รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หลักรัฐศาสตร์ PPA 1101 รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2 หัวข้อในการบรรยาย ความหมายของ “รัฐศาสตร์” และ “การเมือง”
ความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์ การจัดการเรียนการสอนสาขาวิชารัฐศาสตร์ในประเทศไทย ขอบข่ายของการศึกษารัฐศาสตร์

3 รัฐศาสตร์ ?

4 ความหมายของรัฐศาสตร์
คำว่า รัฐศาสตร์ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษ Political Science มีนักวิชาการให้ความหมายคำนี้ไว้อย่างหลากหลาย ดังพิจารณาได้ ดังนี้ ฮาร์โรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ให้ความหมายว่า รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงเรื่องของการเมืองเพื่อดูว่า “ใครได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร” เดวิด อีสตัน (David Easton) ได้ให้ความหมายของรัฐศาสตร์ว่า หมายถึง “การศึกษาที่ว่าด้วยการกำหนดคุณค่าให้แก่สังคม ซึ่งการกำหนดดังกล่าวเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป” โรเบิร์ต ดาห์ล (Robert Dahl) กล่าวว่า “รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ว่าด้วยรัฐ”

5 ความหมายของรัฐศาสตร์
จีรโชค (บรรพต) วีระสัย, สุรพล ราชภัณฑารักษ์ และสุรพันธ์ ทับสุวรรณ์ (2546: 45) อธิบายว่า คำว่า รัฐศาสตร์ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Political Science, Politics และGovernment ซึ่งแปลตรงตัวแต่ละคำได้ว่า “รัฐศาสตร์” “การเมือง” และ “การปกครอง” โดยทั้ง 3 คำมีความหมายที่ใช้แทนที่กันได้ ดังนั้น รัฐศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่อง “รัฐ” “การเมือง” และ “การปกครอง” กระมล ทองธรรมชาติ และเชาวนะ ไตรมาส (2546: 10-12) กล่าวว่า รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ “รัฐ” (state) “การเมือง” (Politics) และ“การปกครอง” (Government)

6 ความหมายของรัฐศาสตร์
สรุป รัฐศาสตร์ (Political Science) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ อันเป็นสาขาหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ ที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับรัฐ ว่าด้วยทฤษฎีแห่งรัฐ การวิวัฒนาการ มีกำเนิดมาอย่างไร สถาบันทางการเมืองที่ทำหน้าที่ดำเนินการปกครองมีกลไกไปในทางใด การจัดองค์การต่างๆ ในทางปกครอง รูปแบบของรัฐบาล หรือสถาบันทางการเมืองที่ต้องออกกฎหมายและรักษาการณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเอกชน (Individual) หรือกลุ่มชน (Group) กับรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ

7 การเมือง ?

8 การเมือง อริสโตเติล (Aristotle) ได้ให้ความหมายของการเมืองว่า คือ การใช้อำนาจหน้าที่เพื่อสาธารณประโยชน์และแสดงทัศนะว่า “โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์การเมืองจึงต้องอาศัยอยู่กันเป็นชุมชน” นิคโคโล แมเคียเวลลี่ (Niccolo Machiavelli) นักคิดและนักการเมืองชาวอิตาลี ให้คำนิยามของการเมืองว่า เป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อแสวงหาอำนาจและการใช้อำนาจอย่างมีศิลปะ

9 การเมือง แม๊กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ได้แสดงความเห็นว่า การเมืองเป็นกิจกรรมหรือแนวทางของรัฐ เป็นการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจเ พื่อความสามารถในการแบ่งอำนาจหน้าที่ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหรือระหว่างส่วนย่อยๆ ภายในรัฐนั้น เดวิด อีสตัน (David Easton) นิยามว่า การเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจหน้าที่ในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับสังคม

10 การเมือง กิจกรรมทางการเมือง เกิดจากความขัดแย้งของสมาชิกในสังคม เป็นจุดเริ่มต้นของซึ่งเป็นกระบวนการต่อรองหาข้อยุติ กิจกรรมทางการเมืองต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ (สุพจน์ บุญวิเศษ, 2549: 21) 1. เป็นการต่อสู้ ดิ้นรน แข่งขัน ต่อรอง และประนีประนอม 2. โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินตกลงใจในปัญหาของส่วนรวม 3. ผลของการตัดสินตกลงใจนั้นจะต้องมีผลกระทบต่อส่วนรวม

11 ความแตกต่างระหว่าง “รัฐศาสตร์” กับ “การเมือง”
ความแตกต่างระหว่าง “รัฐศาสตร์” กับ “การเมือง” รัฐศาสตร์ การเมือง มีฐานะเป็นวิชาการหรือศาสตร์อย่างหนึ่งที่ศึกษาการเมืองอย่างมีระบบ ในแนวทฤษฎี เป็นกิจกรรมหรือขบวนการอย่างหนึ่งในสังคมที่มีลักษณะเป็น การปฏิบัติการ มีแนวโน้มที่จะศึกษาการเมืองอย่างปราศจากค่านิยม กิจกรรมทางการเมืองมักจะเกี่ยวข้องกับค่านิยมในสังคม อย่างใกล้ชิด ที่มา: สุพจน์ บุญวิเศษ, 2549: 31.

12 ความเป็นมาของรัฐศาสตร์

13 การแบ่งยุคทางรัฐศาสตร์
1) ยุคเริ่มต้น หรือยุคกรีกโบราณ 2) ยุคจักวรรดิโรมันและยุคกลาง 3) ยุคสมัยใหม่ 4) ยุคปัจจุบัน

14 ยุคเริ่มต้น หรือยุคกรีกโบราณ
รัฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่เก่าแก่มีอายุกว่า 2,500 ปี ส่งผลทำให้ลักษณะของเนื้อหาและความสนใจของสาขาวิชามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของสังคม ดังพิจารณาได้ ดังนี้ (บูฆอรี ยีหมะ, 2552: 7-13) 1) ยุคเริ่มต้น หรือยุคกรีกโบราณ ยุคกรีกโบราณหรือประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสาขาวิชารัฐศาสตร์ เนื้อหาของสาขาวิชาในยุคนี้มีลักษณะเป็นปรัชญาที่มุ่งแสวงหาคำตอบว่า รัฐที่ดีควรมีลักษณะเช่นใด ผู้ปกครองที่ดีควรเป็นอย่างไร รัฐศาสตร์ในยุคนี้จึงมุ่งแสวงหาในสิ่งที่ควรจะเป็น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอยู่จริง โดยยุคสมัยนี้มีนักคิดนักปราชญ์คนสำคัญที่มีอิทธิผลอยู่ 3 ท่าน คือ

15 ยุคเริ่มต้น หรือยุคกรีกโบราณ
โสเครตีส (Socrate, 470/469– 399 B.C.) เป็นคนรูปร่างเตี้ยล่ำ หน้าตาค่อนข้างอัปลักษณ์ และชอบสวมเสื้อผ้าเก่ายับย่น แต่ว่ามีลูกศิษย์และผู้ติดตามมากมายเพื่อคอยฟังคำสอน หรือถ้อยคำสนทนาของเขากับนักปรัชญาคนอื่น วิธีการสนทนาของโสเครตีสเป็นการซักถามหรือไต่ถามด้วยการใช้หลักของเหตุและผลที่เรียกว่า “ตรรกวิทยา” เขาอาจจะเริ่มต้นการสนทนาด้วยเรื่องธรรมดา หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่สำคัญ จากนั้นจะป้อนคำถามที่แฝงซ่อนความหมาย

16 ยุคเริ่มต้น หรือยุคกรีกโบราณ
2. เพลโต (Plato) เป็นศิษย์ของ โสเครตีส ส่วนใหญ่เพลโตจะจดบันทึกคำพูดต่างๆของโสเครติสระหว่างการสนทนากับเหล่านักปราชญ์ - บิดาแห่งปรัชญาการเมือง - ผลงานที่มีชื่อเสียงมาก คือ อุตมรัฐ (Republic) เสนอว่า 1. ผู้ปกครองที่ดีต้องต้องมีลักษณะเป็นราชาปราชญ์ (Philosopher king) 2. รัฐที่ดีที่สุด คือ รัฐที่มีความยุติธรรม 3. การแบ่งหน้าที่ของคนในสังคมตามความเหมาะสม

17 ยุคเริ่มต้น หรือยุคกรีกโบราณ
3. (Aristotle, B.C.) บิดาแห่งรัฐศาสตร์ - ผลงานที่มีชื่อเสียงมาก คือ Politics เสนอว่า 1. มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง 2. รัฐคือองค์กรทางการเมืองสูงสุด 3. หลักการปกครองโดยกฎหมาย 4. การปกครองโดยชนชั้นกลาง

18 ยุคจักวรรดิโรมันและยุคกลาง
2) ยุคจักวรรดิโรมันและยุคกลาง รัฐศาสตร์ในยุคจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ เน้นความสำคัญที่การศึกษาด้านกฎหมาย สาเหตุมาจากการต้องนำกฎหมายไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดระเบียบสังคมของจักรวรรดิที่แผ่ขยายอำนาจไปยังดินแดนต่างๆ และรวบรวมพลเมืองของดินแดนอื่นๆ ผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิภายใต้เขตอำนาจปกครองเดียวกัน

19 ยุคจักวรรดิโรมันและยุคกลาง
พระเจ้าจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian I, 482 –565) สร้างประมวลกฎหมายโรมัน ซึ่งเป็นรากฐานของ ประมวลกฎหมายและ กฎหมายรัฐธรรมนูญ

20 ยุคจักวรรดิโรมันและยุคกลาง
รัฐศาสตร์ในยุคกลางของยุโรปช่วงเวลาหลังจากยุคโรมันก่อนถึงยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ หรือประมาณ คริสตศตวรรษที่ 5-12 รัฐศาสตร์ในยุคนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากคริสตจักร ซึ่งแผ่อำนาจและอิทธิพลเหนือสังคมในทุกๆ ด้าน รวมถึงอาณาจักรด้วย เนื้อหาของสาขาวิชารัฐศาสตร์จึงเน้นคำสอน หรือหลักของคริสต์ศาสนาเป็นบรรทัดฐานอ้างอิง

21 ยุคจักวรรดิโรมันและยุคกลาง
เซนต์ออกัสติน (Saint Augustine, A.D.) เสนอผลงานที่มีชื่อเสียง คือ อาณาจักรของพระเจ้า (City of god) เสนอว่า อาณาจักรของพระเจ้าเหนือกว่าอาณาจักรของโลกมนุษย์ อย่างไรก็ตามพระเจ้ายินยอมให้อาณาจักรบนโลกมนุษย์เกิดขึ้นได้ แต่อาณาจักรของมนุษย์ที่ดีต้องมีความยุติธรรม

22 ยุคสมัยใหม่ 3) ยุคสมัยใหม่ รัฐศาสตร์ยุคสมัยใหม่มีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดทางการเมืองของและผลงานของ นิคโคโล แมเคียเวลลี่ (Niccolo Machiavelli, ) นักปราชญ์การเมืองชาวอิตาลี เนื่องจากแมเคียเวลลี่ เสนอให้ทำความเข้าใจการเมืองที่เป็นอยู่จริงแทนที่การแสวงหาการเมืองที่ควรจะเป็นซึ่งเป็นลักษณะของการศึกษารัฐศาสตร์แบบดั้งเดิม ทำให้แมเคียเวลลี่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของ “รัฐศาสตร์สมัยใหม่”

23 ยุคสมัยใหม่ นิคโคโล แมเคียเวลลี่ ผลงานที่มีชื่อเสียงของคือเจ้าผู้ปกครอง (The Prince) ซึ่งเสนอว่า ผู้ปกครองต้องมีความเข้มแข็งแบบสิงโตและเฉลียวฉลาดแบบสุนัขจิ้งจอก

24 ยุคสมัยใหม่ โธมัส ฮอปส์ (Thomas Hobbes, 1588-1679 A.D.)
เขียนหนังสือ “Leviathan” มีสาระสำคัญตามแนวคิดว่าชีวิตนั้น “มีความ โหดเหี้ยม โหดร้ายทารุณ และสั้นมาก” เพราะความรู้สึกว่าตนเองต้องทำสงครามกับผู้อื่นอยู่อย่างตลอดเวลา มนุษย์จึงต้อง ตกอยู่ในความระทมทุกข์ การทำสัญญา โดยปราศจากความคมของดาบ ย่อมเป็นแค่คำพูดเท่านั้น  การเลือกพระราชามาปกครองจึงดีกว่าการที่จะให้คณะบุคคลมาปกครอง เพราะยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง และพระราชาปกครองจนสิ้นแค่เพียงหมดรัชกาล ในขณะที่สมาชิกในรัฐสภา มีการเคลื่อนไหวแบบไม่ยั่งยืน

25 ยุคสมัยใหม่ จอห์น ล๊อค (John Locke, A.D) สภาวะธรรมชาติ เป็นสภาวะที่มนุษย์ต่างก็ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน เพราะต่างก็ทราบดีว่า หากขืนกระทำลงไปก็จะเป็นโทษแก่ตัวเอง มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติต่างก็มีความเสมอภาคไม่มีผู้ใดมีอำนาจและสิทธิเหนือผู้อื่น จะกระทำอะไรก็ได้ตามแต่ที่เขาเห็นว่าเหมาะสม การดูแลรักษาตนเองถือว่าเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ในสภาวะธรรมชาติ ถ้าไม่เกียจคร้านจนเกินไป ทุกคนสามารถมีทรัพย์สินเป็นส่วนตัวได้อย่างแน่นอน เพราะระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่มนุษย์จะเข้าสู่สังคมการเมือง

26 ยุคสมัยใหม่ ณอง ญาค รุสโซ (Jean- Jacques Rousseau, ) สัญญาประชาคม หมายถึง สัญญาที่แต่ละคนเข้าร่วมกับทุกคนทั้งหมดภายใต้เอกภาพและเจตจำนงอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยเขาต้องการประสานเสรีภาพของบุคคลกับอำนาจรัฐเข้าด้วยกัน “มนุษย์เกิดมาเสรีแต่ทุกหนทุกแห่งอยู่ในพันธนาการ”

27 ยุคสมัยใหม่ ชาร์ลส์ มองเตสกิเออร์ (Charles Montesquieu, ) หนังสือชื่อ"The Spirit of the Law หรือ เจตนารมณ์ของกฎหมาย" แบ่งแยกอำนาจอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย โดยพิจารณาในแง่ของ องค์กรผู้ใช้อำนาจออกเป็น 1.อำนาจนิติบัญญัติ 2.อำนาจบริหาร 3.อำนาจตุลาการ

28 ยุคปัจจุบัน ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioralism)
4) ยุคปัจจุบัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดปรากฏการณ์ทางการเมืองหลายอย่างที่องค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ที่มีอยู่เดิมไม่สามารถให้คำอธิบายได้ ทำให้นักรัฐศาสตร์หันมาทบทวนสิ่งที่ตนเองสนใจศึกษามาโดยตลอด รวมวิธีการศึกษาเพื่อค้นหาความจริง ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioralism) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post -Behavioralism)

29 แนวทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Approach)
ภายหลังที่นักรัฐศาสตร์ได้หันเหความสนใจไปศึกษาการเมืองในเชิงวิเคราะห์มากขึ้น เพื่อจะยกฐานะของวิชารัฐศาสตร์ให้ทัดเทียมกับวิชาสังคมศาสตร์อื่น ๆ พร้อมกับความก้าวหน้าทางระเบียบวิธีการศึกษาหลายอย่างที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ โดยแนวทางการศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมด้านหนึ่ง ได้แก่ การเน้นในการศึกษาพฤติกรรมของผู้ดำเนินการทางการเมืองเป็นสำคัญที่มักจะปฏิเสธแนวทางแบบวิเคราะห์สถาบัน

30 แนวหลังหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-Behavioralism)
นักวิชาการรัฐศาสตร์รุนใหม่ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ไม่ยอมรับระเบียบวิธีการศึกษาแบบพฦติกรรมนิยมที่ยึดมั่นวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากเกินไป โดยปฎิรูปวิชารัฐศาสตร์ หรือเป็นยุคที่เรียกว่า “การปฏิวัติยุคหลังแนวการศึกษาเชิงพฤติกรรม” โดยสาระสำคัญในแนวคิดของนักรัฐศาสตร์กลุ่มนี้คือเห็นว่ายิ่งรัฐศาสตร์ใช้วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับการแยกค่านิยมออกจากการเมืองมากเท่าใด นักรัฐศาสตร์ก็จะยิ่งห่างไกลจากการเมืองมากขึ้นเท่านั้น และจะทำให้นักรัฐศาสตร์มุ่งแต่ความสนใจที่จะศึกษาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มากกว่าที่จะมองปัญหาสำคัญ ๆ ทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ นักรัฐศาสตร์จึงต้องให้ความสำคัญต่อค่านิยมในการพิจารณาตัดสินเรื่องการเมืองการปกครอง อันแตกต่างไปจากการศึกษาเชิงพฤติกรรมนิยมที่มุ่งแยกส่วนค่านิยมออกจากข้อเท็จจริง

31 การจัดการเรียนการสอน สาขาวิชารัฐศาสตร์ ในประเทศไทย
การจัดการเรียนการสอน สาขาวิชารัฐศาสตร์ ในประเทศไทย

32 การจัดการเรียนการสอน สาขาวิชารัฐศาสตร์ในประเทศไทย
พ.ศ โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน (ร.5) พ.ศ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง พ.ศ โรงเรียนข้าราชการพลเรือน พ.ศ คณะรัฏฐประศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (ร.6) พ.ศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (ร.7) พ.ศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยอื่นๆ

33 ขอบข่ายของวิชารัฐศาสตร์

34 ขอบข่ายของการศึกษารัฐศาสตร์
บูฆอรี ยีหมะ (2552) ได้สรุปขอบข่ายของสาขาวิชารัฐศาสตร์ ออกเป็นสาขาต่างๆ ดังนี้ 1. สาขาปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) 2. สาขาทฤษฎีการเมือง (Political Theory) 3. สาขากฎหมายมหาชน (Public Law) 4. สาขาการเมืองการปกครอง (Government) 5. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) 6. สาขาการเมืองเปรียบเทียบ (Comparative Politics) 7. สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relation)

35 สาขาปรัชญาการเมือง เป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ ถือได้ว่าเป็นแนวทางที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากปรัชญาสมัยกรีกโบราณ สาระสำคัญของแนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้เป็นการพิจารณาถึงรูปแบบการปกครองที่ดี มีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งที่จะแสวงหาแนวทางการปรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้ใกล้เคียงสอดคล้องกับคุณค่าหรืออุดมคติที่ดีงามตามทัศนะของนักปรัชญาการเมือง

36 สาขาทฤษฎีการเมือง เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นศึกษาแสวงหาข้อสรุปถึงปรากฎการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว นำไปสู่การสร้างทฤษฎีเพื่อนำไปอธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นและทำนายเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ทฤษฎีว่าด้วยการกำเนิดรัฐ ซึ่งมีทฤฎีแยกย่อยแตกออกไป หลายทฤษฎี ทฤฎีนี้พยายามอธิบายว่ารัฐเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์แต่ละ สังคมอย่างไร

37 สาขากฎหมายมหาชน เป็นการศึกษาถึงรากฐานของรัฐ รวมทั้งปัญหาการแบ่งแยกอำนาจค้นคว้าความสัมพันธ์ของกฎหมายสูงสุดของรัฐ และปัญหาการบังคับให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย การพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของระบบการศาลยุติธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างจารีตประเพณีกับกฎหมาย

38 สาขาการเมืองการปกครอง
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสถาบันการเมืองการปกครองต่าง ๆ ทั้งในสังคม เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเมือง ตลอดจนในส่วนของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองและการออกเสียงเลือกตั้ง

39 สาขารัฐประศาสนศาสตร์
สาขานี้มุ่งศึกษาถึง องค์กรภาครัฐหรือระบบราชการ กระบวนการในการบริหารงานในระบบราชการ การนำนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากภาครัฐไปปฎิบัติ ให้ผู้ศึกษาทราบกฎเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนเทคนิค วิธีการต่าง ๆ ในการบริหารงานราชการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การนำเอาแนวคิดและวัฒนธรรมการทำงานของภาคธุรกิจมาปรับใช้ในการให้บริการของภาครัฐ

40 สาขาการเมืองเปรียบเทียบ
เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการเปรียบเทียบประเด็นต่าง ๆ ในทางการเมืองการปกครองกับสังคมอื่น ๆ ทั้งในสังคมที่พัฒนาแล้ว กำลังพัฒนา และด้อยพัฒนา เช่น เปรียบเทียบประเด็นระหว่างรัฐบาล ระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ การเลือกตั้งทหารกับการเมืองเป็นต้น

41 สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เป็นการศึกษาที่เน้นพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนโยบาย หลักการและวิธีการในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ แขนงวิชาที่รวมอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ นโยบายต่างประเทศ การเมืองและการบริหารระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศและการดำเนินการทางการฑูต

42 วิชาที่เกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์
รัฐศาสตร์กับวิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์กับวิชาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์กับวิชาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์กับวิชาภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์กับวิชาจิตวิทยา รัฐศาสตร์กับปรัชญาและจริยศาสตร์ รัฐศาสตร์กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

43 ขอบข่ายของการศึกษารัฐศาสตร์
วิชา PPA รัฐศาสตร์ทั่วไป นี้แบ่งขอบข่ายรัฐศาสตร์เป็น 6 ขอบข่าย ดังนี้ 1. ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีการเมือง 2. การเมืองการปกครอง 3. พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ 4. การเมืองเปรียบเทียบ 5. การพัฒนาทางการเมือง 6. รัฐประศาสนศาสตร์ 7. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


ดาวน์โหลด ppt รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google