ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยBaldric Whitehead ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม เพื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (Using Socio-Scientific Issues for Science Education)
2
Socio-scientific issues (SSI) คืออะไร
3
Socio-scientific issues (SSI) คือประเด็น/ข้อถกเถียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
4
มันเป็นข้อถกเถียงที่(ยัง)ไม่มีทางออก ที่แน่นอนตายตัวในปัจจุบัน ทางออกที่เป็นไปได้ มักมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวมันเอง ซึ่งทำให้ยากต่อการตัดสินใจ
5
บางครั้ง มันยังเกี่ยวข้องกับเรื่องคุณธรรมจริยธรรมด้วย ซึ่งทำให้การหาทางออกซับซ้อนขึ้นไปอีก
6
ตัวอย่างเช่น
7
เราควรสนับสนุนการทำโคลนนิ่งมนุษย์หรือไม่
8
เราควรสนับสนุนการปลูกและบริโภค พืช GMOs หรือไม่
9
เราควรสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่
10
ประเด็นเหล่านี้มีความน่าสนใจในตัวเอง และมักปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ที่นักเรียนประสบพบเจอ
11
มันจึงเรียกความสนใจจากนักเรียนได้
12
หลายคนจึงมีความพยายามนำประเด็นเหล่านี้ มาใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
13
มาทำให้บทเรียนวิทยาศาสตร์ มีความหมายต่อชีวิตของนักเรียนมากขึ้น
14
นอกจากนี้ เป้าหมายสุดท้ายของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์คือ Scientific Literacy ซึ่งต้องการให้นักเรียนมีความสามารถ ในการตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้อยู่แล้ว
15
ทำไมเราไม่เอามันมาเป็นส่วนหนึ่ง ของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เลยล่ะ
16
ในบางกรณี มันยังช่วยให้นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมมากขึ้น
17
SSI จึงเริ่มเข้ามาเป็น “บริบท” (context) ของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง
18
SSI เป็นเสมือน “ฉากหลัง” (background) ของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
19
ครูหลายคนจึงเริ่มต้นบทเรียน ด้วยการนำเสนอประเด็น SSI
20
ตัวอย่างเช่น ในการสอนเรื่อง “ยีน สิ่งแวดล้อม และลักษณะที่แสดงออกของมนุษย์”
21
ก่อนจะไปต่อ .... รู้จัก biological determinism ไหม
the belief that human behavior is controlled solely by an individual's genes or some component of physiology “ลัทธิความเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์ถูกควบคุมโดยยีนเท่านั้น”
22
นโยบายลงทุน (งบประมาณ ทรัพยากร เวลา)
ลัทธิความเชื่อนี้อันตราย มันจะนำพาไปสู่การเหยียดผิว/การเหยียดเชื้อชาติ (Racism) ซึ่งยังคงมีให้เห็นในวัฒนธรรมตะวันตก นโยบายลงทุน (งบประมาณ ทรัพยากร เวลา) ไปกับคนที่มียีนดี แทนที่จะสูญเสียไปกับคนที่มียีนไม่ดี
23
ครั้งหนึ่งในอดีต มันทำให้เกิดความคิดกำจัดบางเผ่าพันธุ์ทิ้ง (Eugenics)
a set of beliefs and practices that aims at improving the genetic quality of the human population
24
ในปัจจุบัน เราไม่ต้องการลัทธิความเชื่อนี้ โรงเรียนในตะวันตกมีบทบาทสำคัญ ในการกำจัดการเหยียดผิว เหยียดเชื่อชาติ เหยียดพันธุกรรม
25
เราต้องการความเชื่อใหม่ “ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน”
26
กลับมาเรื่องการเรียนการสอน ...
27
ครูอาจเริ่มต้นด้วยคำถามนี้
30
ความสามารถของคนเราถูกกำหนดมาแล้วโดยยีนใช่หรือไม่
31
นักเรียนคนไหนเห็นด้วย นักเรียนคนไหนไม่เห็นเห็นด้วย
32
ขอเหตุผลประกอบความคิดเห็น
33
แต่ละฝ่ายหาหลักฐานเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของตัวเอง
34
ฝ่ายที่เห็นด้วย
35
ฝ่ายที่เห็นด้วย
36
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
37
การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ระหว่าง 2 มุมมอง
ลักษณะที่ปรากฏเป็นผลมาจากยีนอย่างเดียวหรือไม่ สิ่งแวดล้อมส่งผลต่อลักษณะที่ปรากฏด้วยหรือไม่
38
มุมมองไหนอธิบายเรื่องนี้ได้ดีกว่ากัน
39
Model of Gene-Environment Interaction
40
นักกีฬาที่วิ่งเร็วเป็นผลมาจากยีนอย่างเดียว หรือเป็นผลจากการฝึกซ้อมร่วมด้วย
41
Biological determinism
ถ้าการวิ่งเร็วเป็นผลมาจากยีนอย่างเดียว ฝรั่งกับคนเอเชียทุกคนคงวิ่งไม่ทันคนผิวสี Biological determinism
42
นอกจากยีนแล้ว มันมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โภชนาการ การฝึกซ้อม เทคนิคการวิ่ง แรงจูงใจ ฐานะทางเศรษฐกิจ โอกาสทางสังคม ฯลฯ
43
การเรียนการสอนเรื่องนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.