งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาและรวบรวมตัวอย่าง การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อรวบรวมตัวอย่างการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ทำให้การดำเนินงานของรัฐในลักษณะการประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ (Collaborative Governance) ที่มีอยู่ในปัจจุบันเกิดความสำเร็จ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไขหรือแนวทางเตรียมความพร้อมของภาครัฐในการพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันให้ก้าวหน้าต่อไป

3 แนวทางการดำเนินการศึกษาวิจัย
แบบสำรวจ 564 ชุด 743 โครงการ สัมภาษณ์ 63 หน่วยงาน 84 คน ประชุมกลุ่มย่อย 5 ครั้ง การศึกษาเชิงลึก 10 กรณีศึกษา การจัดทำข้อเสนอการวิจัย

4 กรอบการศึกษาวิจัย

5 รูปแบบความร่วมมือ การประสานงานระหว่างหน่วยงาน (Co-ordination)
การร่วมมือในการปฏิบัติงาน (Co-operation) การร่วมกันดำเนินภารกิจ (Collaboration)

6 การประสานงานระหว่างหน่วยงาน (co-ordination)
การพบปะพูดคุย การประชุมทางการ การปรึกษาหารือ ประสานแผน ประสานข้อมูล

7  การร่วมมือในการปฏิบัติงาน (co-operation)

8  การร่วมกันดำเนินภารกิจ (collaboration)
แบ่งสรรงบประมาณ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ หน่วยงาน หน่วยงาน หน่วยงาน เป้าหมาย ภารกิจ ร่วมกัน จัดทำข้อตกลง ออกกฎหมาย หน่วยงาน หน่วยงาน แบ่งสรรทรัพยากร แบ่งสรรทรัพยากรบุคคล

9 แนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน
ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม (Collaborative Governance) เป้าหมาย มุ่งสร้างกติกาการบริหารราชการแผ่นดินในระดับต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างหลักประกันว่าประชาชนจะได้รับบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานในระดับที่เพียงพออย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกัน แนวทางการดำเนินงาน จัดระบบบริหารราชการให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายกับภาคเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ โดยส่งเสริม ผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน การประสานกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรประชาชนในลักษณะการบริหารงานในรูปแบบเครือข่าย (Network) ในลักษณะเป็นภาคี/พันธมิตร/หุ้นส่วน (Partnership) ในการจัดบริการสาธารณะ

10 บทบาทของภาครัฐ ปรับรูปแบบการทำงานของภาครัฐให้มีลักษณะเชิงบูรณาการเกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดบริการสาธารณะ พัฒนารูปแบบ กลไก ระบบ และวิธีทำงาน เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น วางหลักเกณฑ์ให้แต่ละส่วนราชการจัดให้มีระบบการปรึกษาหารือกับประชาชน สำรวจความต้องการของประชาชนในโครงการที่มีผลกระทบต่อประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบและให้ข้อคิดเห็นต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในการช่วยกันทำให้เกิดการบริการสาธารณะที่ดียิ่งขึ้น

11 บทบาทของภาคธุรกิจเอกชน
- ร่วมขับเคลื่อนการบริหารกิจการสาธารณะผ่านการทำงาน ทำงานแบบหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน (Public-Private Partnership - PPP) โดยผ่านการร่วมทุนในโครงการพัฒนาสำคัญ ๆ ของประเทศ - มีบทบาทในการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นธรรมในสังคมผ่านการดำเนินกิจการสาธารณะโดยมีเป้าหมายเพื่อคืนกำไรตอบแทนสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) - ดำเนินกิจการธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการสาธารณะพัฒนาคุณภาพชีวิตและประโยชน์สุขแก่สังคม (Social Enterprise)

12 บทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชน
- พัฒนาความรู้และความเข้าใจแก่เครือข่ายภาคประชาชนในการร่วมติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง - สร้างศักยภาพขององค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชน ในการเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการบริหารกิจการสาธารณะ โดยผ่านการเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนกับหน่วยงานภาครัฐ (Public Social Partnership) - กระตุ้นและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในสำนึกพลเมืองในการร่วมดูแลรับผิดชอบต่อการปกป้องและอำนวยประโยชน์สาธารณะ ตลอดจนการอาสาเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนกิจการสาธารณะเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

13 กลไกการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม
ประเภทภารกิจ รูปแบบการบริหาร กลไกทางการบริหาร บริการสาธารณะที่รัฐต้องสงวนบทบาทในฐานะผู้จัดบริการ (core function) การมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการแทนกัน (in-house commissioning) การสร้างภาคีหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ (Public/Public Partnership) การสร้างองค์กรความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น หรือ สหการ (Local Cooperation) บริการสาธารณะที่ภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการเอง แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมอบหมายให้องค์กรในภาคส่วนอื่นเข้ามีมีบทบาทร่วมดำเนินการแทนได้ด้วย (contracting in) การมอบหมายภารกิจบางส่วนให้องค์กรในภาคส่วนอื่น เช่น องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรชุมชน เป็นต้น เข้ามาร่วมดำเนินการแทนรัฐ (strategic commissioning) การสร้างภาคีหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคประชาสังคมและชุมชน (Public Social Partnership)

14 กลไกการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม (ต่อ)
ประเภทภารกิจ รูปแบบการบริหาร กลไกทางการบริหาร บริการสาธารณะที่ภาครัฐไม่จำเป็นต้องมีบทบาทในการจัดทำบริการด้วยตนเอง แต่อาศัยการจัดซื้อบริการจากผู้จัดบริการสาธารณะรายอื่นเพื่อส่งมอบให้ประชาชนแทน (contracting out/ outsourcing) การเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันกันเพื่อรับมอบหมายดำเนินภารกิจแทนรัฐ (competitive commissioning) การเปิดสัมปทาน การจ้างเหมา บริการสาธารณะที่ภาครัฐไม่จำเป็นต้องมีบทบาทในการจัดทำหรือจัดหาอีกต่อไป เพราะสามารถมอบบทบาทหน้าที่ให้ภาคเอกชนดำเนินการแทนได้โดยตรง (opting out) การมอบหมายภารกิจให้ภาคเอกชนดำเนินการแทนรัฐทั้งกระบวนการ โดยที่รัฐถอนตัวจากบทบาทการจัดบริการสาธารณะนั้น (privatization) การร่วมลงทุนในรูปภาคีหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

15 ตัวอย่างการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม (Collaborative Governance) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โครงการนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสน (โครงการร่วมระหว่างหอการค้าไทยกับชุมชน) โครงการ Hand in Hand อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ศูนย์ประสานงานและบริหารจัดการขยะ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ฐานการเรียนรู้ขับเคลื่อนสู่ตำบลสุขภาวะ (เทศบาลตำบลปริก จังหวัดสงขลา) โครงการนำช้างคืนถิ่นเพื่อพัฒนาบ้านเกิดสุรินทร์ (อปท.กับภาคประชาสังคม) ธนาคารปูโดยกลุ่มฟื้นฟูทรัยพากรปูม้า (ชุมชนกับชุมชน) ชุมชนเกาะเตียบ จังหวัดชุมพร


ดาวน์โหลด ppt รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google