งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล
ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพทั้งองค์กร TQA for Education - รศ. รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม 1

2 กำหนดการ: วันที่ 1 เวลา กิจกรรม 09.00 - 09.30 ผู้แทน สนก. อธิบายถึง
กำหนดการ: วันที่ 1 เวลา กิจกรรม ผู้แทน สนก. อธิบายถึง ความเป็นมา วัตถุประสงค์ และแผนงานโครงการ บทบาทหน้าที่ของ สนก. พี่เลี้ยงโครงการ และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ การดำเนินการของโครงการ รับประทานของว่าง ที่มาของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา กิจกรรมกลุ่ม 1: แนวคิดความเป็นเลิศ รับประทานอาหารกลางวัน โครงร่างองค์กร กิจกรรมกลุ่ม 2:โครงร่างองค์กร ถาม-ตอบ ช่วง 9.00 – น. อาจารย์บุญลักษณ์ พิมพา ผู้แทน สนก. อธิบายถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์โครงการโรงเรียนในฝัน โดยเกณฑ์ TQA จะเชื่อมโยงเข้ากับเครื่องมือ Balanced Scorecard และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 11 ข้อ ซึ่งเป็นหลักของโรงเรียนในฝัน ความคาดหวังของ สพฐ.ที่มีต่อโรงเรียนในฝัน 1.สุดยอดผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2.สุดยอดนวัตกรรมการบริหารจัดการโรงเรียน 3.สุดยอดโรงเรียนดี มีมาตรฐานระดับชาติ 4.สุดยอดโรงเรียนสะอาด 5.สุดยอดแหล่งเรียนรู้และห้องสมุดมีชีวิต 6.สุดยอดผู้นำระบบ e-learning เพื่อการจัดการเรียนรู้ 7.สุดยอดครูมืออาชีพ 8.สุดยอดนักเรียนเก่ง ดี มีความสุข 9.สุดยอดนักแข่งขันฝีมือดีในเวทีนานาชาติ 10.สุดยอดความร่วมมือภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ วัตถุประสงค์ของ สนก. สำหรับการอบรม 2 วันนี้ ได้แก่ - เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจระบบองค์ประกอบนวัตกรรมการบริหารองค์กร - เพื่อกระตุ้นในโรงเรียนในฝันทุกโรงเรียนมีคุณภาพทั้งองค์กร

3 กำหนดการ: วันที่ 2 เวลา กิจกรรม 09.00 - 10.30
ประเด็นสำคัญของเกณฑ์หมวด 1 - 6 รับประทานของว่าง ประเด็นสำคัญของเกณฑ์หมวด (ต่อ) รับประทานอาหารกลางวัน ประเด็นสำคัญของเกณฑ์หมวด 7 กิจกรรมกลุ่ม 3: ตัวชี้วัดที่สำคัญ นำเสนอ กิจกรรมต่อเนื่อง อภิปรายกลุ่ม

4 หัวข้อ ความท้าทายของการศึกษา การดำเนินการของโครงการ
ที่มาของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา วัตถุประสงค์ของการใช้เกณฑ์ องค์ประกอบของเกณฑ์ เป้าหมายและทีมงาน การเตรียมการเพื่อครั้งต่อไป ถาม-ตอบ หัวข้อในการบรรยาย 2 วันนี้จะประกอบด้วย 8 เรื่อง ซึ่งเรื่องนี้จะมีศัพท์ใหม่ที่ผู้อบรมอาจไม่คุ้นเคย ดังนั้น ให้ผู้อบรมจด note ไว้ว่าคำใดที่ไม่เข้าใจ แล้วทุกช่วงเบรคให้ส่ง note มาถาม วิทยากรจะตอบในห้องหรือเวปไซต์ TQA for Education - รศ. รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม 4

5 ความท้าทายของการศึกษา
ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพ ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเปลี่ยนแปลงจากสังคมภายนอก การบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การสร้างแรงจูงใจให้บุคลากร การบริหารภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด การมีส่วนร่วมกับชุมชน การแข่งขันในยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร ความท้าทายทางการศึกษาของไทยคือการพยายามจะตอบโจทย์ของการเรียนรู้ ร่วมการตอบโจทย์ความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย รวมทั้งการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร โรงเรียนต้องเข้าใจตนเองมากขึ้นว่ากำลังเผชิญความท้าทายอะไร แล้วหันหาไปเผชิญกับมัน แล้วหาวิธีจัดการ โดยเฉพาะผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้เพราะเป็นผลลัพธ์ในการก่อตั้งโรงเรียนขึ้นมา ความท้าทายเหล่านี้สอดคล้องกับ Balanced Scorecard ของโรงเรียนในฝันที่คาดหวังให้โรงเรียนเตรียมตัวนักเรียนให้สามารถเป็นพลเมืองโลกที่ดีได้ ไม่ใช่เน้นแค่ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้เท่านั้น แต่ความท้าทายสำคัญคือการเสริมสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ เช่น อาชีพวิศวกรรมจำเป็นต้องมีทักษะความคิดเชิงระบบ ซึ่งจะต้องได้รับฝึกฝนตั้งแต่ในระดับโรงเรียน ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม เช่น ข่าวการทุจริตการสอบ ซึ่งต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่ในโรงเรียนอนุบาล ประถม การเรียนรู้ตลอดชีวิต ปัจจุบันเด็กสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา โรงเรียนต้องสอนให้เด็กรู้จักการใช้เครื่องมือให้เป็น การเปลี่ยนแปลงจากสังคมภายนอก การบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การสร้างแรงจูงใจให้บุคลากร รักษาบุคลากรให้อยู่กับโรงเรียน และส่งมอบสิ่งดีๆให้แก่โรงเรียน การบริหารภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด โรงเรียนมักมีงบจำกัด ความท้าทายคือจะต้องมีวิธีการบริหารอย่างไรเพื่อให้บรรลุความสำเร็จภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด การมีส่วนร่วมกับชุมชน การแข่งขันในยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร โรงเรียนต้องสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของนักเรียน

6 ทิศทางการปฏิรูปการศึกษาทั่วโลก

7 แนวคิดหลักในการปฏิรูปการศึกษา
Standardization of education - การสร้างมาตรฐานของหลักสูตร Focus on core subjects in school - การมุ่งเน้นทักษะและผลการเรียนรู้ในกลุ่มสาระวิชา Search for low-risk ways to reach learning goals - การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์การศึกษาโดยเรียนรู้จากประสพการณ์ Use of corporate management models use of corporate management models - การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการโรงเรียนโดยอาศัยรูปแบบการบริหารที่ใช้ได้ผลจากโลกธุรกิจ ข้อมูลมาจาก blog ของ Pasi sahlberg ชาวฟินแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษา โดยฟินแลนด์ได้เรียนรู้จากประเทศอื่นแล้วนำมาปรับปรุงตนเอง แนวคิดในยุคแรกเน้น Standardization of education ต่อมาจึงเริ่ม Focus on core subjects in school มุ่งเน้นทักษะและประสบการณ์ ดูว่าเรียนแล้วสามารถประยุกต์ใช้งานเป็นหรือไม่ แนวคิดที่ 3 Search for low-risk ways to reach learning goals หาวิธีการที่บรรลุเป้าหมายเร็วที่สุด เสี่ยงน้อยที่สุด ด้วยงบประมาณจำกัด จึงไม่มีเวลาฟูมฟักให้เด็กได้เรียนรู้มากนัก แนวคิดนี้จึงเป็นอุปสรรคสำหรับเด็กที่เรียนรู้ได้ช้า จนมาถึงแนวคิดสุดท้าย Use of corporate management models use of corporate management models พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยนำรูปแบบบริษัทเอกชนมาใช้ เช่น แนวคิด TQM การบริหารหลักการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้โรงเรียนสามารถบริหารโรงเรียนแบบมืออาชีพได้ มองแบบนักบริหาร สามารถมองอย่างเข้าใจในความซับซ้อน แล้วบริหารจัดการโรงเรียนในระดับ positioning ของตนเอง ไม่ว่าจะอยู่กลุ่มไหนก็สามารถเป็นผู้นำได้ จึงต้องเข้าใจว่าการบริหาร world-class เป็นอย่างไร สำหรับโรงเรียนในฝันเป็นการบูรณการทั้ง 4 แนวคิดอย่างครบถ้วน โดยได้นำแนวคิด BSC มาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน

8 Educational Reform – lessons learned from our neighbor
period Strategies 1st 1965 – 1973 Integrated Educational System; Growth of Technical Education 2nd 1974 – 1985: New Education System (Efficient management sys) Certification and Training in Technical Education 3rd School Leadership Training and Development Excellence in Education through Quality Schools Setting up Institutes of Technical Education (ITE) 4th 1998 onwards ‘Thinking Schools Learning Nation’ School Excellence Model Singapore Quality Class (SQC) Award ITE Breakthrough Plan แนวคิดการปฏิรูปการศึกษาที่ใช้ได้ผลอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา คือ สิงคโปร์ ช่วงเริ่มต้น สิงคโปร์ได้ปฏิรูปเศรษฐกิจกับการศึกษาไปคู่กัน ซึ่งเมื่อบูรณาการทั้ง 2 เรื่องเข้าด้วยกัน ทำให้พบว่า ช่างฝีมือจะขาดแคลนในอนาคต จึงได้พัฒนาโรงเรียนและมหาวิทยาลัยด้านอาชีวะศึกษาขึ้นมา ช่วงที่ 2 ด้วยความใกล้ชิดกับธุรกิจจึงรู้ว่าตลาดต้องการอะไร ทำให้พัฒนาระบบการเรียนรู้แบบใหม่ มีการจัดอบรมและออกประกาศนียบัตรด้านอาชีวะศึกษา ช่วงที่ 3 ส่งเสริมให้ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความสามารถในการบริหารโรงเรียนมากขึ้น มีการตั้ง Quality Schools และสถาบันอาชีวะศึกษาขึ้น ช่วงที่ 4 สิงคโปร์เริ่มแนวคิดนี้หลังจากประเทศเริ่มเป็นผู้นำโลกด้านการแข่งขัน ดังนั้น ส่งเสริมให้โรงเรียนสนับสนุนนักเรียนไปสู่โลกแห่งการแข่งขัน รู้จักคิดเป็น เรียนรู้เป็น โดยราวปี 1995 สิงคโปร์เริ่มใช้ SQC ในภาคอุตสาหกรรม พอถึงปี 2000 จึงมีการประยุกต์ SQC มาสร้าง School Excellence Model หรือ SEM เป็นเครื่องมือประเมินโรงเรียน ควบคู่กับการทำ SQC เพื่อให้โรงเรียนที่ผ่านมาตรฐานระดับ SQC สามารถยืนบนขาตัวเองได้ โดยมี ITE Breakthrough Plan ช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด

9 Educational Reform – lessons learned from our neighbor
period Strategies ICT Master Plans for Education: First Master Plan (1997–2002) focused on setting up the basic infrastructure for schools and training teachers to use ICT for teaching and learning Second Master Plan (2003–2008) focuses on the pervasive and effective integration of ICT into the curriculum for engaged learning สิงคโปร์ได้จัดทำแผน ICT เป็น master plan ระดับประเทศ โดยมีแผนการศึกษาคู่กันไป แผนแรกมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงการพื้นฐาน อุปกรณ์ และฝึกอาจารย์ให้ใช้อุปกรณ์เป็น แผนสองเริ่มปี 2003 ใช้ ICT ปรับหลักสูตร เน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยใช้ ICT

10 การปฏิรูปการศึกษานั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายในทุกประเทศ แต่ตัวอย่างของสิงค์โปร์ จะเห็นว่ามีแบบจำลองที่บูรณาการการศึกษาทั้งระบบตั้งแต่ปฐมวัย สู่พื้นฐาย สู่อุดมศึกษา โดยมีการมุ่งเน้นที่แตกต่างตามความสามารถที่แตกต่างกันของกลุ่มผู้เรียน โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้นักเรียนทุกคนเติบโตไปสู่ผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณค่าในสังคม

11 การปฏิรูปการศึกษาในสิงคโปร์
หนึ่งในแบบจำลองของการบริหารการศึกษาคือ SEM หรือ School Excellence Model ซึ่งกระทรวงการศึกษาของสิงค์โปร์ได้นำมาใช้ตั้งแต่ปีค.ศ โดยมีต้นแบบมาจากรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสิงค์โปร์ แบบจำลองดังกล่าวมี 9 องค์ประกอบ ชี้ให้เห็นว่าคล้ายคลึงกับ model TQA ของไทยเพียงแต่อันนี้มาจาก EFQA

12 ผลพวงจากแบบจำลองของ SEM ซึ่งใช้ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาระดับพื้นฐานของทั้งประเทศ โดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบการรับรองมาตรฐานโรงเรียน ได้ทำให้ระบบการศึกษาของสิงค์โปร์พัฒนาไปสู่โครงการ Future Singapore ในปีค.ศ ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการใช้สื่อที่ทันสมัยเพื่อให้นักเรียนปรับตัวเข้ากับ life style ของการเรียนรู้ในยุคดิจิตอล คือ Anytime, anywhere learning. เพื่อนำนักเรียนเข้าสู่ยุคของโลกไร้พรมแดน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม (ฉาย VCD) ใต้ฐานของต้นไม้ในรูป แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยนำชุมชน สังคมมาเป็นส่วนช่วยในการออกแบบระบบการศึกษาร่วมกัน คำถาม หลังดูจบแล้ว ผู้เข้าอบรมมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง หรือได้แรงบันดาลใจอะไรบ้าง

13 โครงการโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล
เป็นโครงการที่นำเอาเกณฑ์ความเป็นเลิศของการศึกษา Baldrige Educational Criteria for Excellence มาใช้เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรงเรียน เพื่อให้มีแนวทางพัฒนาและสร้างนวัตกรรมในการเรียนรู้ กับกลุ่มโรงเรียนในฝัน Framework ของสิงคโปร์อาจใกล้เคียงกับของไทย เพียงแต่ของไทย ทาง สนก. เลือกใช้เกณฑ์ TQA หรือ Baldrige Educational Criteria for Excellence กับกลุ่มโรงเรียนในฝัน

14 แบบจำลองความเป็นเลิศการบริหารคุณภาพการศึกษา
จาก Baldrige Educational Criteria for Excellence Model จะเห็นว่า เกณฑ์มีอยู่ 7 หมวด แต่ละหมวดมีหมายเลขกำกับ ซึ่งแตกต่างกับ SEM ที่ SEM จะไม่มีหมวด 4 Measurement, Analysis, and Knowledge Management โดยแปลงไปเป็นเรื่องทรัพยากร (Resource) แทน ส่วน Organizational Profile ด้านบนสุด ไม่มีหมายเลข แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนต้องเข้าใจตัวตนของโรงเรียนก่อน เช่น สภาพการแข่งขัน สิ่งแวดล้อม จึงจะสามารถใช้ framework 7 หมวดด้านล่างได้ เพื่อพัฒนาปรับปรุงองค์กรตามบริบทของโรงเรียนเอง โรงเรียนต้องมองการบริหารโรงเรียนให้ออกว่ามีกี่เรื่อง แต่ละเรื่องเน้นอะไรบ้าง ทำในเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว ให้ทะมัดทะแมงขึ้น เป็นมืออาชีพและเป็น world-class มากขึ้น โดยเปลี่ยน par dram shift จากวัด input ที่ใส่ให้เด็ก เช่น จำนวนคาบตามแผน จัดการเรียนรู้ตามแผน มามุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ ซึ่งผลลัพธ์เหล่านั้นจะต้องถูกวัดผล และทุกคนต้องเพียรพยายามให้ผลลัพธ์ดีขึ้น โดยไม่มีข้ออ้างในการปรับปรุง เช่น โรงเรียนเรารับแต่เด็กไม่เก่ง ไม่มีงบ แต่ต้องบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ ให้เด็ก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้สิ่งที่ดีที่สุด ประโยชน์ที่แท้จริงของการใช้เกณฑ์ คือ ทำให้อาจารย์บริหารโรงเรียนอย่างเป็นมืออาชีพขึ้น ผลลัพธ์เด็กดีขึ้น ผู้ปกครองมีความสุขขึ้น

15 แนวทางการดำเนินการ Phase 4 Phase 3 Phase 2 Phase 1
ประเมินระดับพัฒนาการ ถ่ายทอดขยายผล ปรับปรุงกระบวนการ วัดผล ปรึกษาแนะนำ ประเมินความก้าวหน้า ถอดรหัสบทเรียน Phase 3 Phase 2 ปรับระบบงาน ค้นหาวิธีการปรับปรุงที่ดี พัฒนาตัวชี้วัด ติดตามความก้าวหน้า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการนี้ได้ทดสอบกับโรงเรียน 4 แห่ง มา 2 ปี จากโครงการนำร่องทำให้ได้เรียนรู้รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการขยายผล ซึ่งข้อมูลหนึ่งที่ได้รับเสียงสะท้อนจากโครงการ คือ การจะทำให้เห็นผลการปรับปรุงจะต้องใช้เวลา 3 ปี ดังนั้น ใน Phase แรกจะใช้เวลา 3 เดือน เรียนรู้การทำโครงร่าง สำหรับใช้ประเมินองค์กร เพื่อทำแผนพัฒนา ทำเพื่อให้เข้าใจตนเองว่าเราเป็นใคร Phase 2 เริ่มทำในปีที่ 2 จากแผนพัฒนาจะนำไปสู่การปรับปรุงระบบงาน พัฒนาตัวชี้วัดที่เป็นเฉพาะของโรงเรียนเอง มีทีมพี่เลี้ยงติดตามความก้าวหน้า Phase 3 ติดตามวัดผล และถอดรหัสว่าวิธีไหนใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ หา BP เพื่อต่อยอดต่อไป (ตั้งต้นวัดจากพันธกิจหลักของโรงเรียน ตั้งตัดวัดหลักๆ อย่าใส่ใจตัววัดย่อยๆ เช่น ความยาวเส้นผมเด็ก) Phase 4 ประเมินภาพรวมของโรงเรียน KSF คืออะไร เพื่อขยายผลต่อไป Phase 1 เรียนรู้ ทำโครงร่าง ประเมินองค์กร ทำแผนพัฒนา

16 การดำเนินการโครงการโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล
สนก พี่เลี้ยง โครงการโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล แนะนำโครงการและองค์ประกอบของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ โรงเรียนในฝัน พี่เลี้ยง และสนก.

17 การเรียนรู้และนวัตกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ โรงเรียน ผลการประเมินตนเอง การวางแผนเพื่อพัฒนา การเรียนรู้และนวัตกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับของกลุ่มโรงเรียนในฝัน 1. ผลการประเมิน เพื่อวิเคราะห์ว่าพัฒนาการของโรงเรียนอยู่ตรงไหน มีเรื่องใดที่ทำได้ดี เรื่องใดที่ยังไม่ดี 2. วางแผนการพัฒนา 3. มีการเรียนรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน หรือด้านการบริหารจัดการ หวังว่า โรงเรียนมีการจัดการที่เป็นระบบ และสามารถขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศ ด้วยตัวของโรงเรียนเองได้

18 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลที่คาดว่าจะได้รับของกลุ่มพี่เลี้ยง
ทักษะการประเมิน เครื่องมือในการปรับปรุง เครือข่ายการเรียนรู้ ผลที่คาดว่าจะได้รับของกลุ่มพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงจะได้เรียนรู้ทักษะการประเมินรูปแบบใหม่ ไม่ใช่การประเมินว่าผ่าน/ไม่ผ่าน แต่ประเมินเพื่อพัฒนา ดูระดับพัฒนาการของโรงเรียนว่าอยู่ตรงไหน เรียนรู้เครื่องมือในการปรับปรุงที่หลากหลาย เพื่อให้คำแนะนำเครื่องมือที่ถูกต้องแก่โรงเรียน สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างพี่เลี้ยง

19 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลที่คาดว่าจะได้รับของสนก.
รูปแบบการประเมิน แนวทางในการกระตุ้นนวัตกรรม ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนา ผลที่คาดว่าจะได้รับของสนก. 1. ได้รูปแบบการประเมินที่สามารถดูระดับพัฒนาการของโรงเรียน 2. ได้แนวทางในการกระตุ้นนวัตกรรมที่เป็นเอกลักษณของโรงเรียน 3. ได้ข้อมูลพื้นสำหรับจำทำฐานข้อมูลเพื่อวางแผนพัฒนาโรงเรียน

20 เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
ที่มาของเกณฑ์ คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ เนื้อหาการบรรยายใน 2 วันนี้จะเป็นการบรรยายแบบคร่าวๆ ไม่ลงลึก เพราะการบรรยายลงลึกทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าเกณฑ์เป็นเรื่องยาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การพัฒนาโรงเรียนสามารถค่อยๆ พัฒนาไปทีละขั้นได้

21 ที่มาของเกณฑ์ จากเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศไทย
เกณฑ์คุณภาพการศึกษาของสหรัฐฯ เกณฑ์นี้มาจาก Thailand Quality Award ซึ่งเป็นเกณฑ์สำหรับระบบคุณภาพเพื่อความเป็นเลิศ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้คิดค้นขึ้น ซึ่งมีเกณฑ์ 3 ด้าน คือ ธุรกิจ การศึกษา โรงพยาบาล โดยมีศัพท์เฉพาะตามความเหมาะสมสำหรับด้านนั้นๆ เกณฑ์ที่นำมาใช้ในโครงการโรงเรียนในฝันเป็นเกณฑ์คุณภาพการศึกษา

22 เกณฑ์คุณภาพการศึกษาฯคืออะไร?
เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินสถาบันการศึกษาในภาพรวม อยู่บนกรอบของการดำเนินงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ สามารถใช้ประเมินได้ทั้งโรงเรียนและเขตการศึกษา เป็นที่ยอมรับกันในประเทศชั้นนำต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นเกณฑ์เดียวกันกับเกณฑ์การประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินโรงเรียนในภาพรวม โดยอยู่บนกรอบของการดำเนินงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ หรือกล่าวได้ว่าเป็น excellence model ซึ่งสามารถใช้ประเมินได้ทั้งโรงเรียนและเขตการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ก็สามารถใช้เกณฑ์นี้ได้ ปัจจุบันเกณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับกันในประเทศชั้นนำต่าง ๆ ทั่วโลก โรงเรียนและมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกต่างใช้เกณฑ์ในการปรับปรุงองค์กร สำหรับในประเทศไทย มหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งก็มีเกณฑ์ EdPEx (Education Criteria for Performance Excellence) นอกจากนี้ ยังเป็นเกณฑ์เดียวกันกับเกณฑ์การประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งได้รับยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรมุ่งสู่ความเป็นเลิศได้ 22

23 เนื้อหาในเกณฑ์มีอะไรบ้าง?
เป็นข้อกำหนดของระบบการบริหารจัดการองค์กรในเรื่องหลัก ๆ ที่ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และการบริการที่จะส่งมอบสิ่งที่มีคุณค่าแก่ผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยแนวคิดและทฤษฎีของการจัดการที่เป็นระบบ และการปรับปรุงผลการดำเนินการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ สอดแทรกหลักการของการบริหารจัดการที่อยู่บนระบบค่านิยมที่สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรและความสมดุลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เนื้อหาในเกณฑ์เป็นการถามคำถามเพื่อทำให้ได้ทบทวน ตนเองว่า ณ ตอนนี้ เรามีระบบอะไรอยู่บ้าง และควร พัฒนาอย่างไรเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยใช้มุมมอง เชิงบูรณาการเป็น integrated model มีค่านิยม 11 ข้อ เป็นพื้นฐาน หัวใจสำคัญ มีเป้าหมายที่ชัดเจนและรู้ว่าใครที่เป็นผู้รับคุณค่าจาก การมีโรงเรียน แล้วมุ่งเน้นเป้า ไม่วอกแวก วางแผนกลยุทธ์ สร้างนวัตกรรม ปรับปรุง มุ่งสู่เป้า ที่ตั้งไว้ เน้นภาวะผู้นำสูง หมั่นเรียนรู้แล้วปรับปรุงจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร วัดผล วิเคราะห์ ปรับปรุง เน้นตัววัดหลักๆ โดยตัววัด ที่เหลือต้องเชื่อมโยงกับตัววัดหลัก 23

24 ความลึกซึ้งของเกณฑ์ เกณฑ์ตั้งคำถามเพื่อให้โรงเรียนพิจารณาว่า เรื่องต่าง ๆ ของระบบการบริหารได้มี... การดำเนินการที่เป็นระบบหรือไม่ มีการนำระบบไปปฏิบัติอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ ทั่วถึง หรือไม่ มีการติดตามประเมินผล เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการต่าง ๆ ให้ดีขึ้นหรือไม่ ผลการปรับปรุงในแต่ละเรื่องส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายและทิศทางที่สถาบันมุ่งหวังไว้หรือไม่ ผลลัพธ์ของการปรับปรุงสร้างความยั่งยืนหรือไม่ คำถามเหล่านี้ไม่ได้เป็นคำถามในเกณฑ์โดยตรง แต่จะถูกสอดแทรกอยู่ในกระบวนการประเมิน เพื่อให้โรงเรียนพิจารณาตนเองอย่างบูรณาการและโฟกัสผลลัพธ์

25 วัตถุประสงค์ของเกณฑ์
เพื่อให้โรงเรียนต่าง ๆ ได้ใช้เกณฑ์นี้ไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการ ขีดความสามารถ และผลลัพธ์ให้ดีขึ้น เป็นกลไกในการสื่อสารและการแบ่งปันเรียนรู้จากวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจและทบทวนผลการดำเนินการในระบบการบริหารจัดการของโรงเรียน รวมทั้งเป็นแนวทางในการวางแผนและเป็นโอกาสในการเรียนรู้ของโรงเรียนเอง ใช้เกณฑ์เพื่อพัฒนาองค์กร ไม่ได้เพื่อรางวัล เพื่อแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยในเกณฑ์จะถามถึงระบบที่เป็น Best Practice และการเรียนรู้และต่อยอด ทำให้ทุกคนมองภาพเดียวกัน เมื่อวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนจะทำให้ทุกคนในองค์กรพูดภาษาเดียวกัน เข้าใจตรงกัน การบริหารจัดการก็บูรณาการไปสู่ทิศทางเดียวกันมากขึ้น 25

26 เกณฑ์นี้จะช่วยโรงเรียนได้อย่างไร?
เกณฑ์นี้ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้โรงเรียนใช้เป็นแนวทางที่บูรณาการในการจัดการผลการดำเนินการของตนเอง ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ดังนี้ การจัดการศึกษาที่มีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาและความยั่งยืนของโรงเรียน การปรับปรุงประสิทธิผลและขีดความสามารถในการบริหารให้เกิดประสิทธิผล เกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล เมื่อประเมินแล้วได้จะระดับพัฒนาการ ได้รู้จุดแข็ง โอกาสในการปรับปรุงเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงให้เก่งขึ้น ซึ่งระบบวัดผลในเกณฑ์ยังช่วยทำให้เข้าใจภาพรวมของโรงเรียนได้ว่า พัฒนาแล้วเกิดประสิทธิผลดีขึ้นอย่างไร ทบทวนว่าตัวเองไปผิดทางหรือไม่ ผู้ปกครองมีความสุขกับโรงเรียนหรือไม่ เงินบริจาคลดลงหรือไม่ เป็นที่รักที่ชื่นชมของนักเรียน ผู้ปกครองหรือไม่ ครูลาออกมากขึ้นหรือไม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นมั้ย อัตราเด็กลาออกลดลง? การเรียนรู้กลายเป็นวัฒนธรรมหรือไม่ วัดปรับปรุง เก็บเฉพาะที่จำเป็น มุ่งสู่ความเป็นเลิศให้ได้ 26

27 องค์ประกอบของเกณฑ์ฯ องค์ประกอบของเกณฑ์ สามารถแบ่งออกเป็น
หมวด 1, 2, 3 เป็นปัจจัยแห่งการขับเคลื่อน หมวด 5, 6 เป็นปัจจัยปฏิบัติการ ซึ่งผลลัพธ์ของทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะแสดงผลออกมาเป็นหมวด 7 หมวด 4 เป็นพื้นฐานครอบคลุมทุกเรื่อง ทั้งการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ สุดท้าย การดำเนินการทั้ง 7 หมวดขึ้นกับโครงร่างองค์กร ซึ่งเป็นบริบทและสภาพแวดล้อมขององค์กร

28 เกณฑ์นี้เป็นเครื่องมือประเมินองค์กร เพื่อดูว่า....
โรงเรียนมีการบริหารอย่างถูกทิศทางภายใต้การนำอย่างมีวิสัยทัศน์ โรงเรียนเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ วิธีการรวบรวมและใช้สารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการวางแผนและบรรลุเป้าหมายทั้งในปัจจุบันและอนาคต วิธีการพัฒนาและใช้ความสามารถพิเศษของโรงเรียน มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย ลดความผิดพลาด และส่งผลให้โรงเรียนผลิตนักเรียนที่ตรงตามเป้าหมายและมีบริการต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินการของโรงเรียนในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งจากมุมมองของผู้เรียนและผู้ปกครอง ชุมชน ขวัญกำลังใจและการมีส่วนร่วมของบุคลากร ประสิทธิภาพ และด้านการเงิน การประเมินด้วยคำถาม 90 ข้อ ทำให้องค์กรรู้ว่า ตรงไหนที่ตนเองทำได้ดีแล้ว ตรงไหนยังไม่ดี และรู้จักกลุ่มผู้เรียนดียิ่งขึ้น ใช้สารสนเทศในการวางแผนและบรรลุเป้าหมายทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากโรงเรียนต้องสอนนักเรียนเพื่อให้สามารถแข่งขันในอนาคตได้ ดังนั้น จะมองแต่ปัจจุบันไม่ได้ วิธีการพัฒนาและใช้ความสามารถพิเศษของโรงเรียน พิจารณาง่ายๆ ว่าความสามารถพิเศษคือสิ่งที่คนอื่นพูดถึงโรงเรียนว่าโรงเรียนเก่งด้านไหน การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพจะอยู่ในเกณฑ์หมวด 6 ซึ่งจะตรงกับ Balanced Scorecard ของโรงเรียนในฝัน มิติที่ 2 กระบวนการจัดการศึกษาในโรงเรียน ผลการดำเนินการจากมุมมองของผู้เรียนและผู้ปกครอง ชุมชน ขวัญกำลังใจและการมีส่วนร่วมของบุคลากร ประสิทธิภาพ และด้านการเงิน คำถามในเกณฑ์จะครอบคลุมทุกมิติของ Balanced Scorecard ของโรงเรียนในฝันอยู่แล้ว เพียงแต่บางข้ออาจจะมีมากกว่าบ้าง เช่น เรื่องชุมชน ผู้ปกครอง

29 Are you getting closer to goals?
The 3 steps Know where you are? ประเมิน ขั้นตอนในการใช้เกณฑ์ มี 3 ขั้น ประเมิน เพื่อรู้จักตนเอง ปรับปรุงพัฒนา รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง วัดผล เข้าใกล้เป้าหมายแล้วหรือไม่ สำหรับ สนก.จะประเมินระดับกลางๆ ไม่เข้มข้นมาก โดยมีคำถามประมาณ ข้อ ไม่ถึง 90 ข้อตาม TQA แต่จุดเน้นที่โรงเรียนต้องดำเนินการ คือ การพัฒนาและปรับปรุง ซึ่งจะควบคู่กับการวัดผลการปรับปรุงด้วยตัวชี้วัด ปรับปรุงพัฒนา วัดผล Are you getting closer to goals? Know what to do?

30 วัตถุประสงค์ของการใช้เกณฑ์นี้เพื่อการประเมิน
เป็นการประเมินในระดับองค์กร เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ขององค์กร ค้นหาโอกาสในการปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กร เป็นกลไกสร้างให้เกิดการบูรณาการของส่วนต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนให้โรงเรียนไปสู่เป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ ค้นหาแนวทางและวิธีการในการสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุง ไม่เน้นการบรรลุตัวชี้วัด หรือการให้ได้คะแนนสูง เน้นว่าเป็นการประเมินในระดับองค์กร

31 องค์ประกอบสำคัญขององค์กรที่เป็นเลิศ
การนำอย่างมีทิศทางและกลยุทธ์ การดำเนินการที่เป็นเลิศ การเรียนรู้ขององค์กร ต้องการให้พูดถึงสามกลุ่มของค่านิยมแห่งความเป็นเลิศ

32 แนวคิดขององค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
การเรียนรู้ขององค์กร การนำเชิงกลยุทธ์ การดำเนินการที่เป็นเลิศ

33 แนวคิดความเป็นเลิศที่สร้างความแตกต่าง
องค์กรที่ดี องค์กรที่ดีกว่า ชี้นำโดยผู้นำ มุ่งเน้นผลผลิต ได้มาตรฐาน ปรปักษ์ระหว่างผู้ส่งมอบและผู้รับ ปฏิบัติงานตามเงื่อนเวลา มุ่งผลงานทีละไตรมาส ปฏิบัติตามคู่มือ ตัดสินและจัดการตามความรู้สึก ปฏิบัติตามกฏหมายบังคับ มุ่งเน้นผลเฉพาะหน้า มุมมองเชิงภาระหน้าที่ การนำอย่างมีวิสัยทัศน์ มุ่งเน้นผู้เรียน ได้การเรียนรู้ขององค์กร การเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและคู่ความร่วมมือ มีความคล่องตัว มุ่งเน้นอนาคต มีนวัตกรรม การจัดการโดยใช้ข้อมูล ความรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งเน้นการสร้างคุณค่าและผลลัพธ์ มุมมองเชิงบูรณาการของระบบ

34 Core Values as Design Concepts

35 ปฏิบัติการ 1 ให้แต่ละโรงเรียนพิจารณาว่าโรงเรียนของตนมีการดำเนินการที่เป็นไปตามแนวคิดความเป็นเลิศข้อใด โดยใช้ฟอร์ม 1 ให้อภิปรายในกลุ่มพร้อมนำเสนอตัวอย่างการดำเนินการที่สะท้อนค่านิยมความเป็นเลิศมาหนึ่งเรื่อง ทุกกิจกรรมในการอบรมจะเป็นแบบ Learning by doing ให้ผู้อบรมทดลองทำก่อนแล้วจึงอธิบาย concept ภายหลัง กิจกรรมที่ 1.1 จับกลุ่มผู้แทนจากโรงเรียนเดียวกันพิจารณาว่า โรงเรียนมีการดำเนินการตรงกับค่านิยมข้อใด โดยเลือกได้เพียงข้างใดข้างหนึ่ง ทำเสร็จแล้วคัดลอกเก็บไว้ 1 ฉบับสำหรับทำกิจกรรมที่ 1.2 อีกฉบับส่งคืนสนก.เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ KSF เมื่อกรอกเสร็จแล้ว ให้โรงเรียนที่เลือกคอลัมม์ขวามากกว่า 80% ลองอธิบายข้อที่คิดว่าตนเองโดดเด่น เพื่อตรวจสอบว่าเข้าใจความหมายถูกต้องหรือไม่ จากนั้น กิจกรรมที่ 1.2 แบ่งกลุ่มผู้อบรมออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 พิจารณาค่านิยม 1-4 กลุ่มที่ 2 พิจารณาค่านิยม 5-8 กลุ่มที่ 3 พิจารณาค่านิยม 9-11 โดยให้แลกเปลี่ยนภายในโต๊ะ เลือกตัวอย่างกิจกรรม 1 เรื่องที่สะท้อนค่านิยมที่เป็นเลิศ(คอลัมม์ขวา)ตามที่กำหนด และเขียนอธิบายลงใน flip chart แล้วนำเสนอ หลังจากการนำเสนอ พยายามชี้ให้ผู้อบรมเห็นว่า Best Practices ของแต่ละแห่งแตกต่างกัน ซึ่งไม่มีใครถูกใครผิด โรงเรียนที่ทำดีแล้วก็สามารถทำดีกว่านี้ได้ ให้เวลา 30 นาที เขียนลงบน Flip Chart

36 ค่านิยมหลักและแนวคิด
1. การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ 2. ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นผู้เรียน 3. การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละบุคคล 4. การเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและคู่ความร่วมมือ 5. ความคล่องตัว 6. การมุ่งเน้นอนาคต 7. การจัดการเพื่อนวัตกรรม 8. การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง 9. ความรับผิดชอบต่อสังคม 10. การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า 11. มุมมองในเชิงระบบ

37 การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
ผู้นำต้องชี้นำทิศทางที่ถูกต้องและสื่อถึงคุณค่า คุณธรรมให้แก่คนในองค์กร สร้างกรอบแห่งการปฎิบัติงานเพื่อความเป็นเลิศ กระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรมและเสริมสร้างองค์ความรู้ สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริม สนับสนุน และจูงใจให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานให้โรงเรียนและการพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศ สร้างสมดุลย์ระหว่างความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ เป็นต้นแบบในการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแห่งจริยธรรม คุณธรรม และการริเริ่ม ในองค์กรที่มุ่งความเป็นเลิศ ผู้นำต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อกระตุ้น สนับสนุน จูงใจ และสร้างบรรยากาศ ปัจจัยสำคัญหนึ่งของความเป็นเลิศ คือ การตั้งเป้าที่ท้าทาย ค่านิยมเป็นหลักการที่ผู้บริหารมืออาชีพควรยึดถือ

38 การศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้
เข้าใจความต้องการและความแตกต่างในการเรียนรู้ของผู้เรียนและแปลงความต้องการนี้เป็นสาระวิชาและหลักสูตรที่เหมาะสม คาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและทิศทางการศึกษา คณาจารย์ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างและข้อจำกัดในการเรียนรู้ของผู้เรียนต่างกลุ่ม เน้นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กระบวนการประเมินผลที่นอกจากจะประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนแล้วต้องสามารถวัดผลการเรียนรู้และทักษะตามมาตรฐานที่กำหนดทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ การปรับหลักสูตรการเรียนการสอนตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆที่เกิดขึ้น ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เรียน สามารถแปลงความต้องการเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมได้ ต้องมีวิธีการคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและทิศทางการศึกษาเพราะโรงเรียนต้องสอนทักษะในวันนี้เพื่อการแข่งขันในวันพรุ่งนี้ การปรับหลักสูตรตามความรู้ใหม่ๆที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อผลลัพธ์ระยะยาว เช่น ภาษาที่สอนจะเป็นประโยชน์กับนักเรียนในระยะยาว ไม่ใช่ปรับหลักสูตรตามแฟชั่น

39 การศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้คืออะไร?
การกำหนดและคาดหวังมาตรฐานขั้นสูงจากผู้เรียนทุกระดับ ผู้สอนพึงตระหนักว่า ผู้เรียนอาจมีความแตกต่างในอัตราการเรียนรู้ ทั้งนี้ขึ้นกับเนื้อหา เวลา การสนับสนุน เงื่อนไขต่างๆ ดังนั้นองค์กรจึงควรเสาะแสวงหาวิธีการต่างๆเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน เน้นการเรียนรู้แบบตื่นตัว การประเมินผลเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การประเมินผลเพื่อวัดความรู้และการพัฒนา ความมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว เน้นการกำหนดและคาดหวังมาตรฐานขั้นสูงจากผู้เรียนทุกระดับ

40 การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละบุคคล
ความสำเร็จขององค์กรขึ้นกับแนวทางที่องค์กรใช้เพื่อสร้างให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับบุคคล และระดับองค์กร อย่างเป็นระบบ การเรียนรู้ควรเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคลากรในองค์กร ความก้าวหน้าของคณาจารย์และบุคลากรในองค์กรขึ้นกับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ การเรียนรู้ในองค์กรมีตั้งแต่ระดับบุคคล สายงาน แผนกงาน จนถึงระดับองค์กร การเรียนรู้ช่วยให้กระบวนการแก้ปัญหามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์จากกรณีศึกษาและการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice) นำไปสู่นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ การพัฒนานักเรียนต้องเกิดจากการพัฒนาเรียนรู้ของบุคลากร ดังนั้น โรงเรียนจำเป็นต้องมีวิธีการกระตุ้นให้บุคลากรตื่นตัวและเรียนรู้ ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ การเรียนรู้ขององค์กรจะเกิดจากกระบวนการแก้ปัญหา และเมื่อบุคลากรออกไปแล้ว องค์กรจะต้องสามารถดำเนินการต่อได้ ด้วยการถ่ายทอดจากบุคคลสู่บุคคลสร้างเป็นกระบวนการให้ผู้อื่นสามารถสานงานต่อได้

41 ประโยชน์ของการเรียนรู้ระดับบุคคล
สร้างความพอใจและเพิ่มความสามารถในตัวบุคลากรให้อยากอยู่กับองค์กรต่อไป เกิดการเรียนรู้ข้ามสายงาน สร้างทรัพย์สินทางความรู้ให้กับองค์กร สร้างบรรยากาศที่นำไปสู่นวัตกรรม การพัฒนาศักยภาพเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บุคลากรผูกพันอยากอยู่กับองค์กร และก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม

42 การเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงาน และคู่ความร่วมมือ
ความสำเร็จขององค์กรขึ้นกับความหลากหลายของความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์และแรงจูงใจของคณาจารย์ บุคลากรและผู้ร่วมงานทุกกลุ่ม การเห็นคุณค่าของกลุ่มบุคคลเหล่านี้หมายถึงการพัฒนาศักยภาพของพวกเขาทั้งด้านความรู้ การทำงาน และคุณภาพชีวิตเพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานเพื่อสนับสนุนความเติบโตขององค์กรอย่างเต็มที่ การพัฒนาอาจรวมไปถึงการฝึกอบรม การสอนงาน การให้โอกาสในการสับเปลี่ยนงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่ง และผลตอบแทนที่ให้เพิ่มตามทักษะที่สูงขึ้น คู่ความร่วมมือภายนอกรวมถึงสถาบันการศึกษาอื่น สมาคม หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ และขยายตลาดใหม่ๆหรือเปิดหลักสูตรใหม่ การเห็นคู่ค่ามีทั้งภายในและภายนอก ภายใน คือ บุคลากร ภายนอก คือ คู่ความร่วมมือ อาจเป็นได้ทั้งทางการ เช่น มหาวิทยาลัยต่างประเทศที่เซ็น MOU ส่งนักศึกษาไปฝึกงาน และไม่เป็นทางการ เช่น ชุมชน สหศึกษา สมาคม หอการค้าที่สามารถมาช่วยโรงเรียนพัฒนาและบริหารหลักสูตร

43 การเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงาน และคู่ความร่วมมือ
แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารใส่ใจกับความสำเร็จของคนในองค์กรเพียงใด ให้การยอมรับซึ่งนอกเหนือจากที่องค์กรมีอยู่แล้วโดยปกติ สนับสนุนการพัฒนาและความก้าวหน้าของคนในองค์กร การนำความรู้ของคนในองค์กรออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่นักเรียน สังคม และวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร สร้างบรรยากาศแห่งการสร้างสรรค์และนวัตกรรม สร้างบรรยากาศให้คนที่มีพื้นฐานหลากหลาย ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข

44 ความคล่องตัว องค์กรที่จะอยู่รอดได้ภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของยุคโลกาภิวัฒน์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง องค์กรสมัยใหม่ต้องเผชิญหน้ากับข้อจำกัดในเรื่องของเวลา หน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษามักถูกเรียกร้องให้สนองตอบต่อประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจในสังคม บุคลากรขององค์กรจึงต้องมีความคล่องตัวในการทำงานและตอบสนองต่อความต้องการภายนอกได้เร็วขึ้น การให้ความสำคัญกับเวลาที่ใช้ไปในการทำงานส่วนต่างๆภายในองค์กร ความรวดเร็วฉับไวและคุณภาพของงานบริการ ความคล่องตัวเป็นปัจจัยของความอยู่รอด และเป็นพื้นฐานหนึ่งของนวัตกรรม ข้อจำกัดด้านเวลา แม้หน่วยงานภาครัฐที่มีกฎระเบียบบังคับหลายอย่างก็สามารถลดเวลาการทำงานได้ เช่น กรมการกงสุลสามารถลดระยะเวลาในการอนุมัติ Passport เหลือเพียง 15 นาที การสนองตอบต่อประเด็น/ความต้องการของสังคม บุคลากรขององค์กรจึงต้องมีความคล่องตัวในการทำงานและตอบสนองต่อความต้องการภายนอกได้เร็วขึ้น การให้ความสำคัญกับเวลาที่ใช้ไปในการทำงานส่วนต่างๆภายในองค์กร จะอยู่ในเกณฑ์หมวด 6

45 การมุ่งเน้นอนาคต เข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ปัจจัยเหล่านี้อาจรวมถึง: การปฏิรูปการศึกษาทั่วโลก การเปลี่ยนรูปแบบการสอน ความคาดหวังของผู้เรียนและสังคม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของประชากร การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและงบประมาณ การปรับเปลี่ยนของสถาบันคู่แข่ง การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่ออนาคตและการเปลี่ยนแปลงช่วยให้วางแผนการพัฒนาบุคลากรและเครื่องมือได้ทันการณ์ สิ่งที่ให้แก่นักเรียนในวันนี้จะเป็นทักษะสำหรับการแข่งขันในวันข้างหน้า

46 การจัดการเพื่อนวัตกรรม
นวัตกรรมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่นำองค์กรไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น นวัตกรรมนี้รวมถึงการพัฒนาหลักสูตร วิธีการสอน กระบวนการทำงาน การให้บริการ การวิจัย และการนำผลไปใช้ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมทุกเรื่องในกระบวนการบริหารจัดการภายในองค์กร การจัดการเพื่อนวัตกรรมจึงมุ่งเน้นที่การนำเอาความรู้ที่สั่งสมอยู่ทุกระดับภายในองค์กรออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทุกด้าน นวัตกรรมมี 3 ระดับ ผลิตภัณฑ์ เช่น หลักสูตร ตัวอย่างเช่น หลักสูตรสำหรับเด็กออทิสติก กระบวนการ คือ สิ่งที่โรงเรียนทำ เช่น โครงการต่างๆ Business Model รูปแบบบริหารจัดการ เช่น เดิมใช้การสอนแบบ face2face ต่อมาจัด section ให้เด็กมีช่องทางเรียนรู้จากที่บ้านได้ (แบบ VDO เรื่อง future school) ดังนั้น นวัตกรรมต้องสร้างให้เกิดควบคู่กับการเรียนรู้ระดับบุคคลและความคล่องตัว

47 การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง
การกำหนดตัววัดต่างๆที่ตอบสนองความต้องการและยุทธศาสตร์ขององค์กร ตัววัดควรครอบคลุมพันธกิจทุกด้านที่องค์กรดำเนินการจำแนกตามประเภทและกลุ่มเป้าหมาย ตัววัดควรสามารถชี้บ่งผลการปฏิบัติงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของการติดตามประเมินผล และการวางแผน การวิเคราะห์ หมายถึง การกลั่นกรองใจความสำคัญจากข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้สนับสนุนการวัดผล การตัดสินใจ การปรับปรุง และนวัตกรรม ตัววัดหรือตัวบ่งชี้ที่เลือกมาต้องเป็นตัวที่ดีที่สุดที่สะท้อนถึงปัจจัยที่นำไปสู่การปรับปรุงผลการดำเนินการด้านผู้เรียน การปฏิบัติการ การเงิน และด้านสังคม โรงเรียนต้องกำหนดตัววัดขึ้นมา โดยเชื่อมโยงทั้งตัวชี้วัดของระบบและยุทธศาสตร์ขององค์กร เพื่อการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ครอบคลุมพันธกิจทุกด้าน กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม มีทั้งตัววัดนำ (leading indicator) และตัววัดตาม (lagging indicator) ให้เป็นเหตุและผลกัน ตัววัดตามจะเป็นผลมาจากตัววัดนำหลายๆ ตัว การวิเคราะห์จะทำให้เข้าใจว่าตัววัดใดสำคัญและส่งผลต่อการดำเนินงานมากที่สุด

48 ความรับผิดชอบต่อสังคม
ผู้นำควรให้ความใส่ใจต่อความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม การปฏิบัติตามกฎหมายและจริยธรรมที่ดี ผู้นำพึงตระหนักถึงการดำเนินงานในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในด้าน ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและสุขภาวะของส่วนรวม องค์กรควรเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรและการลดของเสียที่แหล่งเกิด ควรคำนึงถึงผลกระทบด้านลบ ที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการอาคารสถานที่ การปฏิบัติงานภายในห้องทดลอง และการขนย้าย การมีส่วนร่วมในชุมชนและการช่วยแก้ปัญหาในสังคมเป็นการเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร การประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการจรรโลงไว้ซึ่งจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

49 การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า
ผลลัพธ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลลัพธ์เหล่านี้ได้สร้างคุณค่าอะไรให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ นักเรียน ชุมชน สังคม คณาจารย์และบุคลากร ผู้ร่วมงาน และ นายจ้าง ตัวชี้วัดทั้งหลายได้ช่วยสร้างสมดุลให้แก่ความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ โรงเรียนต้องพิจารณาทุกกระบวนการที่ทำอยู่ในโรงเรียนว่า สร้างคุณค่าอย่างไรแก่ทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

50 มุมมองในเชิงระบบ มุมมองที่เป็นระบบช่วยสร้างความเชื่อมโยงส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน และสร้างความบูรณาการให้เกิดขึ้น ระบบช่วยให้ทุกส่วนมุ่งไปสู่ทิศทางเดียวกัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ (Synthesis) ความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน (Alignment) และการบูรณาการ (Integration) สนับสนุนการบริหารงานและการจัดการที่ต่อเนื่องและคงเส้นคงวา แสดงให้เห็นว่าผู้นำระดับสูงขององค์กรมีความมุ่งเน้นอย่างไรในทิศทางเชิงกลยุทธ์ นักเรียน และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย มุมมองในเชิงระบบ คือ การเข้าใจว่าทุกๆ เรื่องในองค์กรเกี่ยวข้องโยงใยกัน เรื่องหนึ่งจะมีผลต่ออีกเรื่องหนึ่งเสมอ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ Synthesis Alignment Integration ซึ่งเป็นเรื่องที่องค์กรทำได้ยากที่สุด และเป็นจุดเด่นที่สุดของโมเดล

51 โครงร่างองค์กร (Organizational Profile)
Wrap up วัตถุประสงค์ที่โรงเรียนมาเพื่อเรียนรู้วิธีการบริหารให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร สิ่งที่จะช่วยเราคือ เกณฑ์การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ ซึ่งเขียนอยู่บนหลักการ 11 ข้อ ถ้าจะใช้เกณฑ์ จุดเริ่มต้น คือ เริ่มรู้ตัวตนของตัวเอง หรือโครงร่างองค์กร จากภาพรวมเกณฑ์ โครงร่างองค์กรที่อยู่ด้านบนสื่อให้เห็นว่า จะต้องโฟกัสสิ่งที่อยู่ในโครงร่าง เพื่อให้ทำแล้วไม่หลงทาง

52 โครงร่างองค์กรคืออะไร?
บริบทพื้นฐานในการดำเนินการขององค์กร พื้นฐานด้านสภาพแวดล้อมขององค์กร ความสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆในระดับองค์กร สภาพการแข่งขันและความท้าทาย ความเชี่ยวชาญขององค์กร กลไกการปรับปรุงองค์กร นำไปสู่การประเมินระดับพัฒนาการขององค์กร บริบทพื้นฐานในการดำเนินการขององค์กร เพื่อดูว่าเราพร้อมมั้ยที่จะเริ่มต้นวิ่งแข่ง เข้าใจตัวเองว่า นักเรียนคือใคร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการคืออะไร ไม่งั้นจะสะเปะสะปะ คู่แข่ง ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเผชิญแล้วกระทบต่อการทำงานของโรงเรียน ดังนั้น ต้องรู้เรา รู้เขา จึงจะรบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

53 ประเด็นหลัก ๆ ในโครงร่าง
หลักสูตร วิธีการในการจัดหลักสูตร และบริการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ วัฒนธรรมองค์กร จุดประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของโรงเรียน สมรรถนะหลักและความเชี่ยวชาญพิเศษของโรงเรียน ลักษณะโดยรวมของผู้ปฏิบัติงาน ความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญ ความหลากหลายของภาระงาน และข้อกำหนดพิเศษด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน อาคารสถานที่ เทคโนโลยี อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ กฏหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานบังคับในเรื่องหลักสูตร แผนการศึกษา และการวัดผล ข้อกำหนดด้านการรับรองวิทยฐานะ เงื่อนไขด้านการประกอบวิชาชีพ ระเบียบการเงิน สภาพแวดล้อม และข้อบังคับของชุมชน ความเชี่ยวชาญพิเศษของโรงเรียน สังคมจะรู้ความสามารถของโรงเรียนผ่านนักเรียนของเรา ดังนั้นเรื่องใดเป็นความสามารถพิเศษ ลักษณะโดยรวมของผู้ปฏิบัติงาน คือ โรงเรียนแบ่งบุคลากรเป็นอย่างไร เช่น อายุ อายุงาน ความเชี่ยวชาญ ทักษะ ICT ซึ่งเมื่อแบ่งกลุ่มมีวิธีการทำความเข้าใจความคาดหวังและความต้องการของแต่ละกลุ่มอย่างไรบ้าง ข้อกำหนดพิเศษด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน เช่น ใน lab เคมี มีการป้องกันอันตรายจากสารเคมีอย่างไร อาคารสถานที่ เทคโนโลยี อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ เป็นปัจจัยที่สร้างความผาสุกให้แก่คนในองค์กร 53

54 ประเด็นหลัก ๆ ในโครงร่าง
โครงสร้างและระบบการกำกับดูแลของโรงเรียน ธรรมาภิบาลของโรงเรียน คณะกรรมการบริหาร และ คณะกรรมการกำหนดนโยบายของโรงเรียน ประเภทผู้เรียน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ/หรือส่วนตลาดที่สำคัญ ความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญต่อหลักสูตร ผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ(partners)และไม่เป็นทางการ (collaborators) ที่สำคัญที่สุดและบทบาทในการจัดหลักสูตร และในการสร้างนวัตกรรม ลำดับในการเลือกของโรงเรียน ขนาดและการเติบโตของโรงเรียนเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่น ในระดับเดียวกัน ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสำเร็จของโรงเรียน ความได้เปรียบและความท้าทายเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงหลักที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพการแข่งขัน ระบบการปรับปรุงและพัฒนาของโรงเรียน ลำดับในการเลือกของโรงเรียน สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โรงเรียนอยู่ในตำแหน่งไหน มีข้อมูลหรือไม่ ความท้าทาย คือ เรื่องที่ยังทำไม่ได้และต้องการเอาชนะ 54

55 ความสำคัญในการจัดทำ โครงร่างองค์กร
ความสำคัญในการจัดทำ โครงร่างองค์กร เข้าใจบริบทของตนเอง ชัดเจนในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความยั่งยืน กำหนดกลไกและระบบในการปรับปรุง ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการประเมิน

56 ปฏิบัติการ 2 ให้แต่ละโรงเรียนพิจารณาว่ามีข้อมูลที่สามารถตอบคำถามในโครงร่างได้ครบถ้วนหรือไม่ ข้อใดที่ไม่มีความชัดเจน โดยใช้ฟอร์ม 2 ให้อภิปรายในกลุ่มพร้อมสรุปประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน หัวข้อใดที่ต้องใช้การรวบรวมข้อมูลมากที่สุด และโดยวิธีใด? กิจกรรมที่ 2.1 ให้ผู้แทนจากโรงเรียนเดียวกันช่วยกันตอบคำถามในฟอร์ม 2 ในคำถาม 1 ข้อจะประกอบด้วยหลายคำถามย่อย โดยมีคำตอบ 3 ตัวเลือก หากโรงเรียนตอบได้ทุกคำถามย่อย ให้เลือก ตอบได้ง่าย หากโรงเรียนตอบได้บางคำถามย่อย ให้เลือก ตอบได้บ้าง หากโรงเรียนอาจตอบได้ แต่ต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องประชุมกันก่อน ให้เลือก ตอบได้ยาก เมื่อตอบครบทุกข้อแล้ว ให้คัดลอกเพิ่ม 1 ฉบับ โดยส่ง สนก. 1 ฉบับ และเก็บไว้ทำกิจกรรมต่ออีก 1 ฉบับ กิจกรรมที่ 2.2 ให้ผู้อบรมแต่ละกลุ่มทำตามคำสั่งข้อ 2 และ 3 พิจารณาว่าประเด็นใดที่โรงเรียนส่วนใหญ่ในกลุ่มยังไม่ชัดเจนไม่เข้าใจ หรือตอบได้ยากอยู่ และหัวข้อใดที่ต้องใช้การรวบรวมข้อมูลมากที่สุด พร้อมระบุวิธีในการรวบรวมข้อมูล Q&A พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจคำศัพท์ ซึ่งเป็นศัพท์ทางธุรกิจ เพราะเกณฑ์นำแนวคิดเรื่องเครื่องมือบริหารจัดการธุรกิจมาใช้ สนก. มีแผนที่จะแปลเกณฑ์ให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนในอนาคต SP อธิบายวัตถุประสงค์ของคำถามทีละข้อ แล้วสรุป 4 phase ว่าเราอยู่ขั้น 1 และต้องทำอะไรต่อบ้าง นวัตกรรมการบริหารเป็นอย่างไร พร้อมตัวอย่าง วิธีการจูงใจแก่ ผอ. และทีมให้อยากทำ ทำให้ ผอ. มาร่วมวงบ่อยๆ เช่น หากคนอื่นพูดอย่างเข้าใจ แต่ตนเองพูดไม่ได้ก็จะพยายามเอง หลังจากนี้ หากมีปัญหาจะช่วยเหลือโรงเรียนอย่างไร ให้เวลา 30 นาที เขียนลงบน Flip Chart

57 เกณฑ์ฯความเป็นเลิศ (Criteria)
เริ่มต้นวันที่ 2 ทบทวนผลการ workshop 1 และ 2 TQA for Education - รศ. รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม 57

58 คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์ความเป็นเลิศ
1. เกณฑ์มุ่งเน้นผลลัพธ์ เกณฑ์นี้มุ่งเน้นผลการดำเนินการระดับองค์กรที่สำคัญ ตามที่ระบุไว้ดังนี้ ผลการดำเนินการขององค์กร : (1) ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและกระบวนการ (2) ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า (3) ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน (4) ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร และการกำกับดูแล (5) ผลลัพธ์ด้านงบประมาณ การเงิน และการตลาด โรงเรียนต้องเป็นผู้กำหนดตัวชี้วัดขึ้นเอง เพื่อใช้สะท้อนการดำเนินการของกระบวนการต่างๆ ภายในโรงเรียน ผลลัพธ์ควรเป็นตัววัดที่สะท้อนการดำเนินการของกระบวนการต่าง ๆ ภายในองค์กร การปรับปรุงกระบวนการจึงควรส่งผลให้ผลลัพธ์ดีขึ้น 58

59 คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์ความเป็นเลิศ
2. เกณฑ์ไม่กำหนดวิธีการที่เฉพาะเจาะจง และสามารถปรับใช้ได้ตามบริบทของแต่ละแห่ง เกณฑ์นี้ประกอบด้วยข้อกำหนดที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ อย่างไรก็ตามเกณฑ์ไม่ได้กำหนดว่า  องค์กรควรมีโครงสร้างอย่างไร  องค์กรควรหรือไม่ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านคุณภาพ ด้านวางแผน ด้านจริยธรรม หรือหน้าที่อื่นๆ หรือ  องค์กรด้องมีการบริหารหน่วยงานต่างๆ ในรูปแบบเดียวกัน แม้เกณฑ์จะมี 7 หมวด แต่ไม่ได้บอกวิธีการ รูปแบบ เครื่องมือที่เจาะจงหรือบังคับให้ทำสิ่งใด เนื่องจากเป็นเกณฑ์ประเมิน ไม่ใช่เกณฑ์ปฏิบัติ ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจบริบทขององค์กรและธุรกิจนั้นๆ Assess เป็นการมองภาพรวมของ “ทั้งโรงเรียน” เพื่อตั้งเป้าหมายท้าทายจากบริบทองค์กร วัตถุประสงค์แตกต่างจากเกณฑ์ สมศ. ที่โรงเรียนถูกวัด ซึ่งเป็นการ Audit เพื่อดูว่าโรงเรียนยังไม่ได้ทำสิ่งใด เช่น การตั้งกฏระเบียบต่างๆ โรงเรียนควรค้นหาแนวทางในการดำเนินการในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองเพื่อนำไปสู่วิธีปฏิบัติที่เป็นเยี่ยม(Best Practices) 59

60 คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์ความเป็นเลิศ
3. เกณฑ์นี้บูรณาการสาระสำคัญทางการศึกษา เกณฑ์การศึกษาถูกดัดแปลงเพื่อให้ความสำคัญกับหลักการที่สำคัญทางการศึกษา และความต้องการที่จำเพาะขององค์กรการศึกษา ซึ่งรวมถึง  มุ่งเน้นที่การเรียนการสอนเป็นหลัก เนื่องจากเป็นเป้าหมายสำคัญของสถานศึกษา  สถานศึกษาอาจมีพันธกิจ บทบาทและหลักสูตรซึ่งมีความแตกต่างกันได้ (เช่น โรงเรียนที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านกีฬา ทักษะทางภาษา หรือสถาบันที่เน้นการสอนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ)  คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ (เช่น ผู้ปกครอง นายจ้าง สถาบันการศึกษาอื่นๆ และชุมชน) เกณฑ์นี้บูรณาการสาระสำคัญทางการศึกษา ดังนั้น สมรรถนะหลักต้องอยู่บนพื้นฐานของพันธกิจหลักของโรงเรียน คือ การเรียนการสอน นั่นคือ การพัฒนาโรงเรียนจะต้องมุ่งเน้นที่การเรียนการสอนเป็นหลัก ซึ่งจะต้องเข้าใจผู้เรียนผู้มรเข้าได้ส่วนเสียอย่างชัดเจน บทบาทและหลักสูตรของแต่ละแห่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะโรงเรียนสามารถมีความเชี่ยวชาญพิเศษในการพัฒนานักเรียนแตกต่างกันได้ตามความถนัดของโรงเรียน เช่น เน้นด้านกีฬา วิทยาศาสตร์ การคิดรอบคอบถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมาช่วยพัฒนาหลักสูตร ต้องเข้าใจความคาดหวังของ stakeholder ให้สามารถช่วยสนับสนุนโรงเรียนเป็นอย่างดี เช่น วัดช่วยเรื่องคุณธรรมจริยธรรม การสร้างสมดุลย์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการมุ่งเน้นตามพันธกิจเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ 60

61 คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์ความเป็นเลิศ
3. เกณฑ์นี้บูรณาการสาระสำคัญทางการศึกษา   หลักการของความเป็นเลิศ รวมถึงส่วนประกอบ 3 ด้านคือ กลยุทธ์การประเมินที่ผ่านการกลั่นกรอง และมีการนำไปปฏิบัติมาแล้วเป็นอย่างดี มีการปรับปรุงตัววัดและดัชนีชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินการ โดยเฉพาะผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทุกปี แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความเป็นผู้นำในด้านผลดำเนินการและการปรับปรุง ผลดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับสถานศึกษาซึ่งเทียบเคียงกันได้ และกับเกณฑ์เปรียบเทียบที่เหมาะสม การปรับปรุงองค์กรคือเรื่องสำคัญที่สุดของการใช้เกณฑ์ กลยุทธ์ที่ท้าทายและต้องสามารถเป็นไปได้จริงและมีกระบวนการถ่ายทอดกลยุทธ์ที่นำไปสู่การปฏิบัติจริง ทั้งยังต้องมีการปรับปรุงตัวชี้วัด เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มาตรฐาน = ขั้นต่ำ ที่ต้องทำ world-class ชั้นเยี่ยมต้องดีกว่าแค่คำว่ามาตรฐาน ดังนั้น ความเป็นเลิศอยู่ที่เราตั้งเป้าให้ดีขึ้นทุกครั้ง องค์กรที่ใช้จึงไม่หยุดนิ่ง ขึ้นกับเราจะเดินไปทิศทางไหน ต้องเลือกตัววัดที่เหมาะสม และตั้งเป้าหมายได้ ท้าทายกับตัวเอง การบริหารยุทธศาสตร์ การปรับปรุง การเทียบเคียง ช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ 61

62 การบูรณาการเกณฑ์กับผลลัพธ์ตาม BSC
เป็นคำถามที่ สนก. ฝากมา อธิบายความเชื่อมโยงระหว่างเกณฑ์รางวัลคุณภาพกับ Balanced Scorecard ที่โรงเรียนในฝันใช้อยู่ จะเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึงกัน เว้นแต่ Balanced Scorecard ยังไม่เน้นเรื่องชุมชนและสังคมที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติตามกฏหมาย ความผูกพัน ซึ่งหากโรงเรียนเข้าใจและใช้เกณฑ์เป็นแล้วจะไม่สับสนเรื่องเครื่องมือ เพราะจะเข้าใจว่าเครื่องมือไหนควรใช้เมื่อไหร่ เกณฑ์ไม่ได้บังคับให้ใช้เครื่องมือไหน ต้องบูรณาการเข้ากับเครื่องมือที่โรงเรียนใช้อยู่แล้ว

63 คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์ความเป็นเลิศ
4. เกณฑ์นี้สนับสนุนมุมมองเชิงระบบเพื่อให้เป้าประสงค์สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ทั่วทั้งองค์กร มุมมองเชิงระบบเป็นแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งเพื่อให้เป้าประสงค์สอดคล้องไปในทางเดียวกัน จะต้องหยั่งลึกอยู่ในโครงสร้างที่บูรณาการกันระหว่างค่านิยมหลักและโครงร่างองค์กร เกณฑ์ แนวทางการประเมิน การมุ่งเน้นผลลัพธ์ เหตุปัจจัยและผล ผ่านข้อคำถามที่เชื่อมโยงข้ามกระบวนการระหว่างหัวข้อต่างๆ ในเกณฑ์ เมื่อโรงเรียนสามารถมองเชิงระบบได้ จะทำให้เข้าใจความเชื่อมโยงของการดำเนินการต่างๆ อย่างเป็นเหตุและผล เช่น กฏระเบียบมีผลต่อการดำนินการของโรงเรียนอย่างไร ดังเช่น มหาวิทยาลัยบังคับให้นักศึกษาปริญญาโทเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ โดยไม่ได้แจ้งให้นักศึกษาทราบอย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดกรณีนักศึกษาฟ้องสื่อขึ้นมา ส่งผลให้มหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนกฏใหม่ให้มีการแจ้งนักศึกษาทราบตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน ทุกอย่างต้องโยงใยให้เป็นระบบ หากปรับปรุงแล้วไม่ดี จะต้องพิจารณา ประเมิน ทบทวนว่าระบบที่ดำเนินการมีประสิทธิภาพหรือไม่ การเป็นระบบจะอยู่ภายใต้คำถามของเกณฑ์ เชื่อมโยงกันระหว่างคำถามในหมวดต่างๆ ผ่านตัววัดในหมวด 7 ถ้าออกแบบดีที่เชื่อมโยงกับคำถามในเกณฑ์ และผ่านกลไกของการประเมิน ความเชื่อมโยงของเนื้อหาภายในเกณฑ์แต่ละหมวด 63

64 คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์ความเป็นเลิศ
5. เกณฑ์สนับสนุนการตรวจประเมินที่เน้นเป้าประสงค์ แนวทางการประเมิน ประกอบด้วยการตรวจประเมินซึ่งแยกเป็น 2 ส่วน คือ กระบวนการ และผลลัพธ์ การตรวจประเมิน ช่วยให้องค์กรทราบถึงจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุงตามหัวข้อหลักต่าง ๆ เพื่อบอกให้องค์กรทราบถึงระดับพัฒนาการของตนเองทั้งในแง่ของกระบวนการและผลการดำเนินการ ด้วยเหตุนี้ การตรวจประเมินจึงนำไปสู่การวางแผนเพื่อลงมือปฏิบัติที่ส่งผลต่อการปรับปรุงผลการดำเนินการในทุกด้าน การตรวจประเมินดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการที่เป็นประโยชน์กว่าการทบทวนผลการดำเนินการโดยทั่วๆ ไป มุ่งมองเชิงระบบด้านหนึ่ง คือ เรื่องผลลัพธ์ที่ตั้ง ตั้งเข้าใจบริบทก่อนถึงจะประเมินได้ ถ้าองค์กรตั้งเป้ายากแต่ไม่ถึง การประเมินจะช่วยบอกได้ว่าเพราะอะไรถึงไปไม่ถึง การตรวจประเมินองค์กรเพื่อทราบระดับพัฒนาการ 64

65 คำถามของเกณฑ์ แบ่งออกเป็นหมวด หัวข้อ และประเด็นเพื่อพิจารณา
ประกอบด้วยคำถามที่โรงเรียนใช้เพื่อพิจารณาตนเอง คำถามมีสองลักษณะคือ อะไร และ อย่างไร การตอบคำถามในแต่ละประเด็นย่อมขึ้นกับบริบท(โครงร่าง) ของโรงเรียน และระดับพัฒนาการ TQA for Education - รศ. รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม 65

66 ระดับพัฒนาการของกระบวนการ
การปฏิบัติงานมีลักษณะเป็นกิจกรรมมากกว่าเป็นกระบวนการ และส่วนใหญ่จะตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ขาดการกำหนดเป้าประสงค์ที่ดี เป้าบิดเบี้ยว เพราะไม่มีการกำหนดเป้าที่ดี ทุกคนทำงานตามหน้าที่ แต่ไม่รู้ว่าทำถูกทางหรือไม่ ปาเป้าก็ไม่ถูกเพราะวิธีการไม่ค่อยดี ต่างคนต่างทำ TQA for Education - รศ. รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม 66

67 ระดับพัฒนาการของกระบวนการ
30 – 45% องค์กรเพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติงานด้วยการใช้กระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ มีการประเมินผล การปรับปรุง และเริ่มมีการประสานงานบ้างระหว่างส่วนงานต่างๆ ภายใน มีการกำหนดกลยุทธ์และเป้าประสงค์เชิงปริมาณ เป้าเริ่มชัดเจนขึ้น มีการกำหนดกลยุทธ์ แต่วิธีการทำงานยังไม่ค่อยดีจึงยังปาไม่ตรงเป้า เป็นระดับองค์กรที่ได้ TQC TQA for Education - รศ. รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม 67

68 ระดับพัฒนาการของกระบวนการ
50 – 65% การปฏิบัติงานมีลักษณะเป็นกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ และมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อการปรับปรุง โดยมีการแบ่งปันความรู้และการประสานงานระหว่างส่วนงานต่างๆ ภายในโรงเรียน กระบวนการตอบสนองกลยุทธ์และเป้าประสงค์ที่สำคัญของโรงเรียน HPO มีเป้าหมายที่เจาะจงมากขึ้นแบบ blue eyes และปาใกล้เป้าตรงกลาง มีกระบวนการที่ทำซ้ำได้ มีการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้กันตลอดเวลา มี Best Practice ที่ดีหลายเรื่อง เป็นผู้นำในกลุ่ตนเอง เป็นระดับองค์กรที่ได้ TQA TQA for Education - รศ. รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม 68

69 ระดับพัฒนาการของกระบวนการ
70 – 100% การปฏิบัติงานมีลักษณะเป็นกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ และมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุง โดยความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่ได้รับผลกระทบ การวิเคราะห์ การมีนวัตกรรม และการแบ่งปันสารสนเทศและความรู้ ส่งผลให้การทำงานข้ามหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้กระบวนการและตัววัดในการติดตามความก้าวหน้าของเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์และเป้าประสงค์ของการปฏิบัติงานที่สำคัญ เป็นองค์กรที่บูรณาการอย่างสมบูรณ์ ใช้ทรัพยากรร่วมกัน จึงทำงานได้มากกว่าคนอื่น ไม่ได้ปาเป้าถูกแค่ครั้งเดียว แต่ปาถูกเป้าตรงกลางทุกครั้ง TQA for Education - รศ. รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม 69

70 เนื้อหาเกณฑ์โดยย่อ เป็นเนื้อหาที่ดึงจากเกณฑ์มาให้เข้าใจง่ายๆ ให้ฟังแล้วคิดตามว่าโรงเรียนได้ทำเรื่องใดไปแล้วบ้าง คำศัพท์ใดที่ไม่เข้าใจก็จดไว้

71 หมวด 1 การนำองค์การ 71

72 หมวด การนำองค์กร เป็นการตรวจประเมินว่าการกระทำโดยผู้นำระดับสูงของโรงเรียน ได้ชี้นำและทำให้สถานศึกษามีความยั่งยืนอย่างไร รวมถึงตรวจประเมินระบบธรรมาภิบาลของโรงเรียน และวิธีการที่โรงเรียนใช้เพื่อบรรลุผลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม กฎหมาย และจริยธรรม รวมทั้งการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ 1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง 1.2 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม หมวด 1 ผู้นำระดับสูงต้องชี้นำและทำให้เกิดความยั่งยืนผ่านทางวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ การสร้างความผูกพัน 1.1 ผู้นำระดับสูงของโรงเรียน ได้แก่ ผู้อำนวยการ เป็นความรับผิดชอบของ ผอ.โดยตรง 1.2 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม กฎหมาย และจริยธรรม รวมทั้งการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ แบ่งความรับผิดชอบแก่ทีมและบุคลากรด้วย

73 1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง
จุดประสงค์ หัวข้อนี้ตรวจประเมินประเด็นสำคัญๆ ของความรับผิดชอบของผู้นำระดับสูง รวมทั้งวิธีการที่ผู้นำระดับสูงกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมของโรงเรียน และนำค่านิยมดังกล่าวไปปฏิบัติ หัวข้อนี้มุ่งเน้นถึงการปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงในการสรรสร้างให้โรงเรียน คงไว้ซึ่งผลการดำเนินการที่ดียิ่งขึ้นโดยมุ่งเน้นที่ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

74 คำถามในการประเมิน1.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม โดยผู้นำระดับสูงขององค์กร และกระบวนการถ่ายทอดเพื่อให้บุคลากรทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจ และนำไปปฏิบัติ การสร้างบรรยากาศของการส่งเสริมให้เกิดจริยธรรม และการปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้นำระดับสูงสร้างให้เกิดความยั่งยืน เกิดการปรับปรุงผลการดำเนินการ บรรลุพันธกิจและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และเกิดนวัตกรรม การสื่อสาร และสร้างความผูกพันกับบุคลากรทุกระดับเพื่อกระตุ้นให้เกิดสมรรถนะสูง ผู้นำระดับสูงขององค์กรมุ่งเน้นให้เกิดการลงมือทำ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ปรับปรุงผลการดำเนินการ และบรรลุวิสัยทัศน์ของโรงเรียน วิสัยทัศน์และค่านิยมที่ระบุ ผู้บริหารมีกระบวนการถ่ายทอด สื่อให้คนอินทั้งในและนอกเข้าใจและปฏิบัติว่า โรงเรียนมุ่งสู่ความเป็นเลิศจริงๆ ไม่ได้อยู่แต่ในกระดาษ บรรยากาศ เป็นเรื่องนามธรรม ซึ่งคำถามนี้อยู่ในหมวด 1 ซึ่งเป็นเรื่องของผู้นำ ดังนั้น ผู้นำต้องทำตัวเป็นต้นแบบ ดึงคนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับ supplier ทุกแห่ง เวลาถามต้องถามลูกน้อง จะผู้มองได้ชัดเจน ความยั่งยืน คือ เกิดการปรับปรุงผลการดำเนินการ ผ่านกระบวนการบรรลุพันธกิจและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และสร้างให้เกิดนวัตกรรม (ตั้งเป้าท้าทาย บรรลุ สร้างนวัตกรรมเป็นข้อบ่งชี้ เป็นร่องรอยความยั่งยืน) การสื่อสาร ไม่ใช่แค่พูด แต่ต้องทำอย่างไรให้เข้าใจ จูงใจ และสร้างความผูกพันกับทุกระดับ เพื่อให้เกิดสมรรถนะสูง (คนใส่ใจ งานได้ผล) เกิดการลงมือทำ หรือ focus on action มีกลไกอย่างไรให้เกิดการดำเนินการ “มีการตัดสินใจ” สั่งการ ติดตามผล ตัวชี้วัดที่ติดตามดูเป็นอย่างไร

75 1.2 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
1.2 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม จุดประสงค์ หัวข้อนี้ ตรวจประเมินประเด็นสำคัญๆ ในระบบธรรมาภิบาล โดยเน้นถึงวิธีการที่โรงเรียนแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และทำให้มั่นใจว่าบุคลากรทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและจริยธรรม และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี รวมทั้งทำงานร่วมกับชุมชนที่สำคัญอย่างมีประสิทธิผลเพื่อขยายโอกาสการบริการสังคม 1.1 เป็นการนำของผู้บริหารเป็นหลัก ขณะที่ 1.2 เป็นการนำที่ทีมต้องช่วยกันทำ ต้องผ่านมาการส่วนร่วมของคนในองค์กร

76 คำถามในการประเมิน1.2 ระบบธรรมาภิบาล และ การกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลละส่งผลให้โรงเรียนประสบความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ทั้งความรับผิดชอบด้านการเงิน ความโปร่งใสในการดำเนินการ รวมถึงการคัดเลือกคณะกรรมการ การปกป้องผลประโยชน์ของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การประเมินผลการดำเนินงานของผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียน และคณะกรรมการบริหารของโรงเรียน และใช้ผลการประเมินไปพัฒนาและปรับปรุง การคาดการณ์ล่วงหน้าถึงผลกระทบของการจัดการเรียนการสอนที่อาจมีต่อสาธารณะ และการดำเนินการในกรณีที่การจัดการเรียนการสอน การให้บริการ และการปฏิบัติงานมีผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและรักษาสิ่งแวดล้อม การกำกับดูแล = การตรวจสอบ เช่น สพฐ. สมศ. ระบบควบคุมภายใน การตรวจสอบกำกับดูแลทำให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ สามารถนำผลการประเมินไปปรับปรุงผลการดำเนินงาน การประเมินผลการดำเนินงานของผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียน จะต้องนำผลไปใช้ปรับปรุงประสิทธิผลของตนเองอย่างไร คณะกรรมการบริหารของโรงเรียนก็ต้องถูกประเมินแล้วนำผลไปปรับปรุงเช่นกัน การคาดการณ์ล่วงหน้าถึงผลกระทบของการจัดการเรียนการสอน เช่น ICT ผลกระทบเชิงลบอย่างเช่นกรณีคุณครูอังคณา การสอนจะต้องคาดการณ์ล่วงหน้า หากเด็กไม่เข้าใจถึงผลการใช้ ICT โรงเรียนจะดำเนินการอย่างไรหากเกิดปัญหาต่อสังคมหรือมีข้อร้องเรียนเกิดขึ้น

77 คำถามในการประเมิน1.2(ต่อ)
4. การส่งเสริมและการดูแลให้มีการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม เกิดจริยธรรมตลอดทั่วทั้งโรงเรียน รวมทั้งในการปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5. การพิจารณาถึงความผาสุกและประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์โรงเรียน 6. การสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญต่อโรงเรียนอย่างจริงจัง การส่งเสริมและการดูแลให้มีการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมเกิดจริยธรรม ตลอดทั่วทั้งโรงเรียน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู ศิษย์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย = โรงเรียนมีแนวทางที่แสดงให้เห็นวิธีการปฏิบัติที่ได้รับเงิน รับของ การวางตัวระหว่างครูกับลูกศิษย์ ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนต้องคำนึงถึงการดีๆ ที่สร้างให้แก่สังคมและชุมชน การสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญต่อโรงเรียนอย่างจริงจัง - ดูว่าชุมชนไหนที่ต้องการเป็น partner ด้วยเพื่อพัฒนาให้เค้าดีขึ้นในขอบเขตความสามารถที่โรงเรียนทำได้

78 หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์
เป็นการตรวจประเมินว่าโรงเรียนจัดทำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการของโรงเรียนอย่างไร รวมทั้งตรวจประเมินการถ่ายทอดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่เลือกไว้เพื่อนำไปปฏิบัติ การปรับเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์บังคับ ตลอดจนวิธีการวัดผลความก้าวหน้า 2.1 การจัดทำกลยุทธ์ 2.2 การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ส่วนใหญ่จะทำ 2.1 ได้ดี แต่ 2.2 ไม่ค่อยดี

79 2.1 การจัดทำกลยุทธ์ จุดประสงค์
หัวข้อนี้ตรวจประเมินวิธีการที่โรงเรียนใช้ในการกำหนดความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ การจัดทำกลยุทธ์ และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ตอบสนองความท้าทายและเพิ่มความได้เปรียบ เพื่อทำให้ผลการดำเนินการโดยรวมดีขึ้นทั้งของโรงเรียนและผู้เรียน รวมทั้งความสำเร็จของผู้เรียนในอนาคต

80 คำถามในการประเมิน 2.1 ให้ระบุขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการจัดทำกลยุทธ์และผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ ตลอดจนการกำหนดความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ และความสามารถในการระบุจุดบอดที่อาจเกิดขึ้นได้ โรงเรียนมีวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับปัจจัยที่สำคัญทั้งภายในภายนอกมาประกอบการวางแผนเชิงกลยุทธ์โรงเรียน วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของโรงเรียน และตารางเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนตอบสนองความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์เกิดการสร้างนวัตกรรมการจัดการศึกษา สร้างสมดุลระหว่างความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมด ให้ระบุขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการจัดทำกลยุทธ์และผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ ตลอดจนการกำหนดความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ และความสามารถในการระบุจุดบอดที่อาจเกิดขึ้นได้ – กำหนดความท้าทาย โดยดึงผู้มีส่วนได้เสียมาช่วยให้มุมมอง และสนับสนุนโรงเรียนได้ โรงเรียนมีวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับปัจจัยที่สำคัญทั้งภายในภายนอกมาประกอบการวางแผนเชิงกลยุทธ์โรงเรียน – มองให้รอบ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสำคัญ การแข่งขันภายในภายนอก วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของโรงเรียน และตารางเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น – เป้ายาวและเป้าสั้นเชื่อมโยงกันอย่างไร การบรรลุเป้ายาวจะต้องผ่านเป้าสั้นได้อย่างไร วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนตอบสนองความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์เกิดการสร้างนวัตกรรมการจัดการศึกษา สร้างสมดุลระหว่างความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมด – ถามกลับข้อ 1 ดูตั้งแล้วตอบสนองความท้าทายได้จริงหรือไม่

81 2.2 การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
จุดประสงค์ หัวข้อนี้ตรวจประเมินวิธีการที่โรงเรียนใช้ในการแปลงวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น รวมทั้งวิธีการที่โรงเรียนตรวจประเมินความก้าวหน้าเทียบกับแผนปฏิบัติการ เพื่อทำให้มั่นใจว่ามีการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติจนบรรลุเป้าประสงค์

82 คำถามในการประเมิน 2.2 การจัดทำแผนปฏิบัติการ และความสัมพันธ์ของแผนต่อการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของโรงเรียน การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งโรงเรียน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืน มีทรัพยากรด้านการเงินและด้านอื่น ๆ เพียงพอและพร้อมใช้ในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จ แผนด้านอัตรากำลังและขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคลโรงเรียน เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการ และการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีการจัดทำแผนอย่างไร การถ่ายทอดแก่ผู้อื่น การบริหารทรัพยากรที่จำกัด อัตรากำลังและความสามารถของคนเพื่อเตรียมรับมือยุทธศาสตร์และเป้าหมายของเรา ตัวชี้ใดที่ใช้ ความคล่องตัว หากแผนดี แต่มีภาววิกฤตเกิดขึ้นจะมีวิธีการหาทางหนีทีไล่อย่างไรเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น

83 คำถามในการประเมิน 2.2 (ต่อ)
ตัวชี้วัดผลการดำเนินการที่สำคัญที่ใช้ติดตามความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการ ความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนแผนและถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลง การคาดการณ์ผลการดำเนินการทั้งระยะสั้นและระยะยาวของโรงเรียน เมื่อเทียบเคียงกับค่าเทียบเคียง หรือโรงเรียนคู่เทียบเคียง มีการจัดทำแผนอย่างไร การถ่ายทอดแก่ผู้อื่น การบริหารทรัพยากรที่จำกัด อัตรากำลังและความสามารถของคนเพื่อเตรียมรับมือยุทธศาสตร์และเป้าหมายของเรา ตัวชี้ใดที่ใช้ ความคล่องตัว หากแผนดี แต่มีภาววิกฤตเกิดขึ้นจะมีวิธีการหาทางหนีทีไล่อย่างไรเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น

84 หมวด 3 การมุ่งเน้นลูกค้า
เป็นการตรวจประเมินถึงวิธีการที่โรงเรียนสร้างความผูกพันกับผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อความสำเร็จด้านตลาดในระยะยาว กลยุทธ์ในการสร้างความผูกพันนี้ครอบคลุมถึงวิธีการสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งวิธีการที่โรงเรียนรับฟัง “เสียงของลูกค้า” (ผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) และใช้สารสนเทศนี้เพื่อปรับปรุงและค้นหาโอกาสในการสร้างนวัตกรรม 3.1 “เสียงของลูกค้า” 3.2 ความผูกพันของลูกค้า ลูกค้า หมายถึง ผู้เรียนและผู้ส่วนได้ส่วนเสีย วัฒนธรรมที่มุ่งเน้นผู้เรียน ครู ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจหรือไม่ว่าผู้เรียนสำคัญอย่างไร VOC ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีระบบที่ครอบคลุมอย่างไร มาใช้ปรับปรุงกระบวนการอย่างไร

85 3.1 “เสียงของลูกค้า” จุดประสงค์ หัวข้อนี้ตรวจประเมินกระบวนการรับฟังเสียงของลูกค้าที่โรงเรียนใช้เพื่อให้ได้รู้ถึงความจำเป็น และความปรารถนาของผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและตลาดในปัจจุบันและอนาคต ทำให้สามารถจัดหลักสูตร และการบริการที่มีประสิทธิภาพและตรงความต้องการ สามารถเข้าใจความต้องการ ความจำเป็นและความคาดหวังใหม่ๆ ของผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและตลาด ทั้งยังสามารถติดตามให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดและวิธีการส่งมอบบริการด้านการศึกษา เสียงของลูกค้า คือ ข้อมูล พื้นฐาน บริบท ความต้องการ เพื่อให้โรงเรียนมีกระบวนการค้นหาข้อมูลเหล่านี้ เพื่อเข้าใจความต้องการใหม่ๆ ของผู้เรียนและตลาด (เช่น มหาวิทยาลัย ตลาดแรงงาน) ว่า ต้องการความรู้ ทักษะแบบไหน เพื่อนำมาสร้างกลไกส่งเสริมการเรียนรู้ทุกรูปแบบให้แก่ผู้เรียนให้ตรงกับความต้องการ ความจเป็น และการเปลี่ยนแปลงได้

86 คำถามในการประเมิน 3.1 การใช้วิธีการรับฟัง “เสียงของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ที่หลากหลาย รวมทั้งการติดตามผล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การใช้วิธีการรับฟังจากกลุ่มนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งอดีต อนาคต และของคู่แข่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การค้นหาปัจจัยความพึงพอใจและความผูกพันของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนำมาใช้ประโยชน์ การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับของโรงเรียนคู่แข่งหรือค่าเทียบเคียง การค้นหาปัจจัยความไม่พึงพอใจของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนำมาใช้ประโยชน์ การรับฟังไม่ใช่แค่ตอนต้น แต่ต้องดูข้อมูลทั้งหมดมาประมวล เช่น ผลการเรียนของเด็ก กลุ่มนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอดีต = ศิษย์เก่า อนาคต = เด็กที่กำลังจะเข้ามาเรียน เช่น เด็กประถม โรงเรียนจะมีวิธีการเข้าไปช่วยเหลือ ตอบสนองความต้องการอย่างไรเพื่อให้เกิดความผูกพันตั้งแต่ต้น ต้องสร้างความพึงพอใจและผูกพัน จนกระทั่งหลังจบไปแล้วนักเรียนยังคงผูกพันอยู่ เพราะชื่อเสียงของโรงเรียนก็เกิดขึ้นจากศิษย์เก่าด้วย อย่างเช่น มหาวิทยาลัยในต่างประเทศบางแห่ง มี student relationship manager เพื่อสร้างความผูกพันตั้งแต่เด็กเริ่มต้นก้าวเข้ามาในโรงเรียน นอกจากความพึงพอใจ ยังต้องค้นหาปัจจัยความไม่พึงพอใจของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนำมาใช้ประโยชน์ด้วย

87 3.2 ความผูกพันของลูกค้า จุดประสงค์ หัวข้อนี้ตรวจประเมินกระบวนการค้นหาและสร้างนวัตกรรมให้กับหลักสูตร บริการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และบริการการศึกษาอื่นๆ เพื่อตอบสนองต่อผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งกลไกหลักเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาใช้บริการด้านหลักสูตร บริการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และบริการการศึกษาอื่นๆ และสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีเป้าหมายในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเพิ่มพูนความผูกพันกับโรงเรียน การค้นหาความต้องการของนักเรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตลาด เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการสร้างความผูกพัน

88 คำถามในการประเมิน 3.2 การค้นหาความต้องการของนักเรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตลาด เพื่อกำหนดและสร้างนวัตกรรมด้านหลักสูตร บริการ และการส่งเสริมการเรียนรู้ การส่งเสริมให้นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาใช้บริการและข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำมาปรับปรุง การใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลาด และหลักสูตร เพื่อนำมากำหนดกลุ่มผู้เรียนทั้งปัจจุบันและอนาคต การใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลาด และหลักสูตร เพื่อปรับปรุงการตลาด มุ่งเน้นผู้เรียน และสร้างนวัตกรรม การสร้างและจัดการความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังตลอดวงจรชีวิต การจัดการข้อร้องเรียนของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างมีประสิทธิผล การใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องต้องปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมและเทคโนโยลีที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนพฤติกรรมจาก face2face มาเป็นการใช้สื่อ ICT การสร้างและจัดการความสัมพันธ์ กับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังตลอดวงจรชีวิตของนักเรียน เช่น รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น การออกแบบหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างผูกพัน การสำรวจความต้องการ เพื่อออกแบบหลักสูตร เช่น เกม กระตุ้นให้เกิดความสนใจ เพื่อปรับปรุงและสร้างนวัตกรรม สร้างสัมพันธ์เพื่อเกิดความผูกพัน และตอบสนองความต้องการตลอดวงจรชีวิต นักเรียนจะสร้างชื่อเสียงหลังจบไปแล้ว คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตจะมีคนสัมภาษณ์ว่าเรียนจบจากที่ไหน กลไกหนึ่ง คือ มีรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ทางหนึ่งคือทำให้นักเรียนปัจจุบันภูมิใจ การจัดการข้อร้องเรียน รวดเร็วและได้ผลหรือไม่ เพราะการเสียความประทับใจ เด็กจะจำไปอีกนาน เพราสิ่งไม่ดีจะจำได้นานกว่าสิ่งดีๆ

89 หมวด 4 การวัดผล การวิเคราะห์ และ การจัดการความรู้
หมวด 4 การวัดผล การวิเคราะห์ และ การจัดการความรู้ เป็นการตรวจประเมินว่าโรงเรียนเลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูล สารสนเทศ และสินทรัพย์เชิงความรู้อย่างไร มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร และมีการทบทวนและใช้ผลการทบทวนในการปรับปรุงผลการดำเนินการอย่างไร 4.1 การวัด วิเคราะห์ และปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร 4.2 การจัดการสารสนเทศ ความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหมวด 4 จะประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่ การกำหนดตัววัด ซึ่งกระตุ้นให้ปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ การวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงงาน ระบบ IT ระบบ KM

90 4.1 การวัด วิเคราะห์ และปรับปรุง ผลการดำเนินการขององค์กร
4.1 การวัด วิเคราะห์ และปรับปรุง ผลการดำเนินการขององค์กร จุดประสงค์ หัวข้อนี้ตรวจประเมินวิธีการที่โรงเรียนใช้ในการเลือก จัดการ และใช้ข้อมูลและสารสนเทศสำหรับการวัดผลการดำเนินการ การวิเคราะห์ และการทบทวนเพื่อสนับสนุนการวางแผนและการปรับปรุงการดำเนินการของโรงเรียน การวัดผลการดำเนินการและระบบการจัดการอย่างมีบูรณาการจะต้องมีศูนย์กลางในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยข้อมูลและสารสนเทศด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านอื่นๆ จุดประสงค์ของการวัดผลการดำเนินการ การวิเคราะห์โรงเรียนให้บรรลุผลลัพธ์ขององค์กรและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ รวมทั้งเพื่อคาดการณ์และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วหรือไม่ได้คาดคิดภายในหรือภายนอกโรงเรียน รวมถึงเพื่อระบุวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศที่อาจนำมาแบ่งปัน

91 คำถามในการประเมิน 4.1 การเลือก รวบรวมข้อมูลและสารสนเทศ ที่สอดคล้องและบูรณาการเพื่อใช้ติดตามการปฏิบัติการประจำวัน และผลการดำเนินการโดยรวมของโรงเรียน รวมทั้งสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ การใช้ข้อมูลและสารสนเทศของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการปรับปรุงและการสร้างนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิผล การใช้ผลการวิเคราะห์ตัววัดต่าง ๆ เพื่อนำมาประเมินความสำเร็จของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีเลิศ การใช้ผลการทบทวนเพื่อการวางแผนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเพื่อเป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรม ตัววัดควรเป็นระดับยุทธศาสตร์ รวมทั้งมีสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบด้วย การใช้ข้อมูลและสารสนเทศของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการปรับปรุงและการสร้างนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิผล – ต้องมีคนวิเคราะห์ ไม่ใช่เก็บอย่างเดียว ผลการวิเคราะห์ต้องนำขึ้นให้ผู้บริหารประเมิน วิธีปฏิบัติที่ดีเลิศ ถือเป็นการปรับปรุงงานอย่างหนึ่ง เพราะก่อนที่จะแลกเปลี่ยนกัน โรงเรียนต้องมีกลไกในการกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงงานจนกระทั่งเกิดเป็นวิธีปฏิบัติที่ดีเลิศ กลไกเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ผู้บริหารต้องสร้างให้เกิดภายในองค์กรก่อนเรียนรู้ ไม่งั้นเวลาไปเรียนรู้ภายนอก จะเป็นแค่การฟัง ไม่ได้นำมาปฏิบัติ

92 4.2 การจัดการสารสนเทศ ความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.2 การจัดการสารสนเทศ ความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ จุดประสงค์ หัวข้อนี้ตรวจประเมินวิธีการที่โรงเรียนทำให้มั่นใจว่ามีข้อมูล สารสนเทศ ซอฟแวร์ และฮาร์ดแวร์ที่จำเป็น มีคุณภาพ และมีความพร้อมใช้งานสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ส่งมอบ และคู่ความร่วมมือ ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังตรวจประเมินวิธีการที่โรงเรียนใช้ในการสร้างและจัดการสินทรัพย์เชิงความรู้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม

93 คำถามในการประเมิน 4.2 การบริหารจัดการด้านข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ปลอดภัย และเชื่อถือได้ ความพร้อมใช้งานแก่ทุกกลุ่มทั้งบุคลากรภายใน ผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และพันธมิตรตามที่ต้องการ การจัดการความรู้และการถ่ายทอดเพื่อใช้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งการนำไปใช้ในการสร้างนวัตกรรมและการวางแผนกลยุทธ์ การจัดการความรู้ มีการแลกเปลี่ยน ต่อยอด สร้างนวัตกรรม และเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนกลยุทธ์อย่างไร

94 หมวด 5 การมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน
เป็นการตรวจประเมินว่าโรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการผูกใจ จัดการ และพัฒนาผู้ปฏิบัติงานเพื่อนำศักยภาพของพวกเขามาใช้อย่างเต็มที่ โดยสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับพันธกิจ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการโดยรวมของโรงเรียน หมวดนี้ให้พิจารณาความสามารถของโรงเรียนในการประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถ และอัตรากำลัง และในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อนำไปสู่ผลการดำเนินการที่ดี 5.1 สภาพแวดล้อมในการทำงาน 5.2 การผูกใจผู้ปฏิบัติงาน เตรียมคนได้ดีพอกับแผนที่ตั้งไว้หรือไม่ การผูกใจผู้ปฏิบัติงาน ใช้คำว่า “ผูกใจ” เพราะเป็นความผูกพันทางใจ ตามศัพท์ในเกณฑ์ EdPEx ของ สกอ.

95 5.1 สภาพแวดล้อมในการทำงาน
จุดประสงค์ หัวข้อนี้ตรวจประเมินสภาพแวดล้อมด้านผู้ปฏิบัติงานของโรงเรียน ความต้องการด้านอัตรากำลังและขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน วิธีการตอบสนองความต้องการทั้งหลายเพื่อให้งานของโรงเรียนบรรลุผล รวมทั้งตรวจประเมินวิธีการที่สถานศึกษาทำให้มั่นใจว่ามีบรรยากาศในการทำงานที่ปลอดภัยและสนับสนุนการทำงาน วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน และส่งผลให้การทำงานบรรลุความสำเร็จ เป็นปัจจัยพื้นฐานของการบริหารคน คนมีจำนวนเหมาะกับงานหรือไม่ คนล้นงานหรืองานล้นคนหรือไม่ และคนที่มีอยู่ใช้การได้หรือไม่ มีขีดความสามารถเพียงพอหรือไม่ เช่น โรงเรียนเน้นด้านดนตรี คนมีพอและเก่งด้านดนตรีพอหรือไม่

96 คำถามในการประเมิน 5.1 การประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร รวมทั้งทักษะ สมรรถนะ และกำลังคนที่มีอยู่ การสรรหา บรรจุ และรักษาบุคลากรใหม่ไว้ การจัดโครงสร้างและบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิผล และตอบสนองต่อแผนปฏิบัติการ การจัดการด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีสวัสดิภาพ และสุขอนามัยที่ดี การบริหารและสนับสนุนด้านนโยบาย สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ในข้อ 2 การสรรหา บรรจุ และรักษาบุคลากรใหม่ไว้ สาเหตุที่พูดถึงแต่บุคลากรใหม่ ไม่พูดถึงบุคลากรเก่า เพราะคนที่เริ่มทำงานใหม่ๆ เป็นช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อหรือไม่ ตัดสินใจออกง่าย ขณะที่บุคลากรจะออกยาก เพราะผูกพันแล้ว ซึ่งช่วงเวลาตัดสินใจจะแตกต่างกันตามอาชีพตามองค์กร ช่วงที่ยังเป็นบุคลากรใหม่ คือ ช่วงที่องค์กรจะต้องสามารถ engage เขาไว้ให้ได้ ผ่านกระบวนการจูงใจ รักษาสัมพันธภาพ วัฒนธรรม career path เป็นต้น การสรรหามีวิธีการใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อค้นหาคนที่มีความสามารถให้ได้

97 5.1 การผูกใจผู้ปฏิบัติงาน
จุดประสงค์ หัวข้อนี้ตรวจประเมินระบบของโรงเรียนในเรื่องการผูกใจ การพัฒนา และการประเมินความผูกพันของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเกื้อหนุนและกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนปฏิบัติงานให้โรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มความสามารถ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความสำเร็จของผู้เรียนและผลการดำเนินการที่ดีของโรงเรียน เพื่อนำความเชี่ยวชาญหลักของโรงเรียนมาใช้ และเพื่อส่งเสริมให้บรรลุแผนปฏิบัติการและความยั่งยืน

98 คำถามในการประเมิน 5.2 การกำหนดองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพัน และความพึงพอใจของบุคลากรต่างกลุ่มในโรงเรียน การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความผูกพัน มีการสื่อสารที่ดี และมีการทำงานที่มีสมรรถนะสูง ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่เหมาะสมและสนับสนุนให้มีการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีและความผูกพันของบุคลากร การนำผลการประเมินความผูกพันของบุคลากรมาเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ที่สำคัญของโรงเรียน เพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุงความผูกพันของบุคลากรและผลลัพธ์ ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาสำหรับบุคลากรและผู้นำของโรงเรียนที่ตอบโจทย์ของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการประเมินประสิทธิผลของการเรียนรู้ การจัดการความก้าวหน้าในอาชีพการงานของบุคลากรทั่วทั้งองค์กรอย่างมีประสิทธิผล ความผูกพัน โรงเรียนทราบหรือไม่ว่า คนอยู่อยู่เพราะอะไร ความผูกพัน กับความพึงพอใจ แตกต่างกัน ผูกพัน=อยากทำสิ่งดีให้องค์กร คนผูกพันอาจไม่พึงพอใจ ขณะที่คนพึงพอใจอาจไม่ผูกพัน วัฒนธรรมดีหรือไม่ การสื่อสารดีหรือไม่ (ความเชื่อมโยงของเกณฑ์ ถามผลจากหมวด 1 การสื่อสารของผู้นำ) ประเมินผลเพื่อความก้าวหน้าโปร่งใสชัดเจน การนำผลการประเมินความผูกพันของบุคลากรมาเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ที่สำคัญของโรงเรียน แต่ต้องใช้ความผูกพันมาใช้ประโยชน์และตั้งเป้า ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาสำหรับบุคลากรและผู้นำของโรงเรียนที่ตอบโจทย์ของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการประเมินประสิทธิผลของการเรียนรู้ นอกจากบุคลากรแล้ว ผู้นำก็ต้องพัฒนาทักษะในการนำ การตัดสินใจ จัดการความก้าวหน้าในอาชีพการงานของบุคลากรทั่วทั้งองค์กรอย่างมีประสิทธิผล

99 หมวด 6 การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ
เป็นการตรวจประเมินว่าโรงเรียนมีวิธีการออกแบบระบบงานอย่างไร รวมทั้งวิธีการในการออกแบบ จัดการ และปรับปรุงกระบวนการที่สำคัญ เพื่อนำระบบงานดังกล่าวไปสร้างคุณค่าให้ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จและยั่งยืน รวมทั้งอธิบายถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉิน 6.1 ระบบงาน 6.2 กระบวนการทำงาน เป็นทุกเรื่องในโรงเรียน ระบบงาน เป็นโจทย์ภาพรวมของโรงเรียนที่ต้องการผลลัพธ์ในภาพยุทธศาสตร์ กระบวนการ เป็นเรื่องประจำวัน

100 6.1 ระบบงาน จุดประสงค์ หัวข้อนี้ตรวจประเมินว่าระบบงาน ความเชี่ยวชาญหลัก และการตัดสินใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของโรงเรียน เพื่อสร้างคุณค่าให้ผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญและการปรับปรุงประสิทธิผลการศึกษาของโรงเรียน การเตรียมพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งบรรลุความสำเร็จและความยั่งยืนของโรงเรียน ถามถึงสร้างนวัตกรรมในระบบงาน และใช้ประโยชน์จากสมรรถนะหลักอย่างไร สร้างคุณค่าให้ดีขึ้นอย่างไร การเตรียมพร้อมกับภาวะฉุกเฉิน เช่น น้ำท่วม โรงเรียนมี scenario หรือไม่ว่า หากโรงเรียนปิดไป 1 วัน 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน จะต้องทำอย่างไร

101 คำถามในการประเมิน 6.1 การออกแบบและสร้างนวัตกรรมด้านระบบงานโดยรวมขององค์กรได้ใช้ประโยชน์จากสมรรถนะหลักขององค์กร การใช้ข้อมูลจากลูกค้า ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือมาเพื่อเป็นข้อกำหนดในการออกแบบระบบงานต่างๆ ของโรงเรียน การจัดการและปรับปรุงระบบงานของโรงเรียนเพื่อส่งมอบคุณค่าแก่ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จและยั่งยืน ตลอดจนการควบคุมต้นทุนต่างๆ การเตรียมพร้อมของสถานที่ทำงานเพื่อรับมือต่อภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน การกู้คืนสู่สภาพเดิมและเพื่อให้ระบบงานสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ระบบงานในโรงเรียนมีกี่ระบบ ในแต่ละระบบ มีกระบวนการขั้นตอนอย่างไร ใครรับผิดชอบ ควบคุมปรับปรุงอย่างไร 2. ดึงคนอื่นมาช่วยคิด ดูว่าจะสร้างนวัตกรรมได้อย่างไร เพื่อให้ได้ไอเดียใหม่จากภายนอก 3. ถ้าระบบดี จะต้องมีคุณค่ากับผู้เกี่ยวข้องสร้าง value added ไม่ใช่แค่ใช้เงิน กาย เวลา แต่คนที่เข้ามาต้องได้ประโยชน์แก่เค้า เช่น คลาสติว เกณฑ์ถามเพื่อให้คิดกับทุกๆ เรื่องที่เราทำ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ 4. การเตรียมพร้อมของสถานที่ทำงานเพื่อรับมือต่อภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน หากเกิดขึ้นโรงเรียนต้องปิดโรงเรียน แล้วเด็กจบช้ากว่าคนอื่น ทำให้การแข่งขันวิกฤต ขณะที่อื่นไม่ท่วม ทำให้ได้เลือกงานก่อน

102 6.2 กระบวนการทำงาน จุดประสงค์ หัวข้อนี้ตรวจประเมินการออกแบบ การจัดการ และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญ เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งทำให้โรงเรียนบรรลุผลสำเร็จและมีความยั่งยืน

103 คำถามในการประเมิน 6.2 การออกแบบและสร้างนวัตกรรมของกระบวนการทำงาน รวมทั้งการพิจารณาการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ความรู้ขององค์กร การมุ่งสู่ความเป็นเลิศของผู้เรียน ปัจจัยด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลมาใช้ การบริหาร ติดตาม ควบคุม การปฏิบัติงานประจำวันของกระบวนการผ่านตัววัดหรือตัวชี้วัดผลการดำเนินการที่สำคัญ เพื่อบรรลุผลในภาพรวม การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และผู้ส่งมอบที่โรงเรียนเลือกว่ามีคุณสมบัติและพร้อมที่จะช่วยยกระดับผลการดำเนินการของโรงเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนหลักสูตรและบริการสนับสนุนให้ดีขึ้น

104 เป็นภาพโรงเรียนในสิงคโปร์ IT Schools สภาพห้องไม่แตกต่างกับเมืองไทย สังเกตนักเรียนแต่ละคนมุ่งมั่นตั้งใจเรียน แม้ใช้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตนเองก็ยังจดจ่อ จริงจัง ไม่วอกแวก หลังจากอธิบายเกณฑ์หมวด 1-6 แล้ว สรุปขั้นตอนที่โรงเรียนจะต้องดำเนินการอีกครั้ง (slide 29 ขั้นตอนการดำเนินการโครงการ 3 ขั้นตอน)

105 หมวด 7 ผลลัพธ์ เป็นการตรวจประเมินผลการดำเนินการและการปรับปรุงในด้านที่สำคัญทุกด้านของโรงเรียนได้แก่ ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และกระบวนการ ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแล และผลลัพธ์ด้านการเงินและตลาด ระดับผลการดำเนินการควรมีการเปรียบเทียบกับคู่แข่งและสถาบันการศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาและให้บริการในลักษณะเดียวกัน

106 หมวด 7 ผลลัพธ์ 7.1 ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และกระบวนการ 7.2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า 7.3 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน 7.4 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแล 7.5 ผลลัพธ์ด้านงบประมาณ การเงิน และตลาด

107 Organization Results Learning and Process outcomes
ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ประสิทธิผลระบบงานและกระบวนการ แผนงานและยุทธศาสตร์ Customer-focused outcomes ความพึงพอใจ ความผูกพัน Budget, Financial and Market outcomes งบประมาณ การเงินและรายได้ ตลาด Workforce-focused outcomes สมรรถนะ บรรยากาศ ชื่อเสียง Leadership and Governance and Societal Responsibility Results การสื่อสาร การกำกับดูแล กฎหมาย จริยธรรม ชุมชนสังคม

108 ปฏิบัติการ 3 ให้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มว่าตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่มีอยู่ในแต่ละหัวข้อมีอะไรบ้าง ตัวชี้วัดดังกล่าวสามารถใช้เพื่อการตั้งเป้าหมายและปรับปรุงระบบงาน เพื่อมุ่งเน้นความเป็นเลิศได้หรือไม่ ให้กลุ่มเสนอตัวชี้วัดที่เหมาะสมมากลุ่มละ 5 ตัว กิจกรรมที่ 3 ใช้แบบฟอร์ม 4 ให้แต่ละกลุ่มพิจารณาความคาดหวังของ สพฐ.ที่มีต่อโรงเรียนในฝัน 10 ประเด็น โดย 1 กลุ่ม พิจารณา 1 ประเด็น แล้วลองคิดตัวชี้วัดระยะสั้นและระยะยาวที่เหมาะสมที่สุดในการใช้วัดความสามารถในการดำเนินการของโรงเรียนในประเด็นนั้นๆ 16 กลุ่ม แบ่งเป็นประเด็น 1-10,5-10 ประเด็นที่พบในกิจกรรมนี้ คือ โรงเรียนส่วนใหญ่คิดออกมาเป็นกระบวนการได้ดี แต่กำหนดออกมาเป็นตัวบ่งชี้ แทนที่จะเป็นตัวชี้วัด ตัวบ่งชี้ แตกต่าง จากตัวชี้วัด ตัวบ่งชี้ คือ คุณลักษณะ การมี การเป็น แต่วัดไม่ได้ว่า กระบวนการพัฒนาที่โรงเรียนทำช่วยให้เข้าใกล้เป้าหมายอย่างไร ถูกทิศทางหรือไม่ เช่น การจัดค่ายวิชาการ เป็นข้อบ่งชี้ แต่ตัวชี้วัด อาจเป็นจำนวนคนสนใจ สัดส่วนนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนนักเรียนที่เข้ารอบชิง จำนวนนักเรียนที่ชนะ ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ขึ้นกับระดับพัฒนาการของโรงเรียน ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายอาจเป็นจำนวนเงินสนับสนุนที่ได้รับก็ได้ หลังกิจกรรม สนก. จะเก็บข้อมูลตัวอย่างตัวชี้วัดไปจากทุกๆ กลุ่ม เพื่อใช้วิเคราะห์หาตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับโรงเรียนต่อไป ให้เวลา 30 นาที เขียนลงบน Flip Chart

109 แหล่งข้อมูล “เรียนจากแชมป์ เพื่อเป็นแชมป์” สำหรับองค์กรด้านการศึกษา โดย นพ. สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล

110 WHAT’s NEXT?

111 สิ่งที่โรงเรียนต้องไปดำเนินการต่อ
จัดตั้งทีมงานที่รับผิดชอบโครงการ ตั้งเป้าหมายในการดำเนินการ กรอกแบบฟอร์มโครงร่างองค์กรให้ครบถ้วน เตรียมพร้อมเพื่อการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป เป็นการเตรียมการเพื่อปีหน้า เพื่อเข้าไปสู่ 3 ขั้นตอนของการปรับปรุง คือ ประเมิน ปรับปรุง วัดผล (slide 29) ทีมงาน เพื่อเรียนรู้และติดตามงาน ตั้งเป้าหมายในการดำเนินการว่าต้องการพัฒนาในเรื่องอะไร ไม่ใช่ผ่านไม่ผ่าน แต่จะดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร แบบฟอร์มโครงร่างองค์กร สนก. จะแจ้งรายละเอียดต่อไป เตรียมพร้อมเพื่อการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ใน 3 ปีต่อจากนี้ไป สนก. มีแผนรับสมัครโรงเรียน 100 โรง จากโรงเรียนในฝัน 2,500 โรง (ใน 100 โรง จะคัดเลือก 40 โรงเป็น fast track รุ่นที่ 1 ส่วนอีก 60 โรงเป็นรุ่นที่ 2) โดยให้ทำหนังสือแจ้งความจำนงผ่านท่านเลขาธิการ ภายใน 30 ตุลาคม (ดาวน์โหลดฟอร์มในเวป สนก. ระหว่างนี้ ขอให้ศึกษาข้อมูลว่าต้องเตรียมทีมมากน้อยแค่ไหน

112 คำถาม


ดาวน์โหลด ppt โครงการโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google