร์พลังงานในระดับจังหวัดยังไม่ถูกนำไปใช้ปฏิบัติเท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่มีการจัดสรรงบประมาณรองรับมาตรการ/โครงการนำร่องที่ได้ศึกษาไว้ กลุ่มห้องทดสอบและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน มีการจัดตั้งห้องทดสอบอุปกรณ์หลายชนิดทั้งตู้เย็น มอเตอร์ไฟฟ้า และบัลลาสต์ รวมไปถึงการทดสอบสมรรถนะของเตาหุงต้มแอลพีจี การดำเนินโครงการ มหาวิทยาลัยรวมพลังหารสอง ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินมาตรการที่เน้นการรณรงค์และสร้างจิตสำนึก ซึ่งยังไม่ส่งผลไปสู่เป้าหมายด้านผลอนุรักษ์พลังงานที่ชัดเจน 19

22 ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน
ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน กลุ่มการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง เป็นสาขาที่มีการใช้พลังงานสูง จึงมีศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงานได้มากในสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมาก การดำเนินงานด้านไบโอดีเซล พบว่า การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้วเพื่อใช้งานในรถสองแถว ที่มีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 19 บาทต่อลิตร (กรณีโครงการ วิจัยการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลในจังหวัดเชียงใหม่) ขณะที่ การรณรงค์ให้มีการใช้ไบโอดีเซลในรถโดยสาร ยังดำเนินการได้เพียงบางส่วน เนื่องจากทาง ขสมก. ยังไม่เชื่อมั่นในผลกระทบจากการใช้ไบโอดีเซลต่อเครื่องยนต์ (กรณีโครงการ กรุงเทพฯ ฟ้าใสด้วยไบโอดีเซล) 20

23 ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน
ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน กลุ่มการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง โครงการส่งเสริมให้รถแท็กซี่ใช้งานก๊าซธรรมชาติ โดยให้การสนับสนุนเงินทุนติดตั้ง พบว่า แท๊กซี่บางส่วนหันไปใช้งานก๊าซหุงต้ม ที่แม้มีราคาขายก๊าซที่สูงกว่า แต่ต้นทุนการติดตั้งอุปกรณ์ต่ำกว่ามาก การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อลดการเดินรถเที่ยวเปล่า และจัดสร้างที่จอดรถ (Park and Ride) ในบริเวณหมอชิต และบางซื่อ ที่ก่อให้เกิดผลประหยัดพลังงานที่คุ้มค่าการลงทุน โครงการสร้างเส้นทางจักรยาน มีข้อจำกัดที่สำคัญในการสร้างเส้นทางจักรยาน คือ ถนนที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้รับการวางแผนให้มีทางจักรยาน 21

24 ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน
ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ ผลการประเมินตามกลุ่มประเภทพลังงาน กลุ่มโครงการสารสนเทศ เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อไปยัง website ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอื่นทั้งในและต่างประเทศ กลุ่มสาธิตเทคโนโลยี โครงการศูนย์สาธิตประสิทธิภาพพลังงาน ในภาพรวมผลการดำเนินการอยู่ในระดับค่อนข้างดี แต่มีแนวโน้มว่าจะไม่ยั่งยืนหากขาดงบประมาณในการสนับสนุนหลังจบโครงการ 22

25 ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ
ข้อเสนอแนะ สนพ. ควรกำหนดกรอบการสนับสนุนในเชิงรุก เพื่อกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและแนวทางในการสนับสนุนโครงการที่ชัดเจน การดำเนินการในสาขาการพัฒนาพลังงาน ควรมีการจัดลำดับความสำคัญของสาขาที่มีศักยภาพ และมีความพร้อมในการใช้งานจริงก่อน ควรมีการติดตามการใช้พลังงานก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการในกลุ่มประหยัดพลังงาน เพื่อทราบผลการประหยัดจริง และควรขยายผลให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ควรให้ความสำคัญมากขึ้นกับการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับการขนส่ง และการประหยัดพลังงานในสาขาขนส่งและ SMEs 23

26 ผลการประเมิน : แผนงานภาคความร่วมมือ
ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องจักรด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการนำเข้า ส่งเสริมให้มีบุคลากรด้านพลังงานในระดับต่าง ๆ เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ควรมีการกำหนดรูปแบบการประเมินผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงินของโครงการ 24

27 การประเมินผลโครงการ แผนงานสนับสนุน

28 ผลการดำเนินงานโดยรวม
ผลการประเมิน : แผนงานสนับสนุน ผลการดำเนินงานโดยรวม กระบวนการดำเนินงานของแผนสนับสนุนมีความเหมาะสมปานกลาง ขาดการกำหนดกลยุทธ์ ทิศทาง และเป้าหมายในการให้การสนับสนุนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาพลังงานของประเทศ หรือของแผนอนุรักษ์พลังงาน และขาดการบูรณาการระหว่างแผนงาน ประสิทธิภาพของแผนงานดี สามารถบริหารจัดการทรัพยากรและใช้งบประมาณได้อย่างเหมาะสม ประสิทธิผลของแผนงานดี สามารถผลิตผลผลิตได้ตามเป้าหมายของโครงการ และมีศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงาน ผลกระทบด้านการอนุรักษ์พลังงานของแผนงาน ไม่เป็นรูปธรรม แต่จะมีผลกระทบด้านสังคม โดยการสร้างจิตสำนึกและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานที่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น 25

29 ข้อสังเกตของที่ปรึกษา
ผลการประเมิน : แผนงานสนับสนุน ข้อสังเกตของที่ปรึกษา การขาดกลยุทธ์หรือเป้าหมายในการสนับสนุนทุน ทำให้การสนับสนุนไม่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาพลังงาน ไม่มีโครงการเพื่อจัดการองค์ความรู้จากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนกำหนดทิศทางและเป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงานระยะต่อไป การสนับสนุนอย่างบูรณาการระหว่างแผนงานรองยังไม่ดีเท่าที่ควร เช่น ผลงานวิจัยที่ได้จากการสนับสนุน ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแผนงานอื่นได้ เป็นต้น 26

30 ผลการประเมิน : แผนงานสนับสนุน
ข้อเสนอแนะ สนพ. ควรกำหนดกรอบทิศทางในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรตามลำดับความสำคัญของประเภทพลังงานที่ต้องการสนับสนุนในแต่ละปี โดยสอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงาน แผนอนุรักษ์พลังงาน และตอบสนองต่อความต้องการของแผนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง สนพ. ควรผลักดันให้มีการนำผลผลิตที่ได้จากการสนับสนุนโครงการ เช่น งานวิจัย หรือผลการศึกษาด้านมาตรฐานต่าง ๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 27

31 จำนวนโครงการตัวอย่างในการติดตามผลลัพธ์
28

32 การติดตามผลลัพธ์โครงการ
แผนงานภาคบังคับ

33 ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ (EER)
ติดตามผลลัพธ์ : แผนงานภาคบังคับ โครงการอาคารของรัฐ ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ (EER) 29

34 ผลการตรวจวัดระดับความส่องสว่างโครงการอาคารของรัฐ
ติดตามผลลัพธ์ : แผนงานภาคบังคับ โครงการอาคารของรัฐ ผลการตรวจวัดระดับความส่องสว่างโครงการอาคารของรัฐ 30

35 ผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
ติดตามผลลัพธ์ : แผนงานภาคบังคับ โครงการอาคารของรัฐ ผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้า 31

36 การติดตามผลลัพธ์โครงการ แผนงานภาคความร่วมมือ

37 โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จ.แม่ฮ่องสอน :
ติดตามผลลัพธ์ : แผนงานภาคความร่วมมือ โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จ.แม่ฮ่องสอน : สามารถผลิตไฟฟ้ารองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต้องการการดูแลรักษาน้อย (ใช้คนควบคุมเพียง 1-2 คน) โอกาสในการขยายผลน้อย เนื่องจากต้องการเงินลงทุนที่สูง และมีแนวโน้มไม่คุ้มค่าการลงทุน โครงการศูนย์สาธิตเทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงาน : ขาดการดำเนินงานต่อ หลังสิ้นสุดการสนับสนุนจากกองทุนฯ อุปกรณ์ สื่อของโครงการ ไม่ได้รับการดูแลรักษาเท่าที่ควร เนื่องจากทางเจ้าของศูนย์ไม่ได้รับงบประมาณจากต้นสังกัด 32

38 มีเกษตรกรรายย่อยเป็นจำนวนมากที่แสดงเจตจำนงในการเข้าร่วมโครงการ
ติดตามผลลัพธ์ : แผนงานภาคความร่วมมือ โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 2: เกษตรกรรายย่อย : เกษตรกรร้อยละ 77 ยังมีการใช้งานบ่อก๊าซชีวภาพอยู่ตลอดเวลา ร้อยละ 15 ใช้งานเป็นบางเวลา และร้อยละ 8 เลิกใช้ เกษตรกรร้อยละ 69 มีปริมาณก๊าซชีวภาพเหลือใช้ (ปล่อยทิ้ง 87% เผาทิ้ง 7% แจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน 6%) มีเกษตรกรรายย่อยเป็นจำนวนมากที่แสดงเจตจำนงในการเข้าร่วมโครงการ โครงการนำร่องระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงานอุตสาหกรรม : ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เต็มที่และต่อเนื่อง ร้อยละ 30 ไม่ได้มีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ร่วมโครงการเห็นว่า ค่าลงทุนสูงแต่ผลิตไฟฟ้าได้น้อย เฉลี่ย 4 กิโลวัตต์ ต่อโรงงาน 33

39 ติดตามผลลัพธ์ : แผนงานภาคความร่วมมือ
โครงการจัดตั้งกังหันลมสูบน้ำเพื่อการเกษตรในโครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” : ชุดกังหันลมสูบน้ำของโครงการยังคงถูกใช้งาน เพื่อสูบน้ำขึ้นถังสูงได้เพียงพอการใช้งานในแปลงเกษตรสาธิตขนาดเล็ก โดยไม่พบปัญหาขัดข้องชำรุด ยังไม่มีการติดตั้งระบบเพิ่มเติม (จากจำนวน 4 แห่งที่ได้การสนับสนุนจากกองทุน) เนื่องมาจากเงินลงทุนติดตั้งที่สูง และผลตอบแทนการลงทุนต่ำ ผู้ดำเนินโครงการได้ทดลองปรับปรุงรูปแบบระบบ ฯ ให้มีขนาดเล็กลงและมีน้ำหนักน้อยลง แต่สามารถลดต้นทุนลงได้เพียงเล็กน้อย 34

40 การติดตามผลลัพธ์โครงการ
แผนงานสนับสนุน

41 ติดตามผลลัพธ์ : แผนงานสนับสนุน
โครงการพัฒนาบุคลากร ประเภทโครงการอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศและต่างประเทศ : ร้อยละ 82 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้นำความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์มาใช้ในการทำงานและถ่ายทอดให้ผู้อื่น ร้อยละ 94 ของผู้เข้าร่วมโครงการเกิดพฤติกรรมในสาขาที่อบรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 24 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีโอกาสได้ไปดูงานในหัวข้อด้านพลังงานอื่น/นำผลจากการดูงานไปขยายผลต่อ ร้อยละ 40 ของผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่า การอบรม/ดูงานก่อให้เกิดแรงผลักดันหรือพัฒนาในสาขาอาชีพเพิ่มขึ้น ประเภทโครงการส่งบุคลากรเข้ารับการศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ : ร้อยละ 37 ของผู้รับทุนได้นำความรู้จากการศึกษาต่อมาใช้ในการทำงาน และสาขาที่ได้รับทุนมีความเหมาะสมกับสายงาน/การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 35

42 โครงการพัฒนาบุคลากร ประเภทโครงการให้ทุนอุดหนุนการวิจัย :
ติดตามผลลัพธ์ : แผนงานสนับสนุน โครงการพัฒนาบุคลากร ประเภทโครงการให้ทุนอุดหนุนการวิจัย : ร้อยละ 51 ของผู้รับทุนได้นำความรู้จากการทำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เช่น สอนนักศึกษา ถ่ายทอดความรู้ และจัดทำโครงการในหน่วยงาน ร้อยละ 22 ของงานวิจัยถูกนำไปทำวิจัยต่อยอด ร้อยละ 61 ของงานวิจัยได้เผยแพร่สู่สาธารณชน ร้อยละ 33 ของงานวิจัยถูกนำไปใช้อ้างอิงในงานวิจัยอื่น ร้อยละ 25 ของงานวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ 36

43 โครงการบริหารงานตามกฎหมาย
ติดตามผลลัพธ์ : แผนงานสนับสนุน โครงการบริหารงานตามกฎหมาย มีแนวโน้มความยั่งยืนของโครงการมาก เนื่องจาก โครงการบริหารงานตามกฎหมายเป็นการจ้างที่ปรึกษาเพื่อช่วยงาน สนพ. และ พพ. ในการบริหารจัดการ ศึกษา และวางแผน ซึ่งพบว่า ร้อยละ 60 ของผลการศึกษาที่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนและหน่วยงานเจ้าของผลงาน 37

44 ผลสัมฤทธิ์ของการอนุรักษ์พลังงาน

45 ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
หมายเหตุ : * โครงการเฉพาะส่วนที่ สนพ. และ พพ. รับผิดชอบ 38

46 ความก้าวหน้าในการเบิกจ่ายเงิน
แผนงาน / โครงการหลัก งบประมาณที่ได้รับ อนุมัติ งบประมาณที่เบิกจ่าย งบประมาณผูกพัน งบประมาณคง เหลือ แผนงานภาคบังคับ 7 , 565 . 19 ( 36 8% ) 4 431 14 58 6% 2 090 90 1 043 15 โครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่ กำลังใช้งาน 5 862 35 891 27 59 880 48 โครงการโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออก แบบหรือก่อสร้าง 10 61 91 26 44 โครงการอาคารของรัฐ 625 82 468 55 05 157 22 โครงการประชาสัมพันธ์ในส่วนที่ พ รับผิดชอบ 66 41 - แผนงานภาคความร่วมมือ 6 053 73 29 5% 3 722 192 31 138 52 โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน 309 69 607 680 02 โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลัง งานหมุนเวียน 589 04 288 301 03 โครงการส่งเสริมธุรกิจด้านการอนุรักษ์พลังงาน 739 63 446 179 20 113 84 โครงการวิจัยและพัฒนา 397 363 45 32 07 โครงการโรงงานและอาคารทั่วไปที่กำลังใช้งาน 17 76 แผนงานสนับสนุน 919 33 7% 601 260 87 020 85 โครงการพัฒนาบุคลากร 134 64 850 77 255 28 โครงการประชาสัมพันธ์ในส่วนที่ สนพ 730 519 96 210 62 โครงการบริหารงานตามกฎหมาย 054 230 97 005 817 รวม 538 (100%) 12 755 75 1% 544 08 238 39

47 ประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินและทรัพยากร
หมายเหตุ : * เฉพาะโครงการที่ลงทุนแล้วและมีผลการอนุรักษ์พลังงาน 40

48 ผลการประหยัด : แผนงานภาคบังคับ
ต้นทุนต่อหน่วยพลังงานที่ประหยัดได้ ผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเทียบกับเงินลงทุน เท่ากับ 2.25 บาทต่อ kWh (ระยะเวลาคืนทุน 5.84 ปี) * ยังไม่ได้ดำเนินการในมาตรการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง 41

49 มูลค่าการประหยัด : แผนงานภาคบังคับ
42

50 ผลการประหยัด : แผนงานภาคความร่วมมือ
43

51 ผลการอนุรักษ์พลังงานตลอดอายุโครงการ
ผลการประหยัดพลังงานจริง เท่ากับ ร้อยละ 6.26 เมื่อเทียบกับเป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงาน 44

52 ผลกระทบ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ประหยัดได้เมื่อเทียบกับการลงทุน เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลสนับสนุนเงินลงทุนให้กับผู้เข้าร่วมโครงการบางส่วน ผลกระทบทางด้านสังคม ผลกระทบทางด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ได้มีการใช้ผลผลิตจากการดำเนินโครงการบางกลุ่ม ซึ่งทำให้ผู้ใช้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และก่อให้เกิดพฤติกรรมในการอนุรักษ์พลังงานในทางที่ดี แต่ยังมีข้อจำกัดในการขยายผล ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับค่อนข้างดี สามารถลดมลพิษทางอากาศ กลิ่น น้ำเสีย และปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นแก่ผู้ได้รับผลกระทบ 45

53 การบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานตามกฎหมาย
ของแผนงานภาคบังคับ ผลการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ คิดเป็นมูลค่าการอนุรักษ์ประมาณร้อยละ 50 ของเป้าหมายการดำเนินงานของ พ.พ. สามารถดำเนินงานโครงการอาคารของรัฐแล้วเสร็จตามแผน ความก้าวหน้าในการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมประมาณร้อยละ 60 แต่มีปัญหาเรื่องความยั่งยืนของการอนุรักษ์พลังงานในโครงการอาคารของรัฐ และปัญหาเรื่องการผลักดันให้โรงงานควบคุมดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามเป้าหมายและแผนที่ได้รับอนุมัติ 46

54 การบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมธุรกิจ การอนุรักษ์พลังงาน
ธุรกิจอนุรักษ์พลังงานยังไม่เติบโต ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจ หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลอนุรักษ์พลังงานได้เท่าที่ควร โดยการดำเนินงานส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมความพร้อม หรือระดับโครงการนำร่อง ซึ่งรอการขยายผล การบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาพลังงานทดแทน การพัฒนาพลังงานทดแทนที่ผ่านมา ยังไม่มีเป้าหมายและลำดับความสำคัญรายสาขาพลังงานที่ชัดเจน และยังไม่สามารถขยายการพัฒนาออกไปอย่างแพร่หลาย ยังมีข้อจำกัดในด้านต้นทุนพลังงานที่ได้ค่อนข้างสูง เงินสนับสนุนในการลงทุนมีจำกัด และขาดบุคลากรในการดำเนินการโครงการ 47

55 การบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาบุคลากร
การดำเนินงานที่ผ่านมามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอยู่ในระดับค่อนข้างดี แต่ยังต้องปรับกลยุทธ์และกำหนดทิศทางในการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของแผนงานอื่น การบรรลุเป้าหมายด้านการประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานที่ผ่านมามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอยู่ในระดับค่อนข้างดี สามารถสร้างทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์พลังงาน 48

56 49

57 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และที่อยู่อาศัย ควรส่งเสริมให้เกิดธุรกิจให้บริการที่ปรึกษา และผลักดันให้เกิดการดำเนินการให้บริการด้าน value engineering ในเชิงธุรกิจอย่างแพร่หลาย ควรมีการผลักดันมาตรการสนับสนุนการผลิตและการใช้อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง 50

58 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2. การพัฒนาและใช้พลังงานทดแทน ขยายขอบข่ายและแรงจูงใจในการพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น กำหนดราคารับซื้อพลังงานทดแทนที่จูงใจ ควรให้ความสำคัญลำดับต้นกับสาขาพลังงานที่มีศักยภาพและความพร้อม เช่น แก๊สชีวภาพ ไบโอดีเซล แก๊ซโซฮอล แสงอาทิตย์ในรูปความร้อน ควรมีการศึกษากำหนดทางเลือกเชื้อเพลิงและพลังงานสำหรับการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง และอุตสาหกรรม แล้วทำการวิจัยและพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 51

59 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
3. การเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรด้านพลังงาน ปรับกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรโดยมุ่งเน้นการพัฒนาความเชี่ยวชาญในรูปแบบของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้มากขึ้น โดยให้องค์ประกอบของคณะผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ที่จำเป็นจากงานวิจัยพื้นฐานจนถึงขั้นการผลิตในเชิงพาณิชย์ และสามารถบูรณาการต่อการดำเนินการของแผนอนุรักษ์พลังงาน 4. การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ สร้างเครือข่ายพันธมิตรในการขยายการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานไปสู่ส่วนภูมิภาค เช่น ให้ผู้ว่า CEO กำกับดูแลและสร้างเครือข่ายพันธมิตรในการอนุรักษ์พลังงานของจังหวัด สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการขยายผลโครงการที่เห็นว่าสามารถผลักดันไปสู่การดำเนินการในเชิงพาณิชย์ เช่น สนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางการเงินแก่เจ้าของโครงการในระยะแรก 52

60 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
1. ด้านผู้มีส่วนร่วมในการนำผลไปปฏิบัติ การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทบทวนและผลักดันการประกาศใช้มาตรฐานประสิทธิภาพเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุประหยัดพลังงานที่มีการศึกษาไว้แล้วให้มีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว บังคับใช้บทลงโทษตามกฎหมายสำหรับอาคารและโรงงานที่ไม่ดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง กำหนดเป้าหมายการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานกลุ่ม อุตสาหกรรม 53

61 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
1. ด้านผู้มีส่วนร่วมในการนำผลไปปฏิบัติ การพัฒนาและใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทน ควรขยายโครงการที่ประสบผลสำเร็จ โดยเผยแพร่ผลสัมฤทธิ์และสนับสนุนโดยการให้เงินอุดหนุนการศึกษาทางเทคนิคและการเงินแก่ผู้สนใจ ดังโครงการต่อไปนี้ โครงการก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ที่มีน้ำทิ้งความเข้มข้นสูง โครงการติดตั้งปั๊มความร้อน (Heat Pump) โครงการส่งเสริมการใช้ก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ผลักดันการประกาศใช้มาตรฐานไบโอดีเซล 54

62 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
2. ด้านทรัพยากรงบประมาณ การประเมินความคุ้มค่าโครงการที่มีประสิทธิภาพ จัดทำคู่มือการวิเคราะห์ความเหมาะสม หรือผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ โดยใช้แนวคิด Life Cycle Costing โดยใช้มาตรฐานเดียวกันทุกโครงการ 55


ดาวน์โหลด ppt ผลการประเมินแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google