งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Introduction to Public Administration Research Method

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Introduction to Public Administration Research Method"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Introduction to Public Administration Research Method
การออกแบบการวิจัย

2 Introduction การออกแบบการวิจัย คือ การออกแบบการวิจัยเป็นการวางแผนดำเนินการวิจัยอย่าง เป็นระบบ และใช้ระเบียบวิธีการวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. การดำเนินการวิจัย รวมถึงขั้นตอนการทำวิจัย ว่าจะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร 2. การเลือกแบบแผนการวิจัย ควรจะเลือกแบบแผนการวิจัยอะไรจึงจะเหมาะสม กับวัตถุประสงค์และตัวแปร 3.ระเบียบวิธีวิจัย หมายความรวมถึงการเลือกประชากรกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่ม ตัวอย่าง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล การ แปลผลและสรุปผล ตลอดจนการทำรายงานผลการวิจัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย

3 ความมุ่งหมายของการออกแบบการวิจัย
เพื่อให้ได้คำตอบของประเด็นปัญหา เพื่อควบคุมความแปรปรวนของตัวแปร เพื่อให้การวัดตัวแปรถูกต้องและแม่นยำ เพื่อให้การวิจัยดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อการประหยัด

4 ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัย
1.กำหนดขอบเขตของการวิจัย โดยควรกลับไปทบทวนว่าเรื่อง หรือประเด็น ปัญหาวิจัย ข้อคำถาม วัตถุประสงค์ สมมติฐาน การกำหนดตัวแปรและกรอบ แนวคิดว่าเป็นที่พอใจหรือยัง จะปรับปรุงอะไรให้หนักแน่นขึึ้น เพื่อยืนยันความ ถูกต้อง ความสมบูรณ์ของเรื่องวิจัย และตัดสินใจวางแผนการวิจัยให้สอดคล้อง กับเรื่องวิจัย 2.การกำหนดระเบียบวิธีวิจัย จากขอบเขตของเรื่องวิจัยจะช่วยให้นักวิจัย สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกวิธีการวิจัยอย่างไร โดยทั่วไปแล้วการกำหนด ระเบียบวิธีวิจัยมีดังต่อไปนี้

5 ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัย
2.1การเลือกประเภทการวิจัย 2.2 การศึกษาข้อมูล คือการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากวรรณกรรมต่างๆและข้อมูลปฐมภูมิจาก ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง เป็นต้น 2.3 เลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นใคร กลุ่มไหน อยู่ที่ไหน คัดเลือกอย่างไร วิธีการสุ่ม ตัวอย่างอย่างไร และใช้จำนวนเท่าใดเพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ 2.4 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ถ้าหากเป็นการวิจัยเชิงสำรวจและเชิงคุณภาพจะใช้ เครื่องมืออะไรเก็บข้อมูล โดยพิจารณาถึงระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างด้วย 2.5 การวิเคราะห์ข้อมูล ถ้าเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณต้องระบุชนิดสถิติที่ใช้มาตรวัด ตัวแปรและโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพก็ต้องระบุว่าจะวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อ การสร้างรูปแบบอย่างไร เป็นต้น

6 ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัย
3.การกำหนดแผนกิจกรรม การระบุกิจกรรม และขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จ 4.การกำหนดทรัพยากรที่ใช้ ประกอบด้วย บุคลากร เงินงบประมาณ และวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างชัดเจน 5.การจัดทำโครงการวิจัย เมื่อออกแบบการวิจัยตามขั้นต่างๆ เหมาะสมแล้ว สถาปนิกออกแบบการวิจัยก็จัดทำหรือเตรียมโครงการวิจัยให้สมบูรณ์ เพื่อใช้ สำหรับเสนอขอทุนการวิจัย หรือเป็นคู่มือของนักวิจัยต่อไป

7 ขั้นตอนการออกแบบการวิจัย
ความเชื่อถือได้ & ความเที่ยงตรง

8 ตัวแปร ตัวแปร : Variable  มาจากคำว่า  vary = ผันแปร เปลี่ยนแปลง  able = สามารถ   Variable = สิ่งที่สามารถแปรค่าได้  ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือสภาวะการณ์ต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นพวกหรือเป็น ระดับหรือมีค่าได้หลายค่า        ตัวแปร คือ สิ่งที่โดยสภาพทั่วไปแล้วสามารถแปรค่าได้ค่าที่แปรออกมาของตัว แปรย่อมมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

9 ตัวแปร ตัวแปร คือ สิ่งที่ผู้วิจัยสนใจที่จะวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลออกมาในรูปใดรูปหนึ่ง  โดย สรุปแล้ว ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง ระดับการศึกษาอาจแบ่งเป็น ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นต้น สิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าไม่ได้ไม่ถือว่าเป็นตัวแปรเช่น คน แมว แต่ถ้าเป็น เชื้อชาติของ คน สีของแมว จะกลายเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าได้จึงจะถือว่าเป็นตัวแปร

10 ตัวแปร เกณฑ์ในการจำแนกประเภทของตัวแปรมี4 ลักษณะคือ
เกณฑ์ในการจำแนกประเภทของตัวแปรมี4 ลักษณะคือ        1. พิจารณาคุณสมบัติของค่าที่แปรออกมาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ                  1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) เป็นตัว แปรที่แตกต่างกันในระหว่างพวกเดียวกันหรือค่าที่แปรออกมาแตกต่างกันออกไป ตามความถี่จำนวนปริมาณมากน้อยหรือลำดับที่ เช่น บุตรคนที่ (1, 2, 3,...) หรือ คะแนนของนักเรียน (17, 18, 19,....)                  1.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualitative Variables) เป็นตัว แปร ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันในแง่ของชนิดหรือประเภทโดยใช้ชื่อเป็นภาษาที่แสดง ถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในพวกนั้น เช่น อาชีพ (ข้าราชการ ค้าขาย เกษตรกร รับจ้าง) เพศ  (ชาย หญิง) ภูมิลำเนา (ในเมือง ชนบท) 

11 ตัวแปร 2. พิจารณาความต่อเนื่องตามธรรมชาติของตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ                  2.1 ตัวแปรค่าต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็น ตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องกันตลอด เช่น ส่วนสูงน้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น ค่าของ ตัวแปรเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเลขเต็มหน่วยพอดีอาจเป็นทศนิยมหรือเป็น เศษส่วนได้                  2.2 ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง(Discrete Variables) ตัวแปร ประเภทนี้มีค่าเฉพาะตัวของมัน แยกออกจากกันเด็ดขาดวัดค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนหนังสือ เพศ (ชายแทนด้วย 0, หญิงแทนด้วย 1) เป็นต้น 

12 ตัวแปร   3. พิจารณาความเป็นไปได้ของผู้วิจัยที่จะจัดกระทำกับตัวแปร แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ                  3.1 ตัวแปรที่กำหนดได้(Active Variables) เป็นตัวแปรที่ ผู้วิจัยสามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่น วิธีสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดสภาพห้องเรียนและอื่น ๆ เป็นต้น                  3.2 ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการ ทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็นลักษณะของผู้รับการทดลอง เช่น เพศ สภาพ เศรษฐกิจ ความถนัด เป็นต้น

13 ตัวแปร 4. พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผลเป็นการแบ่งตามลักษณะ การใช้เป็นวิธีแบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุดแบ่งเป็น                  4.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent Variables) เป็น ตัวแปรที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุตัวแปรที่มาก่อน                  4.2 ตัวแปรตาม(Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่เป็นผล เป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้น                  4.3 ตัวแปรแทรกซ้อน(Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่ อาจมีผลต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นโดยผู้วิจัยต้องพยายาม ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ควบคุมด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างควบคุมโดยวิธีการทาง สถิติหรือ ผู้วิจัยอาจนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งไปเลย 

14 การสร้างกรอบแนวคิด เป็นการสร้างขอบเขตเชื่อมโยงแนวคิดที่สำคัญของงานวิจัยในแต่ละเรื่อง ซึ่ง ปัญหาของงานวิจัยในแต่ละปัญหาจะมีส่วนในการกำหนดขอบเขตของแนวคิด แตกต่างกันออกไป การสร้างกรอบแนวคิดเป็นการสรุปภาพรวมให้ผู้อื่นมองเห็นว่า งานวิจัยนั้นมี แนวคิดที่สำคัญอะไรบ้าง มีการเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องกันอย่างไร มีความสัมพันธ์ กันในลักษณะแบบธรรมดาจนถึงแบบที่ซับซ้อน ซึ่งงานวิจัยบางเรื่องเรียกการ เชื่อมโยงของแนวคิดนี้ว่า รูปแบบหรือตัวแบบก็ได้

15

16

17

18 สมมติฐานการวิจัย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายคำว่า “สมมติฐาน” ไว้ว่า สมมติฐานคือข้อสมมติที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผลใน การทดลองหรือการวิจัย อารง สุทธาศาสน์ ได้กล่าวว่า สมมติฐาน คือคำตอบของคำถาม แต่เป็นคำตอบ ล่วงหน้าหรือคาดขึ้นมาก่อนที่จะนำข้อมูลมายืนยันจริง การตั้งสมมติฐานในการ วิจัย จึงเป็นการวางกรอบของปัญหาในแนวลึกมากขึ้น การเจาะลึกของปัญหาทำ ให้ผู้วิจัยพอทราบแนวทางล่วงหน้าว่า ผลการวิจัยในประเด็นปัญหาที่สงสัยน่าจะ ออกมาในลักษณะใด

19 ความสำคัญของสมมติฐาน
1. การชี้ให้เห็นปัญหาชัดเจน 2.สมมติฐานช่วยกำหนดความเกี่ยวข้องระหว่างข้อเท็จจริง 3.สมมติฐานเป็นตัวชี้การออกแบบการวิจัย 4. สมมติฐานช่วยในการอธิบายปรากฏการณ์ 5. สมมติฐานช่วยกำหนดขอบเขตของข้อยุติ

20 ประโยชน์ของสมมติฐาน 1. ช่วยชี้แนะให้ผู้วิจัยพิจารณาชนิดตัวแปรที่สำคัญ ข้อมูลที่จะ เก็บรวมไปถึงชนิดของเครื่องมือที่เหมาะสมในการวัด และวิธีเก็บข้อมูล เหล่านั้น บางท่านกล่าวว่าสมมติฐานสามารถกำหนดความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรได้อย่างถูกต้อง 2. ช่วยเป็นกรอบของการดำเนินการวิจัยให้แคบเข้า ซึ่งควบคู่ไป กับวัตถุประสงค์ แต่สมมติฐานจะช่วยตีกรอบให้เฉพาะเจาะจงมากกว่า ในแง่ของการพิจารณารูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบปัญหาได้ตรงเป้า

21 ประโยชน์ของสมมติฐาน 3. กระบวนการตั้งสมมติฐานทำให้ผู้วิจัยได้รับประโยชน์ต่อเนื่อง ตามมาอีกหลายประการ คือผู้วิจัยสามารถเชื่อมโยงแนวความคิด เพราะ สมมติฐานมักจะตั้งขึ้นมาโดยอิงกับแนวความคิด หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเสมอ ซึ่งทำให้ผู้วิจัยสามารถนำแนวความคิดนี้ไปผสมผสานกับการอธิบาย ผลการวิจัย และการสรุปผลได้อย่างถูกต้อง โดยใช้หลักการเชิงเหตุผลได้ อย่างเหมาะสม 4. กระบวนการตั้งสมมติฐานสามารถสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นได้ รวมทั้ง เป็นการทดสอบทฤษฎีเก่าด้วย เพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีนั้น ว่ายังทันสมัยหรือล้าสมัยไปแล้วจำเป็นต้องมีการแก้ไขใหม่อีก


ดาวน์โหลด ppt Introduction to Public Administration Research Method

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google