เศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการศึกษาพฤติกรรม (behavior) ของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละประเภท (individual economic units) ได้แก่ • ผู้บริโภค • แรงงาน • เจ้าของธุรกิจ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการศึกษาพฤติกรรม (behavior) ของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละประเภท (individual economic units) ได้แก่ • ผู้บริโภค • แรงงาน • เจ้าของธุรกิจ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการศึกษาพฤติกรรม (behavior) ของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละประเภท (individual economic units) ได้แก่ • ผู้บริโภค • แรงงาน • เจ้าของธุรกิจ เศรษฐศาสตร์จุลภาคจะอธิบายถึงการตัดสินใจของหน่วยเหล่านี้ โดยดูว่าตัดสินใจอย่างไร (how) และทำไมถึงตัดสินใจอย่างนั้น (why)

2 ทฤษฎี (theory) เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ที่อาศัยข้อสมมติ (assumption) และกฏเกณฑ์พี้นฐาน (basic rules) บางประการ แบบจำลอง (model) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ (ด้วยแนวทางคณิตศาสตร์หรือตรรกะ) ที่อาศัยทฤษฎีเป็นฐานในการระบุความสัมพันธ์และตัวแปรเหล่านั้น แบบจำลองมีไว้เพื่อนำข้อมูลมาสนับสนุน (โต้แย้ง) ทฤษฎีและการทำนายปรากฏการณ์

3 ทฤษฎีจะถูกต้อง (valid) หรือไม่ขึ้นอยู่ว่าสอดคล้องกับปรากฏการณ์มากน้อยเพียงไร
ดังนั้น จึงต้องมีการทดสอบทฤษฏีด้วยข้อมูลอยู่เสมอ หากอธิบายหรือทำนายไม่ได้ ก็อาจต้องทิ้งหรือปรับปรุงใหม่ บางทฤษฏียังคงใช้กันมานานกับกรณีเฉพาะ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายในวงกว้างได้

4 การศึกษาแบ่งเป็น positive analysis กับ normative analysis
positive analysis คือ การวิเคราะห์หรืออธิบายความสัมพันธ์หรือความเป็นเหตุเป็นผล (what is) normative analysis คือ การวิเคราะห์เพื่อเสนอว่าควรทำ (เลือก) ทางเลือกไหน (what should be) โดยมีดุลยพินิจ (value judgement) เกี่ยวข้อง ต้องแยกแยะให้ได้ว่าเรากำลังวิเคราะห์แบบไหนอยู่

5 ศัพท์ (terminologies) ที่สำคัญ
• optimal trade-off เกิดขึ้นจาก scarcity (เป็นการเลือก choice) • ราคา (การกำหนดราคาและบทบาทของราคา) • ตลาด (ลักษณะของตลาดและการดำเนินการของตลาด)

6 ตลาด (market) คือ การที่ผู้ซื้อและผู้ขายมากำหนดราคาของสินค้าด้วยการซื้อขายที่เกิดขึ้นจริง (actual) หรือที่อาจจะเกิดขึ้นได้ (potential) อุตสาหกรรม (industry) คือ การรวมกลุ่มของผู้ขายสินค้าที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน (เป็นด้านอุปทานของตลาด) ทำไมถึงต้องพูดถึง potential sellers กับ buyers ด้วย เพราะว่า การ arbitrage (ซื้อมาขายต่อ) จะเปลี่ยนสภาพของผู้ซื้อกับผู้ขายได้ (รวมทั้งปริมาณสินค้าด้วย)

7 ราคาแบ่งเป็น 2 ประเภท • ราคาปัจจุบัน (norminal price หรือ current price) • ราคาแท้จริง หรือราคาคงที่ (real price หรือ constant price) ต้องระบุปีที่เปรียบเทียบไว้ด้วย เหตุผลที่ทั้งสองต่างกันเพราะภาวะเงินเฟ้อ ราคาแท้จริงปรับภาวะเงินเฟ้อแล้ว แต่ราคาปัจจุบันไม่ได้ปรับ จึงต้องเรียนการวัดภาวะเงินเฟ้อ ทำให้สะท้อน real purchasing power ได้


ดาวน์โหลด ppt เศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการศึกษาพฤติกรรม (behavior) ของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละประเภท (individual economic units) ได้แก่ • ผู้บริโภค • แรงงาน • เจ้าของธุรกิจ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google