ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
TAH2203 สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
อาจารย์ชิดชม กัน จุฬา ผู้สอน
2
บทที่ 1 เนื้อหา ความหมายของภูมิปัญญาและ วัฒนธรรมไทย
ปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาไทย บทที่ 1
3
ความหมายของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
คำว่า "ภูมิปัญญา" หมายถึง ความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม ของคน ในการปรับตัวให้เข้ากับ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้ว สร้างสรรค์สังคมและสั่งสม ประสบการณ์เหล่านั้นเป็น เวลานาน เพื่ออนุชนรุ่นหลังต่อมา หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา กฎหมาย ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยี ต่างๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมา เพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ใน โลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้อง รู้จักควบคุมความประพฤติของ มนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือ คำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
4
ความสำคัญของวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมเป็นเครื่องกำหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม และเป็นเครื่องกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของคนใน สังคม 2. การศึกษาวัฒนธรรมจะทำให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมของสังคม เจตคติความคิดเห็นและ ความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง 3. ทำให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้ 4. ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม เพราะวัฒนธรรมคือกรอบหรือแบบแผนของ การดำรงชีวิต 5. ทำให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน 6. ทำให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้ 7. ทำให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์
5
ประเภทของวัฒนธรรม 1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture)
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non-material culture) หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการ ประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์ วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะ ประเพณี ขนบธรรมเนียม การปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ ยอมรับในกลุ่มของตน ว่าดีงามเหมาะสม
6
ที่มาของวัฒนธรรม 1. ทฤษฎี Parallelism เชื่อว่า วัฒนธรรมเกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ พร้อมกัน เนื่องจาก ธรรมชาติของมนุษย์คล้ายคลึง กันมาก 2. ทฤษฎี Diffusionism เชื่อว่า วัฒนธรรมเกิดจากศูนย์กลางแห่งเดียวกัน และแพร่ กระจายออกไปยังชุมชนต่าง ๆ
7
ปัจจัยที่ทำให้ชาวไทยได้สร้างวัฒนธรรมขึ้นมา
1. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ 2. ระบบเกษตรกรรม 3. ค่านิยมจากการที่ได้สะสมวัฒนธรรมต่อเนื่องกันเป็นเวลายาวนานจึงเป็นการหล่อหลอมให้เกิด แนวความคิด ความพึงพอใจ และความนิยม 4. อิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่น
8
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตหรือการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ ที่มีความคิด พฤติกรรรม เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวโดยตลอด เพราะวัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตหรือ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่มีความคิด พฤติกรรรม เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวโดยตลอด ส่งผลให้วัฒนธรรม ไม่มีการหยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
9
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
๑.การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ จากความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของมนุษย์ จึงทำให้มนุษย์รู้จักคิดประดิษฐ์สิ่ง ต่างๆ ขึ้นมา เพื่อสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกให้กับตัวเอง อันมีผลกระทบต่อแบบแผน พฤติกรรม ขนบธรรมเนียม ความเชื่อ ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น เดิมเกษตรกรใช้มีด เสียม คันไถ เกวียนในการปลูกข้าว ต่อมามีการประดิษฐ์เครื่องจักรที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากกว่ามา แทนที่ เช่น รถไถนา รถเกี่ยวข้าว ทำให้ผลผลิตข้าวได้มากขึ้นและวิถีชีวิตของเกษตรกรเปลี่ยนแปลงไป เป็น ต้น ๒.การยืมวัฒนธรรมอื่น หมายถึง การนำวัฒนธรรมของสังคมอื่นมาใช้ในระยะแรก เรียกว่า การยืม แต่เมื่อ เวลาผ่านไปเป็นเวลานานก็กลายเป็นรับ ทำให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ๆ ขึ้นมา การยืมจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการ เปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
10
๓.การแพร่กระจาย หมายถึง การที่วัฒนธรรมจากสังคม หนึ่งกระจายไปยังสังคมอื่น โดยผ่านตัวแทนต่างๆ เช่น การศึกษา ศาสนา การค้า การสงคราม สื่อสารมวลชน เป็นต้น ซึ่งการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมปัจจุบันเป็นอย่างมาก ๔.การผสมผสานทางวัฒนธรรม เป็นการรับเอา วัฒนธรรมอื่นมาปฏิบัติ การผสมผสานทางวัฒนธรรมจะ เกิดขึ้นในจุดที่เกิดความพอดีกัน ซึ่งอาจเป็น กระบวนการสองทางคือ เมื่อกลุ่มหนึ่งถ่ายทอดให้อีก กลุ่มหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็อาจรับวัฒนธรรมของกลุ่มที่ ตนถ่ายทอดมาด้วยก็ได้ การผสมผสานทางวัฒนธรรม จะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อวัฒนธรรมทั้งสองมีความคล้ายคลึง กัน รวมถึงทัศนคติที่ดีของคนที่มีต่อวัฒนธรรมใหม่ด้วย
11
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม มีดังนี้
๑) การที่อยู่ด้วยกันใกล้ชิดกัน ๒) การย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย ๓) การติดต่อทางการทูตและการค้าขาย ๔) การสมรสระหว่างผู้ที่มีวัฒนธรรมต่างกัน ๕) ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและการคมนาคม ๖) อิทธิพลของสื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์
12
อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคมไทย มีผลต่อ
1. ระบบการศึกษา 2. ระบบการเมือง 3. ระบบเศรษฐกิจ 4. ระบบสังคมและวัฒนธรรม
13
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม มี ๒ ด้าน คือ
๑.ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การคิดค้น สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทำให้มีการ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศในทางที่ดี ขึ้น เป็นต้น ๒.ก่อให้เกิดปัญหา ได้แก่ วัฒนธรรมทาง วัตถุที่เจริญก้าวหน้า แต่วัฒนธรรมที่ไม่ใช่ วัตถุ เช่น ความคิด ความเชื่อ และวิธีการ ปฏิบัติยังคงเป็นแบบเดิมๆ ทำให้เกิด ปัญหาการปรับตัว เป็นต้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.