งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 9 ราคาระดับฟาร์มและราคาสินค้าเกษตรและอาหาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 9 ราคาระดับฟาร์มและราคาสินค้าเกษตรและอาหาร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 9 ราคาระดับฟาร์มและราคาสินค้าเกษตรและอาหาร
หมู่ 1 อ.ณิธิชา ธรรมธนากูล

2 ราคา => รายได้ => กำไร
ในระยะสั้น เป็นตัวกระตุ้นทางเศรษฐกิจให้ผู้ผลิตมีการจัดสรรทรัพยากรโดยการเพิ่มมูลค่า ในระยะยาว ทำให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3 9.1 สิ่งที่มีอิทธิพลต่อราคาระดับฟาร์ม
Supply Condition - ปริมาณผลผลิต และปริมาณนำเข้าสินค้า Demand Condition - รายได้, รสนิยม, ความชอบ, จำนวนประชากร และปริมาณการส่งออก Marketing sector - กิจกรรมการเพิ่มมูลค่าสินค้า (ต้นทุน) และกลยุทธ์การจัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบ Government - นโยบายการค้าระหว่างประเทศ, นโยบายภายในประเทศ

4 9.2 แนวโน้มของราคาและความสัมพันธ์
ราคาที่เกษตรกรได้รับ ราคาขายส่ง ราคาขายปลีก ราคาส่งออก (F.O.B)

5 1) ข้าวเจ้า

6 2) ถั่วเขียว

7 3) ลำไย

8 4) ทุเรียนหมอนทอง

9 9.3 การเคลื่อนไหวของราคาผลิตผลเกษตร
ช่วยในการตัดสินใจของเกษตรกร ขยายพื้นที่ปลูก Contract Farming เปลี่ยนชนิดพืช

10 การเคลื่อนไหวของราคาผลิตผลเกษตร
ความเคลื่อนไหวของราคาตามวัฏจักร ความเคลื่อนไหวของราคาตามฤดูกาล ความเคลื่อนไหวของราคาตามแนวโน้ม ความเคลื่อนไหวของราคาแบบผิดปกติ

11 1. ความเคลื่อนไหวของราคาตามวัฏจักร (Cyclical price fluctuation)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงราคาเป็นช่วงๆ ในแต่ละช่วงอาจใช้เวลาหนึ่งปีหรือมากกว่า ช่วงหนึ่งของราคาจะสูง และอีกช่วงหนึ่งราคาจะต่ำ แล้วกลับสูงขึ้นไปใหม่สลับแบบนี้เรื่อยไป

12 ทฤษฎีใยแมงมุม (Cobweb Theory)
เป็นทฤษฎีแสดงความเคลื่อนไหวของราคาตามวัฏจักร โดยมีข้อสมมติว่า ราคาในปีที่ผ่านมาเป็นตัวกำหนดปริมาณผลผลิตในปัจจุบัน และปริมาณผลผลิตในปัจจุบันเป็นตัวกำหนดราคาในปัจจุบัน

13 การปรับตัวของราคาและปริมาณเข้าสู่ดุลยภาพ (Converging cycle)
การปรับตัวของราคาและปริมาณเข้าสู่ดุลยภาพ  (Converging cycle) เกิดขึ้นในกรณีที่ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ของสินค้านั้นมีมากกว่า ความยืดหยุ่นของอุปทาน ( Ep > Es ) ดังรูป จากการเริ่มต้นในราคาที่สูงและผลผลิตได้น้อย ราคาจะลดลงเรื่อย ๆ เป็นช่วง ๆ จนกระทั่งปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพในที่สุด D S P0 Q1 P1 Q2 P2 P Q

14 การปรับตัวของปริมาณและราคารอบเช่นเดิม(Continuous cycle)
การปรับตัวของปริมาณและราคารอบเช่นเดิม(Continuous cycle)        เกิดขึ้นในกรณีที่ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ของสินค้านั้นเท่ากับความยืดหยุ่นของอุปทาน ( Ep = Es ) ดังรูป ปีหนึ่งผลผลิตมากกว่าราคาต่ำ และอีกปีผลผลิตน้อยราคาสูง วนไปแบบนี้เรื่อย ๆ D S P0 Q1 P1 Q2 P Q

15 การปรับตัวของปริมาณและราคาออกจากดุลยภาพ (Explosive or Diverging cycle)
การปรับตัวของปริมาณและราคาออกจากดุลยภาพ (Explosive or Diverging cycle) จะเกิดขึ้นในกรณีที่ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ของสินค้านั้นมีค่าน้อยกว่าความยืดหยุ่นของอุปทาน ( Ep < Es ) ดังรูป จากจุดเริ่มต้นใกล้ ๆ กับจุด ดุลยภาพแล้วค่อย ๆ ห่างออกมาจากจุดดุลยภาพไปเรื่อยๆ แต่ก็จะมีขอบเขตที่จำกัด เพราะเมื่อถึงช่วงหนึ่งที่ราคาต่ำมากจนไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต ในช่วงต่อไปก็ต้องเลิกผลิต หรือ ไม่ยอมเก็บเกี่ยวในปีที่ราคาต่ำมาก ซึ่งก็เกิดการปรับตัวในด้านปริมาณการผลิตในปีถัดไป ที่จะเริ่มวัฏจักรในรูปแบบนี้ใหม่ S D P0 Q1 P1 Q2 P2 Q3 P Q

16 2. ความเคลื่อนไหวของราคาตามฤดูกาล
(Seasonal price fluctuation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของราคาของช่วงเดือนต่างๆ ในรอบปี - สินค้าฤดูกาล - สินค้าที่เก็บรักษาได้ - สินค้าเน่าเสียง่าย - สินค้าที่เกษตรกรผลิตได้ตลอดปี

17 3. ความเคลื่อนไหวของราคาตามแนวโน้ม (Time trend price movement)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง

18 การเคลื่อนไหวของราคาระยะยาว(long term trends)หรือ ความเคลื่อนไหวของราคาตามแนวโน้ม ( Time trend price movement )        ซึ่งแยกได้ออกเป็น 3 ลักษณะ        1. แนวโน้มที่เพิ่มขึ้น แสดงว่า อุปสงค์ย่อมมีมากกว่าอุปทานในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านมา จึงทำให้ราคาขยับสูงขึ้น สินค้าลักษณะนี้เป็นสินค้าที่ดีและมีความต้องการสูง สามารถเพิ่มการผลิตได้        2. แนวโน้มที่ลดลง แสดงว่า ในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านมาอุปทานมีมากกว่าอุปสงค์ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องมาจาก สินค้าสามารถขยายการผลิตได้ง่าย หรือความต้องการของผู้บริโภคลดลง ถึงแม้ปริมาณผลผลิตยังคงเดิม ในอนาคตสินค้านี้อาจเป็นปัญหาต่อผู้ที่ทำธุรกิจ สินค้าที่เข้าข่ายในลักษณะนี้ ผู้ที่ทำธุรกิจอาจจำเป็นต้องพิจารณาธุรกิจอื่น เพื่อเข้ามาทดแทนสินค้านี้        3. แนวโน้มของราคาที่ค่อนข้างคงที่ แสดงว่า ในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านมา อุปสงค์และอุปทานค่อนข้างจะเท่ากัน และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน สินค้าชนิดนี้ค่อนข้างจะอิ่มตัวไม่ควรขยาย หรือ ลดการผลิตลง

19 4. ความเคลื่อนไหวของราคาแบบผิดปกติ (Irregular price fluctuation)
เกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถทำนายได้ เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก

20 9.4 รายได้ของเกษตรกร สิ่งที่มีอิทธิพลต่อรายได้ของเกษตรกร
มูลค่าสินค้าทั้งหมดที่เกษตรขายได้ ราคาของสินค้าที่เกษตรกรขายได้ ต้นทุนในการผลิตและต้นทุนทางการตลาด


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 9 ราคาระดับฟาร์มและราคาสินค้าเกษตรและอาหาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google