งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กลยุทธ์องค์การ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กลยุทธ์องค์การ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กลยุทธ์องค์การ

2 กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ
ระดับของกลยุทธ์ กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ กลยุทธ์ระดับธุรกิจ กลยุทธ์ระดับหน้าที่

3 ระดับของกลยุทธ์ 1) กลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate-Level Strategy) เช่น กลยุทธ์การเติบโต กลยุทธ์คงตัว และกลยุทธ์ปรับเปลี่ยน 2) กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business-Level Strategy) เช่น กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุน กลยุทธ์ความแตกต่างและกลยุทธ์การมุ่งเน้น 3) กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional-Level Strategy) เป็นการนำกลยุทธ์สู่ระเบียบปฎิบัติจะต้องครอบคลุมหน่วย งานระดับปฎิบัติการขององค์กรอย่างน้อย 4 หน่วยงาน ได้แก่ กลยุทธ์ด้านการผลิต กลยุทธ์ด้านการเงิน กลยุทธ์ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และกลยุทธ์ด้านการตลาด เป็นต้น ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

4 กลยุทธ์ระดับองค์การ 1) กลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate-Level Strategy) กลยุทธ์หลักหรือกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัท (Grand Strategy or Corporate Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่แสดงทิศทางของบริษัท (เติบโต, คงตัว, ปรับเปลี่ยน) ด้วยการพิจารณา วงจรอุตสาหกรรม สภาวะการแข่งขัน และสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทสามารถใช้ร่วมกับกลยุทธ์พื้นฐานในระดับบริษัท (Business-Level Strategy) ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

5 กลยุทธ์ระดับองค์การ กลยุทธ์การเติบโต (Growth Strategy) กลยุทธ์การเติบโต มุ่งสร้างอัตราการเติบโตที่มากกว่าเมื่อเทียบกับตลาด มักใช้การพัฒนาตลาดใหม่ (Market Development - ตลาดใหม่ สินค้าใหม่) พัฒนาสินค้า (Product Development) วิธีการใหม่ (New Process) หรือเจาะตลาดเพิ่ม (Market Penetration - ตลาดใหม่ สินค้าเก่า) กลยุทธ์การเติบโตเป็นกลยุทธ์ที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากการเติบโต หมายถึง รายได้ที่มากขึ้น ราคาหุ้นที่สูงขึ้น และประสิทธิภาพของผู้นำ แต่การเติบโตที่เร็วเกินไปอาจจะนำไปสู่ความไม่มีประสิทธิภาพ ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

6 กลยุทธ์ระดับองค์การ - การมุ่งในสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว (Concentration on a Single Product or Services) เป็นการสร้างการเติบโตด้วยสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว เช่น McDonald ที่มีสินค้าหลักเพียงอย่างเดียว คือ แฮมเบอร์เกอร์ และใช้การเจาะตลาดเพิ่มไปยังพื้นที่ใหม่ๆ ด้วยการรักษามาตรฐาน/คุณภาพ/ความสะอาด สาเหตุที่บริษัทเลือกกลยุทธ์นี้เนื่องจากการที่มีทรัพยากรไม่เพียงพอ ที่อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงหากมีการตกต่ำของสินค้าหรือบริการนั้น - การกระจายธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิม (Concentric Diversification) ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

7 กลยุทธ์ระดับองค์การ - เป็นการสร้างการเติบโตด้วยการเพิ่มสินค้าหรือบริการใหม่ที่สอดคล้องกับสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้ว ซึ่งอาจสอดคล้องในเรื่องเทคโนโลยี Know-How สายผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่ายหรือ ฐานลูกค้า กลยุทธ์นี้จะสร้างตำแหน่งการแข่งขันที่แข็งแกร่งได้ - การรวมธุรกิจในแนวดิ่ง (Vertical Integration) เป็นการสร้าง การเติบโตด้วยการขยายธุรกิจที่มีอยู่ 2 ทิศทาง คือ 1) การรวมตัวไปข้างหน้า (Forward Integration) เป็นการขยายการลงทุนไปยังช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้าหรือบริการปัจจุบัน ทำให้ขยายตลาดได้ง่ายขึ้น และสามารถควบคุมต้นทุนขายได้ ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

8 กลยุทธ์ระดับองค์การ 2) การรวมตัวไปข้างหลัง (Backward Integration) เป็นการขยายการลงทุนไปยังธุรกิจที่ขายสินค้าหรือให้บริการกับธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้บริษัทสามารถควบคุมต้นทุน และ คุณภาพของปัจจัยนำเข้า นอกจากนี้การใช้กลยุทธ์การรวมตัวในแนวดิ่ง ยังทำให้มีอำนาจทางการตลาด( Market Power) และเป็นการสร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดแก่คู่แข่ง (Barrier to Entry) แต่จะมีความเสี่ยงจากการที่ธุรกิจมีความเกี่ยวเนื่องกันใกล้ชิด ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

9 กลยุทธ์ระดับองค์การ - การรวมตัวในแนวนอน (Horizontal Diversification) เป็นการสร้างการเติบโตจากการซื้อ การควบรวมกิจการของคู่แข่ง กลยุทธ์นี้คล้ายกับ การกระจายธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิม (Concentric Diversification) แต่มีความแตกต่างคือ การรวมตัวในแนวนอน (Horizontal Diversification) จะมุ่งเน้นการเพิ่มสินค้าหรือบริการจากการซื้อบริษัทคู่แข่งเท่านั้น - การกระจายธุรกิจในลักษณะที่ไม่สัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม (Conglomerate Diversification) เป็นการสร้างการเติบโตจากการมีสินค้าหรือบริการใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบในลักษณะของกลุ่มบริษัทที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

10 กลยุทธ์ระดับองค์การ กลยุทธ์คงตัว (Stability Strategy) กลยุทธ์ที่มุ่งรักษาอัตราการเติบโต ส่วนแบ่งการตลาด หรือตำแหน่งทางการแข่งขันของบริษัทไว้ เนื่องจากสภาพของอุตสาหกรรมที่เริ่มตกต่ำ หรือมีคู่แข่งรายใหม่ที่เข้มแข็งเข้ามาในตลาด หรือสภาวการณ์ผันผวน - Leadership กลยุทธ์การมุ่งเป็นผู้นำตลาดด้วยการดึงดูดลูกค้าจากคู่แข่งที่อ่อนแอ เนื่องจากในสภาวะการตกต่ำของอุตสาหกรรมจะทำให้เฉพาะบริษัทที่เป็นผู้นำตลาดเท่านั้นที่สามารถทำกำไรและอยู่รอดได้ - Niche กลยุทธ์การมุ่งสร้างความแข็งแกร่งในบางตลาดที่มีความชำนาญและมีตำแหน่งการแข่งขันที่เข้มแข็ง ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

11 กลยุทธ์ระดับองค์การ - Harvest กลยุทธ์การมุ่งทำกำไรระยะสั้น ไม่ลงทุนเพิ่ม ลดค่าใช้จ่ายต่างๆลง จะช่วยลดปัญหาการมียอดขายที่ลดลง และในอนาคตอาจต้องขายธุรกิจหรือออกจากอุตสาหกรรมนี้ - Quick Divest กลยุทธ์การขายธุรกิจทิ้งอย่างรวดเร็วในช่วงต้นเริ่มตกต่ำของอุตสาหกรรม ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

12 กลยุทธ์ระดับองค์การ กลยุทธ์ปรับเปลี่ยน (Renewal Strategy) กลยุทธ์การปรับตัวด้วยการเปลี่ยนแปลงขนาดองค์กร ลดต้นทุน ปรับโครงสร้าง ขายธุรกิจ หรือล้มละลายเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในสถานการณ์ที่ไม่ดี เช่น การไม่สามารถบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ เศรษฐกิจตกต่ำ และบริษัทก็มีฐานะทางการเงินไม่ดี - Retrenchment กลยุทธ์เพื่อปรับเปลี่ยนเนื่องจากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ หรือประสิทธิภาพ/คุณภาพตกต่ำ เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมตัวแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง เช่น การปรับรื้อระบบองค์กร (Reengineering) หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

13 กลยุทธ์ระดับองค์การ - Turnaround กลยุทธ์เพื่อพลิกสถานการณ์เลวร้ายของบริษัท โดยเฉพาะทางด้านการเงิน จึงเป็นการปรับเปลี่ยนจำนวนมาก มีความรุนแรง ด้วยการควบรวมกิจการ ปรับโครงสร้างหนี้ ขายสินทรัพย์ ลดขนาดองค์กร หรือเปลี่ยนผู้นำองค์กร - Divest กลยุทธ์การขายบางส่วนของบริษัท กรณีที่กลยุทธ์ Harvest หรือ Turnaround ไม่ประสบความสำเร็จ - Liquidation กลยุทธ์การเลิกกิจการด้วยการขายสินทรัพย์ทั้งหมด หรือหยุดการดำเนินงานทั้งหมด เพื่อหยุดการขาดทุนก่อนที่จะล้มละลาย ที่มา : ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

14 จบการบรรยาย


ดาวน์โหลด ppt กลยุทธ์องค์การ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google