ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสลัดอากาศ
สลัดอากาศจี้เครื่องบิน
2
กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสลัดอากาศ ( Hijack )
สลัด หมายถึง โจรซึ่งปล้นเรือต่าง ๆ กลางทะเลหลวง เรียกว่า โจรสลัด สลัด ตามความหมายนี้มาจากคำภาษามลายูว่า salad (อ่านว่า ซา-ลัต) ซึ่งแปลว่า ช่องแคบ สลัด ซึ่งใช้เรียกโจรประเภทนี้ได้ขยายความหมายไปเรียกโจรจี้เครื่องบินว่า สลัดอากาศ
3
Hijack หมายถึง การกระทำการชิงทรัพย์บนยานพาหนะที่กำลังวิ่งอยู่ อาจจะเป็นเรือ รถยนต์ รถไฟ หรือเครื่องบิน แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นการจี้เครื่องบิน ซึ่งเป็นการกระทำด้วยการใช้กำลังบังคับให้เปลี่ยนเส้นทางการบินตามปกติ ไปสู่ทางการบินตามที่ต้องการของตน หรือจี้เครื่องบินเพื่อบังคับให้ผู้โดยสารเป็นตัวประกันเพื่อต่อรอง
4
ขบวนการจี้เครื่องบิน
ขบวนการจี้เครื่องบินที่นับว่ายิ่งใหญ่ที่สุดคือ ขบวนการกองโจรของอาหรับ ในปี ค.ศ.1970 รายแรกเครื่องบินสหรัฐอเมริกาถูกจี้บังคับให้ไปลงที่ไคโร รายที่สองเครื่องบินอิสราเอลถูกจี้แต่ไม่สำเร็จ ได้จับกุมสาวอาหรับชื่อ ไลลา คาลิด อีกคนหนึ่งถูกยิงเสียชีวิต รายที่สามเครื่องบินของบริษัทสวิสแอร์ ถูกยึดที่เมืองซูริค ถูกบังคับให้ไปลงที่จอร์แดน ผู้ร้ายตั้งเงื่อนไขให้ปล่อยไลลา คาลิค และให้อิสราเอลปล่อยเชลยศึกอาหรับจำนวน 3 พันคน
5
ความร่วมมือในการปราบปรามการยึดเครื่องบินหรือการกระทำที่เป็นภัยต่อการบินพลเรือน
โดยที่การจี้เครื่องบินเกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือมีการทำลายสิ่งอำนวยนความสะดวกสำหรับการบิน ซึ่งประทบต่อความปลอดภัยของการบินมาก จึงเกิดความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
6
ความตกลงเกี่ยวกับการปราบปราม
อนุสัญญากรุงโตเกียว อนุสัญญากรุงเฮก อนุสัญญามองเรอัล
7
อนุสัญญากรุงโตเกียว ความผิดที่มีผลกระทบต่อดินแดนของตน
ความผิดกระทำโดยหรือกระทำต่อคนชาติของตน หรือบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ประจำในประเทศของตน ความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศตน ความผิดต่อกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการบินของประเทศตน
8
อนุสัญญากรุงเฮก อนุสัญญากรุงเฮกได้เพิ่มประเทศที่มีอำนาจ ลงโทษกว้างขวางกว่าอนุสัญญากรุงโตเกียว โดยให้ประเทศภาคีทุกประเทศมีอำนาจลงโทษผู้จี้เครื่องบิน ที่ปรากฏตัวในดินแดนของตน ซึ่งคล้ายกับการลงโทษโจรสลัดในทะเลหลวง ที่กฎหมายระหว่างประเทศให้ทุกประเทศลงโทษได้
9
อนุสัญญามองเรอัล ประทุษร้ายบุคคลในเครื่องบินที่กำลังจะบิน ถ้าการกระทำอาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเครื่องบิน ทำลายหรือก่อความเสียหายแก่เครื่องบินที่อยู่ในขณะบริการ วางเครื่องมือหรือวัตถุระเบิดในเครื่องบินที่อยู่ในขณะบริการ ซึ่งอาจทำลายหรือก่อความเสียหายแก่เครื่องบิน ทำลายหรือก่อความเสียหายแก่เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เช่น เครื่องมือสื่อสาร เครื่องหมายสำหรับการเดินอากาศ หรือเข้าแทรกแซงกับการปฏิบัติการของเครื่องอำนวยความสะดวกที่อาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเครื่องบินที่กำลังบิน แจ้งข่าวเท็จซึ่งเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเครื่องบินที่กำลังจะบิน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.