ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKhem Narkbunnum ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการแสดงและการวิจารณ์การแสดง
จัดทำโดย ครูเสาวภาคย์ ณ ร้อยเอ็ด โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
2
นักแสดง คือ ผู้ที่สวมบทบาทเป็นตัวละคร เพื่อ
ถ่ายทอดเรื่องราวและความคิดในบทละครให้ผู้ชม ได้รับรู้ ซึ่งการปฏิบัติตนเป็นนักแสดงที่ดีนั้น จะต้องตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อ อาชีพของตนและผู้ชม รวมถึงผู้ร่วมงานทุกฝ่าย เพราะถ้าไม่ตั้งใจแสดงให้ดีก็เท่ากับเป็นการทำลาย ผลงานของผู้สร้างสรรค์ที่ร่วมทำงานกับเราให้ เสียหาย รวมทั้งเป็นการทำลาย ความศรัทธาของผู้ชม และต้องรู้จัก แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนารูปแบบ การแสดง เพื่อที่จะได้เป็นนักแสดง ที่มีคุณภาพ
3
นักแสดงที่เราเห็นในปัจจุบันตามละครโทรทัศน์
นั้นถือเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการโน้มน้าว อารมณ์และความคิดผู้ชมเป็นอย่างมาก เห็นได้ จากวัยรุ่นสมัยนี้จะมีพฤติกรรมและค่านิยมต่าง ๆ เลียนแบบนักแสดงที่ตนเองชื่นชอบ ดังนั้น นักแสดงจะต้องประพฤติและปฏิบัติตนเป็น แบบอย่างที่ดีต่อผู้ชม เช่น มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของตน รู้จักนอบน้อมผู้ใหญ่ ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่น เดือดร้อน เป็นต้น
4
ผู้ชม คือ องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการ
จัดการแสดงต่าง ๆ เพราะถ้าขาดผู้ชม การแสดง ต่าง ๆ ที่จัดขึ้นก็จะไม่มีความหมาย เพราะผู้ชม จะบอกให้ผู้สร้างสรรค์และนักแสดงรู้ว่าการแสดง ที่จัดขึ้นนั้นดีหรือไม่ อย่างไร และสิ่งที่ผู้ชมควร ปฏิบัติคือมีมารยาทที่ดีในการชมการแสดง เช่น การชมการแสดงด้วยความตั้งใจ ไม่พูดคุยหรืส่ง เสียงดังขณะชมการแสดง ไม่ส่งเสียง โห่ร้องเมื่อไม่ชอบใจการแสดงที่นักแสดง กำลังแสดง และควรให้เกียรติผู้แสดงโดย การปรบมือให้นักแสดงเริ่มและเมื่อจบ การแสดง เป็นต้น
5
การวิจารณ์การแสดง 1. ผู้วิจารณ์จะต้องมีความเที่ยงตรง ไม่มีอคติกับนักแสดง และมีเหตุผลในการรองรับข้อติที่ตนเองกล่าวด้วย 2. การวิจารณ์จะพิจารณาถึงคุณค่าการแสดงของนักแสดง คือ บทบาทการแสดงที่สมจริงและเป็นธรรมชาติ ไหวพริบปฏิภาณที่ดีเวลาแสดงหรือไม่ และมีจังหวะการพูด การเคลื่อนไหวร่างกายที่ดีหรือไม่ มีการเปล่งวาจาด้วยคำพูดที่ชัดเจน ถูกต้อง และใช้น้ำเสียงได้สัมพันธ์กับอารมณ์ ความรู้สึกที่แสดงออก และเหมาะสมกับวัยของตัวละคร มีความคุ้นเคยกับฉาก อุปกรณ์ประกอบการแสดงและเครื่องแต่งกาย 3. ให้เกียรตินักแสดงด้วยกัน และความร่วมมือความสนใจที่จะทำให้ละครที่ตนแสดงออกมาอย่างความสมบูรณ์
6
การจัดการแสดงไม่ว่าจะเป็นการแสดงระบำ รำ ฟ้อน ละคร โขน ในสถาบันการศึกษาจะมีการจัดแบ่งหน้าที่ หรือผู้รับผิดชอบออกเป็น 3 ฝ่าย คือ 1) ฝ่ายอำนวยการแสดง ได้แก่ ผู้อำนวยการแสดง ผู้กำกับการแสดง ผู้กำกับเวที คือ ผู้ช่วยผู้กำกับเวที 2) ฝ่ายจัดการแสดง ได้แก่ คณะกรรมการพิจารณาการแสดง ผู้ดูแลด้านเทคนิค ผู้ดูแลเครื่องแต่งกาย ผู้ดูแลบทเพลงและดนตรี 3) ฝ่ายธุรการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก เจ้าหน้าที่สวัสดิการ ผู้รับผิดชอบสถานที่
7
การดำเนินงานในการจัดการแสดง จะเริ่มจาก
1) การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในฝ่ายต่าง ๆ 2) การคัดเลือกนักแสดง 3) ผู้กำกับการแสดงเรียกประชุม 4) จัดประชุมเพื่อติดตามการทำงานของทุกฝ่าย 5) ฝึกซ้อมการแสดง 6) การจัดการแสดงจริง 7) สรุปและประเมินผลการจัดการแสดง
8
ชุดการแสดงรูปแบบต่างๆ
ภาพตัวอย่าง ชุดการแสดงรูปแบบต่างๆ
11
เซิ้งแหย่ไข่มดแดง
12
ให้เป็นแบบอย่างที่ดี
1. นักเรียนคิดว่านักแสดงควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมอย่างไร นักเรียนคิดว่า นักแสดงควรปฏิบัติตน ให้เป็นแบบอย่างที่ดี ต่อสังคมอย่างไร?
13
นักแสดงที่นักเรียนชื่นชอบ ให้เป็นแบบอย่างที่ดี
1. นักเรียนคิดว่านักแสดงควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมอย่างไร ยกตัวอย่าง นักแสดงที่นักเรียนชื่นชอบ ซึ่งปฏิบัติตน ให้เป็นแบบอย่างที่ดี ต่อสังคมมา 1 คน
14
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.