ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
01134491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด Basic Research Methods in Marketing เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ ครั้งที่ 3 : 20-มิ.ย.-54
2
การกำหนดยุทธวิธีการวิจัย Research Design
1) การพิจารณาตัวแปรการวิจัย 1.1) การกำหนดตัวแปรต้องการศึกษา ตัวแปรอิสระ (X) และตัวแปรตาม (Y) 1.2) การพิจารณาตัวแปรแทรกซ้อน - ความแตกต่างภูมิหลัง - การพัฒนา/เปลี่ยนแปลง - สิ่งอื่น วิธีอื่นและสถานที่อื่นที่ส่งผลถึงตัวแปร 2) การกำหนดแหล่งข้อมูล 2.1) ใคร/อะไรเป็นกลุ่มตัวอย่าง 2.2) ต้องใช้กี่กลุ่ม มี Control group หรือไม่ 2.3) ควรมีจำนวนเท่าไร ใช้วิธีเลือกแบบใดที่จะเป็นตัวแทน
3
การกำหนดยุทธวิธีการวิจัย Research Design
3) การกำหนดวิธีรวบรวมข้อมูลการวิจัย 3.1) การดำเนินการสำรวจ/การทดลองอย่างไร 3.2) การใช้เทคนิค เครื่องมืออะไร –กี่ชนิด กี่อย่าง 3.3) การสร้างอย่างไร รวบรวมมากน้อยเพียงใด 3.4) การตรวจสอบคุณภาพอะไร โดยวิธีการใด - ใช้ Expert judgment - ใช้ try-out
4
การกำหนดยุทธวิธีการวิจัย Research Design
4) การดำเนินการรวบรวมข้อมูล 4.1) ใครดำเนินการ โดยวิธีการใด 4.2) รวบรวมกี่ครั้ง ระยะเวลาใด 4.3) จะได้รับความร่วมมือหรือไม่ วางแผนแก้ปัญหาอย่างไร 4.4) รวบรวมข้อมูลอย่างไร จึงถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา และถูก สถานการณ์
5
การกำหนดยุทธวิธีการวิจัย Research Design
5) การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย 5.1) การมาตรวัดตัวแปร : 4 ระดับ - Nominal Scale /Categorical Scale - Ordinal Scale - Interval Scale - Ratio Scale 5.2) การเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ : ค่าเฉลี่ย : สัดส่วน 5.3) การต้องตอบวัตถุประสงค์วิจัย 5.4) การตอบต้องหาลักษณะหรือค่าใดจากข้อมูล
6
หลักการเขียนข้อเสนอและรายงานวิจัย
1. ความชัดเจน (Clarity) : การเขียนต้องแจ่มชัด ไม่คลุมเครือ กำกวม สามารถอธิบายแนวคิด กระบวนการเป็นตามลำดับขั้นตอน ความเหมาะสมอย่างสมเหตุสมผลและเข้าใจง่าย 2. ความกะทัดรัด (Conciseness) : การเขียนใช้ถ้อยคำที่กะทัดรัด ตรงจุด (Precise) ไม่ขยายความจนวกวน/ซ้ำซาก 3. ความสมบูรณ์ (Completeness) : เสนอสาระสำคัญของงานวิจัย อย่างครบถ้วนตั้งแต่แนวคิด เป้าหมาย วิธีการ จนถึงผล/ข้อสรุปต่างๆ 4. ความถูกต้อง (Accuracy) : การเสนออย่างตรงไปตรงมา ไม่บิด เบือนจากความเป็นจริงที่ศึกษา/ค้นพบ หลีกเลี่ยงการเสนอแนวคิด นอกเหนือขอบเขตการวิจัย ไม่ควรจะรีบด่วนสรุป (Jump Conclusion) ความซื่อตรง (Honesty) : การเสนอต้องไม่ปิดบังข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้น ไม่แก้ไข/เปลี่ยนข้อมูล ไม่เปลี่ยนแปลงสมมติฐานตามผล ไม่ลำเอียงส่วนตัวหรือลอกผลงานผู้อื่นแต่ไม่อ้างอิง
7
การเขียนข้อเสนอการวิจัย
หัวข้อของโครงร่างวิจัย ประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่องวิจัย (Research Topic) 2. คำสำคัญ (Key Words)* 3. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Statement of the Problem) 4. คำถามจากการวิจัย (Research Question)* 5. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective)
8
หัวข้อของโครงร่างวิจัย ประกอบด้วย
6. สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) 7. ขอบเขตการวิจัย (Scope of the study) 8. ข้อจำกัดของการวิจัย (Limitation of the Study) 9. ข้อตกลงเบื้องต้น (Basic Assumption)* 10. นิยามศัพท์หรือคำจำกัดความในการวิจัย (Definition of Terms)
9
หัวข้อของโครงร่างวิจัย ประกอบด้วย
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Significance of the Finding) 12. กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Research Framework) 13. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) 14. รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (Reference and Bibliography) 15. รายละเอียดงบประมาณและแผนการดำเนินงานวิจัย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.