งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ
หมายถึง ตัวเลข หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยข้อมูลซึ่งนำมาจัดกระทำ อาจเป็นข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของข้อมูลเชิงปริมาณหรือข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อหาข้อสรุปที่มีประโยชน์และนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล

2 สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน
ขอบข่ายของสถิติ สถิติเชิงพรรณนา เป็นสถิติที่ใช้ในการบรรยายถึงข้อเท็จจริงของข้อมูลที่รวบรวมมาได้ในรูปของการบรรยาย หรือการนำเสนอข้อมูลในรูปของตาราง สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน เป็นเทคนิคที่นำข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งไปอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นข้อมูลทั้งหมด โดยทั่ว ๆ ไป ใช้พื้นฐานความน่าจะเป็น เป็นหลักในการอนุมานหรือทำนาย

3 การเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถทำการเก็บได้จาก 2 แหล่ง แหล่งปฐมภูมิ
การเก็บด้วยตัวเอง อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม ใช้วิธีการลงทะเบียน การทดลองในห้องปฏิบัติการ การเก็บข้อมูลด้วยตัวเองจะเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาก แหล่งทุติยภูมิ การเก็บจากแหล่งวิชาการต่างๆ อาจเก็บข้อมูลจากเอกสาร รายงานของโรงเรียน สถานที่ทำการต่าง ๆ การเก็บข้อมูลด้วยวิธีนี้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย

4 การนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความ
ตัวอย่างเช่น ประชากรอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไปของกรุงเทพมหานครอ่านหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่งมากที่สุด คือประมาณร้อยละ รองลงมา ได้แก่ ประชากรภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือที่อ่านหนังสือพิมพ์รายวันฉบับนี้ ร้อยละ และ ตามลำดับ

5 การนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความกึ่งตาราง
ตัวอย่างเช่น ประชากรอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไปอ่านหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง มีดังนี้ กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 38.8 ภาคใต้ ร้อยละ 26.0 ภาคกลาง ร้อยละ 18.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 10.8 ภาคเหนือ ร้อยละ 6.2

6 การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง จำนวนที่ผลิตต่อปี (ล้านลิตร)
4 รูปแบบ คือ 1. ตารางทางเดียว (one-way table) ตารางที่ ผลผลิตน้ำมันของโรงกลั่นแห่งหนึ่ง (ล้านลิตร) ในปี พ.ศ. 2547 ชนิดน้ำมัน จำนวนที่ผลิตต่อปี (ล้านลิตร) ดีเซล เบนซิน 91 เบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 20 21 25 12 รวมทั้งหมด 78

7 2. ตารางสองทาง (two –way table)
ตารางที่ 1.2 ผลผลิตน้ำมันของโรงกลั่นแห่งหนึ่ง (ล้านลิตร) ตั้งแต่ปี พ.ศ – 2547 ชนิดน้ำมัน พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2547 ดีเซล เบนซิน 91 เบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 12 13 14 9 15 16 10 19 20 21 25 รวมทั้งหมด 48 54 66 78

8 การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิและกราฟ
แผนภูมิแท่งเชิงเดี่ยวและกราฟเส้นเชิงเดี่ยว สินค้านำเข้า แผนภูมิแท่งเชิงเดี่ยว

9 กราฟ แท่ง (Bar Chart)

10 แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน และกราฟเส้นเชิงซ้อน

11 กราฟ เส้น (Line Chart)

12 กราฟเส้นเชิงซ้อน

13 แผนภาพวงกลม สินค้าฟุ่มเฟือย 27% วัตถุดิบเพื่อ การผลิตสินค้า 38%
สินค้าอุปโภค บริโภค 35% สินค้าฟุ่มเฟือย 27% วัตถุดิบเพื่อ การผลิตสินค้า 38%

14 กราฟวงกลม (Pie Chart)

15 แผนภูมิรูปภาพ

16 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร (population) เป็นขอบเขตข้อมูลทั้งหมดที่เรากำลังศึกษาหรืออาจหมายถึง กลุ่มของสิ่งทั้งหมดที่ให้ข้อมูลตามที่เราต้องการศึกษา โดยในวิธีทางสถิติจะเรียกว่า พารามิเตอร์ และนิยมใช้สัญลักษณ์อักษร กรีกแทน เช่น ค่าเฉลี่ยของประชากรแทนด้วย  อ่านว่า มิว (mu) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร แทนด้วย  อ่านว่า ซิกมา (sigma)

17 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง (sample)
เป็นส่วนหนึ่งของประชากรซึ่งถูกเลือกมาศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากในบางครั้ง จะพบว่าการศึกษาบางอย่างไม่อาจทำทั้งหมดของประชากรได้ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก เสียเวลามาก หรือบางทีอาจหาประชากรทั้งหมดไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากในบางครั้ง จะพบว่าการศึกษาบางอย่างไม่อาจทำทั้งหมดของประชากรได้

18 มาตราการวัด การวัด การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีระบบให้กับสิ่งของหรือเหตุการณ์ เพื่อแทนปริมาณหรือคุณภาพของสิ่งที่ต้องการวัด 4 ชนิด มาตราอัตราส่วน (ratio scale) มาตราอันตรภาค (interval scale) มาตราเรียงอันดับ (ordinal scale) มาตรานามบัญญัติ (norminal scale)

19 มาตราอัตราส่วน (ratio scale)
มาตราการวัด มาตราอัตราส่วน (ratio scale) เป็นตัวเลขที่แสดงถึงปริมาณความมากน้อย ของข้อมูลที่มีความแตกต่างระหว่างข้อมูลแต่ละหน่วยเท่ากัน และมีศูนย์แท้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ และถ้าเรากล่าวว่าน้ำหนัก 0 กิโลกรัมก็แปลว่าไม่มีน้ำหนักเลย ซึ่ง 0 ตัวนี้เรียกว่า ศูนย์แท้ (absolute zero)

20 มาตราอันตรภาค (interval scale)
มาตราการวัด มาตราอันตรภาค (interval scale) เป็นมาตราการวัดที่เป็นตัวเลขแสดงปริมาณความมากน้อย และมีความแตกต่างระหว่างข้อมูลแต่ละหน่วยเท่ากัน แต่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น คะแนนสอบวิชาสถิติธุรกิจถ้านักศึกษาได้ 0 คะแนนไม่ได้หมายความว่า นักศึกษาไม่มีความรู้เลย (ไม่ใช่ศูนย์แท้)

21 มาตราเรียงอันดับ (ordinal scale)
มาตราการวัด มาตราเรียงอันดับ (ordinal scale) เป็นมาตราการวัดที่เป็นตัวเลขแสดงปริมาณความมากน้อย เรียกว่า มาตราเรียงอันดับ การวัดในมาตรานี้มีความแตกต่างระหว่างแต่ละหน่วยของข้อมูลไม่เท่ากัน และไม่มีศูนย์แท้ ข้อมูลที่อยู่ในมาตรานี้เป็นตัวเลข ซึ่งตัวเลขที่ต่างกันแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติที่ต่างกัน แต่ตัวเลขนั้นไม่สามารถบอกให้ทราบว่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกันปริมาณเท่าใด เช่น การประกวดนางสาวไทย มีการจัดลำดับจากคนที่สวยที่สุดเป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 ตามลำดับ ความแตกต่างของความสวยงามระหว่างอันดับที่ 1 กับอันดับที่ 2 และระหว่างอันดับที่ 2 กับอันดับที่ 3 ไม่เท่ากัน และบอกไม่ได้ว่ามีความสวยงามต่างกันอยู่มากน้อยเท่าใด

22 มาตรานามบัญญัติ (norminal scale)
มาตราการวัด มาตรานามบัญญัติ (norminal scale) เป็นมาตราการวัดที่กำหนดสัญลักษณ์ขึ้นเพื่อเรียกชื่อหรือเพื่อจำแนก หรือจัดประเภทสิ่งของตามคุณลักษณะ เช่น จำแนกคนตามศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม จำแนกคนตามระดับการศึกษา เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี เป็นต้น หรืออาจใช้สัญลักษณ์ ตัวเลข ตัวอักษร ที่กำหนดขึ้น แทนข้อมูลการนับเพื่อดูความถี่หรือการเกิดซ้ำๆ กันของข้อมูลก็ได้ ข้อมูลที่อยู่ในมาตรานี้จะเป็นชนิดความถี่ มาตรานี้ใช้บอกลักษณะหรือระบุชื่อ หรือจัดประเภทสื่งของ ซึ่งไม่มีคุณลักษณะด้านการคิดคำนวณ เข้ามาเกี่ยวข้อง

23 ระเบียบวิธีทางสถิติ มีอยู่ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1
มีอยู่ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การวางแผนงาน (planning) เป็นการกำหนดกรอบในการดำเนินการต่าง ๆ ขั้นที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูล (collecting data) อาจเก็บจากประชากรทั้งหมดเช่นการทำสำมะโนประชากร หรือเก็บจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อความประหยัดของงานนั้น ๆ แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละงาน

24 ระเบียบวิธีทางสถิติ ขั้นที่ 3 การนำเสนอข้อมูล
เป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้ที่สนใจงานนั้น สามารถทำความเข้าใจและนำไปใช้ได้ โดยอาจนำเสนอในรูปบทความ นำเสนอในรูปตาราง นำเสนอในรูปแผนภูมิแท่งและนำเสนอในรูปกราฟวงกลม เป็นต้น ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ (analyzing data) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงการวิเคราะห์เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของงาน

25 ระเบียบวิธีทางสถิติ ขั้นที่ 5
การตีความหมายและการสรุป (interpretation & conclusion) หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลแล้วจะต้องให้ความหมายและสรุปผลเป็นภาษาที่บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่นักสถิติสามารถอ่านและเข้าใจได้

26 แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1


ดาวน์โหลด ppt ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google