ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
RICE RAGGED STUNT VIRUS (โรคจู๋ของข้าว)
จัดทำโดย 1. นางสาวจารุณี หนูมาก 2. นางสาวจุรีรัตน์ แสงนิล 3. นางสาวชนิภา นาเมือง 4. นางสาวชิดชนก พูนสวัสดิ์ 5. นางสาวณัฐวดี สมบัติเทพสุทธิ์ 6. นางสาวเพ็ญพัค เสาวภาคย์ 7. นางสาวอัญชุมา อักษรสิทธิ์ 8. นายฮาเซ็ม ดือเล๊าะ
2
Rice Ragged Stunt Virus
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Rice infectious gall virus จัดอยู่ใน Family Reoviridae Genus Oryzavirus Species Rice ragged stunt virus Acronym RRSV เป็นสาเหตุของโรค Rice Ragged Stunt Virus ( โรคจู๋ของข้าว ) พบไวรัสชนิดนี้ครั้งแรกในข้าว จากประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
3
สัณฐานวิทยา ( Morphology ) ของ RRSV
- Virions ไม่มีผนังหุ้ม - Genome เป็น double stranded RNA - Nucleocapsids มีรูปร่างแบบ isometric - ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 nm - เห็นเป็นเหลี่ยม capsomere เห็นไม่ชัด
4
แบบจำลองของ RRSV
5
CYTOPATHOLOGY การเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชในระดับเซลล์ เชื้อจะเข้าไปอาศัยอยู่ในเซลล์ท่ออาหารที่มีลักษณะเป็นติ่งนูนอย่างเห็นได้ชัด อนุภาคของไวรัสจะไปรวมตัวกันอยู่ที่บริเวณเซลล์ที่ติดเชื้อทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงไป เช่น เซลล์จะขยายใหญ่ขึ้น
6
ลักษณะอาการของโรค Rice Ragged Stunt
ข้าวต้นเตี้ย (สั้นจู๋) ไม่พุ่งสูงเท่าที่ควร ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบจะแคบและสั้น ใบใหม่จะแตกช้ากว่าปกติ และเมื่อเจริญออกมา ปลายใบ จะบิดเป็นเกลียว เป็นลักษณะเด่นที่เรียกว่า โรคใบหงิก ขอบใบแหว่งวิ่น และเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบและกาบใบ ออกรวงล่าช้า และให้รวงไม่สมบูรณ์ รวงให้เมล็ดลีบเป็นส่วนใหญ่
7
ลักษณะอาการโรคใบหงิก ( จู๋ )
8
การแพร่ระบาด เชื้อไวรัสไม่ติดต่อทางเมล็ด
มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ( Nilaparvata lugens ) เป็นพาหะ เมื่อแมลงรับเชื้อไวรัสเข้าสู่ตัว ไวรัส จะฟักตัวในแมลงนานประมาณ 8 วัน หลังจากนั้นเชื้อจะถูกถ่ายทอดสู่ต้นข้าว ผ่านการดูดกินของแมลงพาหะ ต้นข้าวที่ได้รับเชื้อก็จะเริ่มแสดงอาการโรคจู๋ หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ จนถึง 1 เดือน เกิดกับข้าวทุกระยะการเจริญเติบโต ต้นข้าวอายุ วันที่ติดเชื้อจะแสดงอาการรุนแรงมาก ถ้ามีอายุเกิน 60 วัน แม้จะได้รับเชื้อจะแสดงอาการไม่ค่อยรุนแรงนัก
10
พื้นที่ระบาดของโรคจู๋ของข้าว
11
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ข้าวเป็นโรคจู๋จะออกรวงล่าช้า และให้รวงไม่สมบูรณ์ รวงให้เมล็ดลีบเป็นส่วนใหญ่อย่างที่ชาวนาเรียกว่าไม่มีเนื้อ เมล็ดที่สมบูรณ์มักจะด่างเสียคุณภาพเป็นส่วนมาก ผลผลิตลดลงประมาณ 1/3 ถึง 2/3 และถ้ามีโรคแทรกเข้าซ้ำ เติม เช่น โรคเมล็ดด่างและโรคใบขีดสีน้ำตาล ซึ่งทั้งสองโรคนี้ มักจะพบเสมอกับข้าวที่เป็นโรคจู๋ อาจทำให้ผลผลิตเสียหาย ถึง 100 %
12
การป้องกันและกำจัด 1. กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัส สาเหตุโรค
1. กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัส สาเหตุโรค - ทำลายแหล่งพืชอาศัยของเชื้อ - ดูแลกำจัดวัชพืชในนาสม่ำเสมอ 2. ป้องกันข้าวติดเชื้อโดยใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อแมลงพาหะ ใน แหล่งที่เคยมีประวัติการระบาดโรคจู๋มาก่อน เช่น กข 9, กข 23 ,กข 25
13
การป้องกันและกำจัด (ต่อ)
3. หลังจากปฏิบัติตาม ขั้นตอนข้อ 1 และ 2 แล้ว ควรเอาใจใส่ตรวจตรา อย่าให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนำเชื้อเข้าสู่แปลงนาได้ วิธีการนี้จำเป็นต้อง ใช้สารเคมีเข้าช่วย เริ่มใช้ตั้งแต่ระยะกล้าโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึมประเภทคาร์โบฟูราน หรือสารประเภทเดียวกันหว่านในแปลงกล้าอัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ก่อนหว่านกล้าหรือหลังข้าวงอกแล้ว 3-4 วันก็ได้ เพียงครั้งเดียวก็เพียงพอ
14
การป้องกันและกำจัด (ต่อ)
15
www.knowledgebank.irri.org www.eto.ku.ac.th www.uq.edu.au
อ้างอิง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.