งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมายและชนิดของคลื่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายและชนิดของคลื่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความหมายและชนิดของคลื่น
คลื่นกล ความหมายและชนิดของคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น

2 คลื่น คลื่น คือ กระบวนการถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งหรือเป็นการถ่ายเทพลังงานจากแหล่งกำเนิดออกไปยังบริเวณโดยรอบ

3 คลื่นสามารถจำแนกตามลักษณะต่าง ๆได้ดังนี้
 1.   จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง 2.   จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่ 3.   จำแนกตามลักษณะการเกิดคลื่น

4 จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง
 จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง 1. คลื่นกล(Mechanical wave)   เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดย อาศัยตัวกลางซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ ตัวอย่างของคลื่นกล ได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นที่ ผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น

5 2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves)   เกิดจากการรบกวน
ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือ สนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำ ให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำ ให้เกิดสนามไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วย สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบ ตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น

6 สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1. ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ 2. อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 3x108m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง 3. เป็นคลื่นตามขวาง 4. ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง 5. ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร 6. ไม่มีประจุไฟฟ้า 7. คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้

7 จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่
1   คลื่นตามขวาง (Transverse wave)   เป็นคลื่นที่ อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นตัว อย่างของคลื่นตามขวางได้แก่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

8 คลื่นตามขวางในเส้นเชือก

9 คลื่นตามยาวของอนุภาคในท่อ
2   คลื่นตามยาว (Longitudinal wave)   เป็นคลื่นที่อนุภาคของ ตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามยาวได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นตามยาวของอนุภาคในท่อ                  

10 จำแนกตามลักษณะการเกิดคลื่น
1. คลื่นดล (Pulse wave)   เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวน เพียงครั้งเดียว 2. คลื่นต่อเนื่อง (Continuous wave)   เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิด ถูกรบกวนเป็นจังหวะต่อเนื่อง

11   ส่วนประกอบของคลื่น

12 แอมพลิจูด (Amplitude)
สันคลื่น (Crest)    เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก C และ C/ แอมพลิจูด (Amplitude)    เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ แทนด้วย A ดังรูป ท้องคลื่น (Crest)    เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็น ตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ ได้แก่จุด D และ D’ อัตราเร็วของคลื่น (wave speed)    หาได้จากผลคูณระหว่างความ ยาวคลื่นและความถี่ อัตราเร็วคลื่นในตัวกลางชนิดต่าง ๆ

13 ความยาวคลื่น (Wavelength)
เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นเมตร (m) เช่น จากจุด C ถึง C’ หรือจากจุด D ถึง D’ ลักษณะที่เหมือนกัน เรียกว่า มีเฟสตรงกัน (inphase) ความถี่ (frequency)   หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ f มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz) คาบ (period)    หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ T มีหน่วยเป็น วินาทีต่อรอบ (s)

14 เสนอ คุณครูชัยชาญ พรวญหาญ

15 จัดทำโดย

16 GooD ByE


ดาวน์โหลด ppt ความหมายและชนิดของคลื่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google