ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Physiology of Crop Production
Lecture 1 : Course Introduction Physiology of Crop Production 1. Introduction -Course description 2. Definition -What is crop physiology -Growth and development 3. Historical background - From Plant Physiology to Crop Physiology 4. General concept -Physiological processes from planting to yield harvesting
2
วัตถุประสงค์ : เข้าใจความหมาย และขอบเขต ของการศึกษา
สรีรวิทยาการผลิตพืช แนวคิดพื้นฐานของการศึกษาสาขาวิชานี้
3
Definitions : สรีรวิทยา : วิชาที่ว่าด้วยสมบัติและการกระทำหน้าที่ ของอินทรีย์ หรือ ส่วนของร่างกายต่างๆซึ่งเป็นส่วนของสิ่งที่มีรูปร่างและมีชีวิต Physiology : That branch of biology which has to do with the processes going on in living things and the working of their different parts, as opposite to their structure
4
สรีรวิทยาการผลิตพืช (Crop Physiology)
เป็นวิชาที่ประยุกต์จากวิชาสรีรวิทยาพื้นฐานของพืช (Plant Physiology) เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพืชทางด้านการเกษตร นักสรีรวิทยาการผลิตพืช (crop physiologist) จะเน้นการศึกษาเกี่ยวกับผลผลิตของพืชปลูกที่เป็นผลเนื่องมาจากผลของกระบวนการ การเจริญเติบโต (growth) และพัฒนาการของพืช (development) ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยภายในพืชเองหรือพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก และเวลาศึกษาจึงศึกษาในแปลงของพืชปลูก (crop community) ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะต้นๆเดียวอย่างเช่นที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสรีรวิทยาของพืชทั่วๆไป
5
นักสรีรวิทยา การผลิตพืช ใช้หลักการว่า
ผลผลิตของพืชนั้นเกิดขึ้นจากการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ตั้งแต่เมล็ดที่ปลูกลงไปจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งปัจจัยสภาพแวดล้อมจะมีผลสำคัญกระบวนการทางสรีระในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหล่านั้น การศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระของพืชจะทำให้เข้าใจถึงวิธีการที่จะปรับปรุงสภาพแวดล้อมต่างๆให้เกิดความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชและนำไปสู่การให้ผลผลิตที่ดีของพืช
6
การเจริญเติบโต (Growth) :
การเพิ่มจำนวน หรือ ขนาด ของ ซึ่งสามารถวัดได้ เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตจากการแบ่งเซลล์หรือเพิ่มขนาดของเซลล์ ในช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นตามเวลาจะมีลักษณะเป็นรูปตัว S (sigmoid curve)
7
การพัฒนาการ : Development
กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับต้นพืช จากเซลล์ไปเป็น เนื้อเยื่อ ไปเป็น อวัยวะส่วนต่างๆ โดยผ่านกระบวนการ differentiation เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น ใบ ลำต้น ราก ดอก ผล ฯลฯ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณที่สังเกตเห็นได้ Source: Sengbusch , 2001 Development : The progression through time of organogenetic events, and ontogeny of each organ is based upon particular patterns of cell and tissue differentiation
8
Differentiation :
9
ตัวอย่าง ของกระบวนการพัฒนาการของพืช จาก เซลล์ เป็นเนื้อเยื่อ เป็น อวัยวะ ( Source: Sengbusch , 2001)
10
ที่มาหรือประวัติของวิชา
การค้นพบความรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาของพืชมีมาเป็นลำดับ ระหว่างช่วง ค.ศ.ที่18-19 ในยุโรป เช่น การค้นพบพืชรับ CO2 และคาย O2 Joseph Priestley ในปี ค.ศ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบกระบวนการสังเคราะห์แสงในเวลาต่อมา การค้นพบการดูดธาตุอาหารจากดินของพืชในระหว่างปี ค.ศ เป็นต้น แต่แนวคิดเชิงประยุกต์วิชาการทางสรีรวิทยาพื้นฐานมาใช้เพื่อพัฒนาการผลิตพืชทางการเกษตรโดยเรียกวิทยาการใหม่นี้ว่า Crop Physiology ได้แก่นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Balls (1915) โดยให้แนวคิดไว้ว่า เป็นแนวทางการศึกษาการเจริญเติบของพืชปลูกโดยศึกษาอิทธิพลของวิธีการจัดการ เช่น จัดระยะปลูก วันปลูกที่เหมาะสม ตลอดช่วงของการเจริญเติบโตที่มีผลต่อผลผลิต
11
สรุป สรีรวิทยาการผลิตพืช เป็นวิชาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงอิทธิพลของปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีต่อผลผลิตของพืชปลูกแต่ละชนิดแต่ละพันธุ์ตลอดระยะการเจริญเติบโต อธิบายผลที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานวิชาการทางด้านสรีรวิทยาของพืชเป็นหลัก
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.