งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิริมณี บรรจง

2 1. รักลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข
2. เข้าใจว่าการเรียนรู้ของลูกเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิและการเรียนรู้ค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง 3.

3 หน้าที่ของพ่อแม่ (ผู้ปกครอง)
หน้าที่ของพ่อแม่ (ผู้ปกครอง) การเลี้ยงดูลูกให้เจริญเติบโตในสังคม (Child Rearing) เด็กควรได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ด้วยความรักความอบอุ่นไม่ว่าพ่อแม่จะยากจนหรือร่ำรวย การเลี้ยงดูจากสถาบันอื่น เช่น สถานสงเคราะห์ โรงพยาบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ไม่สามารถจะเลี้ยงดูให้ดีเท่าครอบครัว พ่อแม่ของเด็กเอง เพราะการเลี้ยงดูเด็ก เด็กต้องการการเลี้ยงดูทางร่างกายและจิตใจ จากประสบการณ์เด็กในสถานสงเคราะห์จะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กที่อยู่กับพ่อแม่ที่แท้จริง เช่น พูดช้า การปรับตัวทางอารมณ์ช้า การเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตขึ้นในสังคมอย่างสมบูรณ์ ต้องให้เด็กได้รับการ ตอบสนองความต้องการขั้นมูลฐานอย่างเพียงพอ ซึ่งได้แก่ 1. การตอบสนองความต้องการทางร่างกาย คือการให้อาหารตามหลักโภชนาการ การนอนหลับพักผ่อน การจัดหาเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม การออกกำลังกาย การฝึกหัด การขับถ่าย และการป้องกันโรคและอุบัติเหตุ 2. การตอบสนองความต้องการทางจิตวิทยา คือ ความรัก ความอบอุ่น การยอมรับว่าเด็กคือส่วนสำคัญของครอบครัว การเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง 3. การอบรมและการให้การศึกษาเบื้องต้น 4. การอบรมให้เด็กรู้จักระเบียบสังคม ประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อเด็กจะสามารถปรับตัวในสังคมได้ดี โดยวิธีการดังนี้การปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีให้แก่เด็ก คือ การมีสุขภาพอนามัยดี มีระเบียบวินัย มีชีวิตที่เรียบง่าย มีความรับผิดชอบ สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้สดี และกล้าแสดงความคิดเห็น รู้จักการแก้ปัญหา 5. การอบรมมารยาทของสังคม คือ การฝึกมารยาทในการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับเวลาสถานที่ และมารยาทในการรับประทานอาหาร

4 6. การส่งเสริมความสนใจของลูก จัดหาสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ลูกมีความสนใจ เช่น อุปกรณ์ระบายสี วาดรูป ถ้าลูกสนใจทางด้านศิลปะ หนังสือนิทาน เครื่องเล่นที่เหมาะสมพาไปทัศนศึกษา 7. การส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาต่างๆ ส่งเสริมให้ลูกมีความเชื่อมั่นในตนเอง ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ลูกได้มีโอกาสทำในสิ่งที่ตนสนใจ ส่งเสริมความรับผิดชอบในการทำงานต่างๆ ส่งเสริมให้ลูกรู้จักการสังเกต และสนใจสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ส่งเสริมทักษะทางภาษาเพื่อให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ทางภาษาต่อไป 8. การถ่ายทอดวัฒนธรรมทางสังคม 9. การส่งเสริม อบรมลูกให้เข้าใจในด้านวัฒนธรรมของชาติ ในการรักษายกย่องมรดกทางวัฒนธรรมและประเพณีของไทยเพื่อให้เด็กได้รู้จักคุณค่ามรดกวัฒนธรรม

5 ความสำคัญของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู
ตั้งเป้าหมายในการอบรมเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ รู้จิตวิทยาการอบรมเลี้ยงดูลูก

6 รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู
วิธีที่ 1 การอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย การอบรมเลี้ยงดูลูกแบบให้ความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตยเป็นการอบรมเลี้ยงดูลูกโดยใช้คาถา 3 บท ซึ่งได้แก่ ความรัก ความเอาใจใส่ และความเข้าใจ ในการ อบรมเลี้ยงดูลูก ต้องใช้เหตุผลกับลูกให้ลูกรู้สึกว่าตนได้รับการปฏิบัติด้านความยุติธรรม การอบรมเลี้ยงดูพ่อแม่ทุกคนมีความรักให้ลูกแต่ลูกต้องการทั้งความรัก ความอบอุ่น ความอาทรห่วงใย ไม่ใช่เพียงแต่ความรักอย่างเดียว วิธีการเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญแก่ลูกโดยถือว่าลูกคือส่วนที่มีความสำคัญต่อครอบครัวพ่อแม่ให้ในสิ่งที่ลูกต้องการจริงๆ จัดประสบการณ์ต่างๆ ให้ตรงกับการพัฒนาการของลูก ตามความเหมาะสมกับความสามารถทางกาย อารมณ์ สังคม และทักษะของลูก โดยไม่บังคับให้ลูกทำในสิ่งที่ลูกไม่อยากทำหรือไม่สามารถจะทำได้ ให้การยอมรับและยกย่อง โดยสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้ลูก ให้อิสระแก่ลูกในการกระทำกิจกรรมต่างๆ เอาใจใส่และช่วยเหลือ แนะนำลูกตามความเหมาะสม ยอมรับความสามารถและให้สิทธิลูกในการตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเอง พ่อแม่คอยให้กำลังใจคำปรึกษา ความมั่นคงปลอดภัยแก่ลูก ตลอดจนแนะแนวทางการดำเนินชีวิตในแต่ละวัยแก่ลูก เพื่อลูกจะได้เกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

7 หลักการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่จะทำได้ คือ
หลักการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่จะทำได้ คือ 1. พ่อแม่ให้สิทธิแก่ลูกในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวให้เขาเป็นตัวเองให้ มากที่สุด พ่อแม่จะต้องไม่คิดแทนลูก ฝึกให้เขาได้คิดด้วยตนเอง และรับผิดขอบต่อตนเอง สามารถเลือกใช้ชีวิตในสังคมในอนาคต เมื่อเขาเติบโตขึ้นได้อย่างเหมาะสม 2. พ่อแม่มีหน้าที่ให้สิ่งต่างๆ ตรงกับพัฒนาการของตามความเหมาะสม และความ สามารถทางร่ายกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาและทักษะของลูก ไม่บังคับให้เด็กยังไม่พร้อมที่จะทำได้ 3. พ่อแม่ควรต้องเอาใจใส่ต่อความคิดเห็นของลูก สนใจกิจกรรมต่างๆ ของลูกให้ คำแนะนำ ส่งเสริมและเฝ้าดูผลสำเร็จในงานของลูกด้วยความตั้งใจและอดทน เมื่อลูกประสบความสำเร็จ พ่อแม่ควรแสดงความดีใจอย่างชัดแจ้ง และการให้แรงเสริมด้วยดารชมเชยหรือการให้รางวัล (อาจจะเป็นการกอด จูบ ลูบศีรษะ) เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง และมีกำลังใจในการทำงานอย่างอื่นต่อไป

8 4. พ่อแม่ควรมีเวลาใกล้ชิดลูก และทำตัวเป็นเพื่อนที่ดีของลูก ให้คำแนะนำมาก กว่าการออกคำสั่งให้ทำ ควรเลี้ยงดูลูกแบบประชาธิปไตยไม่ใช่เผด็จการ เพราะจะช่วยให้เด็กได้เติบโตอย่างมีอิสระตามพัฒนาการขั้นต่างๆ ของตนอย่างเต็มที่ ดังผลงานวิจัยของ สุกัญญา กุลอึ้ง : 2522 พบว่าการเลี้ยงดูแบบให้ประชาธิปไตยแก่เด็กนี้ เด็กจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการแสดงออกมากกว่าการเลี้ยงดูแบบอื่น 5. พ่อแม่ควรใช้แรงเสริมเป็นตัวสร้างบุคลิกภาพของเด็กตามที่ต้องการจะให้เด็ก เป็นพ่อแม่จะต้องเป็นแบบอย่างโดยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ลูกเห็นอย่างเด่นชัด เช่น การแสดงถึงความเป็นคนอดทนในการทำงาน ความมีระเบียบวินัย มีเหตุผล และมีอารมณ์ที่มั่นคง เพื่อลูกจะได้ยึดเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป 6. พ่อแม่ควรต้องส่งเสริมความเป็นคนมีสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ลูก โดยให้อิสระแก่ ลูกควบคู่ไปกับการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทำให้ทั้งสองสิ่งมีความสมดุลกันขึ้นในตัว ของลูก เช่น ยอมให้ลูกมรสิทธิแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัวในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ในขณะเดียวกันก็ฝึกให้ลูกรู้จักหน้าที่และมีความรับผิดชอบ เช่น ให้รู้จักช่วยตนเอง ในปัญหาทั่วไป ได้แก่ การกิน การนอน การขับถ่าย การเล่น ฯลฯ

9 7. พ่อแม่ควรจะใช้วิธีการลงโทษให้เหมาะสม การทำโทษยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ เด็ก การลงโทษทางร่างกายยังไม่ใช่เป็นสิ่งที่ล้าสมัย หรือใช้ไม่ได้ ตามทฤษฎีของโคเบอก์ (Kolhberg) กล่าวไว้ว่า ในเด็กอายุ 1-7 ปี การทำโทษทางกายยังใช้ได้ดี เพราะเด็กในวัยกำลังเกิดการเรียนรู้ โดยหลีกเลี่ยงการถูกทำโทษทางร่างกาย การตีเด็ก เป็นการตีเพื่อ สั่งสอนไม่ใช่ตีเพราะความโกรธหรือสาเหตุอื่น ฉะนั้นการตีเด็กเพื่อลงโทษจึงไม่ผิดและ ใช้ได้ดีที่สุดสำหรับการพัฒนาจริยธรรมให้แก่เด็กในวัยนี้ แต่อย่างไรก็ตามการลงโทษเด็กควรมีหลักการที่ถูกต้องด้วย จึงจะทำให้การลงโทษนั้นเกิดผลดีแก่ตัวเด็กและการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ จึงจะทำให้การลงโทษนั้นเกิดผลดีแก่ตัวเด็กและการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ 8. การฝึกวินัยให้ลูกเป็นสิ่งที่จำเป็น ควรเริ่มทำในเมื่อลูกโตพอที่เข้าใจเหตุผลแล้ว (ประมาณ 2 – 3 ปี) ไม่ควรยัดเยียดให้เด็กมีระเบียบวินัยที่มากเกินไปในเมื่อเด็กยังไม่พร้อม เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็กมากกว่าผลดี จะทำให้เด็กกดดันต่อต้านและเอาใจใส่ตัวเองไม่คำนึงถึงผู้อื่น 9. พ่อแม่ควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ลูกเกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิด ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่างๆ ให้เขาได้เรียนรู้ทุกอย่างด้วยตัวของเขาเองเป็นหลัก โดยพ่อแม่เป็นเพียงผู้ให้ความช่วยเหลือและคอยแนะนำเท่านั้น 10. พ่อแม่ควรช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับเด็กวัยเดียวกัน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงการปรับตัวเองให้เข้ากับสังคม และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ในภายหน้า

10 ผลของการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย เด็กจะมีลักษณะดังนี้
จะเป็นคนเปิดเผยเป็นตัวของตัวเอง มีเหตุผล มีความรับผิดชอบ มีอารมณ์ขัน ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี เรียนรู้อะไรๆ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับตัวได้ดีและกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ สามารถช่วยเหลือตัวเองและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีคุณลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความเข้าใจตนเองสูงและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า รู้จักใช้เหตุผล เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น

11 วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก
วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก เป็นการอบรมเลี้ยงดูที่พ่อแม่เรียกร้องเอาจากลูก โดยพ่อแม่มีความต้องการเคี่ยวเข็ญให้ทำตามที่พ่อแม่หวังไว้ พ่อแม่จะกำหนดวิถีชีวิตให้กับลูก ลูกต้องทำตามจุดประสงค์หรือความพอใจของพ่อแม่ ลูกมีหน้าที่ทำตามทุกอย่างแม้ว่าจะไม่ชอบก็ตาม วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้ พ่อแม่มักจะทำดังนี้ พ่อแม่มักเคี่ยวเข็ญให้ลูกทำตามสิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าดีเท่านั้น ลูกจะต้องพบแต่คำสั่งที่ว่า ต้องทำอย่างนี้ ต้องเล่นแบบนี้ พ่อแม่มักจะดุด่าว่ากล่าวเมื่อเวลาที่ลูกอธิบายหรือแสดงเหตุผลคัดค้าน ลูกต้องทำตามความพอใจของพ่อแม่ทุกครั้ง พ่อแม่กำหนดรายการอาหารทุกมื้อแก่ลูก และลูกต้องกินหมดทุกครั้ง พ่อแม่จะเป็นกำหนดวิธีการดำรงชีวิตตั่งแต่เกิด ไม่ว่าจะเป็นการกิน การเล่น การเที่ยว ทุกประการขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพ่อแม่

12 ผลของการเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก เด็กจะมีลักษณะดังนี้
ผลของการเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก เด็กจะมีลักษณะดังนี้ ลูกจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ ปรับตัวกับสังคมภายนอกได้ยาก ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ไม่สามารถค้นพบความสามารถของตนเอง เด็กบางคนไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต เป็นคนว่านอนสอนง่าย เชื่อฟังผู้ใหญ่ทุกอย่าง ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง ขาดความริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบพึ่งพาผู้ใหญ่

13 วิธีที่ 3 การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย
วิธีที่ 3 การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย เป็นการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ไม่สนใจที่จะอบรมสอนลูก ปล่อยให้ลูกทำตามอำเภอใจ ไม่มีใครคอยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง และเหมาะสมให้ ไม่สนใจความเป็นอยู่ ไม่ดูแลยามเจ็บไข้ ให้ความรับแบบลำเอียง หรือดุด่าลงโทษแรงเกิดเหตุ บางครั้งก็ปล่อยหน้าที่เลี้ยงดูให้เป็นของคนอื่น เลี้ยงดูแบบตามมีตามเกิด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว หรือเป็นลูกที่เกิดมาโดยพ่อแม่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดหรือเป็นครอบครัวแตกแยก วิธีการ อบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่มักจะทำ ไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของลูก ลูกจะเล่นอะไรอย่างไร พ่อแม่ไม่เคยเอาใจใส่ เวลาพ่อแม่อารมณ์ไม่ดี มักจะระบายออกด้วยดารทำโทษเด็กเสมอ เวลาลูกซักถาม พ่อแม่มักจะพูดว่า “อย่ามากวนใจ ไปให้พ้น” พ่อแม่มักลืม หรือไม่สนใจกับคำสัญญาหรือข้อเรียกร้องของลูก พ่อแม่ชอบพูดขู่ลูกเสมอเวลาลูกเล่นซน ถ้าเด็กไม่กลัวก็จะตีลูกอย่างรุนแรง พ่อแม่จะปล่อยให้ลูกทำอะไรต่างๆ ตามใจชอบ ไม่คอยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมให้ พ่อแม่มักจะรักลูกไม่เท่ากัน โดยปฏิบัติตามกับลูกอย่างลำเอียง

14 ผลของการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย เด็กจะมีลักษณะดังนี้
ผลของการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย เด็กจะมีลักษณะดังนี้ ลูกจะมีลักษณะก้าวร้าว ชอบทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่นบ่อยๆ มีทัศนคติไม่ดีต่อพ่อแม่ บางครั้งถึงกับเกลียดชังพ่อแม่ตัวเอง ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ ลูกจะมีอาการเซื่องซึม ไม่สามารถปรับตัวได้ง่าย มีความตึงเครียดทางอารมณ์ กระวนกระวายใจอยู่เสมอ มีอารมณ์ไม่มั่นคง ไม่มีเหตุผล ชอบเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นเสมอ เพราะเด็กขาดความรักความอบอุ่น มักจะเปิดปัญหาทางสุขภาพจิต ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบนี้มักจะพบว่ายุวอาชญากรส่วนใหญ่มีพื้นฐานความผิดด้วยการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้

15 วิธีที่ 4 การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมเกินไป
วิธีที่ 4 การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมเกินไป เป็นการอบรมเลี้ยงดูที่พ่อแม่คอยปกป้องดูแลลูกมากเกินไปไม่ให้ลูกได้รับความลำบากหรืออันตราย คอยให้ความช่วยเหลือลูกทุกอย่างจนลูกไม่รู้จักวิธีช่วยเหลือตนเอง ไม่รู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีเรื่องอะไรขัดข้องพ่อแม่จะ เป็นคนช่วยเหลือให้หมดโดยลูกไม่ต้องทำอะไร หรือจะเรียกว่าเป็นการถนอมไข่ไว้ในหิน เอาใจใส่ลูกอย่างไม่ให้คลาดสายตาคอยให้ความช่วยเหลือลูกทุกฝีก้าว วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่มักจะทำ ดังนี้ พ่อแม่คอยแนะนำช่วยเหลือลูกตลอดเวลา ไม่ยอมให้ลูกเล่นกับเพื่อน ๆ เพราะกลัวลูกจะถูกรังแก ไม่ยอมให้เด็กกินอาหารเองเพราะกลัวลูกทำเลอะเทอะ พ่อแม่มักจะช่วยลูกทำการบ้านเสมอ ไม่ยอมให้ลูกกินอาหารหรือขนม จนกว่าพ่อแม่จะได้ชิมเสียก่อน เมื่อลูกเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย พ่อแม่จะวิตกกังวลมาก และให้การรักษาเกินความจำเป็น พ่อแม่มักไม่ยอมให้ลูกได้ช่วยตนเองในการทำงานต่างๆ

16 ผลของการเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป เด็กมีลักษณะดังนี้
ผลของการเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป เด็กมีลักษณะดังนี้ เป็นเด็กที่เอาแต่ใจตนเอง ขาดความริเริ่มสร้างสรรค์ และความเชื่อมั่นในตนเอง ต้องคอยพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ พึ่งตนเองไม่ได้ ไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้วยตนเอง ปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ยาก เด็กมีแนวโน้ม สุขภาพจิตเสีย และมีอาการทางประสาท

17 การอบรมเลี้ยงดูลูกในวัยเด็กเล็กในสังคมปัจจุบันของพ่อแม่
ในการอบรมเลี้ยงดูลูกนั้น พ่อแม่มักมีเป้าหมายใหญ่ ๆ ที่ต้องการให้ลูกเป็นคนดี มีบุคลิกภาพที่ดี มีความสามารถในการดำรงชีวิตที่ดี และอื่นๆ ซึ่งเป้าหมายเหลานี้จะขึ้นอยู่กับพื้นฐานของการฝึกฝนอบรมลูกในวัยเด็กเล็ก เพราะพัฒนาการในวัยเด็กจะเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อบุคลิกภาพ นิสัย และลักษณะอื่นๆ ของตัวเด็กเมื่อเติบโตเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่โดยทั่วไปพ่อแม่มุ่งที่จะฝึกฝนอบรมลูกในประเด็นต่างๆ ดังนี้ เป็นคนที่มีความเป็นระเบียบและความรับผิดชอบ เป็นคนที่มีความขยันหมั่นเพียร เป็นคนที่รู้จักประหยัด เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ เป็นคนที่มีเหตุผล เป็นคนที่มีความประพฤติดีมีจรรยามารยาทและรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี อันดีงาม และอื่นๆ

18 การฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีความเป็นระเบียบและความรับผิดชอบ
ฝึกให้แต่งกายให้เรียบร้อย ถูกแบบและกาลเทศะ กำหนดเวลากิจกรรมและปฏิบัติงานต่างๆ ตามตารางเวลาที่เหมาะสมตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ฝึกให้รู้จักการทำงานอย่างมีขั้นตอน และรับผิดชอบต่องานที่ทำจนแล้วเสร็จ โดยไม่ทอดทิ้งงาน ฝึกให้เก็บของตกหล่นทุกครั้ง เวลาหยิบของจากที่ใด ต้องให้นำมาเก็บไว้ที่เดิมเมื่อใช้เสร็จแล้ว ฝึกเก็บของให้ถูกต้องในที่ที่ของนั้นควรจะอยู่ ฝึกให้ดูแลสิ่งของต่างๆ ของตนเอง เช่น เสื้อผ้า ของเล่น เก็บและรักษาให้อยู่ในที่ที่ถูกต้องและเรียบร้อยเสมอ

19 การฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีความขยันหมั่นเพียร
ฝึกให้ลูกทำงานโดยการกำหนดงานให้ทำ เช่น งานภายในบ้าน เป็นต้น ฝึกทำงานให้เป็นเวลา เช่น กำหนดเวลาเล่น เวลาทำการบ้าน เป็นต้น หัดให้ทำงานอดิเรกอื่นๆ ที่ลูกให้ความสนใจ เมื่ออยู่ที่บ้านหรือมีเวลาว่าง ฝึกให้ลูกรู้จักจุดมุ่งหมายของงานและการทำงาน และหัดให้ลูกทำงาน โดยมี จุดมุ่งหมายหลายๆ อย่าง โดยพ่อแม่ต้องช่วยตั้งจุดมุ่งหมายไว้เป็นตัวอย่าง เช่น ช่วยกวาดบ้าน โดยทำให้บ้านสะอาด เป็นการช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน แบ่งเบาภาระของพ่อแม่ เป็นต้น ฝึกให้ลูกทำงานร่วมกับผู้อื่น

20 การฝึกให้ลูกเป็นคนรู้จักประหยัด
ฝึกให้ลูกรู้จักการเก็บออมเงิน และรู้จักการใช้เงินให้เป็นประโยชน์และ เหมาะสม ฝึกให้รู้จักทำของเล่นจากสิ่งของที่มีอยู่แล้วและไม่ได้ใช้ประโยชน์อื่นใด ฝึกให้รู้จักซ่อมและรักษาของใช้ให้ใช้ได้อยู่เสมอ ฝึกให้รู้จักถนอมของใช้และของเล่น ตลอดจนวิธีการใช้ของต่างๆ ให้ถูกทางและเหมาะสม ฝึกให้รู้จักใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์ ฝึกให้รู้จักใช้ ไฟ น้ำ ตลอดจนของสิ้นเปลืองต่างๆ อย่างประหยัด

21 การฝึกให้ลูกเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์
ฝึกให้แสดงความคิดเห็นในกิจการภายในบ้านและส่วนตัว ไม่ควรใช้อารมณ์ ดุหรือลงโทษ ในกรณีที่ลูกแสดงความคิดเห็น พูดความจริงเพื่อบอกเล่า แม้ว่าเป็นเรื่องเสียหาย ชี้แจงให้ลูกทราบถึงโทษของความไม่ซื่อสัตย์ เคารพสิทธิของลูกในการแสดงออก ชมเชย เมื่อลูกทำความดี โดยเฉพาะความซื่อสัตย์ เมื่อเก็บของตกซึ่งไม่ใช่ของตนได้ และนำส่งคืนเจ้าของ

22 การฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีเหตุผล
ชี้แจงและย้ำเหตุผล ในกรณีที่ส่งเสริมให้กระทำและเมื่อห้ามกระทำ ให้ลูกแสดงเหตุผลต่อพ่อแม่ ในการที่จะทำหรือไม่ทำสิ่งใดๆ ฝึกให้ลูกช่วยกันและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของครอบครัว และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในครอบครัว เมื่อลูกทำความผิด ต้องให้บอกสาเหตุหรือเหตุผลทุกครั้ง

23 การฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีความประพฤติดีมีจรรยามารยาและ
รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ฝึกลูกให้แสดงความเคารพ บิดามารดาและผู้ใหญ่ การพูดและการแสดงกิริยาท่าทางของพ่อแม่ ควรเป็นไปตามแบบอย่างและมารยาทที่ดี เพื่อลูกจะได้ดูเป็นแบบอย่าง ฝึกลูกให้มีการแต่งกาย การกินอยู่ อย่างง่ายๆ แต่เหมาะสมตามขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมไทย ฝึกให้ลูกได้มีโอกาสร่วมต้อนรับแขก และร่วมสังคมในโอกาสอันควร

24 วิธีการฝึกอบรมเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนมีระเบียบและความรับผิดชอบ
การฝึกอบรมลูกให้เป็นคนมีระเบียบและความรับผิดชอบในเด็กเล็กๆ นั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการสร้างสมขึ้นมา โดยมากจะเริ่มต้นจากตัวพ่อแม่เอง อาจสรุปได้เป็นหลักๆ ดังนี้ กิจกรรมของพ่อแม่จะเป็นตัวกรอบชี้นำตลอดจนสิ่งกระตุ้นต่อพฤติกรรมของลูกในประเด็นนี้อย่างมาก ลูกในวัยเด็กเล็กมักจะต้องการใช้เวลากับพ่อแม่ เนื่องจากมีความสนิทสนมและคุ้นเคยเสมือนหนึ่งเพื่อนเล่นมากที่สุด หากพ่อแม่เป็นคนมีระเบียบวินัยก็มักจะใช้เวลาว่างจัดระเบียบสิ่งของภายในบ้าน ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกซึ่งต้องการใกล้ชิดพ่อแม่อยู่แล้ว ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้ตามความสามารถที่ตนมีอยู่ เป็นการปลูกฝังและความ คุ้นเคยในการจัดระเบียบจากสิ่งง่ายๆ อย่างช้าๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นคนมีระเบียบในที่สุด

25 2. กิจกรรมหรือปรากฏการณ์ภายในบ้านจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการหล่อหลอมหรือปลูกฝัง ความมีระเบียบและความรับผิดชอบในตัวเด็กเล็กมากที่สุดหากพ่อแม่มีกำหนดเวลากิจวัตรประจำวันเป็นหลักที่ค่อนข้างแน่นอนและ ชัดเจน เช่น เวลาทานอาหารมื้อต่างๆ เวลาทำงาน เวลาพักผ่อน เวลาเล่น หรือเวลาเข้านอน เป็นต้น ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำจากการสัมผัสหรือรับรู้ผ่านกิจกรรมร่วม สามารถสะสมความรู้สึกมีระเบียบและความรับผิดชอบต่อเด็กเล็กได้อย่างช้าๆ ต่อเนื่องและฝังลึกได้หากพ่อแม่ตลอดจนผู้ที่แวดล้อมมี กิจวัตรและกิจกรรมประจำวันที่ไม่แน่นอนจนกระทั่งลูกสามารถสัมผัสและรับรู้ได้ ก็ยากที่จะบอกให้ลูกเป็นคนมีระเบียบและรับผิดชอบได้

26 3. การสร้างความรับผิดชอบในตัวลูกนั้น พ่อแม่ควรเน้นที่จะสร้างความรู้สึกเป็นภาระในการที่จะต้องกระทำสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นในตัวลูก โดยวาจา ความรู้สึก ตลอดจนการกระทำ เช่น หากพ่อแม่รับปากว่าจะซื้อหรือกระทำสิ่งใดให้ลูก ก็ควรได้กระทำให้เป็นไปตามนั้นเสมอ หากมีอุปสรรคหรือไม่เหมาะสมจนเกินไปที่จะกระทำขึ้นมา ก็ควรมีการชี้แจงให้ลูกได้เข้าใจและยอมรับ ซึ่งลูกจะได้แย้งบ้างก็ควรอดทน อันจะเป็นการฝึกความมีเหตุผลไปด้วย ในบางสิ่งที่พ่อแม่สมควรกระทำให้ลูก โดยลูกไม่ต้องร้องขอหลังจากที่ได้กระทำไปแล้ว ควรมีการแสดงออกให้ลูกได้รับรู้ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพ่อแม่ต่อลูก และนำเป็นตัวอย่างในการบอกกล่าวว่าลูกก็ควรมีหน้าที่รับผิดชอบต่อพ่อแม่บางประการด้วยเช่นกัน ในภาระบางประการที่ลูกสมควรกระทำนั้น ควรได้พยายามและให้เวลาในการ ชี้แจงให้ลูกเข้าใจว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของลูกที่ต้องกระทำเอง เช่น การทำการบ้านและฝึกฝนตนเองควรเน้นให้ลูกได้รู้สึกขึ้นมาว่าเป็นหน้าที่ของตน ไม่ใช่ของพ่อแม่แน่นอนที่สุดว่าไม่สามารถสร้างด้วยการบอกกล่าวในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรจะมีความอดทนและให้เวลานอกจากนี้ควรชักนำลูกให้มีความสนุกสนานและความสนใจในระหว่างการปฏิบัติภารกิจนั้นๆ เท่าที่โอกาสจะอำนวย อันจะเป็นสิ่งจูงใจให้ลูกปฏิบัติ

27 วิธีการฝึกอบรมเลี้ยงดูให้ลูกมีความขยันหมั่นเพียร
เด็กในวัยเด็กเล็ก เด็กมักจะมีความตื่นตัวค่อนข้างสูง (active) ที่จะมีกิจกรรมตลอดเวลา พ่อแม่ควรมีการกระทำเป็นการตอบสนองความตื่นตัวที่มีอยู่ใน ตัวลูก ชักจูงให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น เล่นสร้างบ้าน สร้างของเล่น เป็นต้น พ่อแม่ควรสามารถชี้ให้ลูกได้เล็งเห็นประโยชน์ของกิจกรรมเหล่านั้นได้ เช่น บ้านเอาไว้อยู่อาศัย รถยนต์เอาไว้ไปเที่ยวและทำงาน ยานอวกาศเอาไว้ไปเที่ยวดวงพระจันทร์ เป็นต้น เป็นการสร้างจินตนภาพในตัวเด็กให้มีจุดมุ่งหมายในกิจกรรมอันจะส่งเสริมให้เด็กมีกำลังใจและมุมานะในการทำกิจกรรมต่างๆ

28 2. พ่อแม่มักจะต้องมีงานในครอบครัวทำอยู่เสมอ เช่น ซ่อมบ้าน ซ่อมอุปกรณ์ภายในบ้าน ซ่อมรถยนต์ ทำความสะอาดบ้าน ซักผ้า เป็นต้น ในวัยเด็กเล็กมักต้องการผู้เล่นด้วยและอยากรู้อยากเห็นในสิ่งแปลกใหม่เสมอ หากพ่อแม่ได้จัดโอกาสให้ลูกเข้ามาสัมผัสตลอดจนการชี้แจงให้ลูกได้รับทราบว่าทำไมจะต้องทำงานต่างๆ นอกจากความอบอุ่นและความภาคภูมิใจในการที่ได้ใกล้ชิดและช่วยเหลือพ่อแม่ ลูกยังจะได้รู้สึกว่าได้กระทำสิ่งที่มีประโยชน์ละมีคุณค่าอันจะเป็นการสร้างความขยันหมั่นเพียรในตัวลูก

29 3. พ่อแม่จะต้องคอยศึกษาและดูแลลูกอย่างสม่ำเสมอ ควรทราบความเคลื่อนไหวในกิจกรรมของลูกและคอยให้กำลังใจต่อลูกและคอยให้กำลังใจต่อลูกในการทำกิจกรรมต่างๆ ในยามที่ลูกมีอุปสรรคในการทำกิจกรรมหนึ่งๆ ควรได้ให้คำชี้แนะและเพื่อให้กำลังใจเป็นหลัก เพื่อลูกจะได้ไม่เกิดความท้อถอย เช่น - ลูกทำการบ้านไม่ได้ก็จะรู้สึกไม่สนุกและท้อถอย ควรพูดให้กำลังใจและ ชี้แนะเพื่อให้ลูกแก้อุปสรรคและไม่ท้อถอย ซึ่งจะทำให้เสียเวลาของพ่อแม่มาก และมักจะเป็นสาเหตุที่พ่อแม่ไปกระทำให้แทน เพราะความรำคาญ ทำให้ลูกมีความมานะต่ำลง - ในกรณีลูกยังอยู่ในระหว่างหัดเดินหัดวิ่ง พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้หัด และฟันฝ่าอุปสรรคด้วยตนเองบ้าง โดยเฝ้าดูอยู่ห่างๆ และต้องทำใจให้เข้มแข็ง เมื่อเห็นลูกเดินหรือวิ่งล้ม ไม่ควรแสดงอาการตกใจ ควรกระตุ้นให้ลูกเกิดความขบขันและสนุกสนานด้วยตนเอง ในบางครั้งลูกอาจได้รับบาดเจ็บบ้างเล็กน้อยก็ไม่ควรไปป้องกันจนเกินไป จนทำให้ลูกขาดโอกาสที่จะพัฒนาความมานะของตน

30 วิธีการฝึกอบรมเลี้ยงดูลูกให้รู้จักการประหยัด
การประหยัด หมายถึง การใช้จ่ายอย่างถูกต้อง เช่น ซื้อในสิ่งที่ควรซื้อภายใต้เงินที่ตนมีอยู่ และรู้จักออมทรัพย์ที่ตนมีอยู่ ไม่ใช่ใช้เงินให้หมดที่ตนมีอยู่โดยไม่จำเป็น ในประการนี้ผู้เขียนได้ทดลองกับลูกของตน โดยอาศัยหลักการและกิจกรรมในแนวทาง ดังต่อไปนี้

31 1. ตั้งงบประมาณค่าขนมแก่ลูกเป็นรายวันให้แน่นอนและชัดเจน และได้ให้สิทธิแก่ลูกในการใช้จ่ายเงินส่วนนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งลูกอาจจะนำไปซื้อขนมหรือของเล่นที่ไม่เป็นพิษภัยได้ตามการตัดสินใจของเขา พ่อแม่ไม่ควรห้ามหรือตีกรอบในการใช้สอยเงินแก่ลูกจนเกินไปแต่ควรจะสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างลับๆ ตลอดว่าลูกนำเงินไปซื้ออะไรมา สิ่งใดที่ไม่ดีก็ควรชี้แจงลูกให้กระจ่าง เช่น ลูกชอบซื้อขนมที่มีของเล่นเป็นของแถมด้วยเจตนาที่อยากจะได้ของเล่นเป็นหลัก ก็ล้อลูกว่า “ถูกเขาหลอกอีกแล้ว” พร้อมกับการ ชี้แจงถึง กลวิธีล่อใจเด็กของผู้ผลิต พร้อมกับเสริมว่าของเล่นที่ได้ไม่มี ประสิทธิภาพดังภาพโฆษณา และขนมก็ไม่อร่อย เป็นต้น ตลอดจนการรู้สึกว่าเงินที่ได้นั้นเป็นของตนหากใช้ไม่หมดก็เก็บไว้ใช้ในวันหน้าได้

32 2. พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกรู้จักการออมทรัพย์ด้วยตนเอง ซึ่งการออมทรัพย์นั้นไม่ควรจำกัดที่เอาไปฝากธนาคารสำหรับเด็กเล็กควรเน้นที่ให้เด็กมีความรู้สึกว่าเงินนั้นเป็นของตนหากเหลือสามารถเก็บออมเอาไว้ในกรณีพิเศษนอกเหนือจากค่าขนมประจำวัน ก็สามารถเบิกได้ทุกเวลา ซึ่งพ่อแม่ควรให้สิทธินี้แก่ลูก เพื่อที่ลูกจะได้มีจุดมุ่งหมายในการออมทรัพย์ ตลอดจนสามารถตัดสินใจว่าเมื่อไรควรจะใช้เงินและรู้จักการงดซื้อของชิ้นเล็ก นำไปออมเก็บไว้เพื่อซื้อของใหญ่ พ่อแม่ต้องไม่ขัดขวางเงินที่ออมไว้โดยไม่จำเป็น แต่ควรให้คำชี้แนะและปรึกษาแก่ลูกในการใช้เงินทางที่ถูก จุดสำคัญของการให้ลูกรู้จักใช้จ่ายเงินและรู้จักออมทรัพย์ต้องเน้นว่า เงินนั้นเป็นของลูก สามารถนำไปใช้ได้ทุกเวลาที่มีความเหมาะสม

33 3. ในบางครั้งลูกต้องการซื้อของเล่นราคาแพงกว่าที่มีเงินอยู่ พ่อแม่ควรจะหลบไปบ้างในโอกาสที่เหมาะสม และชักชวนให้ลูกออมทรัพย์จากค่าขนม เพื่อ จุดมุ่งหมายที่จะซื้อของเล่นชิ้นที่ลูกต้องการ 4.ในบางครั้งที่ลูกต้องการซื้อของเล่นที่พ่อแม่เห็นว่าไม่เหมาะสมพ่อแม่อาจจะประวิงเวลาได้โดยการบอกว่าไม่มีเงินในกระเป๋าขณะนั้นรออีกสักหลายๆ วัน จึงจะว่างพาไปซื้อ และใช้เวลาที่จะบอกว่าไม่สมควรซื้อ คือใช้เวลาแก้ไขปัญหา ซึ่งเด็กอาจจะเปลี่ยนใจเมื่อไปเห็นของอื่นที่ถูกใจกว่า หรือเลิกล้มความตั้งใจไปเอง พ่อแม่ไม่ควรบังคับหรือห้ามลูกใช้เงินของตนเองมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่จำเป็น ควรเคารพต่อสิทธิของลูกด้วย เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ลูกมีจุดมุ่งหมายในการประหยัดและออมทรัพย์ หากลูกรู้สึกว่าตนไม่มีอำนาจในเงินของตน ก็จะทำให้ขาดความมั่นใจที่จะประหยัดและออมทรัพย์

34 5. พ่อแม่ควรชี้นำลูกว่าควรมีการออมเงินทีละเล็กทีละน้อย เพื่อประโยชน์ใน การใช้สอยในวันข้างหน้า เช่น เอาไว้ซื้อของเล่นราคาแพง ไปเที่ยว สำหรับในระยะเวลายาวก็อาจจะเอาไปซื้อบ้านใหญ่ๆ ซื้อรถยนต์ที่ลูก ใฝ่ฝัน เป็นต้น 6. ในโอกาสพิเศษที่ลูกได้รับเงินจากญาติผู้ใหญ่หรือบุคคลอื่น พ่อแม่ควร ชี้นำให้ลูกนำมาฝากเข้าบัญชีที่ได้สะสมไว้ เพื่อที่จะได้มียอดเงินฝากมากขึ้น จะได้มีเงินสำหรับซื้อของใหญ่ๆ ได้ในวันข้างหน้า

35 วิธีการฝึกอบรมเลี้ยงดูให้ลูกมีความซื่อสัตย์สุจริต
การฝึกลูกในระดับปฐมวัย ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต ต้องอาศัยกิจกรรมร่วมระหว่าง พ่อแม่และลูกเป็นหลัก 1. พ่อแม่ควรต้องจัดหากิจกรรมของเล่น และค่าขนมให้ลูกอย่างเพียงพอและเหมาะสม เพื่อให้ลูกไม่เกิดความรู้สึกว่ามีของเล่นหรือเงินซื้อขนมน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความคิดไม่ซื่อสัตย์สุจริตได้ เช่น ขโมยของเพื่อน ลักเงินของพ่อแม่ การให้เงินค่าขนมในอัตราที่แน่นอนต่อวัน ในบางครั้งก็ไม่พอต่อความต้องการของลูก พ่อแม่ควรจัดให้เพิ่มเติมตามความสมควรและโอกาส หรือไม่ก็ควรส่งเสริมให้ลูกได้ประหยัดค่าขนมไว้ในวันที่ไม่ได้ใช้หมด

36 2. พ่อแม่ควรสังเกตสิ่งของที่ลูกนำมาและสอบถามว่าแต่ละวันได้กินขนมอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทราบว่าลูกได้มีพฤติกรรมอย่างไรบ้างในแต่ละวัน ทั้งที่โรงเรียนและบ้าน แต่ลับหลังพ่อแม่ หากลูกนำในกรณีที่ทำสิ่งที่ไม่สมควร ก็ควรตักเตือนให้ลูกเข้าใจทันทีและควรยกตัวอย่างว่าหากลูกถูกคนอื่นแย่งหรือขโมยของไป ลูกก็คงเสียใจและเสียดายของด้วยเช่นกัน

37 3. พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างให้แก่ลูกในด้านนี้ด้วย โดยเฉพาะกิจกรรมร่วมระหว่างพ่อแม่กับลูกควรแฝงไว้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตระหว่างกัน เช่น พ่อแม่หากรับปากให้สัญญาแก่ลูกก็ควรให้เป็นไปตามนั้นเสมอ หากลูกซักถามสิ่งใดไม่ควรโกหกโดยไม่จำเป็น หากจำเป็นที่จะต้องโกหกก็ควรบอกปัดอย่าให้ลูกจับได้ โดยหลักการพื้นฐานหากต้องการให้ลูกมีความซื่อสัตย์สุจริตอย่างน้อยที่สุดก็ควรต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและพ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่ก็ควรให้ความจริงใจ ซื่อสัตย์ต่อลูกด้วยเช่นกัน พ่อแม่ควรแสดงออกให้ลูกได้ตระหนักถึงความจริงใจซื่อสัตย์ของพ่อแม่ที่ให้กับลูกอย่างชัดเจน การเล่นกับลูกต้องไม่แฝงด้วยการโกงหรือหลอกลวงในวิถีทางที่ไม่ถูกต้อง อันจะเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกในด้านความซื่อสัตย์สุจริต

38 4. ในกรณีที่พบว่าลูกได้มีพฤติกรรมที่สื่อว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริตควรตักเตือนหรือทำโทษทันที พร้อมกับชี้แจงให้ลูกรู้ด้วยว่าควรมีความซื่อสัตย์สุจริต ในกรณีที่ลูกกระทำสิ่งใดที่ผิดหรือไม่สมควรที่ไม่รุนแรงมากนัก หากลูกโกหกเมื่อถูกซักถามและถูกจับได้พ่อแม่ควรทำโทษค่อนข้างรุนแรง หากมีการทำโทษรุนแรงควรชี้แจงให้ลูกได้เข้าใจว่า โทษที่ได้รับนั้นมีสาเหตุจากการโกหกมากกว่าความผิดจากการกระทำ และถ้าไม่โกหกโทษที่ได้รับจะเบาบางกว่าที่ได้รับ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ลูกไม่หวาดกลัวต่อการที่จะพูดความจริง รูปแบบดังกล่าวนี้ควรได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

39 วิธีการอบรมเลี้ยงดูลูกให้มีความมั่นใจในตนเอง
1. วิธีการฝึกลูกให้รู้จักประหยัด ซึ่งเน้นให้สิทธิแก่ลูกในการใช้สอยเงินของตนเองดังกล่าวมาแล้ว ลูกจะได้มีโอกาสฝึกคิดไตร่ตรองด้วยตนเอง ว่าสมควรจะใช้จ่ายเงินของตนในด้านไหนเมื่อไหร่ ในระยะเริ่มต้นเด็กเล็กอาจจะพบว่าตนเองมีความสมหวังผิดหวังในการตัดสินใจของตน ซึ่งจะทำให้เด็กได้ฝึกหัดไตร่ตรองก่อนการตัดสินใจ หลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เด็กจะมีประสบการณ์เกิดขึ้นกับตนเอง รู้จักไตร่ตรองก่อนการตัดสินใจ อันจะเป็นแนวทางนำไปสู่ความมั่นใจในตนเอง

40 2. เด็กในวัยเด็กเล็กมักจะอยู่ไม่สุข จำต้องมีกิจกรรมตลอดเวลาดังนั้นเด็กจะมีความพยายามที่จะทำโน่นทำนี่ หากความพยายามของเด็กในกิจกรรมต่างๆ บรรลุผลสำเร็จด้วยตนเองบ่อยครั้งเด็กก็จะเกิดความรู้สึกมั่นใจในตนเอง ในทางตรงกันข้ามหากเด็กไม่ประสบผลสำเร็จในกิจกรรมของตนบ่อยครั้ง หรือจะต้องมีผู้อื่นช่วยเหลือเกือบทุกครั้งก็อาจจะทำให้เด็กมีความรู้สึกมั่นใจในตนเองน้อยลงไป ดังนั้นหากต้องการปลูกฝังลูกให้มีความรู้สึกมั่นใจในตนเอง พ่อแม่ควรให้โอกาสเด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมของตนเองด้วย ตนเองมากๆ ตราบใดที่กิจกรรมนั้นไม่ส่งผลอันตรายหรือเสียหาย เช่น หัดเดิน หัดวิ่ง หัดวาดภาพ หัดคิดเลข หัดสร้างบ้านหรือตัดต่อ เป็นต้น

41 3. ความมั่นใจในตนเองมีส่วนสัมพันธ์มากกับประสบการณ์ ดังนั้นพ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้รู้เห็นและมีประสบการณ์ในสิ่งแวดล้อมของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ลูกมีความมั่นใจในตนเองในขณะเดียวกัน 4. ปัญหาเกี่ยวกับความมั่นใจในตนเองของเด็กปฐมวัย มักจะเกิดขึ้นกับลูกคนที่สองที่สาม มากกว่าลูกคนโต ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าลูกคนโตเกิดมาก่อน ไม่มีเด็กในวัยเดียวกันมาเป็นคู่แข่งหรือคู่เปรียบเทียบในการทำกิจกรรม สำหรับลูกคนที่สองที่สามที่วัยไม่ห่างจากคนโตมากนัก เช่น ห่างกันไม่เกิน ปี มักจะพบว่าตนมีความสามารถในการทำกิจกรรมของตนด้อยกว่าพี่คนโต โดยความจริง ที่ว่าพี่คนโตมีประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า และเรียนรู้มามากกว่า การตัดสินใจและการทำกิจกรรมมักจะคล้อยตามหรือเลียนแบบพี่คนโต และอาจต้องการให้ พี่คนโตคอยช่วยเหลือตนบ่อยๆ อันจะเป็นสาเหตุของการขาดความมั่นใจใน ตนเองของลูกคนที่สองที่สามอย่างมาก ดังนั้นพ่อแม่ควรให้ความสนใจปัญหานี้ต่อลูกคนเล็กให้มาก

42 หลักในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญทุกด้าน
1. ด้านร่างกาย (Physical) ส่งเสริมความเจริญเติบโต ความแข็งแรงของร่างกายปลูกฝังทางสุขภาพอนามัยฝึกกิจนิสัยและสุขนิสัยที่ดี ให้รักษาความสะอาด รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และเป็นเวลา ตลอดจนการเข้าห้องน้ำห้องส้วมให้ถูกต้อง ฝึกให้เล่นออกกำลังกาย เพื่อบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทั้งรู้จักการพักผ่อนหย่อนใจที่ ถูกวิธี 2. ด้านจิตใจ – อารมณ์ (Emotional) ปลูกฝังให้รู้จักควบคุมอารมณ์ มีเหตุผลไม่ฉุนเฉียว เอาแต่ใจตนเอง ไม่โกรธง่าย ซื่อสัตย์ มีสัมมาคารวะ กตัญญูกตเวที เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่และมีความเชื่อในคำสั่งสอนของศาสนา 3. ด้านสังคม (Social) ปลูกฝังให้เด็กรู้จักปฏิบัติตนต่อหมู่คณะ กล้าแสดงออกด้วยตนเองในทางที่ถูกที่ควร รู้จักการเล่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น เคารพสิทธิและหน้าที่ตลอดจนมีความรับผิดชอบ ฝึกให้รู้จักการรับและการให้เพื่อให้ติดเป็นนิสัยที่ดี พร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างดี 4. ด้านสติปัญญา (Intellectual) ส่งเสริมให้ใช้เชาว์ไหวพริบ เฉลียวฉลาดรู้จักหาเหตุผลให้เกิดความเข้าใจด้วยตนเอง มีความพยายาม อดทน สนใจต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เชื่อมั่นในตนเอง กล้าพูด กล้าแสดงออก ฝึกให้เป็นคนว่องไว ขยัน รักการอ่าน

43 การอบรมเลี้ยงดูเด็กกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
กีเชล (Gesell ) นักจิตวิทยากลุ่มวุฒิภาวะอธิบายว่า พัฒนาการจะเกิดขึ้นอย่างมีระเบียบแผนตามที่ธรรมชาติได้กำหนดขึ้นเป็นลำดับขั้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนอกจากจะเป็นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ และโครงสร้างทางร่างกายแล้วยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ และพฤติกรรมของสิ่งเหล่านั้น ด้วยขั้นตอนของการพัฒนาที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านชีวภาพของร่างกาย คือ การบรรลุวุฒิภาวะของร่างกาย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเองตามวิถีทางของธรรม-ชาติ ไม่ได้มีการเรียนรู้มาก่อน และการเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำมาซึ่งความสามารถใหม่ ๆ โดยมีพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรองลงมาจาก วุฒิภาวะ เมื่อร่างกายเจริญเติบโตและพัฒนาถึงขั้นใด ก็จะบรรลุวุฒิภาวะของความสามารถขั้นนั้น รวมทั้งมีความพร้อมด้วย การพัฒนาของเด็กแต่ละคนจะไม่เท่ากัน จะแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะ และพื้นฐานทางอารมณ์และสติปัญญาของแต่ละบุคคล ถึงแม้ว่าการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติก็ตาม แต่ก็ยังสามารถที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ โดยการให้การสนับสนุน ส่งเสริม และจัดสภาพ แวดล้อมผ่านวิธีการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่และผู้ปกครอง ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความต้องการพื้นฐานด้านร่างกายของเด็กเป็นสำคัญ

44 ความต้องการพื้นฐานด้านร่างกายของเด็ก มีดังนี้
ความต้องการพื้นฐานด้านร่างกายของเด็ก มีดังนี้ ความต้องการด้านอาหารและโภชนาการ ความต้องการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติเหตุต่าง ๆ ความต้องการอากาศที่บริสุทธิ์ การพักผ่อนและการออกกำลังกายที่เพียงพอแก่ ความต้องการของร่างกาย ความต้องการเครื่องนุ่งห่ม สิ่งของเครื่องใช้ และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยถูกสุขอนามัย

45 การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กจึงมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1.เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง 2. เพื่อช่วยให้เด็กนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ต่อการบำรุง รักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง 3. เพื่อช่วยป้องกันให้เด็กปลอดภัยจากโรคติดต่อและโรคที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ 4. เพื่อช่วยให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง และมี สุขนิสัยที่ดี 5. เพื่อช่วยบำบัดรักษาอาการของโรคที่เป็นอุปสรรคต่อสุขภาพและอนามัยที่ดี ของเด็ก 6. เพื่อช่วยนำเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยที่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของ แต่ละบุคคลให้ได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลที่มีความสามารถโดยตรง

46 การอบรมเลี้ยงดูที่จะส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ และเจริญเติบโตมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสม สามารถแบ่งการ อบรมเลี้ยงดูออกเป็น 2 ประการ คือ - การดูแลด้านอาหารและโภชนาการ - การดูแลด้านสุขภาพ และอนามัย

47 อาหารและโภชนาการ เด็กอายุระหว่าง 3 – 6 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องรู้ถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่เด็กจะต้องได้รับอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายให้เพียงพอ รวมทั้งอันตรายจากการได้รับอาหารที่มีโปรตีนและแคลอรี่ไม่เพียงพอ ซึ่งมีผลต่อร่างกาย สติปัญญา และการเรียนรู้ของเด็กมาก และเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารต่าง ๆ เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวันจึงควรจัดให้เด็กได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ การดูแลด้านอาหารและโภชนาการนอกจากจะดูแลให้เด็กได้บริโภคอาหารที่มี คุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่และผู้ปกครองจำเป็นต้องเอาใจใส่ไปพร้อม ๆ กันคือ การปลูกฝังนิสัยการบริโภคที่ดีให้แก่เด็ก เด็กปฐมวัยเป็น วัยแห่งการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นโอกาสดีที่พ่อแม่และผู้ ปกครองจะปลูกฝังนิสัยการบริโภคที่ดีให้แก่เด็กตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งจะเป็นรากฐานของการมีสุขภาพที่ดีต่อไปในอนาคต

48 การปลูกฝังลักษณะนิสัยการบริโภคที่ดี
หลักในการปฏิบัติของพ่อแม่ และผู้ปกครองเพื่อปลูกฝังนิสัยการบริโภคที่ดีให้แก่เด็กควรปฏิบัติ ดังนี้ 1. หัดให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์ทุกชนิด เพื่อที่ร่างกายของเด็กจะได้รับสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้แก่เด็ก 2. หัดให้เด็กกินอาหารแปลก ๆ ที่เด็กไม่เคยกินมาก่อน เช่น ผักใบเขียว มะเขือเทศ เครื่องในสัตว์ต่าง ๆ โดยเริ่มให้ครั้งละน้อย ๆ และไม่ควรบังคับให้เด็กกินเมื่อเด็กไม่ชอบควรใช้วิธีดัดแปลงวิธีปรุงอาหาร และเปลี่ยนแปลงรสชาติอาหารนั้นใหม่ให้เหมาะสมกับเด็ก 3. หัดให้เด็กรับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ 4. ฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับอาหารชนิดใหม่ ๆ โดยทำให้เด็กกินบ่อย ๆ ขึ้น 5. จัดอาหารให้น่ากิน อาหารที่จัดให้เด็กควรมีสีสันบ้างโดยใช้อาหารที่มีสีธรรมชาติ เช่น ใช้ผักสีต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากอาหาร 6. ลักษณะและรสชาติของอาหารของเด็ก ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่เหนียวหรือแข็งจนเกินไป ไม่จำเป็นต้องสับอาหารให้ละเอียด เพื่อฝึกให้เด็กใช้ฟันเคี้ยวอาหาร รสชาติของอาหารควรเป็นรสอ่อน ไม่เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด หรือมีรสเผ็ด

49 7. จัดอาหารว่างให้เด็กในตอนเช้าหรือบ่าย 8
7. จัดอาหารว่างให้เด็กในตอนเช้าหรือบ่าย 8. บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม บรรยากาศในการกินอาหารมีความสำคัญในการปลูกฝังนิสัยการบริโภคอย่างมาก ขณะกินอาหารพ่อแม่ไม่ควรดุหรือว่าเด็กเพราะจะทำให้เด็กมีความรู้สึกไม่ดีต่ออาหาร บรรยากาศในการกินอาหารไม่ควรเคร่งเครียด แต่ควรมีระเบียบพอสมควร ควรหัดให้เด็กนั่งกินอาหารให้เป็นที่และรู้จักมารยาทในการกิน 9. ผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก พ่อแม่ควรจัดให้เด็กกินอาหารพร้อมกับ ผู้ใหญ่เพื่อจะหัดให้เด็กกินอาหารชนิดต่าง ๆ ที่กินในครอบครัว พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการกินอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย สอนมารยาทในการรับประทานอาหาร และสอนให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง 10. สร้างสุขนิสัยที่ดี การมีสุขนิสัยที่ดีในการกินอาหารจะช่วยให้ร่างกายย่อย และดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น ควรสอนให้เด็กเคี้ยวอาหารให้ละเอียด และกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะจนเป็นนิสัย เช่น กินอาหารที่สะอาดไม่มีแมลงวันตอม ภาชนะที่ใส่อาหารสะอาด กินอาหารที่หุงต้มจนสุก อาหารที่ไม่มีสีฉูดฉาด และล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารทุกครั้ง 11. หัดให้เด็กดื่มนม หรือน้ำผลไม้ ไม่ควรให้เด็กดื่มน้ำชา กาแฟ 12. งดอาหารประเภทลูกกวาด ลูกอม น้ำหวานหรือน้ำอัดลม เพราะอาหารเหล่านี้มีรสหวานทำให้เด็กไม่หิว แต่จะมีการเบื่ออาหารแทน และยังทำให้เกิดโรคฟันผุ

50 สุขภาพและอนามัย พัฒนาการทางร่างกายของเด็กปฐมวัยมี 2 ประการ คือ สุขภาพและการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมและพัฒนาการทางการเคลื่อนไหวการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยจึงต้องส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 2 ด้าน อย่างครบถ้วน สำหรับการดูแลด้านสุขภาพและอนามัย มีวิธีปฏิบัติดังนี้ 1. ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของเด็ก และเปรียบเทียบกฎเกณฑ์มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ทราบอัตราการเจริญเติบโตของเด็ก และสามารถให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กเกิดปัญหาสุขภาพได้ทันท่วงที 2. ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งมีข้อควรปฏิบัติดังนี้ อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าและเย็น ฟอกสบู่ทุกส่วนของร่างกายและล้างด้วยน้ำสะอาด และเช็ดตัวให้แห้ง สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ถึง 2 ครั้ง ด้วยยาสระผม แล้วล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาด ตัดเล็บมือและเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ล้างมือและเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณง่ามมือง่ามเท้า และเช็ดเท้าให้แห้ง ตรวจและรักษาความสะอาดของฟัน ควรนำเด็กไปตรวจฟันทุก ๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันฟันผุ

51 3. ป้องกันเด็กจากโรคภัยไข้เจ็บ และอุบัติเหตุต่าง ๆ สำหรับการป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กนั้น พ่อแม่ หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็ก เพื่อเป็นการลดและป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่เด็กได้ดังนี้ --ขณะที่เด็กเล่นควรดูแลอย่างใกล้ชิด ระมัดระวังไม่ให้เด็กคลาดสายตา -- ควรสอนให้เด็กรู้จักวิธีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เช่น การข้ามถนน การสอนว่ายน้ำ --ควรจัดและดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบริเวณบ้านให้อยู่ในสภาพปลอดภัยอยู่เสมอ เช่น จัดเก็บอุปกรณ์และของมีคมต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบและพ้นมือเด็ก --ควรจัดเตรียมคู่มือในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ที่บ้านเพื่อจะใช้รักษาพยาบาลเมื่อเด็กเกิดอุบัติเหตุไว้ทันท่วงที

52 4. รักษาพยาบาลเมื่อเด็กเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุอย่างถูกวิธี
5. จัดให้เด็กพักผ่อนอย่างเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กนอนหลับอย่างพอเพียงให้สมกับวัย รวมทั้งให้เด็กพักผ่อนด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น การฟังเพลง การอ่านหนังสือ การฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ในรายการที่เหมาะสมสำหรับเด็กและในเวลาที่พอเหมาะพอควร 6. ให้โอกาสเด็กได้เล่น ออกกำลังกาย เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์ พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์เครื่องเล่นที่เหมาะสม เช่น ลูกบอล ตุ๊กตา ห่วงยาง เป็นต้น 7. จัดหาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่จำเป็นให้แก่เด็กอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับฤดูกาลตลอดจนดูแลรักษาให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ

53 การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์
เจ้าอารมณ์ บางครั้งจะมีอารมณ์รุนแรง โมโหร้าย โกรธง่าย เอาแต่ใจตัวเองจะสังเกตได้จากการที่เด็กแสดงอารมณ์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น มีอารมณ์หวาดกลัวอย่างรุนแรง มีอารมณ์อิจฉาริษยาน้องและโมโหฉุนเฉียว เป็นต้น เด็กแต่ละคนจะมีลักษณะพัฒนาการทางอารมณ์แตกต่างกันตามสภาพสิ่งแวดล้อม และการเรียนรู้ที่แตกต่างกันหากเด็กได้รับความไม่พอใจ เด็กก็จะสะสมอารมณ์ที่ไม่พอใจเหล่านั้นไว้ทำให้เด็กขาดความสุขมีอารมณ์ตึงเครียดและอาจทำให้ชีวิตในวัยต่อไปมีปัญหาได้ ดังนั้น พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูแลเด็กจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงการเลี้ยงดูเด็กที่ก่อให้เกิดอารมณ์อิจฉาริษยา อารมณ์โกรธ อารมณ์วิตกกังวลและความตึงเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นก็คือ ควรพยายามส่งเสริมให้เด็กมีอารมณ์ที่สนุกสนาน ร่าเริง อารมณ์สงบ เยือกเย็น อารมณ์รัก และมองโลกในแง่ดี

54 การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู ตลอดจนถึงครูผู้ดูแลเด็กควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ ให้ความรัก และความอบอุ่น ความเอาใจใส่ต่อเด็ก และการเข้าใจเด็ก ยอมรับในตัวเด็กจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพื้นฐานทางอารมณ์ที่ดี มั่นคง รู้สึกอบอุ่น มีอารมณ์ขัน และมองโลกในแง่ดี การเล่น การเล่นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของเด็ก มีคุณค่าทางทางอารมณ์ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินมีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส มีจิตใจมั่นคง มองโลกในแง่ดี และยังทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง ถ้าหากพ่อแม่ได้ปล่อยให้เด็กได้เล่นตามความต้องการด้วยแล้ว เด็กก็จะมีความสุข การเล่นช่วยให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน ช่วยระบายอารมณ์เมื่อเด็กเกิดความรู้สึกโกรธ วิตกกังวล หรือคับข้องใจ เป็นการลดความก้าวร้าวและลดความไม่พึงพอใจที่ได้รับจากผู้ที่อยู่รอบข้างการเล่นจึงเป็นกิจกรรมที่สนองความต้องการที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์ ฟรอยด์นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงด้านจิตวิเคราะห์กล่าวว่า การเล่นมีคุณค่าอย่างมากในแง่ของการบำบัดเพราะการเล่นช่วยให้เด็กสามารถลดความไม่พึงพอใจ อันเกิดจากประสบการณ์ได้ โดยค่อย ๆ ลดความวิตกกังวล

55 3. การฟังนิทาน นิทานช่วยให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน เกิดความสุขมาก เมื่อได้
ฟังนิทาน เด็กปฐมวัยมีจินตนาการตามเนื้อเรื่องในนิทาน นิทานช่วยคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวลของเด็ก ๆ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะเป็นวัยที่ชอบนิทานมาก และชอบการเลียนแบบ เด็กจึงมักเลียนแบบบุคลิกลักษณะนิสัยตัวละครในนิทานถ้าเด็กได้อ่านนิทานที่มีการผูกเรื่องดี ๆ ตัวเอกในเรื่องเป็นคนดี จิตใจเยือกเย็น อารมณ์ดี ไม่โกรธใคร แม้ว่าจะถูกแกล้งหรือถูกล้อเลียนเมื่อเด็กได้ฟังนิทานเหล่านี้ ก็จะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็ก ให้เด็กมีสุขภาพจิตดี มีอารมณ์แจ่มใส ไม่โกรธง่าย และยังมีลักษณะนิสัยชอบช่วยเหลือคนอื่นอีกด้วย นิทานช่วยให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน เสริมสร้างบุคลิกภาพช่วยปูพื้นฐานทางจิตใจแก่เด็ก ช่วยให้เด็กรู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดีและกระตุ้นให้เด็กเลียนแบบที่ดี เนื้อหานิทานบางเรื่องช่วยแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้

56 ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่เกี่ยวกับการอ่านนิทานให้เด็กปฐมวัยฟัง
เล่าสิ่งที่น่าสนใจในเรื่องที่อ่าน พยายามทำให้เด็กรู้สึกว่าการอ่านเป็นสิ่งที่น่าสนุก หาช่วงเวลาที่ตนเองและตัวเด็กรู้สึกสบาย ๆ ใจ ไม่มีเรื่องยุ่ง ๆ มารบกวน เป็น เวลาอ่านนิทาน หรือหนังสืออื่น ๆ ให้เด็กฟัง เช่น เวลาก่อนนอนหรือหลังเวลาพักงานทุกอย่างในช่วงเย็น ให้เด็กเป็นผู้เลือกหนังสือที่จะอ่านให้เด็กฟัง ชี้รูปขณะที่อ่านเรื่องราวเรื่องนั้น ให้เด็กเป็นผู้ถือหนังสือ และเปิดหน้าที่เรากำลังอ่านอยู่ อ่านนิทาน เนื้อเรื่องที่เด็กคุ้นเคย ใกล้ตัว ขณะอ่านอาจเว้นคำหรือวลีหรือประโยคไว้ เพื่อให้เด็กเติม ให้เด็กเล่านิทานต่อจากที่เราเริ่มต้นไว้ ยอมให้เด็กเล่านิทานโดยจินตนาการเรื่องของเขาเองขึ้นมา

57 การเลี้ยงดูส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม
พัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ในช่วงเริ่มต้นวัยเด็กยังมีความสัมพันธ์เฉพาะกับคนในครอบครัว และยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางอยู่ แต่เมื่อเข้าสู่วัย 3 – 4 ขวบ เด็กเริ่มมีความสัมพันธ์กับคนภายนอก พัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัยตามความคิดเห็นของเพียเจต์ ว่าเด็กจะมีลักษณะ ดังนี้ ระยะแรก (อายุ 2 – 3 ขวบ) เด็กมักจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลางชอบอยู่กับเพื่อน แต่ต่างคนต่างเล่นกันตามลำพัง ไม่เล่นด้วยกัน ไม่แบ่งปันสิ่งของให้กัน ระยะที่ 2 (อายุ 3 – 4 ขวบ) เด็กเข้าอยู่ในหมู่เพื่อนบ้างแยกตัวเล่นคนเดียวบ้าง ระยะที่ 3 (อายุ 5 – 6 ขวบ) เด็กจะเข้าสังคมดีขึ้น ชอบอยู่กับเพื่อนเล่นด้วยกัน ช่วยเหลือกัน แบ่งปันกัน แต่ก็ยังคงมีการแย่ง การทะเลาะกันอยู่บ้าง

58 การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมการพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัยพ่อแม่ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. การเล่น ช่วยพัฒนาการทางด้านสังคม เพราะการเล่นทำให้เด็กได้มีโอกาส ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ช่วยให้มีโอกาสฝึกวิธีเข้าสังคมเรียนรู้การที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น นอกจากนั้นถ้าพ่อแม่ได้สังเกตขณะที่เด็กกำลังเล่น พ่อแม่จะสังเกตเห็นว่าเด็กจะเรียนรู้การรู้จัก รอคอยการเล่นเรียนรู้วิธีเล่นกับผู้อื่นเรียนรู้การแบ่งปันของเล่นให้เพื่อนในกลุ่มที่เล่นอยู่ด้วยกัน การแลกเปลี่ยนของเล่น ผลัดเปลี่ยนการเล่น บางครั้งก็เป็นผู้นำในการเล่นเครื่องเล่น หรือของเล่นต่าง ๆ บางครั้งก็เป็นผู้ตามที่ดี อีกทั้งยังรู้จักรักษากติกาการเล่น รู้จักแพ้รู้จักชนะ ซึ่งเท่ากับเป็นการเตรียมให้เด็กวัยนี้ รู้จักปรับตัวในสังคมได้ดีเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ 2. การพาเด็กไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ทำให้เด็กได้รู้จักสังคมนอกบ้านได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน เช่น พาไปเที่ยวสวนสัตว์ ขณะที่พาเดินดูตามกรงสัตว์ เด็กจะเห็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน การแบ่งปันอาหารกัน ขณะเดียวกันพ่อแม่ได้พูดคุยสอนเด็กถึงการอยู่ร่วมกันของสัตว์ การพึ่งพาอาศัยกัน การแบ่งปัน การเสียสละ ซึ่งเด็กจะได้เห็นด้วยตนเองเป็นการศึกษาจากของจริง เด็กจะค่อย ๆ เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การอาศัยซึ่งกันและกัน การแบ่งปันกัน เป็นการส่งเสริม พัฒนาการทางด้านสังคมของเด็ก

59 2. การพาเด็กไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ทำให้เด็กได้รู้จักสังคมนอกบ้านได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน เช่น พาไปเที่ยวสวนสัตว์ ขณะที่พาเดินดูตามกรงสัตว์ เด็กจะเห็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน การแบ่งปันอาหารกัน ขณะเดียวกันพ่อแม่ได้พูดคุยสอนเด็กถึงการอยู่ร่วมกันของสัตว์ การพึ่งพาอาศัยกัน การแบ่งปัน การเสียสละ ซึ่งเด็กจะได้เห็นด้วยตนเองเป็นการศึกษาจากของจริง เด็กจะค่อย ๆ เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การอาศัยซึ่งกันและกัน การแบ่งปันกัน เป็นการส่งเสริม พัฒนาการทางด้านสังคมของเด็ก 3. การพาเด็กไปรู้จักกับญาติพี่น้อง ลูก ๆ หลาน ๆ ในวัยเดียวกันหรือพ่อแม่พาไปบ้านเพื่อนๆ ของพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเดียวกัน ให้เด็ก ๆ ได้อยู่ด้วยกันเป็นการฝึกให้รู้จักอยู่ร่วมกับคนอื่น รู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น ๆ ได้ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในการเข้าสังคมและอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุขในวัยต่อ ๆ มา

60 การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย เพียเจต์ แบ่งขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์เป็น 4 ขั้น ตามระดับอายุเด็กปฐมวัย อยู่ในขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ กล่าวคือ เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาเข้าใจเครื่องหมายท่าทางที่สื่อความหมาย และรู้สิ่งต่าง ๆ ดีขึ้น แต่อาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถคิดหาเหตุผล และยกเหตุผลเข้าอ้างอิงได้ และกล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาจะเจริญสูงสุดในขั้นนี้ และความสามารถของเด็กในวัยนี้มีอยู่ในลักษณะที่จำกัดการคิดหาเหตุผลยังติดอยู่กับที่การรับรู้ เช่น การมองเห็นน้ำที่บรรจุในแก้วสูงมีมากกว่าน้ำในแก้วใบใหญ่ที่มีขนาดเตี้ยกว่า ทั้ง ๆ ที่น้ำในแก้วมีปริมาณเท่ากัน กีเซลได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาเช่นเดียวกับเพียเจต์ แต่ กีเซลเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวุฒิภาวะและความเจริยเติบโตของร่างกาย เขามีความ เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กนั้นมีความพร้อมทางร่างกายด้วย เด็กแต่ละคนจะมีการพัฒนาการที่แตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน แม้อายุเท่ากันแต่การกระทำอาจทำได้ไม่เท่ากัน

61 การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูตลอดจนถึงครูควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ คือ 1. อาหาร อาหารนอกจากจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาการทางด้านร่างกายแล้ว อาหารยังความมีสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ถ้าเด็กขาดอาหาร สมองจะไม่พัฒนา เมื่ออายุ 2 ปี สมองก็จะโตเป็น 75% และเป็น 80% และ 90% เมื่ออายุ 4 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ ในช่วงเวลาดังกล่าว ถ้าเด็กได้รับสารอาหารไม่เหมาะสมหรือไม่พอเพียงหรือได้รับสารพิษ เช่น ตะกั่ว การเติบโต ของสมองก็จะถูกกระทบกระเทือน เช่น ตัวเซลล์ไม่แบ่งตัว ไม่เติบโต ไม่แตกแขนงและสร้างจุดเชื่อมอย่างสมบูรณ์

62 2. การเล่น การเล่นนอกจากจะส่งเสริมการพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว การเล่นยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาอีกด้วย การเล่นช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดนไม่มีใครสั่งสอนได้ เด็กได้เรียนรู้จากการได้สัมผัสสิ่งที่ตนเล่น ได้ทดลองผิดลองถูกจากการเล่นครั้งแล้วครั้งเล่า จนสรุปได้เองซึ่งเป็นพื้นฐานให้เกิดสติปัญญา

63 3. การฟังและพูดการฟังเป็นกุญแจสำคัญของการเรียนรู้ในช่วง 1 – 3 ขวบ แม้ว่าเด็กจะยังพูดไม่คล่อง แต่เด็กสามารถฟังเรื่องต่าง ๆ จากผู้ใหญ่พูดให้ฟัง แม้จะเข้าใจไม่หมด แต่นั่นเป็นการฝึกให้เด็กคิดตามในเรื่องที่ผู้ใหญ่พูด พ่อแม่ผู้ปกครองตลอดจนถึงครูผู้ดูแลเด็ก จึงควรฝึกให้เด็กปฐมวัยนั่งนิ่ง และเงียบเป็นบางครั้งในแต่ละวัน และเริ่มด้วยการให้เด็กฟังเราพูดสักหนึ่งหรือสองนาทีในแต่ละครั้งที่พูด สังเกตดูว่าสายตาของเด็กอยู่ที่เรา แล้วถามเกี่ยวกับสิ่งที่พูดไปแล้ว เมื่อเด็กตอบ เราต้องชมเชย ให้กำลังใจ และกอดเด็ก เพื่อแสดงความดีใจที่เด็กตอบคำถามได้ เป็นการให้กำลังใจในความพยายามในครั้งต่อ ๆ ไปในการฝึกฟังและพูดเป็นการช่วยพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กได้เป็นอย่างดีวิธีหนึ่ง

64 4. ทักษะต่าง ๆ ทางด้านความคิด การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญานั้น พ่อแม่ควรคิดถึงทักษะต่าง ๆ ที่เด็กจะเรียนรู้ได้โดยผ่านทางด้านการคิดทดลอง และแก้ปัญหา ควรหากิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านนี้มาให้เด็กได้ทำ เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็ก การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาพ่อแม่สามารถส่งเสริมได้โดย การส่งเสริมพัฒนาการและเตรียมความพร้อมทางด้านภาษา การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและพัฒนาทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์

65 4.1 กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการและเตรียมความพร้อมทางด้านภาษา
4.1  กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการและเตรียมความพร้อมทางด้านภาษา การเล่านิทาน (Story telling) การเล่านิทานเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็ก การเล่านิทานเป็นการให้ความรัก การดูแลเอาใจใส่ต่อเด็กแบบหนึ่ง เพราะเด็กในวัยปฐมวัยจะสนใจและชอบหนังสือนิทาน การเล่าเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาการทางด้านภาษา และในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เกิดความคิดตาม เข้าใจและทำให้เกิดความสนุกสนานด้วย การเล่านิทานให้เด็กฟัง จะช่วยให้เด็กได้เกิดความคิด จินตนาการ และทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต่อไป พ่อแม่สามารถสร้างความเชื่อมั่น และสอนลูกในประสบการณ์ชีวิต โดยการใช้นิทานเป็นสื่อ โดย การเล่านิทานให้เด็กฟัง หานิทานง่าย ๆ มีภาพประกอบ อ่านให้ฟังเวลาก่อนนอน การเล่านิทานจากประสบการณ์ เช่น เกี่ยวกับบ้านตุ๊กตาการเล่านิทานจากภาพ โดยให้เด็กดูภาพแล้วเล่าเรื่องเกี่ยวกับภาพ เล่านิทานจากจินตนาการ ความคิดคำนึงและใช้ข้อคิดเมื่อเล่านิทานจบแล้วเป็น การสอนเด็กไปด้วย หลังจากการเล่าเรื่องจบแล้ว ให้โอกาสให้เด็กซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ การเล่นบทบาทสมมติ (Role Playing) เด็กปฐมวัย ชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิด หรือผู้ใหญ่ที่ตนรักเคารพ การเล่นบทบาทสมมติจึงเป็นสิ่งที่เด็กชอบ เด็กชอบสมมติตนเองเป็น พ่อแม่ หรือเป็นสัตว์ที่ตนเองชอบ เป็นหุ่นยนต์ตามภาพยนตร์ในโทรทัศน์ เด็กจะเป็นอะไรได้ทั้งนั้นในสิ่งที่เขาชอบ เด็กจะเล่นที่ไหนก็ได้ เช่น เด็กผู้หญิงเล่นเป็นแม่ โดยเอาตุ๊กตาเล่นเป็นลูก อาบน้ำ แต่งตัว ป้อนข้าวให้ลูก หรือเห่กล่อมตุ๊กตาให้นอนหลับ เป็นต้น การเล่นบทบาทสมมติเป็นการเล่นอิสระที่เด็ก ๆ จะเล่นได้เมื่อต้องการผู้ใหญ่จะช่วยเตรียมหรือส่งเสริมการเล่นโดยการชี้แนะและจัดหาอุปกรณ์ของเล่นให้ การสนทนาอภิปราย การสนทนาหรือพูดคุยกับเด็กจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ทางด้านภาษาและความคิดต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เด็กได้หัดคิด หัดสังเกต เป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ชีวิตของเด็ก การสนทนาระหว่างพ่อแม่และลูก ควรจะมีเวลาและได้ทำมากเพราะลูกจะได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากการอธิบายของพ่อแม่

66 4.2 การส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และพัฒนาทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ มีเกมการศึกษา
กิจกรรมการเล่นที่มีกฎเกณฑ์หรือกติกาที่แน่นอน และผู้เล่นได้รับความรู้ไปด้วย โดยที่พ่อแม่เล่นกับลูกและสอนไปด้วย เด็กจะได้รับความสนุกสนานฝึกความจำ การสังเกต ฝึกการใช้เหตุผลและพัฒนาสติปัญญา ซึ่งได้แก่ ภาพตัดต่อเกมจับคู่ เกมโดมิโน เกมลอตโต บล็อก เป็นต้น 4.3 การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติของเด็ก เด็กไม่อยู่นิ่งมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลามีความอยากรู้อยากเห็น และเด็กจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ง่าย เพราะการที่เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นและไม่อยู่นิ่ง ของเด็กนั่นเอง การเล่นของเด็กก็คือการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะเด็กในวัย 3 – 6 ปี เด็กจะเล่นสมมติได้ต่าง ๆนานา อุปกรณ์การเล่นต่าง ๆ มีมาก และทุกอย่างเด็กจะสมมติให้เหมือนของจริง เด็กได้เรียนรู้และรู้จักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เด็กต้องการได้รับโอกาสที่คิดค้นเสาะแสวงหา โดยการเรียนรู้ผ่านประสาททั้ง 5 การสร้างประสบการณ์ทาง วิทยาศาสตร์พ่อแม่ควรจะส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจ มีความอยากรู้อยากเห็นใน สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว แนะนำ การสังเกต การทดลอง และการตอบคำถามที่เด็กสงสัย เด็กจะเข้าใจในเหตุผลและสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก

67 กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์
การตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ ให้เด็กได้เรียนรู้ความหมายสิ่งต่าง ๆ จากคำจำกัดความและเหตุผลที่ถูกต้อง ที่พ่อแม่ตอบคำถาม และอธิบายให้ลูกฟัง การสอนต้องสอนให้เด็กเข้าใจถึงเหตุและผล ไม่ใช่จากการท่องจำ ควรให้เด็กได้เกิดความคิดรวบยอดและสามารถหาข้อสรุปจากประสบการณ์ด้วยตนเอง การตอบคำถามที่ลูกถามโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ ต้องตอบคำถาม ตรงไปตรงมา มีเหตุมีผล ไม่ใช้ตอบแทนขอไปที เช่น ถ้าเด็กถามว่าลูกเกิดมาจากไหน พ่อแม่บางคนตอบว่าลูกมาจากกอไม้ จากโน่นจากนี่ อาจจะทำให้เกิดความสับสนได้ จัดประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ต่าง ๆทางวิทยาศาสตร์ ควรจะจัดและเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และสัมผัส ซึ่งได้แก่หนังสือ ภาพยนตร์ สไลด์ วัสดุ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจตื่นตัว อยากค้นคว้า ทดลอง


ดาวน์โหลด ppt รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google