ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ ปูชนียาจารย์
Walailak Hall of Fame โดย นางสาวอาภรณ์ ไชยสุวรรณ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2
ที่มา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดทำโครงการประวัติศาสตร์คำบอกเล่าจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการจัดทำหนังสือประวัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และได้จัดทำเป็นฐานข้อมูล โดยรวบรวมเนื้อหาจากการ ศึกษาค้นคว้าและการสัมภาษณ์จากบุคคลที่เป็นปูชนีย์วลัยลักษณ์ และปูชนียาจารย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นการสัมภาษณ์จากบุคคลที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ในช่วงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยและจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยในบทบาทที่เคยบริหารงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในยุคบุกเบิก จำนวน 18 คน เรียกว่า ปูชนีย์วลัยลักษณ์ และกลุ่มอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่เริ่มปฏิบัติงานในช่วงการก่อตั้งมหาวิทยาลัย และพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานแล้ว เช่น ลาออก เกษียณอายุ จำนวน 18 คน เรียกว่า ปูชนียาจารย์
3
หลักการและเหตุผล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการเรียกร้องเพื่อให้มีมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ถือเป็นการพลิกฟื้นพื้นที่สู่เมืองมหาวิทยาลัย โดยมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งมหาวิทยาลัยในยุคก่อตั้งเป็นช่วงเวลาของการระดมแรงกาย แรงใจ และพลังความคิด เพื่อผลักดันภารกิจต่าง ๆ ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ทั้งนี้ภารกิจต่าง ๆ สามารถปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้นได้ ก็ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจ และความทุ่มเทของผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลภายในอย่างคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตลอดจนบุคคลภายนอก ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดังนั้นการจัดเก็บประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงานและแนวคิดของบุคคลเหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งต่อประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถ เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ และรูปแบบของฐานข้อมูลจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของ การจัดเก็บ และเผยแพร่
4
หลักการและเหตุผล โดยรวบรวมเนื้อหาจากการศึกษาค้นคว้าและการสัมภาษณ์จากบุคคลที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ในช่วงการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ได้แก่ ปูชนีย์วลัยลักษณ์ ที่เป็นผู้บริหารหรือบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนสำคัญและได้ทุ่มเทเวลา กำลังใจ กำลังกายที่มีต่อการบุกเบิกและก่อตั้งมหาวิทยาลัย ปูชนียาจารย์ นั้น จะเป็นกลุ่มของคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยซึ่งมีส่วน ต่อการก่อตั้งและพัฒนามหาวิทยาลัยจนก้าวไกล เติบโตได้เช่นที่เป็นปัจจุบัน
5
เกณฑ์การพิจารณา เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก “ปูชนีย์วลัยลักษณ์ ปูชนียาจารย์” นั้น จะพิจารณาจากผู้มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นหลัก สำหรับกลุ่มบุคคลที่เป็น “ปูชนีย์วลัยลักษณ์” นั้น จะต้อง เป็นผู้บริหารหรือบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนสำคัญและได้ทุ่มเทเวลา กำลังใจ กำลังกายที่มีต่อการบุกเบิกและก่อตั้งมหาวิทยาลัย จาก “คณะกรรมการรณรงค์เพื่อให้มีมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช” ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่มีบทบาทหลักในการดำเนินการเรียกร้องให้มีมหาวิทยาลัยที่นครศรีธรรมราช
6
เกณฑ์การพิจารณา “ปูชนียาจารย์” นั้น จะต้อง
เป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการบุกเบิกหรือก่อตั้งหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้เกษียณอายุการทำงานจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๒. เป็นผู้ปฏิบัติงานในช่วงบุกเบิกของมหาวิทยาลัย ๓. กรณีที่ออกจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยมิได้เกษียณอายุการทำงาน ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานกับมหาวิทยาลัยเป็นระยะเวลานานกว่า ๕ ปี หรือ ๔. เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยซึ่งปฏิบัติงานตามวาระ
7
วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีฐานข้อมูลจากประวัติศาสตร์คำบอกเล่าจากบุคคลที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อเผยแพร่ประวัติความเป็นมาจากการประวัติศาสตร์คำบอกเล่าสำหรับจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
8
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
1. ที่ประชุมคณะทำงานจัดทำหนังสือประวัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พิจารณาคัดเลือกรายชื่อกลุ่มบุคคลปูชนีย์วลัยลักษณ์ และปูชนียาจารย์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 36 คน ปูชนีย์วลัยลักษณ์ จำนวน 18 คน ปูชนียาจารย์ จำนวน 18 คน
9
๑๘ ปูชนีย์วลัยลักษณ์
10
๑๘ ปูชนียาจารย์
11
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาและข้อมูลอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3. สืบค้นรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่อยู่/สถานที่ทำงาน พร้อมนัดวัน เวลา และสถานที่ที่ผู้ให้สัมภาษณ์สะดวก
12
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
4. นัดวันสัมภาษณ์ พร้อมบันทึกเสียงคำสัมภาษณ์ บันทึกภาพนิ่ง และวีดิทัศน์
13
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
5. ดำเนินการสัมภาษณ์ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ พร้อมบันทึกเสียงการสัมภาษณ์ บันทึกภาพเคลื่อนไหวตลอดการสัมภาษณ์ และบันทึกภาพนิ่งของผู้ให้ สัมภาษณ์ เพื่อนำมาประกอบในการจัดทำหนังสือประวัติมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์และฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ ปูชนียาจารย์
14
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
ถอดเทปจากการสัมภาษณ์อย่างละเอียด สรุปคำสัมภาษณ์ตามหัวข้อที่ระบุ ออกแบบฐานข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 ฐานข้อมูลย่อย คือ ฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ ฐานข้อมูลปูชนียาจารย์
15
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
9. ออกแบบค่าเริ่มต้นของฐานข้อมูล ดังนี้ 9.1 การกำหนดค่าเริ่มต้น ได้แก่ กำหนดกลุ่มข้อมูล ไฟล์ข้อมูลประกอบ ตำแหน่ง 9.2 ข้อมูลผู้ใช้ แยกตามระดับสิทธิ์ในการเข้าถึง และการเพิ่ม และแก้ไขข้อมูล
16
ตัวอย่าง
17
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
9.3 รายการข้อมูล - ประวัติส่วนตัว ได้แก่ ลำดับ : ชื่อ-นามสกุล : รหัสพนักงาน : ภาพถ่าย : วันเกิด : วันที่เริ่มปฏิบัติงาน : ตำแหน่งที่เคยปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : คำสำคัญ : ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย (ปี เดือน วัน) : ประวัติการศึกษา : ประวัติการทำงาน : บทบาทต่อมหาวิทยาลัย :
18
ตัวอย่าง
19
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
9.3 รายการข้อมูล (ต่อ) - ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ผลงานที่ประทับใจ : แนวคิดหรือปรัชญาที่ใช้ในการทำงาน : ความประทับใจความคาดหวังที่มีต่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : การตัดสินใจมาทำงานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : การดำเนินงานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : อนาคตของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : การเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : อื่น ๆ :
20
ตัวอย่าง
21
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
ไฟล์ประกอบ ได้แก่ ภาพประกอบ วีดิทัศน์ประกอบ เอกสารประกอบ
22
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
9.4 การออกแบบสำหรับการสืบค้น สำหรับการค้นหาแบบละเอียด โดยการ - สืบค้นจากกลุ่มข้อมูล ชื่อและนามสกุล และคำสำคัญ - สืบค้นจากกลุ่มปูชนีย์วลัยลักษณ์ - สืบค้นจากกลุ่มปูชนียาจารย์ - สืบค้นจากชื่อบุคคล
23
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
10. เพิ่มข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่กำหนด 11. สืบค้นข้อมูลตามที่ได้ออกแบบ 11. เผยแพร่ให้บุคลากรและสาธารณชนได้รับทราบ
24
การแสดงผลการสืบค้น ผลที่ได้จากการสืบค้นนั้น มีรายละเอียดดังนี้
ผลที่ได้จากการสืบค้นนั้น มีรายละเอียดดังนี้ - ข้อมูลที่เกี่ยวข้องของบุคคลที่สืบค้น มีภาพประกอบ เอกสารประกอบ และวิดีโอประกอบ สำหรับวีดิโอนั้น จะเป็น การเลือกคำพูดที่กินใจ หากตอนไหนที่เอ่ยถึงบุคคลในฐานข้อมูล หรือหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง สามารถเชื่อมต่อไปยังบุคคล หรือเว็บไซต์นั้นได้ทันที (hyperlink) มีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องแทรกในเนื้อหา - มีการอ้างอิงเนื้อหา หากนำเนื้อหามาจากแหล่งอื่น
25
สรุปผล และข้อเสนอแนะ ฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ ปูชนียาจารย์ เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมประวัติ ผลงาน และแนวคิดของบุคคลที่มีบทบาทในการผลักดัน ก่อตั้ง บุกเบิกและพัฒนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติการก่อตั้งที่ใช้เวลาระยะยาวนานในการเรียกร้อง กว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเป็นช่องทางในการเผยแพร่เกียรติคุณในรูปแบบของเนื้อหา รูปภาพ และสื่อเคลื่อนไหว เกี่ยวกับกิจกรรมและผลงานที่ผ่านมาของบุคคลเหล่านี้ ซึ่งเปรียบเสมือนบุคคลที่มีบุญคุณและควรยกย่องและอยู่คู่กับมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ตลอดไป และสามารถจัดทำฐานข้อมูลในลักษณะนี้ได้อีก เช่น ฐานข้อมูลบุคคลที่เกษียณอายุ ทำเนียบนามผู้บริหาร เป็นต้น
26
ประโยชน์และคุณค่าต่อการนำไปปรับใช้ในงานห้องสมุด
ฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ ปูชนียาจารย์ เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมประวัติ ผลงาน และแนวคิดของบุคคลที่มีบทบาทในการผลักดัน ก่อตั้ง บุกเบิกและพัฒนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติการก่อตั้งที่ใช้เวลาระยะยาวนานในการเรียกร้อง กว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเป็นช่องทางในการเผยแพร่เกียรติคุณในรูปแบบของเนื้อหา รูปภาพ และสื่อเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมและผลงานที่ผ่านมาของบุคคลเหล่านี้ ซึ่งเปรียบเสมือนบุคคลที่มีบุญคุณและควรยกย่องและอยู่คู่กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตลอดไป
27
ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.