ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ต้นทุนผลผลิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ต้นทุนผลผลิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย นางเพียงเพ็ญ ภาคอุทัย ผู้อำนวยการกองแผนงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2
การจัดทำบัญชีต้นทุนของส่วนราชการ
จากนโยบายการปฏิรูประบบราชการ /แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐมีการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบบริหารภาครัฐแนวใหม่ โดย - มุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์ แทนการควบคุมปัจจัยนำเข้า - กระจายความรับผิดชอบในการบริหารการเงินให้หน่วยงานมี อิสระและคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากร หน่วยงานราชการจึงต้องมีข้อมูลทางบัญชีที่สมบูรณ์และเพียงพอต่อการวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน ประเมินผลการดำเนินงานทางการเงิน มีข้อมูลต้นทุนในการผลิตผลผลิตและบริการ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการขอจัดสรรงบประมาณ และให้มีข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเงิน การบริหารจัดการ สินทรัพย์ การตรวจสอบกำกับดูแลองค์กรของผู้บริหาร
3
การจัดทำบัญชีต้นทุนของส่วนราชการ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี พ.ศ.2546 - มาตรา 26 : กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชี กลางกำหนด และรายงานผลการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารระของต้นให้ สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และกรมบัญชีกลางทราบ - มาตรา 21 วรรคสาม : กำหนดให้หน่วยงานทำการเปรียบเทียบรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่เป็นประเภทและคุณภาพเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น ในกรณีที่ส่วนราชการใดมีรายจ่ายต่อหน่วยในงานบริการสาธารณะเดียวกันนั้นสูงกว่าส่วนราชการอื่น ๆ ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำแผนลดรายจ่ายต่อหน่วย และแจ้ให้สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และกรมบัญชีกลางทราบ และหากไม่มีการทักท้วงใดๆ เกี่ยวกับแผนดังกล่าว ให้ส่วนราชการดำเนินการตามแผนการลดรายจ่ายนั้น เพื่อปรับปรุงการทำงานต่อไป
4
การจัดทำบัญชีต้นทุนของส่วนราชการ
ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 - มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดตัวชี้วัดที่ 12 เรื่อง ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ในมิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ เมื่อได้ผลการ คำนวณต้นทุนแล้ว ต้องนำผลการคำนวณมาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และจัดทำแผนการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย
5
ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พ.ศ. 2550 พ.ศ.2551 พ.ศ. 2549 ตัวชี้วัดที่ 12 ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ
6
การบัญชีต้นทุน เกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งภาคเอกชน และภาคราชการ
• ในการคำนวณต้นทุนให้มีความถูกต้องเชื่อถือได้ จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีต้นทุนให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงคำนวณต้นทุนเพื่อให้ได้ผลการคำนวณต้นทุนที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องการตัดสินใจต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ • วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีต้นทุน สำหรับหน่วยงานภาครัฐควรจะมีการจัดทำบัญชีต้นทุนแยกตามส่วนงาน จึงจะเหมาะสมและทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวัดผลการดำเนินงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการกระจายต้นทุนของแต่ละส่วนงานเข้าสู่กิจกรรมและผลผลิต เพื่อให้ได้ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตต่อไป
7
ความหมายและคำจำกัดความ
การบัญชีต้นทุน : เป็นสาขาหนึ่งของการบัญชี ที่เกี่ยวกับการ จำแนก การบันทึก การปันส่วน การสรุป และการรายงาน รวมทั้ง การประมาณการต้นทุนหรือ ต้นทุนที่คาดไว้ การบัญชีต้นทุนจะรวมถึงการออกแบบและการจัดระบบต้นทุน การแบ่งแยกต้นทุน เช่น การแบ่งแยก ตามแผนกกิจกรรมหรือ ผลิตภัณฑ์ การเปรียบเทียบต้นทุน เช่น การเปรียบเทียบต้นทุน จริงกับต้นทุนมาตรฐานหรือต้นทุนที่ ประมาณการไว้ รวมทั้งการ เสนอและให้ความหมายของข้อมูลแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้เป็น เครื่องมือในการควบคุมการปฏิบัติงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
8
ความหมายและคำจำกัดความ(กรมบัญชีกลาง)
ต้นทุน (cost) หมายถึง รายจ่าย เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ ซึ่งอาจเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่น หรือการก่อหนี้ผูกพัน ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งสินค้าและบริการ ต้นทุนทางตรง (Direct Cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่สามารถระบุเข้าสำนัก กอง ศูนย์ กลุ่มที่เป็นผู้ผลิตผลผลิตได้อย่างเจาะจงว่าใช้ไปเท่าไรในการผลิตผลผลิตใด ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่หลายๆ สำนัก กอง ศูนย์ กลุ่มใช้ร่วมกันในการผลิตผลผลิต ไม่เป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะของ Cost Center ใดเพียงแห่งเดียว
9
ความหมายและคำจำกัดความ(กรมบัญชีกลาง)
การปันส่วน (Allocation) หมายถึง การแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายไปยังกิจกรรม กระบวนการผลิต การดำเนินงาน หรือผลผลิตตามเกณฑ์ต่างๆ ต้นทุนรวม (Full Cost) หมายถึง ผลรวมของต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการผลิตผลผลิตของหน่วยงาน โดยไม่ต้องคำนึงแหล่งเงิน และเป็นการคำนวณจากตัวเลขค่าใช้จ่ายที่บันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง ผลผลิต (Output) หมายถึง ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่หน่วยงานภาครัฐทำการผลิตและส่งมอบให้กับบุคคลภายนอกใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาผลผลิต และจัดสรรเงินลงทุน หลักในการพิจารณาแนวโน้มการดำเนินงาน เพื่อวัดผลการดำเนินงาน
10
ความหมายและคำจำกัดความ(กรมบัญชีกลาง)
หน่วยต้นทุน (Cost Center) หมายถึง หน่วยงานภายในส่วนราชการที่กำหนดขึ้นตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรหรือต้นทุนในการผลิตผลผลิต หน่วยงานหลัก (Functional Cost Center) หมายถึง หน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในการสร้างผลผลิต หรือมีส่วนร่วมในการสร้างผลผลิตของหน่วยงาน หน่วยงานสนับสนุน (Support Cost Center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการกับหน่วยงานหลัก หรือทำงานสนับสนุน
11
หลักเกณฑ์วิธีการคำนวณต้นทุนผลผลิต
แนวทางการคำนวณต้นทุนผลผลิต กรมบัญชีกลาง ประโยชน์ที่จะได้รับ 1. เพื่อให้เกิดข้อมูลต้นทุนที่เป็นเครื่องมือทางด้านการเงินสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจบริหารการดำเนินงานของหน่วยงาน 2. เพื่อวัดผลการดำเนินงานและเกิดความคุ้มค่า 3. เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน 4. เพื่อการวางแผนการทำงาน
12
หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการคำนวณต้นทุนผลผลิต ในปีงบประมาณ 2550
ขั้นตอนที่ 1 ระบุผลผลิตของหน่วยงาน ขั้นตอนที่ 2 ระบุกิจกรรมหลักที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต ขั้นตอนที่ 3 ระบุศูนย์ต้นทุน (Cost Center) โดยแยกเป็นหน่วยงานหลัก และหน่วยงานสนับสนุน
13
หลักเกณฑ์วิธีการคำนวณต้นทุนผลผลิต
ขั้นตอนที่ 4 ระบุต้นทุนรวมของทั้งหน่วยงานโดยแยกตามประเภทค่าใช้จ่ายที่เป็น ต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม ขั้นตอนที่ 5 กระจายต้นทุนหน่วยสนับสนุนเข้าหลัก ขั้นตอนที่ 6 รวมต้นทุนเชื่อมโยงสู่กิจกรรม/ผลผลิต
14
ข้อกำหนดในการคำนวณค่าใช้จ่ายผลผลิต ปีงบประมาณ 2551 กรมบัญชีกลาง
ตัวเลขค่าใช้จ่ายที่นำมาคำนวณเป็นตัวเลขค่าใช้จ่ายทั้งหมด ที่เกิดขึ้นจริงตามเกณฑ์คงค้าง ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ตาม รายงานของระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบ อิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากเงินงบประมาณและเงินนอก งบประมาณ • รวมถึงเงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ • ค่าใช้จ่ายดังกล่าวรวมค่าเสื่อมราคาซึ่งถือเป็นต้นทุนของ สินทรัพย์ถาวรที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตลอดอายุ การใช้งาน
15
ข้อกำหนดในการคำนวณค่าใช้จ่ายผลผลิต ปีงบประมาณ 2551 กรมบัญชีกลาง
ตัวเลขค่าใช้จ่ายที่นำมาคำนวณเป็นตัวเลขค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตามรายงานของระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบ อิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เท่ากับ ระบบบัญชีภายใน (KKU FMIS) หลังตัดรายการที่ไม่นำมาคิดต้นทุน ได้แก่ 1) เงินสำรอง สมทบและเงินชดเชย กบข. 2) เงินสมทบกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร 3) เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ 4) ค่าใช้จ่ายระหว่างกัน 5) ค่าใช้จ่ายอื่น (รายได้แผ่นดินนำส่งคลัง)
16
แนวทางการจัดทำบัญชีต้นทุน ปีงบประมาณ 2552 กรมบัญชีกลาง
แนวทางการจัดทำบัญชีต้นทุน ปีงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กรมบัญชีกลางกำหนดรูปแบบรายงานผลการคำนวณต้นทุนผลผลิตสำหรับองค์การมหาชนและสถาบันอุดมศึกษาขึ้น โดยแยกประเภทเป็นเงินจากรัฐบาลและเงินจากแหล่งอื่น ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการจัดทำงบประมาณด้านทุนในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้เกิดข้อมูลต้นทุนที่เป็นเครื่องมือทางด้านการเงินที่สำคัญสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจบริหารการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อนไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเกิดความคุ้มค่ากับภาษีของประชาชน
17
การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เริ่มศึกษา วิจัย ต้นทุนผลผลิตโดยใช้หลักการบัญชีต้นทุนรายกิจกรรม ในปี พ.ศ และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1. ตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน โดยเชิญวิทยากรเชี่ยวชาญด้านการจัดทำระบบบัญชี(อาจารย์สะอาด ขุมทรัพย์) บริษัทที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบแผน การเงินและบัญชีตั้งแต่ พ.ศ – 2549 2. มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับการพัฒนามาตรฐานการจัดการทางการเงิน การศึกษาวิจัย เรื่อง รายงานการพัฒนาระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ระบบพัสดุ ระบบการเงิน ระบบบัญชีกองทุน 3 มิติ เกณฑ์คงค้าง และระบบบัญชีต้นทุนรายกิจกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ – 2545
18
การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ต่อ)
3. วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อนักศึกษาและ FTES ประจำปีงบประมาณ พ.ศ ให้ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ผ่าน Financing and resource Forum และ ทปอ. ใช้ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำต้นทุนรายสาขาวิชาของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต (ICL) 4. ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ มาตรา 21 ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะ แต่ละประเภทตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดและรายงานผลการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยให้สำนักงบประมาณกรมบัญชีกลาง และสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการทราบ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ เป็นต้นมา
19
แนวคิดการจัดทำต้นทุน
มหาวิทยาลัยขอนก่นใช้หลักการบัญชีต้นทุนรายกิจกรรม (Activity Base Costing) การคำนวณต้นทุนผลผลิตต้องให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด ตามรายงานการเงินของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ค่าใช้จ่ายที่นำมาคำนวณนั้นเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด จากเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ไม่รวมงบลงทุน(ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง)
20
แนวคิดการจัดทำต้นทุน (ต่อ)
ค่าใช้จ่ายที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงโดยการบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง แล้วคำนวณต้นทุนผลผลิต ค่าใช้จ่ายนี้รวมทั้งค่าเสื่อมราคาซึ่งถือเป็นต้นทุนของการใช้สินทรัพย์ถาวร การคำนวณต้นทุนผลผลิต เริ่มที่การกำหนดผลผลิตและกิจกรรม ต้องกำหนดหน่วยงานที่เป็น ศูนย์ต้นทุนหลัก ศูนย์ต้นทุนสนับสนุน โดยพิจารณากิจกรรมเป็นหลักสำคัญและอิงกับโครงสร้างการบริหารที่แบ่งเป็นคณะ สำนัก สถาบัน ศูนย์
21
วิธีการคำนวณต้นทุนรายกิจกรรมและต้นทุนผลผลิต
1. ระบุกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 2. บันทึกข้อมูลต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายจริงของกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน 3. ปันส่วนค่าใช้จ่ายกิจกรรมสนับสนุนโดยใช้เกณฑ์การปันส่วน 3.1 กิจกรรมสนับสนุนด้านบริหารให้กิจกรรมสนับสนุนวิชาการสนับสนุนวิจัย สนับสนุนบริการวิชาการและบริการรักษาพยาบาล สนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรม และกิจกรรมหลักด้านการเรียน การสอน 3.2 กิจกรรมสนับสนุนวิชาการ (คอมพิวเตอร์ฯ,ห้องสมุดฯ) ให้กิจกรรมหลัก 4 ด้าน คือ การเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการและบริการรักษาพยาบาล ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 3.3 เงินเดือนและค่าตอบแทนอาจารย์ให้กิจกรรมหลัก 4 ด้าน
22
วิธีการคำนวณต้นทุนรายกิจกรรมและต้นทุนผลผลิต(ต่อ)
4.กิจกรรมหลักได้รับ ต้นทุนทางอ้อม(Indirect Cost) จาก กิจกรรมสนับสนุน มารวมกับ ต้นทุนทางตรง(Direct Cost) โดยมี ศูนย์ต้นทุนดังนี้ 4.1 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมการเรียนการสอน คือ คณะ โดยมีหลักสูตร เป็นสายการผลิต แต่ละหลักสูตรมีกิจกรรมย่อย คือ การสอนวิชาต่างๆ คำนวณต้นทุนต่อนักศึกษา (ที่สอบผ่าน) ทุกต้นทุน ทุกรายวิชาของแต่ละหลักสูตรเป็นต้นทุนหลักสูตร 4.2 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมวิจัย คือ คณะ โดยมีโครงการวิจัยเป็น สายการผลิต
23
วิธีการคำนวณต้นทุนรายกิจกรรมและต้นทุนผลผลิต(ต่อ)
4.3 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมบริการวิชาการ คือ คณะ โดยมีโครงการ บริการวิชาการ เป็นสายการผลิต 4.4 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมบริการรักษาพยาบาล คือ โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ และศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯและเป็น สายการผลิต 4.5 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คือ คณะ โดยมีโครงการศิลปะและวัฒนธรรม เป็นสายการผลิต
24
การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ต่อ)
5. การพัฒนาระบบและโปรแกรม (Software) แผนงบประมาณ การเงิน พัสดุ บัญชีกองทุน 3 มิติ เกณฑ์คงค้าง และระบบบัญชีต้นทุนรายกิจกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับ มข.) KKU FMIS เริ่มใช้โปรแกรมนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
25
กิจกรรม(Activities) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กิจกรรมย่อย กิจกรรมหลัก(Functional Activities) จัดการศึกษา หลักสูตรสาขาวิชา,วิชา วิจัย โครงการวิจัย บริการวิชาการ โครงการบริการวิชาการ บริการรักษาพยาบาล กิจกรรมย่อย(โครงการระดับโรงพยาบาล) ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โครงการศิลปะและวัฒนธรรม กิจกรรมสนับสนุน(Supporting Activities) สนับสนุนการบริหาร กิจกรรมย่อย(โครงการ) สนับสนุนวิชาการ พัฒนานักศึกษา หลักสูตร,ทะเบียนและประมวลผล คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ห้องสมุดและสารสนเทศ
26
ผลผลิต (Output) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กิจกรรมหลัก ผลผลิต/หน่วยวัดเชิงปริมาณ จัดการศึกษา นักศึกษาสาขาวิชา /คน วิจัย โครงการวิจัย/โครงการ บริการวิชาการ และบริการรักษาพยาบาล ผู้รับบริการวิชาการแก่ชุมชน/คน โครงการบริการวิชาการ/โครงการ คนไข้/คน,ผู้ป่วยเอดส์/ราย, ชันสูตรพลิกศพ/ศพ ศิลปะและวัฒนธรรม ผู้เข้าร่วมโครงการ/คน, โครงการศิลปะและวัฒนธรรม/ โครงการ
27
โครงสร้างต้นทุนรายกิจกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
28
แนวทางการจัดทำในปีงบประมาณ 2553
1.กิจกรรมหลักได้รับ ต้นทุนทางอ้อม(Indirect Cost) จาก กิจกรรมสนับสนุน มารวมกับ ต้นทุนทางตรง(Direct Cost) โดยมี ศูนย์ต้นทุน ดังนี้ 1.1 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมการเรียนการสอน คือ คณะ โดยมีหลักสูตรเป็นสายการผลิต เมื่อได้รับต้นทุนทางอ้อมจาก กิจกรรมสนับสนุน มารวมกับต้นทุนทางตรง รวมเป็นต้นทุนรวมทั้งหมดของคณะ 1.2 สำนักงานคณบดีคณะ(หน่วยต้นทุนสนับสนุนของคณะ) ปันส่วนตามเกณฑ์การปันส่วนให้กับทุกภาควิชาในคณะ (หน่วยต้นทุนหลัก) ปันส่วนให้กิจกรรมวิจัยทางการศึกษา กิจกรรมบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
29
แนวทางการจัดทำในปีงบประมาณ 2553
1.3 ภาควิชาในคณะ ปันส่วนตามเกณฑ์การปันส่วนให้กิจกรรมจัดการเรียนการสอนรายสาขาวิชา 1.4 รวมค่าใช้จ่ายการผลิตบัณฑิตรายสาขาวิชาจากกิจกรรมจัดการเรียนการสอนรายสาขาวิชากับค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมวิจัยเพื่อการศึกษา 1.5 ต้นทุนต่อผลผลิตสาขาวิชา โดยคิดจากจำนวนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในรายสาขาวิชาต่อจำนวนบัณฑิตสาขาวิชา
30
ความคุ้มค่าจากการคำนวณต้นทุนผลผลิต
ความมีประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่จะก่อให้เกิดผลได้ของผลผลิต บริการ และกิจกรรม ที่มากกว่าต้นทุนของปัจจัยนำเข้าทั้งหมด การทำงานของบุคลากรและผลตอบแทนที่เหมาะสม ความมีประสิทธิผล คือ ทำให้เกิดผลผลิต บริการ กิจกรรม ที่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ จากทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้าทั้งหมดจะต้องนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตผลผลิต บริการ ให้ได้ในจำนวนที่มากที่สุด หรือเสียต้นทุนต่ำที่สุด
31
ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.