บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานตรรกศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานตรรกศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานตรรกศาสตร์
1.1 ความหมายของตรรกศาสตร์ 1.2 ความเป็นมาของตรรกศาสตร์ 1.3 ประเภทของตรรกศาสตร์ 1.4 หน้าที่ของตรรกศาสตร์ 1.5 ประโยชน์ของตรรกศาสตร์ 1.6 คำถามท้ายบท

2 1.1 ความหมายของตรรกศาสตร์
คำว่า “ตรรกศาสตร์” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Logic” (โลจิค) หมายถึง “ศาสตร์ที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล” หรือ “ เป็นศาสตร์ว่าด้วยการ พิสูจน์หาเหตุผล จำนงค์ ทองประเสริฐ ให้ความหมายว่า “การตรึกตรองที่มี กฎเกณฑ์ เป็นการให้เหตุผลด้วยกฎเกณฑ์เป็นความรู้ที่ประกอบด้วยเหตุผล เป็นวิชาว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล ขุนประเสริฐศุภมาตรา ให้ความหมายว่า “ ตรรกศาสตร์ คือ ศาสตร์ว่าด้วยเงื่อนไขที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องคิดตรึกตรองและหาเหตุผลอย่าง ถูกต้อง กีรติ บุญเจือ ให้ความหมายว่า “กฎเกณฑ์การใช้เหตุผล” สรุป ตรรกศาสตร์ คือ เป็นศาสตร์ที่ว่า ด้วยกฏเกณฑ์การใช้เหตุผล” ตรรกศาสตร์เป็นวิชาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย ความคิดอย่างมีเหตุผล ความคิดหรือการคิดในที่นี้ หมายถึงการคิดหาเหตุผล ความถูกผิดในการโต้แย้ง จุดบกพร่องในการเสนอเหตุผล การอ้างเหตุผล อย่างสมเหตุสมผล

3 1.2 ความเป็นมาของตรรกศาสตร์
ความเป็นมาของตรรกศาสตร์จะแบบได้เป็น 2 สมัยคือ 1.ตรรกศาสตร์ตะวันออก คือ ยุคต่างๆ ของ ประเทศอินเดีย ได้แก่ ยุคพระเวท ยุคปรัชญา และ ยุคกลางและยุคปัจจุบัน 2.ตรรกศาสตร์ตะวันออก คือ ยุคต่างๆ ของ ประเทศตะวันตก ได้แก่ ยุคกรีกโบราณ ยุคกลาง และยุคใหม่

4 1.2 ความเป็นมาของตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์ตะวันออก (อินเดีย) 1.ยุคพระเวท(ประมาณ 2, ก่อน พ.ศ) ตรรกศาสตร์ตะวันตกได้มีการศึกษาอยู่ในประเทศ อินเดียมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล หลักฐานที่เห็นได้ชัดคือ คัมภีร์พระเวทของอินเดีย ซึ่งเกิดก่อนพุทธกาล 1,000 ปี คัมภีร์พระเวทเกิดจากพวกฤาษีได้เข้าไป บำเพ็ญตบะอยู่ในป่า พระผู้เป็นเจ้าได้มอบหมายพระ วจนะเหล่านั้นให้และฤาษีก็ได้นำมาสั่งสอนต่อกัน เรื่อยๆมา

5 1.2 ความเป็นมาของตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์ตะวันออก (อินเดีย) 2.ยุคปรัชญา (ประมาณ 200 ปี) ก่อน พ.ศ. 1,200) มีสำนักปรัชญาที่สำคัญ เกิดขึั้น ๙ สำนัก แบ่งออกได้ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มอาสติกะ เป็นกลุ่มที่ยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ ของคัมภีร์พระเวท มีอยู่ ๖ สำนักคือ สางขยะ โยคะ ไวเศษิกะ นยายะ มีมางสา และเวทานตะ กลุ่มนาสติกะ เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับความ ศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท เป็นกลุ่มที่ยอมรับเหตุผล ของการหยั่งรู้ด้วยตนเอง มี ๓ สำนักคือ พุทธ เชน และจารวาก

6 1.2 ความเป็นมาของตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์ตะวันออก (อินเดีย) 3.ยุคกลางและปัจจุบัน (ประมาณ 200 ปี ก่อน พ.ศ. 1,200 ) ยุคนี้นักปรัชญาอินเดียไม่ได้คิดปรัชญา ใหม่อีก มีการศึกษาและพัฒนาเรื่อย ได้มีการ ผสมผสานกับวัฒนธรรมแบบตะวันตก ที่มีการจัดระบบ แนวคิดในทางปรัชญาค่อนข้างจะเป็นระบบมากกว่า ปรัชญาอินเดีย และหันมาสนใจปรัชญาตะวันตก มี นักปรัชญาคนสำคัญ เช่น มหาตมะคานธี ราธกฤษณัณ ศรีอโรพินโท รพินทรนาถฐากูร กฤษณจันทรา เป็นต้น มีการศึกษาเข้าใจปรัชญา อินเดียโบราณด้วยทรรศนะใหม่แบบตะวันตก และ เสริมปรัชญาตะวันตกด้วยปรัชญาอินเดียโบราณ

7 1.2 ความเป็นมาของตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์ตะวันตก 1.ยุคกรีกโบราณ (เริ่มประมาณ พ.ศ. 159) มีคนกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า “พวกโซฟีสต์” ซึ่งประกอบอาชีพครูเดินทางไปสอนคนใน สถานที่ต่าง ๆ เป็นคนพูดที่ีมีหลักการและเหตุผล สามารถโน้มน้าว ผู้ฟังให้หันมายอมรับและคล้อยตามสิ่งที่พวกตนพูดได้ กลุ่มนี้มิได้ สร้างหรือวางรากฐานเกี่ยวกับวิชาตรรกศาสตร์ไว้เลย สำหรับผู้วางรากฐานทางตรรกศาสตร์ได้แก่ อริสโตเติลได้รับยก ย่องให้เป็น “บิดาแห่งวิชาตรรกศาสตร์”ท่านได้แสดงหลักเกณฑ์ใน การพิจารณาความถูกต้องของการใช้เหตุผลไว้ในหนังสือ ชื่อ ORGANON แปลว่า “เครืื่่องมือ” เพราะถือว่าเหตุผลเป็น เครื่องมือในการแสวงหาความรู้่และความจริงเนื้อหาในหนังสือ เน้นหนักการแสวงหาเหตุผลในรูปแบบของตรรกศาสตร์นิรนัย และ เป็นที่ยอมรับการแพร่หลาย

8 1.2 ความเป็นมาของตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์ตะวันตก 1.ยุคกลาง (เริ่มประมาณ พ.ศ. 1768) เราได้ศึกษางานของ ปรัชญาเมธี กลุ่มสกอลาสติค ซึ่งรุ่งโรจน์อยู่ในสมัยกลางแล้วก็จะ ได้พบตรรกศาสตร์แบบอุปนัย คือ “กระบวนการแสวงหาความจริง สากล โดยผ่านจากความจริงเฉพาะ” การอุปนัยนี้เราจะต้องสำรวจ สังเกตและทดสอบจากสิ่งเฉพาะที่เป็นปรากฎการณ์ทางประสาทสัมผัส ให้แน่นอนเสียก่อน เช่นการสังเกตุเห็นจากประสาทสัมผัสของเราว่า ..เรานำน้ำในประเทศไทย ต้มในความกดดันอากาศระดับน้ำทะเล อุณหภูมิถึง 100 องศา น้ำเดือด เรานำน้ำในประเทศจีน ต้มในความกดดันอากาศ ระดับน้ำทะเล อุณหภูมิถึง 100 องศา น้ำเดือด เรานำน้ำในประเทศพม่า ต้มในความกดดันอากาศ ระดับน้ำทะเล อุณหภูมิถึง 100 องศา น้ำเดือด สรุปได้ว่า เมื่อนำน้ำบริสุทธิ์ที่มีอยู่ที่ทั่วไปต้มในความกดดันอากาศ ระดับน้ำทะเล น้ำจะมีจุดเดือดที่อุณหภูมิถึง 100 องศา ซึ่งเป็น ข้อความสากลที่สุด

9 1.2 ความเป็นมาของตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์ตะวันตก 3.ยุคใหม่ (เริ่มประมาณ พ.ศ ) มีนักปรัชญาชาว อังกฤษ ชื่อ ฟรานซิสเบคอน ได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาหรือนัก ตรรกศาสตร์สมัยใหม่ เขามีอาชีพเป็นนักกฏหมาย แต่เป็นผู้ถือ คติที่ว่า “เขาเรียนกฎหมาย เพื่อทำให้กระเป๋าเต็ม แต่เรียน ปรัชญาเพื่อทำให้หัวใจเต็ม” เขาได้สร้างแนวคิดใหม่ของอุปนัยขึ้น เรียกว่า “ วิธีอุปนัยโดยการตัดออก” นำข้อมุลที่มีลักษณะต่างๆกัน แล้ว จัดเป็น 3 รายการ คือ รายการมี คือ ให้ตั้งสมมติฐานขึ้น ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ รายการไม่มี คือ ให้คัดสมมติฐาน ที่เป็นไปไม่ได้ออกเสีย ก็เหลือสมมติฐานที่เป็นไปเพียงเล็กน้อย รายการระดับ คือให้คัดสมมติฐานที่เป็นไปไม่ได้ออกได้อีก จน เหลือเพียงสมมติฐานเดียวซึ่งจะเป็นตัวทฤษฎีแท้ ตัวอย่างเช่น 1.รายการมี ไม่ ก ก็ ข ไม่ข ก็ ค ไม่ ค ก็ ง อย่าง ใดอย่างหนึ่่งเป็นเหตุ 2.รายการไม่มี ไม่ใช่ ก ไม่ใช่ ก ไม่ใช่ ค รายการระดับ เหตุก็ต้อง ง

10 1.2 ความเป็นมาของตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์ตะวันตก ต่อมา พ.ศ นิวตัน เห็๋นว่าแนวทางอุปนัย ตามที่ เบคอนไว้วางไว้นี้ นับเป็นประโยชน์ต่อการแสวงหาความรู้ แบบวิทยาศาสตร์อย่างมาก ไอแซก นิวตัน เป็นนักฟิสิก และ คณิตศาสตร์ เขาวางหลักในการหาเหตุผลได้ั 3 ประการ คือ 1. วิเคราะห์ 2.วางหลักเกณฑ์3.สังเคราะห์ ต่อมา จอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาและนัก ตรรกศาสตร์ ผู้ได้วางหลักเกณฑ์ในอุปนัยไว้มาก เขาได้ให้ ทรรศนะว่า “ การอุปนัย” คือ ปฏิบัติการของการค้นพบและพิสูจน์ ญัตติทั่วไป การอุปนัยนั้นเกี่ยวข้องกับการพิสูจน์มากกว่าการค้นพบ มิลล์ได้สร้างหลักเกณฑ์ทางอุปนัยขึ้นไว้เพื่อแสวงหาความรู้โดยให้ชื่อ ว่า “วิธีการทดลอง” ซึ่งเป็นหลักการที่ได้ทำซื่อเสียงให้แก่มิลล์มาก

11 1.3 ประเภทของตรรกศาสตร์ ตรรกศาสตร์ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยกฏเกณฑ์การใช้เหตุผล แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 1.ตรรกศาสตร์นิรนัย คือ ตรรกศาสตร์ที่ว่าด้วยการให้เหตุผลที่เริ่ม จากเหตุหรือความจริงสากล มีเหตุหรือข้อเท็จจริงสากลแล้วจึงเข้าสู่ เหตุหรือข้อเท็จจริงย่อย เช่น ข้อเท็จจริงสากล คือ มนุษย์ทุก คนเป็นสิ่งต้องตาย ข้อเท็จจริงย่อย คือ นายแดงเป็นมนุษย์ สรุป ได้ว่า นายแดงต้องตาย 2.ตรรกศาสตร์อุปนัย คือ การสรุปความรู้ใหม่โดยอ้างหลักฐานจาก ประสบการณ์ เม่ื่อเรามีประสบการณ์แบบเดียวกันหลายๆ ครั้ง เรา ก็สรุปเป็นความรู้ทัั่วไปเกี่ยวกับสิ่งนั้นได้ เช่น นายแดง นาย ดำ นายขาว นายเขียว นางมา พบว่าทุกคนมีฟันอยู่คนละ 32 ซี่ และทุกคนต่างก็เป็นมนุษย์ สรุปว่า มนุษย์โดยทั่วไปมีฟัน 32 ซี่ เป็นต้น

12 หน้าที่ของตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์เป็นเครื่องมือหรือเป็นตัวนำเรา ไปสู่ความรู้ความจริงนั้น คือ ถ้าหาก ปราศจาก การคิดหาเหตุผล โดยวิธีทาง ตรรกศาสตร์แล้วก็เป็นการยากยิ่งที่มนุษย์จะ เข้าถึงความรู้ความจริงนี้ได้

13 ประโยชน์ของตรรกศาสตร์
ทำให้มนุษย์รู้จักใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจ การตัดสินใจโดยเหตุผลนี้มีโอกาสที่จะถูกต้องมากกว่าการตัดสินใจโดยการใช้อารมณ์ เพราะการใช้หลักของการใช้เหตุผล ทำให้มีโอกาสได้ใช้สติตรึกตรองก่อนการตัดสินใจมากกว่าการใช้อารมณ์ ทำให้มนุษย์ให้เหตุผลได้อย่างมีกฎเกณฑ์ ผู้ใช้เหตุผลได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถือว่าใช้เหตุผลได้อย่างมีกฎเกณฑ์ ซึ่งกฎเกณฑ์นี้เราเรียกว่า กฎของการตรวจสอบความจริงนี้เป็นแบบอุปมัยและนิรมัยที่สมเหตุสมผล เป็นเครื่องมือแสดงหาความรู้และความจริง เนื้อหาการศึกษาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความจริง ความรู้ ความงาม ความดี ดังนัั้นตรรกศาสตร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือแสดงหาความรู้และความจริง

14 1.6 คำถามท้ายบท ตรรกศาสตร์ มีความหมายว่าอย่างไร ความเป็นมาตรรกศาสตร์ตะวันออกแบ่งเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง ความเป็นมาตรรกศาสตร์ตะวันตกแบ่งเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง ตรรกศาสตร์นิรนัยคืออะไร พร้อมยกตัวอย่างมาดู ตรรกศาสตร์อุปนัยคืออะไร พร้อมยกตัวอย่างมาดู ตรรกศาตร์มีประโยชน์อย่างไร จงอธิบาย


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานตรรกศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google