งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นางบุษบา โหระวงศ์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระดับภาษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นางบุษบา โหระวงศ์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระดับภาษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นางบุษบา โหระวงศ์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระดับภาษา
เรื่อง ระดับภาษา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑๕ นางบุษบา โหระวงศ์ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม

2 สวัสดีครับเพื่อน ๆ วันนี้ผมจะนำเพื่อน ๆไปรู้จักกับลักษณะสำคัญประการหนึ่งของภาษาไทยกันนะครับ เพื่อน ๆ พอจะนึกออกไหมครับ ใช่แล้ว...ถูกต้องครับ ระดับภาษานั่นเอง ถ้าเพื่อน ๆ อยากรู้ว่าระดับภาษาเป็นอย่างไรตามผมมาเลยครับ ผมจะพาไปหาพี่น้อยหน่าให้ช่วยอธิบายให้ฟัง

3 สวัสดีครับพี่น้อยหน่า วันนี้ผมพาเพื่อน ๆ มารบกวนพี่น้อยหน่าอีกแล้วครับ พี่ครับการสื่อสารในชีวิตประจำวันของเรา ถ้าเราเลือกใช้ถ้อยคำให้ตรงความหมาย แล้วเรียบเรียงคำให้ตรงกับกฎเกณฑ์ทางภาษาก็เพียงพอแล้วใช่ไหมครับ

4 ใครบอกคะ การสื่อสารนอกจากต้องคำนึงถึง ๒ สิ่งที่น้องบอกมาแล้ว เรายังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน โอกาสกาลเทศะ และประชุมชนอีกด้วยนะ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภาษาไทยของเราถูกจัดแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ที่เราเรียกว่า ระดับภาษา อย่างไรเล่าคะ

5 ตายแล้ว ! ผมคิดว่าแค่เราเลือกใช้คำให้ตรงความหมายก็พอ แล้วอย่างนี้เราใช้อะไรเป็นตัวกำหนดเล่าครับว่าจะต้องใช้ภาษาระดับไหน เมื่อไหร่จะใช้กับใคร ใช้ในโอกาสไหน แย่แล้วเรื่องใหญ่จริง ๆ นะนี่

6 อย่าเพิ่งตกอกตกใจไปเลยนะคะ เอาเป็นว่าเดี๋ยวพี่จะอธิบายให้ฟังตามลำดับนะคะ ก่อนอื่นเราก็ต้องรู้ความหมายของระดับภาษาก่อน หลังจากนั้นเราก็ไปศึกษากันว่าเราแบ่งภาษาออกเป็นระดับต่าง ๆ กี่ระดับ อะไรบ้าง เสร็จแล้วเราก็ต้องจำให้ได้ว่าปัจจัยกำหนดระดับภาษามีอะไรบ้าง ภาษาระดับต่าง ๆ มีลักษณะอย่างไร แล้วที่สำคัญเมื่อรู้แล้วเราต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องตามแบบแผนอีกด้วยนะ นี่แหละที่สำคัญ

7 พร้อมหรือยังคะน้อง ๆ ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาเรื่องการแบ่งภาษาเป็นระดับต่าง ๆ กันเลยดีกว่า

8 ระดับภาษาเป็นเรื่องของความเหมาะสมในการใช้ภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล ตามโอกาส กาลเทศะ และประชุมชน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามความมุ่งหมาย การแบ่งภาษาเป็นระดับต่าง ๆ นั้น อาจแบ่งอย่างกว้าง ๆ เพียง ๒ ระดับ คือ ระดับที่เป็นแบบแผน และระดับที่ไม่เป็นแบบแผนและสามารถแบ่งย่อยลงไปเป็น ๕ ระดับ เพื่อผู้ใช้จะได้เลือกใช้ได้ละเอียดและเหมาะสมยิ่งขึ้น ได้แก่ ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับไม่เป็นทางการและภาษาระดับกันเอง

9 ถ้าอยากรู้พี่น้อยหน่าจะพาไปศึกษาเรื่อง ปัจจัยกำหนดระดับภาษาคะ
น้อง ๆ อยากรู้ไหมคะ ว่าการแบ่งภาษาเป็น ๕ ระดับนั้น มีอะไรเป็นข้อกำหนด ถ้าอยากรู้พี่น้อยหน่าจะพาไปศึกษาเรื่อง ปัจจัยกำหนดระดับภาษาคะ

10 ปัจจัยกำหนดระดับภาษา มีดังนี้ ๑
ปัจจัยกำหนดระดับภาษา มีดังนี้ ๑. โอกาสและสถานที่ การสื่อสารกับบุคคลกลุ่มใหญ่หรือในที่ประชุมจะใช้ภาษาระดับที่ต่างจากการสื่อสารกันที่บ้านหรือที่ตลาดร้านค้า ๒. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล เช่น เพื่อนสนิท คนเพิ่งจะรู้จักกัน ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยกำหนดระดับภาษาในการสื่อสาร ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานที่ด้วย

11 ลักษณะของเนื้อหา เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวมักใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการหรือกันเอง เนื้อหาเกี่ยวกับวิชาการต้องใช้ภาษาระดับทางการ สื่อที่ใช้ในการส่งสาร เช่น การพูดทางวิทยุโทรทัศน์ การใช้โทรศัพท์ การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ย่อมใช้ภาษาที่ต่างกัน

12 คราวนี้น้อง ๆ ลองตอบคำถามพี่สัก ๒ ข้อนะคะ ๑
คราวนี้น้อง ๆ ลองตอบคำถามพี่สัก ๒ ข้อนะคะ ๑. ภาษาแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ อะไรบ้าง ๒. ปัจจัยที่กำหนดระดับภาษามีอะไรบ้าง ลองทบทวนให้ดีก่อนนะคะ ถ้าตอบได้แล้วไปดูเฉลยกันเลยค่ะ

13 เฉลย ๑. ภาษาแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ได้แก่ ระดับพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับไม่เป็นทางการ และระดับกันเอง ๒. ปัจจัยกำหนดระดับภาษาได้แก่ โอกาสและสถานที่ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่ใช้ในการส่งสาร

14 น้อง ๆ เก่งกันทุกคนเลยใช่ไหมคะ พี่น้อยหน่า ขอปรบมือให้ค่ะ เราลองมาทบทวนกันอีกครั้งนะคะ ภาษาแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ได้แก่ ระดับพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับไม่เป็นทางการ และระดับกันเอง โดยมีปัจจัยกำหนด ๔ ประการ คือ โอกาสและสถานที่ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่ใช้ส่งสาร

15 พี่น้อยหน่าครับ ภาษาในระดับต่าง ๆ มีลักษณะอะไร ที่เป็นลักษณะพิเศษ พอจะใช้สังเกตได้บ้างไหมครับพี่
มีแน่นอนอยู่แล้วค่ะน้อง ๆ ใจเย็น ๆ เดี๋ยวเราไปศึกษาเรื่องลักษณะของภาษาระดับต่าง ๆ กันเลยดีกว่านะคะ จะได้หายสงสัยเสียที

16 ลักษณะของภาษาระดับพิธีการ ใช้สื่อสารในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การเปิดประชุมรัฐสภา
การกล่าวต้อนรับ การกล่าวรายงาน การกล่าวสุนทรพจน์ ผู้ส่งสารเป็นบุคคลสำคัญ ผู้รับสารเป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ สัมพันธภาพมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ไม่มี การโต้ตอบจากผู้รับสาร ภาษาที่ใช้ต้องเลือกสรรถ้อยคำไพเราะ สละสลวย ก่อให้เกิดความรู้สึกจรรโลงใจเป็นส่วนใหญ่

17 ตัวอย่างภาษาระดับพิธีการ ในวาระอันเป็นมหาสมัยมงคลที่ระลึกแห่งการประดิษฐานพระบรมราชจักรีวงศ์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้ตั้งการพระราชพิธีถวายสักการะสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าขึ้น ณ ท้องสนามหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบูชาพระรัตนตรัย และทรงถวายเครื่องราชสักการะบวงสรวงตามโบราณราชประเพณีโปรดเกล้าฯ อ่านประกาศราชาภิสดุดีท่ามกลางมหาสันนิบาตแห่งพระราชวงศ์ ข้าราชการและประชาชน

18 เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ ภาษาระดับพิธีการ ไม่ยากใช่ไหมคะ มาลองลับสมองกันหน่อยนะคะน้อง ๆ

19 จงกาเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ผิด ๑. ภาษาระดับพิธีการใช้ในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ ๒. ผู้ส่งสารจะเป็นใครก็ได้ แต่ผู้ที่ส่งสารต้องเป็นผู้มีตำแหน่งสูง เท่านั้น ๓. ผู้ส่งสารจะเป็นฝ่ายส่งสารฝ่ายเดียว ผู้รับสารจะไม่โต้ตอบ ๔. สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นกันเอง ๕. ภาษาที่ใช้จะเลือกสรรถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ

20 ทำกันได้ไหมคะ น้อง ๆ ลองคิดเองก่อนนะคะ แล้วไปตรวจคำตอบในหน้าต่อไปเลยค่ะ

21 เฉลย ๑.  ๒.  ๓.  ๔.  ๕.  เก่งมากเลยค่ะ ต่อไปเรามาศึกษาระดับภาษาประเภทต่อไปเลยนะคะ

22 ลักษณะของภาษาระดับทางการ ใช้ในการบรรยาย อภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุม หรือเป็นข้อเขียนที่ปรากฏต่อสาธารณชน เช่น หนังสือราชการ หรือวงการธุรกิจ ผู้รับสารและผู้ส่งสารเป็นบุคคลในวงการอาชีพเดียวกัน มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับธุรกิจ หรือวิชาการด้านนั้น ๆ เนื้อหามีลักษณะเจาะจงเกี่ยวกับธุรกิจ การใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมา อาจมีศัพท์เทคนิคหรือศัพท์วิชาการอยู่ด้วย

23 ตัวอย่างภาษาระดับทางการ ธนาคารทรัพย์มหาชนขอขอบพระคุณท่านสมาชิกบัตรที่ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคาร แต่เนื่องจากขณะนี้บัญชีบัตรเครดิตของท่านได้เลยกำหนดเวลาการชำระเงินแล้ว ธนาคารจึงใคร่ขอความร่วมมือจากท่าน โปรดดำเนินการชำระยอดขั้นต่ำตามที่ระบุไว้ข้างต้น โดยท่านสามารถใช้ชุดชำระเงินซึ่งแนบมาพร้อมจดหมายนี้ หากท่านมีข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารที่หมายเลข

24 น้อง ๆ คะ ช่วยพี่น้อยหน่าวิเคราะห์ลักษณะของภาษาระดับทางการจากตัวอย่างข้างต้นกันหน่อยนะ โดยเติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง 1. ข้อความนี้เป็นลักษณะของจดหมาย ผู้รับสารคือ ผู้ส่งสารคือ สัมพันธภาพของผู้รับและผู้ส่งสาร 4. เนื้อความของจดหมาย 5. การส่งสารใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน เช่น

25 ใครวิเคราะห์เสร็จแล้วยกมือขึ้น ถ้ายังคิดไม่ออกก็ลองกลับไปอ่านข้อความข้างต้นอีกครั้งนะคะ คราวนี้เราลองมาตรวจคำตอบกันดีกว่าคะ

26 เฉลย ๑. ข้อความนี้เป็นลักษณะของจดหมาย ธุรกิจ ๒. ผู้รับสารคือ ลูกหนี้ธนาคาร ผู้ส่งสารคือ พนักงานธนาคาร ๓. สัมพันธภาพของผู้รับและผู้ส่งสาร ทั้งสองฝ่ายไม่ได้พบหน้ากัน ๔. เนื้อความของจดหมาย เตือนให้ชำระหนี้บัตรเครดิต ๕. การส่งสารใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน เช่น ใคร่ขอความร่วมมือจาก ท่าน โปรดดำเนินการชำระ กรุณาติดต่อพนักงานธนาคาร

27 อย่าลืมนะคะถ้าทำแบบทดสอบไม่ได้ ให้น้อง ๆ กลับไปศึกษาข้อความข้างต้นอีกครั้ง แล้วลองทำใหม่รับรองค่ะว่าต้องทำได้แน่ ๆ ต่อไปเรามาศึกษาระดับภาษากึ่งทางการกันนะคะ เป็นระดับภาษาประเภทที่ ๓ แล้วนะคะ

28 ลักษณะของภาษาระดับกึ่งทางการ คล้ายกับภาษาระดับทางการแต่จะลดความเป็นการเป็นงานลง ใช้ในการประชุมกลุ่มเล็กลง เช่น การอภิปราย ประชุมกลุ่มย่อย การเสวนา บรรยายในห้องเรียน ข่าว บทความในหนังสือพิมพ์ สัมพันธภาพระหว่างผู้รับกับผู้ส่งสารอาจโต้ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้างเป็นระยะ เนื้อหาเป็นเรื่องความรู้ทั่วไป การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ การดำเนินชีวิต ใช้ศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น อาจมีภาษาพูดปะปนอยู่บ้าง

29 ตัวอย่างภาษาระดับกึ่งทางการ ที่เรียกว่า “ปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย” ถ้าแปลตรงไปตรงมาก็จะต้องแปลว่า “การรบกับวัฒนธรรมไทย” ฟังชอบกลอยู่ หากจะใส่คำว่า “เพื่อ” เข้าไปสักคำหนึ่งระหว่าง “รณรงค์” กับ “วัฒนธรรมไทย” น่าจะฟังเข้าใจง่ายขึ้น และตรงกับวัตถุประสงค์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สำคัญอยู่ที่เจตนาของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติที่มุ่งเน้นในการที่จะชักจูงชวนเชิญให้คนไทยทุกหมู่เหล่าได้ช่วยกันดำรงรักษา ส่งเสริม สืบสาน และพัฒนาวัฒนธรรมไทยต่างหาก

30 ต่อไปเรามาฝึกวิเคราะห์ข้อความกันนะคะ ๑
ต่อไปเรามาฝึกวิเคราะห์ข้อความกันนะคะ ๑. เนื้อความเป็นบทความแสดงความคิดเห็นมีลักษณะ ของภาษาทางการ ได้แก่… ๒. มีคำบางคำเป็นภาษาพูดแทรกอยู่ เช่น …

31 เรามาดูเฉลยกันดีกว่านะคะ แต่ว่าน้อง ๆ ต้องใช้ความพยายามในการหาคำตอบด้วยนะคะคนเก่ง ๑. ภาษาทางการ ได้แก่ เจตนา ดำรง รักษา ส่งเสริม สืบสาน พัฒนา ๒. ภาษาพูด ได้แก่ ฟังชอบกลอยู่ น่าจะฟังเข้าใจง่ายขึ้น สักคำหนึ่ง

32 พี่น้อยหน่าครับผมเก่งไหม ตอบถูกหมดเลย ข้อสังเกตของภาษาระดับกึ่งทางการก็คือจะมีภาษาพูดปะปนอยู่บ้าง ต่อไปเราลองศึกษาระดับภาษาระดับที่ ๔ กันนะครับเพื่อน ๆ ระดับภาษาไม่เป็นทางการครับ

33 ลักษณะภาษาไม่เป็นทางการ หรือเรียกว่าระดับสนทนา ใช้สนทนากันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คน ในสถานที่ไม่ใช่ส่วนตัว เนื้อหามักเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ในชีวิตประจำวัน กิจธุระ การปรึกษาหารือร่วมกัน ถ้อยคำใช้กันเฉพาะกลุ่มหรือเข้าใจความหมายตรงกันได้ในกลุ่มเท่านั้น

34 ตัวอย่างภาษาระดับไม่เป็นทางการ ผมไม่ใช่เด็กเรียนดี ที่พอไปได้จริง ๆ ก็เป็นวิชาเกี่ยวกับภาษาและศิลปะ นอกนั้นแล้วกระท่อนกระแท่น จะตกมิตกแหล่ ผมไม่ชอบอ่านตำรา ไม่ชอบท่องจำอะไรทั้งสิ้น หนังสือบางเล่มที่ซื้อตอนต้นเทอมก็ไม่เคยเปิดอ่านแม้แต่หน้าเดียว จนเรียนจบขอบปกยังใหม่ สะอาดเอี่ยม ไม่มีรอยช้ำของการพลิก ถึงคราวสอบก็เข้าไปนั่งเดาสุ่ม ใช้วิธีหลับตาจิ้ม ทำให้ผมมักสอบเสร็จเป็นคนแรก ๆ เสมอ การเดาใช้เวลาไม่มากนี่ครับ จะให้นั่งทวนข้อสอบ ตรวจทานถูกผิดก็ทำไม่ได้อีก ผมเดาอย่างมั่นใจทุกครั้งไม่ต้องตรวจทาน

35 น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าการใช้ถ้อยคำของตัวอย่างภาษาระดับ ไม่เป็นทางการข้างต้นเป็นอย่างไรบ้าง อย่าลืมยกตัวอย่างด้วยนะคะ เสร็จแล้วไปดูเฉลยหน้าต่อไปเลยค่ะ

36 เฉลย ภาษาที่ใช้เป็นภาษาพูด เช่น กระท่อนกระแท่น จะตกมิตกแหล่ อะไรทั้งสิ้น ต้นเทอม เดาสุ่ม หลับตาจิ้ม ยอดเยี่ยมไปเลยค่ะน้อง ภาษาระดับไม่เป็นทางการจะใช้ภาษาพูด แต่สถานที่ไม่ใช่ที่ส่วนตัวจำให้ดีนะคะ ต่อไปเรามาศึกษาภาษาระดับสนทนากันนะคะเป็นระดับสุดท้ายแล้วค่ะ

37 ลักษณะของภาษาระดับกันเอง เป็นภาษาที่ใช้ในวงจำกัด เช่น ภาษาที่ใช้ในครอบครัว สามีภรรยา เพื่อนสนิท สถานที่มักเป็นที่ส่วนตัว เช่น ที่บ้าน ในห้องส่วนตัวเฉพาะ เนื้อหาเป็นเรื่องราวทั่วไปในชีวิตประจำวัน ถ้อยคำใช้คำคะนองที่ใช้เฉพาะกลุ่ม ภาษาถิ่น ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร อาจปรากฏในนวนิยายหรือเรื่องสั้นเพื่อให้เรื่องสมจริงตามบทบาทตัวละคร

38 ตัวอย่างภาษาระดับกันเอง ผู้หญิงที่ปล่อยให้พุงพลุ้ยอ้วนเป็นพะโล้อย่างนี้ นอกจากจะดูไม่ได้แล้ว ยังจะตายไวเสียอีกด้วย ภาษาระดับกันเองนี่พวกผมถนัดมากเลยพี่ ผมชอบใช้เวลาคุยโทรศัพท์กับเพื่อน ในละครน้ำเน่าก็มีดูแล้วสนุกมากเลยครับพี่น้อยหน่า

39 เป็นอย่างไรบ้างเพื่อน ๆ เราลองมาทบทวนความรู้กันดีกว่านะครับ ๑
เป็นอย่างไรบ้างเพื่อน ๆ เราลองมาทบทวนความรู้กันดีกว่านะครับ ๑. ระดับภาษาแบ่งเป็น ๕ ระดับ ได้แก่ ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับกันเอง ๒. ปัจจัยกำหนดระดับภาษา ได้แก่ โอกาสและสถานที่ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่ใช้ส่งสาร

40 แล้วน้อง ๆ อยากรู้ไหมคะว่าอะไรทำให้ภาษามีระดับที่ต่างกัน ถ้าไม่รู้ตามพี่มาทางนี้ค่ะ เราจะไปศึกษาเรื่ององค์ประกอบที่ทำให้ภาษามีระดับต่างกันค่ะ

41 องค์ประกอบทางภาษาที่ทำให้ภาษามีระดับต่างกัน
การเรียบเรียง ภาษาระดับพิธีการและระดับทางการจะขัดเกลาภาษาให้ไพเราะ กลมกลืนมีระเบียบ ระดับกึ่งทางการอาจไม่เป็นระเบียบบ้าง ภาษาระดับไม่เป็นทางการและระดับ กันเอง ความเป็นระเบียบจะลดหย่อนลงไปเป็นลำดับ ๒. การนำเสนอ ภาษาระดับพิธีการและระดับทางการมักนำเสนอเป็นกลาง ๆ ไม่เจาะจง ผู้รับเป็นกลุ่มบุคคล ระดับกึ่งทางการอาจแทรกน้ำเสียงของตนเพื่อสร้างความคุ้นเคยได้เป็นบางช่วง ระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเองใช้สื่อสารเฉพาะบุคคลโดยส่วนตัว

42 ๓. ถ้อยคำที่ใช้ ถ้อยคำที่แสดงความลดหลั่นตามระดับภาษาได้แก่ สำนวนหลายสำนวนใช้ได้ในภาษาระดับไม่เป็นทางการลงมาเท่านั้น เช่น อาบน้ำอาบท่า สตุ้งสตางค์ เอะอะมะเทิ่ง โง่เง่าเต่าตุ่น บ้าบอคอแตก เป็นต้น นอกจากนี้คำอุทานเสริมบท เช่น กระดูกกระเดี้ยว รถรา พยาบงพยาบาล จะใช้ในภาษาระดับที่ไม่เป็นทางการลงมา อ๋อ ! เป็นเพราะองค์ประกอบทางภาษานี่เอง ที่ทำให้ภาษาต่างระดับกัน มีทั้งการเรียบเรียง การนำเสนอ แล้วยังมีการใช้ถ้อยคำอีกด้วย ผมเข้าใจแล้วครับพี่น้อยหน่า

43 ใช่แล้วค่ะ แต่ยังไม่หมดนะคะ ยังมีข้อควรสังเกตอีกหลาย ๆ ประการ ดังนี้ค่ะ
ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับความลดหลั่นตามระดับภาษา  คำสรรพนาม ระดับพิธีการ ระดับทางการ และกึ่งทางการ นิยมใช้สรรพนามดังนี้ กระผม ผม ดิฉัน ข้าพเจ้า ท่าน ท่านทั้งหลาย ระดับไม่เป็นทางการและกันเอง นิยม ใช้สรรพนามดังนี้ ฉัน ผม ดิฉัน เรา หนู ชื่อเล่น เธอ คุณ ท่าน  คำนาม คำนามหลายคำใช้ต่างกันในระดับทางการและไม่เป็นทางการ เช่น ภาษาแบบแผน ภาษาไม่เป็นแบบแผน

44 ฌาปนกิจ อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างไร
ภาษาแบบแผน ภาษาไม่เป็นแบบแผน หนังสือรับรอง ฌาปนกิจ อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างไร คลอดบุตร ดวงตราไปรษณียากร รถประจำทาง ระดับทางการขึ้นไปไม่นิยมคำลงท้าย ใบรับรอง เผาศพ ยังงั้น ยังงี้ ยังไง ออกลูก แสตมป์ รถเมล์ คะ ครับ ซิ นะ เถอะ

45  คำกริยา คำกริยาจะแสดงระดับภาษาได้อย่างชัดเจน เช่น ตาย อาจใช้ ล้ม เสีย ถึงแก่กรรม มรณภาพ สิ้นชีพิตักษัย สวรรคต หรือ กิน อาจใช้ ทาน รับประทาน บริโภค เสวย ฉัน เป็นต้น  คำวิเศษณ์ ที่บอกลักษณะหรือแสดงความรู้สึก เช่น เปรี้ยวจี๊ด เย็นเจี๊ยบ วิ่งเต็มเหยียด เยอะแยะ จะใช้ในระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเอง หรืออาจใช้ในระดับกึ่งทางการก็ได้ ภาษาระดับทางการขึ้นไปมีใช้บ้าง เช่น เป็นอันมาก มาก เป็นต้น

46 น้อง ๆ ลองพิจารณาข้อความต่อไปนี้นะคะว่าถูกต้องหรือไม่ตามระดับภาษาโดยใส่เครื่องหมาย  หรือ  ลงหน้าข้อความนะคะ ๑. ภาษาระดับพิธีการจะนำเสนอตามแบบแผนที่เตรียมไว้ล่วงหน้า ๒. การเรียบเรียงภาษาในแต่ละระดับมีความลดหย่อนลงไปตามลำดับ ๓. ผีห่าซาตาน อีลุ่ยฉุยแฉะ นิยมใช้ในภาษาระดับพิธีการ ๔. วันนี้แกจะพากิ๊กไปไหน เป็นภาษาระดับกันเอง ๕. ผ่านหนังสือไปตามลำดับขั้น เป็นภาษาแบบแผนของคำว่า แทงเรื่อง

47 เฉลย ๑.  ๒.  ๓.  ๔.  ๕.  ไชโย! ผมทำถูกหมดเลย ขอบคุณพี่น้อยหน่ามากนะครับ เป็นอย่างไรบ้างครับเพื่อน ๆ ทำกันได้ไหมครับ เพื่อน ๆ ลองมาสรุปความรู้ทั้งหมดกับผมดูอีกครั้งนะครับ

48 ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของภาษาไทย คือ มีการแบ่งระดับของภาษาให้ผิดแผกกัน เป็น ๕ ระดับ ได้แก่ ระดับพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับไม่เป็นทางการ และระดับกันเอง โดยมีปัจจัยที่กำหนดระดับภาษาให้เหมาะสม ๕ ประการ ได้แก่ โอกาสและสถานที่ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลสมความมุ่งหมาย

49 องค์ประกอบของภาษาที่ทำให้ภาษามีระดับต่างกัน ได้แก่ การเรียบเรียงเนื้อหา กลวิธีการนำเสนอ และถ้อยคำที่ใช้ในแต่ละระดับ ผู้นำเสนอควรได้พิจารณาเลือกใช้ระดับของภาษาให้เหมาะสมตามลักษณะสำคัญของภาษาในระดับนั้น ๆ ทั้งใน การพูดและการเขียนให้ถูกต้อง เหมาะสมแก่บุคคล โอกาส และสถานที่

50 วันนี้เราก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับระดับภาษามากขึ้นแล้วนะครับ ถ้าเพื่อนคนไหนยังไม่เข้าใจก็ค่อย ๆ อ่านทบทวนกรอบความรู้ทั้งหมดอีกครั้งนะครับ รับรองครับคราวนี้เพื่อนๆต้องพัฒนา มีความก้าวหน้าและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยมแน่นอน โชคดีนะครับ

51 สวัสดีค่ะ สวัสดีครับ


ดาวน์โหลด ppt นางบุษบา โหระวงศ์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระดับภาษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google