ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์
2
การสรรหา การสรรหา (recruitment) คือ กระบวนการกลั่นกรอง และคัดเลือก บุคคลที่มีคุณสมบัติคุณวุฒิทางการศึกษา มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ในการทำงาน ซึ่งมาสมัครงานในตำแหน่งต่าง ๆ ที่องค์การเปิดรับสมัครหลักการสรร หาบุคลากร หลักการสรรหาบุคลากรขององค์การ คือ ระบบการกลั่นกรองบุคลากร ในขั้นต้น เริ่มจากเงื่อนไขการประกาศรับสมัคร
3
การสรรหาพนักงานจัดทำขึ้นก็ต่อเมื่อ
มีพนักงานลาออก ปริมาณงานเพิ่มขึ้น (Order เข้ามามาก) ตามคำร้องขอจากสายงานการผลิต หรือสายงานหลัก ต้องการขยายธุรกิจ ต้องการเพิ่มยอดขาย งานไม่ได้คุณภาพ (คิดว่าคนเก่าไม่เก่ง รับคนใหม่มาเพิ่ม) ต้องการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ
4
ระบบการสรรหาบุคคล ระบบอุปถัมภ์ การจัดหาบุคคลเข้าทำงานโดยไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ทำให้ขวัญของพนักงานเสีย ไม่มีความเชื่อมั่น การจงรักภักดีต่อองค์การมีน้อย ระบบคุณธรรม สรรหาบุคคล โดยการพิจารณาความรู้ ความสามารถ
5
การวางแผนในการสรรหา หลังจากที่องค์กรมีความต้องการกำลังคน และได้มีการวิเคราะห์ ความต้องการกำลังคนแล้วในการที่จะสรรหาบุคคลมาแทนในตำแหน่งที่ว่าง หรือมีทดแทนอัตรากำลังคนเนื่องจากมีการขยายหน่วยงานออกไป หรือ ปริมาณงานเพิ่มขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการสรรหาบุคคล จะต้อง วางแผนการสรรหาบุคคล โดยมีการพิจารณาเกี่ยวกับเทคนิควิธีการสรร หาที่จะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้สามารถสื่อข้อความไปถึงกลุ่ม บุคคลที่บริษัทต้องการได้โดยตรงมากที่สุด
6
วิธีการสรรหา 1. การให้ผู้สมัครมาสมัครเอง 2. การให้คนงานเดิมแนะนำเพื่อนหรือคนรู้จักที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดมาสมัคร 3. การโฆษณาผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ 4. การแจ้งผ่านสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรในตำแหน่งที่องค์กรต้องการ 5. การแจ้งผ่านสมาคมวิชาชีพของงานที่ต้องการ เช่น สภาการพยาบาล 6. การแจ้งผ่านศูนย์จัดหางาน 7. การทาบทามบุคคลที่เป็นที่รู้จักดีอยู่แล้วและทำงานที่องค์กรหรือ หน่วยงานอื่น 8. การให้บริษัทค้นหาผู้บริหาร
7
แหล่งของการสรรหาบุคลากร
1. การสรรหาจากภายในองค์กร 2. การสรรหาจากแหล่งภายนอกองค์กร
8
การสรรหาจากแหล่งภายในองค์กร การสรรหาจากภายในองค์กร หมายถึง การคัดเลือกจากคนในองค์กร ที่มีความรู้ความสามารถโดยการสับเปลี่ยนโอนย้ายและเลื่อนตำแหน่งขึ้นมา โดยเลือกสรรด้วยวิธีคัดเลือกหรือเลื่อนชั้นบุคคลในองค์การ โดยพิจารณา จากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและเหมาะสม วิธีการเช่นนี้มีกระทำอยู่ทั่วไป ในวงราชการ เช่น การสอบเลื่อนชั้น จากชั้นจัตวาเป็นชั้นตรีหรือจากชั้นตรีเป็น ชั้นโท และ/หรือจากชั้นโทเป็นชั้นเอก
9
การสรรหาจากแหล่งภายนอกองค์กร
การสรรหาจากแหล่งภายนอกสามารถพิจารณาได้จากแหล่งต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของความต้องการในการจ้างและผลการวิเคราะห์แหล่ง ต่าง ๆ เช่น การประกาศรับสมัคร คนในองค์การแนะนำให้มาสมัครงาน กองการจัดหางานของกรมแรงงาน แระทรวงแรงงานและสวัสดิการ สังคม การรับโอนข้าราชการจากหน่วยสังกัดอื่นที่มีความรู้ความสามารถ ดี เข้ามาปฏิบัติงานใน องค์การของเราเอง
10
การสรรหาคนงานจากแหล่งภายในหน่วยงาน
ข้อดี ข้อเสีย - เป็นแรงจูงใจให้คนงานเดิมปฏิบัติงานดีขึ้น - เปิดโอกาสให้คนงานเดิมมีโอกาสก้าวหน้า - มีโอกาสประเมินความสามารถของคนงาน - เพิ่มขวัญกำลังใจและความจงรักภักดี - คนงานสามารถเริ่มทำงานในตำแหน่งใหม่ ได้ในระยะอันเวลาสั้น - การคิดเรื่องใหม่ ๆ จะอยู่ในวงแคบและมีการลอก เลียนแบบความคิด - เกิดการเมืองและแรงกดดันในองค์การ - จำเป็นต้องมีการจัดการโปรแกรมการพัฒนาอย่าง มาก เพื่อเตรียมคนงานที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
11
การสรรหาคนงานจากแหล่งภายนอก
ข้อดี ข้อเสีย - ได้ความคิดและมุมมองใหม่ ๆ - สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลว่า จะต้องทำให้กลุ่มต่าง ๆ พอใจ - ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นการบริหารภายในองค์การจากเดิมมากนัก - ต้องใช้เวลามากในการให้คนงานใหม่ปรับตัว - เป็นการทำลายกลไกการให้รางวัลโดยการเลื่อนตำแหน่งให้กับคนงานเดิม - ไม่มีข้อมูลความสามารถของคนงานใหม่ว่า จะมีความสามารถเหมาะกับส่วนอื่น ๆ ขององค์การหรือไม่
12
การคัดเลือก การคัดเลือก คือ กระบวนการที่องค์การใช้เป็นการกลั่นกรองผู้สมัครงาน เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งงานว่างที่เปิดรับ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ ต่อเนื่องจากการสรรหาได้ผู้มาสมัครงานในจำนวนที่พึงพอใจแล้ว กระบวนการ คัดเลือกที่ดีจะทำให้ได้คนที่เหมาะสมกับงานที่ต้องการ หรือ “Put the right man on the right job.” นั่นเอง ซึ่งขั้นตอนในการคัดเลือกมีดังภาพ
13
“ Put the right man on the right job”
14
กระบวนการคัดเลือก 1. การสัมภาษณ์ เบื้องต้น
มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกลั่นกรอง บุคคลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมออกไป 2. การกรอกแบบฟอร์มใบสมัคร ขั้นตอนหลักที่สำคัญของ กระบวนการคัดเลือก คือ การให้ผู้สมัครงาน แจ้งรายละเอียดส่วนตัว โดยการ กรอกลงในแบบฟอร์มใบสมัคร 3. การตรวจสอบประวัติ ในบางตำแหน่งที่สำคัญ อาจจำเป็นต้องมีการ ตรวจสอบภูมิหลังของผู้สมัครก่อน เพื่อป้องกัน ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ใน อนาคต
15
กระบวนการคัดเลือก(ต่อ)
4. การทดสอบ ขั้นตอนต่อมาในการคัดเลือกผู้สมัครคือ การทดสอบ ถ้าเรา พิจารณาหน่วยงานทั้งหมดแล้วจะพบว่า ส่วนมากจะไม่ใช้ขั้นตอนนี้ เพราะการ ทดสอบ เป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น จึงจะมีกำลังความสามารถพอ 5. การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญของหน่วยงาน ที่ ใช้ในการคัดเลือกบุคลากร การใช้การ สัมภาษณ์ที่มีรูปแบบคำถามตายตัว ในการถาม ผู้สมัครแต่ละคนเหมือน ๆ กัน ก็เพิ่ 6. การตรวจร่างกาย วัตถุประสงค์เบื้องต้น ในการตรวจร่างกาย 3 ประการคือความน่าเชื่อถือให้กับการสัมภาษณ์ได้มากขึ้น
16
กระบวนการคัดเลือก(ต่อ)
7. การบรรจุทดลองงาน เมื่อผ่านขั้นตอนของการตรวจร่างกายแล้ว ผู้สมัครก็จะได้รับบรรจุเข้าทดลองปฏิบัติงาน ซึ่งตามกฏหมายคุ้ม ครองแรงงาน จะมี กำหนดระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานไม่เกิน 120 วัน
17
เครื่องมือที่นิยมใช้ในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน
การสัมภาษณ์ (Interview การสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงาน (employment interview) เป็นการการสนทนาแลกเปลี่ยน ข้อมูล ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้สมัคร อันจะนําไปสู่การตัดสินใจจ้างงาน การทดสอบ (Testing) การทดสอบเพื่อการจ้างงาน (employment testing) เป็นความพยายามที่จะให้ได้ ข้อมูล เกี่ยวกับความรู้ความสามารถ ทักษะตลอดจนทัศนคติ และบุคลิกภาพของผู้สมัคร แบบสังเกตพฤติกรรม (Observation Form)
18
เครื่องมือที่นิยมใช้ในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน(ต่อ)
แบบวัดทางจิตวิทยา (Questional) แบบสอบถาม (Dues tionnaisc) จดหมายรับรอง (Recommendation) จดหมายรับรอง (recommendation) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่หลายองค์กรใช้ ถึงแมว่าจดหมายรับรองจะมีค่า เที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ค่อนข้างต่ํา เนื่องจากมีผู้สังเกตว่าจดหมาย รับรองมักไม่น่าเชื่อถือ ใบสมัคร (Application Form) ปริญญา ประกาศนียบัตร
19
ปัจจัยที่ใช้พิจารณาคัดเลือกคนเข้าทำงาน
1. ความรู้ 2. ประสบการณ์ 3. เกรดเฉลี่ยหรือผลการศึกษา 4. สถาบันการศึกษา 5. ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ 6. ลักษณะบุคลิกภาพ 7. มีมนุษย์สัมพันธ์เป็นเลิศ
20
บุคคลที่ไม่สามารถรับเข้าทำงานได้
1.วัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ 2.โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม 3.โรคติดยาเสพติดให้โทษ 4.โรคพิษสุราเรื้อรัง 5.โรคไตวายเรื้อรัง
21
9.ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีคดีติดตัว
บุคคลที่ไม่สามารถรับเข้าทำงานได้(ต่อ) 6.โรคสมองเสื่อม 7.โรคทางจิตเวชในระยะที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานใน หน้าที่ 8.โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและ เป็นอุปสรรคต่อการ ปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่ ก.พ.กำหนด 9.ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีคดีติดตัว
22
สรุปการสรรหาและการคัดเลือก
การสรรหาบุคลากรเป็นกระบวนการแสวงหาและจูงใจให้กลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ศักยภาพและมีคุณสมบัติต่างๆ อันเหมาะสมกับตําแหน่ง ซึ่งเป็น กระบวนการที่ เชื่อมโยงระหว่างการวางแผนกับการคัดเลือก และการสรรหาบุคลากรยัง นําไปสู่กระบวนการอื่น ที่ต้อเนื่องอันได้แก่การปฐมนิเทศ การฝึกอบรม การประเมินผล เป็นต้น กระบวนการสรรหา ประกอบด้วย 10 ขั้นตอนได้แก่การวางแผนทรัพยากร มนุษย์การขอจ้างพนักงาน ระบุตําแหน่งที่ จะเปิดรับสมัคร รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ วิเคราะห์งาน ศึกษาข้อคิดเห็นของผู้จัดการกําหนด คุณลักษณะของพนักงานเกี่ยวกับ งาน
23
สรุปการสรรหาและการคัดเลือก(ต่อ)
การคัดเลือกบุคลากรนั้นจะเป็นกระบวนการที่องค์กรใช้เครื่องมือต่างๆ มา ดําเนินการคัดเลือกผู้สมัครให้ได้จํานวนและคุณสมบัติตามความต้องการ จากผู้สมัครจํานวนมาก โดยมีเครื่องมือที่ใช้เพื่อการประเมินผู้สมัครอันได้แก่ การทดสอบ การสัมภาษณ์ ใบสมัครและ จดหมายรับรอง ทั้งนี้องค์กร ส่วนมากจะใช้เครื่องมือต่างๆ ที่กล่าวมามากกว่า 1 ชนิด และใช้ แตกต่างกัน สําหรับตําแหน่งและลักษณะงานที่แตกต่างกัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.