ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 5 การเขียนตอบข้อสอบอัตนัย
หัวข้อ 1. ความหมายของข้อสอบอัตนัย 2. จุดมุ่งหมายของข้อสอบอัตนัย 3. ลักษณะของตัวข้อสอบอัตนัย 4. ประเภทของข้อสอบอัตนัย 5. แนวคำถามของข้อสอบอัตนัย 6. หลักการวิเคราะห์ตัวข้อสอบอัตนัย 7. ประเภทของการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย 8. ข้อควรปฏิบัติในการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย 9. ปัญหาที่พบในการตอบข้อสอบอัตนัย
2
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจลักษณะของข้อสอบอัตนัย
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำแนวทางไปใช้เขียนตอบข้อสอบ อัตนัยได้
3
1. ความหมายของข้อสอบอัตนัย
1. ความหมายของข้อสอบอัตนัย ข้อสอบอัตนัย (subjective test) หมายถึง ข้อสอบที่มี เฉพาะคำถาม เพื่อให้ผู้สอบเขียนตอบตามความรู้ ความคิด ความสามารถ หรือประสบการณ์ของตนเอง
4
2. จุดมุ่งหมายของข้อสอบอัตนัย
2.1 เพื่อวัดความรู้ หรือความจำในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ความรู้ เรื่องประวัติของเมืองมหาสารคาม เป็นต้น 2.2 เพื่อวัดความคิดเชิงวิเคราะห์ ซึ่งหมายถึงความคิดในการ แยกแยะเรื่องต่างๆ เช่น วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการ เรียน เป็นต้น 2.3 เพื่อวัดความคิดเชิงสังเคราะห์ ซึ่งหมายถึงความคิดในการ แยกแยะเรื่องต่างๆ แล้วนำมาสร้างขึ้นใหม่ เช่น สังเคราะห์ จุดมุ่งหมายที่แฝงอยูในบทกวีนิพนธ์ เป็นต้น
5
2.5 เพื่อวัดทักษะการประยุกต์ใช้ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการ นำความรู้ไปใช้ เช่น ให้บอกวิธีการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุตก ต้นไม้ เป็นต้น 2.6 เพื่อวัดทักษะทางภาษา ซึ่งหมายถึงความสามารถในการใช้ คำศัพท์ที่ถูกต้อง เหมาะสม การใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง การเชื่อมโยง ประโยคต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม 2.6 เพื่อวัดความสามารถในการเรียบเรียงเนื้อหา และการใช้กลวิธี การนำเสนอ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการลำดับความคิดอย่าง เป็นระบบ และความสามารถในการใช้ตัวอย่าง อ้างทฤษฎี เรื่องเล่า บทกวี ประสบการณ์ ฯลฯ มาประกอบในการเขียนตอบ
6
3. ลักษณะของตัวข้อสอบอัตนัย
ตัวข้อสอบอัตนัย ประกอบด้วย 3 ส่วน 3.1 คำที่ใช้เป็นคำสั่ง 3.2 คำสำคัญที่เป็นประเด็นหลัก 3.3 คำที่ใช้จำกัดขอบเขตหรือแง่มุมของประเด็นหลัก
7
ตัวอย่าง เช่น ก. “จงอธิบายบทบาทของอินเตอร์เน็ตในสังคมไทยสมัยใหม่”
ข. “สภาพแวดล้อมเป็นเรื่องที่สำคัญมากในโลกปัจจุบัน จง อภิปราย” คำที่ใช้เป็นคำสั่ง ได้แก่ ก. จงอธิบาย ข. จงอภิปราย คำสำคัญที่เป็นประเด็นหลัก ได้แก่ ก. อินเตอร์เน็ต ข. สภาพแวดล้อม คำที่ใช้จำกัดขอบเขตหรือแง่มุมของประเด็นหลัก ได้แก่ ก. บทบาทในสังคมไทยสมัยใหม่ ข. เรื่องที่สำคัญมากในโลก ปัจจุบัน
8
4. ประเภทของข้อสอบอัตนัย
4. ประเภทของข้อสอบอัตนัย 4.1 ข้อสอบประเภทจำกัดคำตอบ เป็นข้อสอบที่กำหนดขอบเขต หรือเนื้อหาบางส่วนของคำตอบ เช่น “ จงอภิปรายถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาอังกฤษต่ำกว่าเด็กชาติอื่นในอาเซียน มาสัก 5 ประการ ”
9
4.2 ข้อสอบประเภทไม่จำกัดหรือประเภทขยายคำตอบ เป็น ข้อสอบที่ไม่กำหนดขอบเขตและเนื้อหาบางส่วน รวมถึงไม่ กำหนดความยาวของการเขียนตอบด้วย เช่น “ จงอภิปรายถึงข้อดีและข้อเสียของโครงการรับจำนำข้าว กับ โครงการประกันราคาข้าวของรัฐบาลไทย ”
10
5. แนวคำถามของข้อสอบอัตนัย
5. แนวคำถามของข้อสอบอัตนัย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ออกข้อสอบว่าต้องการวัด ความสามารถของผู้สอบในด้านใด 5.1 ตัวอย่างข้อสอบวัดความรู้ จงอธิบายทฤษฎี มาโดยสังเขป จงอธิบายวิธีทำ
11
5.2 ตัวอย่างข้อสอบวัดความคิดวิเคราะห์
จงจำแนกประเภทของ จงเปรียบเทียบความแตกต่างของ จงเขียนเค้าโครงหรือแผนดำเนินการของ จงอธิบายความสัมพันธ์ของ จงให้เหตุผลที่
12
5.3 ตัวอย่างข้อสอบวัดความคิดสังเคราะห์
จงเขียนโครงการย่อในเรื่อง จงตั้งประเด็นคำถามจากเหตุการณ์ จงสรุปจุดประสงค์ของผู้แต่ง จงสรุปหรือย่อความจากงานเขียน จงจัดระเบียบ ใหม่ ท่านเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า หรือไม่
13
5.4 ตัวอย่างข้อสอบวัดความสามารถนำไปประยุกต์ใช้
จงนำหลักการของ มา ใช้กับปรากฏการณ์ต่อไปนี้ จงเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา พร้อมให้เหตุผล
14
5.5 ตัวอย่างข้อสอบวัดความสามารถในการประเมินค่า
จงประเมินค่าของ พร้อม ทั้ง เสนอเกณฑ์การประเมิน จงตรวจสอบกระบวนการของ จงวิพากษ์การตัดสินใจของ จงวิพากษ์กระบวนการของ
15
6. หลักการวิเคราะห์ตัวข้อสอบอัตนัย
จับประเด็นว่ามีประเด็นที่ต้องตอบกี่ประเด็น จับขอบเขตของ ประเด็นว่าเป็นแง่มุมใด จับคำสั่งในข้อสอบมาดูก่อนว่าต้องการ ให้ระบุ อธิบาย อภิปราย หรือให้ประเมิน ผู้ตอบอาจขีดเส้นใต้ หรือวงคำสำคัญดังกล่าวไว้
16
ผลกระทบของโครงการรับจำนำข้าวที่มีต่อชาวนาอีสานมีอย่างไร บ้าง จงอภิปราย
ประเด็นหลัก - โครงการรับจำนำข้าว ขอบเขต/แง่มุม - ผลกระทบ ต่อชาวนาอีสาน ขอบเขต/แง่มุม - อย่างไร คำสั่ง - ให้อภิปราย
17
การวิเคราะห์ตัวข้อสอบจะทำให้ผู้ตอบได้แนวทางในการเขียน ตอบ เช่น
หากเป็นคำสั่งว่า จงอธิบาย จงจำแนกประเภท จง เปรียบเทียบความแตกต่าง ฯลฯ ผู้ตอบจะต้องยกข้อเท็จจริง (fact) มาตอบเป็นส่วนใหญ่ หากเป็นคำสั่งว่า จงอภิปราย จงวิพากษ์ จงประเมินค่า จง เสนอทางเลือก ฯลฯ ผู้ตอบจะต้องใช้ข้อคิดเห็น (opinion) มา ตอบเป็นส่วนใหญ่ หากมีคำว่า “อย่างไรบ้าง” ผู้ตอบจะต้องเขียนตอบแบบ เป็นรายการ (list)
18
7. ประเภทของการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย
7. ประเภทของการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย 7.1 ประเภทตอบเป็นข้อความสั้น คำถาม : จงระบุสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ไทย ต้องเสียดินแดน ให้กับ คำตอบ : ไทยเสียดินแดนให้กับ มีสาเหตุสำคัญ ที่สุดมาจากการที่
19
7.2 ประเภทตอบเป็นข้อ ๆ ตัวอย่าง คำถาม : จงแจกแจงสาเหตุที่ทำให้ไทยต้องเสียดินแดน ให้กับ คำตอบ : สาเหตุที่ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนให้กับ มีอยู่หลายประการ ซึ่งสามารถเรียงลำดับ ความสำคัญดังนี้
20
7.3 ประเภทตอบเป็นหนึ่งอนุเฉท
ควรเริ่มต้นด้วยการเขียนประโยคใจความสำคัญ (topic sentence) แล้วตามด้วยการขยายความ และจบด้วยประโยคสรุป คำถาม : จงอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนให้กับ คำตอบ : ไทยต้องเสียดินแดนให้กับ นั้นมีสาเหตุจากการที่คน ไทยขาดความสามัคคี เป็นประเด็นสำคัญ ส่วนสาเหตุ เป็น ประเด็นรอง ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า ด้วยสาเหตุดังกล่าวไทยจึงต้อง
21
7.4 ประเภทตอบแบบความเรียง
มีส่วนประกอบ 3 ส่วนได้แก่ บทนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป บทนำ (introduction) จะต้องเขียนเป็นหนึ่งอนุเฉท ใน บทนำนี้จะต้องมีข้อความที่เป็นถ้อยแถลงหลัก (thesis statement) อยู่ด้วย ข้อความดังกล่าวนี้เปรียบเสมือน ประโยคใจความสำคัญของความเรียง
22
เนื้อเรื่อง (body) อาจมีหนึ่งอนุเฉทหรือหลายอนุเฉท ขึ้นอยู่ กับว่าผู้เขียนตอบต้องการเสนอประเด็นย่อยจำนวนมากน้อย เท่าใด
23
บทสรุป (conclusion) ให้เขียนเป็นหนึ่งอนุเฉท สามารถ เขียนด้วยข้อความย่อ (summary) จากเนื้อหาที่กล่าวมา ทั้งหมด แล้วเขียนข้อความทิ้งท้าย (final thought) ที่ชวน ขบคิดหรือน่าสนใจไว้
24
8. ข้อควรปฏิบัติในการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย
8. ข้อควรปฏิบัติในการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย 8.1 ควรเขียนตอบข้อคำถามที่มีคะแนนมากที่สุดก่อน 8.2 ควรเขียนตอบข้อคำถามที่ผู้สอบเข้าใจมากที่สุดก่อน 8.3 ควรแบ่งเวลาที่กำหนดให้ไปตามสัดส่วนของจำนวน คะแนนหรือความยากง่ายของข้อสอบ แต่ละข้อ
25
8.4 ควรระดมสมอง (brain storming) ก่อนโดยเขียน เป็นโครงร่างของคำตอบ (Zemach & Rumisek 2003:91) เช่น
คำถาม : ขณะที่ท่านเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ท่านจะเลือกพักที่หอพักคนเดียว หรือพักกับเพื่อน หรือพักกับ ครอบครัว จงแสดงเหตุผลอย่างชัดเจน
26
คำตอบ : ควรร่างก่อนว่าแต่ละอนุเฉท จะเสนอประเด็นใด เช่น
1) บทนำ - เลือกพักกับครอบครัวเพื่อประหยัดเงิน 2) ไม่เสียค่าเช่า 3) ประหยัดค่าอาหาร 4) ประหยัดค่าน้ำ ค่าไฟ 5) ประหยัดค่าโทรศัพท์ 6) บทสรุป - ถ้าประหยัดได้จะเหลือไว้ซื้อหนังสือ
27
8.5 ควรเขียนความเรียงให้มีคุณลักษณะ 4 ประการ ได้แก่
มีเอกภาพ หมายถึง แต่ละอนุเฉทจะเสนอประเด็นเดียวเท่านั้น มีสารัตถภาพ หมายถึง มีการใช้ข้อความเน้นประเด็นเดิม เช่น ขึ้นต้นอนุเฉทด้วยประเด็นนั้น และปิดท้ายอนุเฉทประเด็นเดิม มีสัมพันธภาพ หมายถึง แต่ละประโยคในอนุเฉทมีความสัมพันธ์ กัน และสามารถโยงความสัมพันธ์ไปยังอนุเฉทต่อไปด้วย มี สุนทรียภาพ หมายถึง ในแต่ละอนุเฉทต้องเลือกสรรคำ ไม่ให้ ซ้ำซาก ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เป็นคำต้องห้าม ไม่เป็นคำกำกวม ใช้ ภาษาระดับทางการ และเขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์ เป็นต้น
28
9. ปัญหาที่พบในการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย
9. ปัญหาที่พบในการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย 9.1 คำตอบไม่ตรงประเด็น ผู้ตอบเขียนตอบในประเด็นที่ไม่ ตรงหรือเป็นประเด็นปลีกย่อย หรือเป็นประเด็นข้างเคียงของ ประเด็นหลักในคำถาม 9.2 คำตอบไม่ครบประเด็น คำถามที่มีหลายประเด็น หรือมี การให้ยกตัวอย่างหรืออ้างทฤษฏี แต่เขียนตอบไม่ครบ และไม่ ยกตัวอย่าง หรือไม่อ้างทฤษฎี 9.3 คำตอบสับสนวกวน คำตอบประเภทนี้มักเกิดจากการที่ ผู้ตอบไม่ได้ร่างโครงร่างของคำตอบไว้ก่อน จึงทำให้การเรียบ เรียงสับสน
29
9.4 คำตอบที่ให้ตัวอย่าง หรือเหตุผล หรืออ้างทฤษฏีผิดพลาด บางครั้งผู้ตอบเขียนตอบประเด็นต่างๆ ได้ถูกต้อง แต่เมื่อ ยกตัวอย่างประกอบ หรือให้เหตุผลประกอบกลับขัดแย้งกับ คำตอบที่ให้ 9.5 คำตอบที่เยิ่นเย้อ ผู้ตอบเขียนตอบอ้อมค้อม 9.6 คำตอบที่สั้นเกินไป ผู้ตอบต้องพิจารณาว่าข้อนั้นมีคะแนน มากน้อยเท่าใด หากมีคะแนนมากควรเขียนตอบให้ยาวกว่าข้อที่ มีคะแนนน้อย หรือข้อที่กำหนดเวลาให้น้อย
30
9.7 คำตอบที่ขาดหลักการหรือหลักฐาน ผู้ตอบเขียนตอบด้วย สามัญสำนึก โดยไม่ได้อ้างข้อมูลหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใดๆ 9.8 คำตอบที่เขียนด้วยลายมือที่อ่านไม่ออก ผู้ตอบเขียนคำตอบ ด้วยลายมือที่หวัดมาก จนผู้อ่านไม่สามารถอ่านได้
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.