งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา

2 ข้อมูลพื้นฐานและการเกษตร ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3 หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
1. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 2. สำนักงานเกษตรจังหวัด พระนครศรีอยุธยา 3. สำนักงานประมงจังหวัด พระนครศรีอยุธยา 4. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 5. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด พระนครศรีอยุธยา 6. สำนักงานสหกรณ์จังหวัด พระนครศรีอยุธยา สังกัด ส่วนภูมิภาค

4 หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(ต่อ)
1. โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา 2. สถานีพัฒนาที่ดินพระนครศรีอยุธยา 3. สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4. ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา 5. สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์พระนครศรีอยุธยา 6. สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1 7. สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 8. ศูนย์บริหารจัดการประมงน้ำจืดภาคกลาง พระนครศรีอยุธยา 9. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี 10. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 15 ปทุมธานี สังกัด ส่วนกลาง

5 โครงการชลประทานที่สำคัญ รวม 13 โครงการ
โครงการชลประทานที่สำคัญ รวม 13 โครงการ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดฯ ตั้งอยู่นอกพื้นที่จังหวัดฯ 1. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ ตั้งอยู่อำเภอท่าเรือ 2. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครหลวง ตั้งอยู่อำเภอวังน้อย 3. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ 4. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ ตั้งอยู่ที่อำเภอผักไห่ 5. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าเจ็ดบางยี่หน ตั้งอยู่อำเภอบางไทร 6. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล ตั้งอยู่อำเภอบางบาล 1. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามหาราช ตั้งอยู่จังหวัดสิงห์บุรี 2. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียม ตั้งอยู่จังหวัดลพบุรี 3. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเริงราง ตั้งอยู่จังหวัดสระบุรี 4. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองเพรียว-เสาไห้ 5. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร 6. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี ตั้งอยู่จังหวัดอ่างทอง 7. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบันลือ ตั้งอยู่จังหวัดนนทบุรี

6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มี 16 อำเภอ 209 ตำบล 1,459 หมู่บ้าน ท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา ภาชี บางปะอิน อุทัย บางบาล วังน้อย บางไทร บ้านแพรก ผักไห่ มหาราช เสนา นครหลวง บางซ้าย บางปะหัน ลาดบัวหลวง เนื้อที่ประมาณ 2, ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,597,900 ไร่ ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศไทยและเป็นอันดับ 11 ของจังหวัดในภาคกลาง

7 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 4 สาย
ได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก  แม่น้ำลพบุรี  แม่น้ำน้อย และมีลำคลองใหญ่น้อยประมาณ 1,254 สายคลอง

8 แผนที่จำลองเส้นทางแม่น้ำ
แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน้อย การบริหารจัดการ 4 ลุ่มน้ำ

9 ดิน มี 6 ประเภท 1) ดินเหนียว พื้นที่ 1,054,080 ไร่ 2) ดินเหนียวปนดินร่วน พื้นที่ 207,716 ไร่ 3) ดินเหนียวปนดินทราย พื้นที่ 47,942 ไร่ 4) ดินร่วนปนดินทราย พื้นที่ 12,300 ไร่ 5) ดินทราย พื้นที่ 8,500 ไร่ 6) ดินร่วน พื้นที่ 300 ไร่ ลักษณะดินส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นดินเหนียว เกิดจากการทับถมของตะกอนกับแม่น้ำ 4 สายหลักกับอีกส่วนที่เกิดจากอิทธิพลของทะเลเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำกร่อย ทำให้ดินมีศักยภาพเป็นกรด

10 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน
พื้นที่จัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม 1 แห่ง ต.ห่อหมก อ.บางไทรพื้นที่ 1,119 ไร่ พื้นที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน 8 อำเภอ คือ อ.พระนครศรีอยุธยา อ.ลาดบัวหลวง อ.วังน้อย อ.บางบาล อ.บางปะหัน อ.บางไทร อ.อุทัย และ อ.เสนา รวมพื้นที่ 29,485 – 2 – 41 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ดินจัดซื้อ จำนวน 17, ไร่ รองลงมาเป็นที่ดินพระราชทาน จำนวน 9,260 – 0 – 10 ไร่ และที่บริจาค 314 – 1 – 10 ไร่

11 ข้อมูลศักยภาพทางการเกษตรของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ด้านพืช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ทำการเกษตรด้านพืช จำนวน 1,056,108 ไร่ จากพื้นที่จังหวัดหมดรวม 1,597,900 ไร่ (ร้อยละ ) แยกเป็น ข้าว 977,501 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 92.55 พืชผัก 5,749 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 0.54 พืชไร่ 1,488 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 0.14 ไม้ผล 14,513 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 1.37 และ ไม้ดอกไม้ประดับ 1,853 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 0.17 จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 48,942 ครัวเรือน

12 ข้อมูลศักยภาพทางการเกษตรของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ต่อ)
ข้อมูลศักยภาพทางการเกษตรของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ต่อ) ด้านปศุสัตว์ จำนวนการเลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 2,886,742 ตัว (เกษตรกร 202 ราย) การเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 3,911,270 ตัว (เกษตรกร 1,002 ราย) จำนวนการเลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 11,983 ตัว (เกษตรกร 1,337 ราย) จำนวนการเลี้ยงแพะ จำนวน 2,011 ตัว (เกษตรกร 74 ราย)

13 ข้อมูลศักยภาพทางการเกษตรของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ต่อ)
ด้านประมง กุ้ง ปริมาณที่จับได้ 1,170,671 กิโลกรัม มูลค่า 115,086,51 บาท ปลาดุก ปริมาณที่จับได้ 6,536,718 กิโลกรัม มูลค่า 193,679,276 บาท ปลานิล ปริมาณที่จับได้ 2,281,280 กิโลกรัม มูลค่า 68,696,015 บาท ปลาตะเพียน ปริมาณที่จับได้ 1,226,757 กิโลกรัม มูลค่า 30,668,940 บาท

14 ภาพรวมด้านการเกษตรและสหกรณ์ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

15 การวิเคราะห์การผลิตทางการเกษตรและสินค้าการเกษตร ในระดับจังหวัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑) สินค้าที่สดใส สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ค่อนข้างดี (๑) พืชผัก พืชสมุนไพร กล้วยไข่ กล้วยหอม แตงเมล่อน ที่ปลูกตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP : Good Agricultural Practice) - พืชผัก พืชสมุนไพรในพื้นที่อำเภอลาดบัวหลวง โดยเฉพาะที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ตำบลสิงหนาท หมู่ที่ ๕) - กล้วยไข่ กล้วยหอม พื้นที่ดินน้ำไหลทรายมูลริมแม่น้ำ อำเภอบางบาล - แตงเมล่อน หรือแตงญี่ปุ่น ที่ผลิตและจำหน่ายโดยฟาร์มเกษตรกรเอกชน บริเวณ อำเภอภาชี (วาสนาฟาร์ม) และ อำเภอบางไทร (ฟาร์มของคุณสุวิทย์ ไตรโชค ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตร ปี ๒๕๕๖ ) มีการผลิตและจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้ราคาที่ดีมาก อีกยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดอีกด้วย

16 (๒) ข้าวเพื่อการบริโภค
- ข้าวหอม พันธุ์ปทุมธานี ๑ แปรสภาพเป็นข้าวสาร ยังมีตลาด ผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศรองรับผลผลิต ราคาข้าวสารบรรจุถุงขนาด ๕ กิโลกรัม ๑๑๐-๑๕๐ บาท - ข้าวพันธุ์ชัยนาท ๑ เป็นข้าวที่มีปริมาณแป้งสูง เมล็ดสวย หุงขึ้นหม้อ สามารถนำไปแปรสภาพเป็นแป้งและอื่นๆได้อีก รวมทั้งสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ส่งเสริม และมีการจัดซื้อเพื่อนำมาแปรสภาพเป็นข้าวสารบรรจุถุงเพื่อจำหน่าย

17 (๓) ข้าวเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่าย โดยกลุ่ม ศูนย์ข้าวชุมชนต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนโดยหน่วยงานกรมส่งเสริมการเกษตร (สำนักงานเกษตรอำเภอ จังหวัด) หน่วยงานกรมการข้าว (ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลพบุรี ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา) อาทิเช่น กลุ่มผลิตพันธุ์ข้าวตำบลนครหลวง (ตำบลพระนอน) อำเภอนครหลวง รวมทั้งพื้นที่ที่มีการส่งเสริมพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่เหมาะสมต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาทิเช่น นิคมผลิตข้าว หมู่ที่ ๔ ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง (เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) ตำบลบ้านแพน อำเภอเสนา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ศูนย์ปราชญ์เกษตรช้างใหญ่ พันธุ์ข้าวที่มีการผลิต จำหน่าย ได้แก่ พันธุ์สุพรรณบุรี ๑ กข ๔๙ พิษณุโลก ๒ ชัยนาท ๑ เป็นต้น

18 (๔) กุ้งแม่น้ำ สำนักงานประมงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดหาสนับสนุนการปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามในแม่น้ำสายหลัก ๔ สาย (แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน้อย แม่ลพบุรี) เพื่อเพิ่มปริมาณกุ้งแม่น้ำ ซึ่งมีราคาสูง เกษตรกรสามารถตกกุ้งมีรายได้ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้ สำนักงานประมงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เสนอโครงการของบประมาณเพื่อจัดหาและปล่อยกุ้งบริเวณทั้ง ๔ ลำน้ำหลัก

19 (๕) ไก่ไข่ ไก่ไข่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม้จะมีฟาร์มมาตรฐาน และปริมาณการเลี้ยงไก่ไข่ลดลงไปบ้าง ช่วงหลังมหาอุทกภัย ในปี ๒๕๕๔ แต่ ณ ปัจจุบัน ไข่ไก่ก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาด และผู้บริโภค ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับผลิตได้ในลำดับที่ 8 ของประเทศ

20 (๖) ไก่เนื้อ ฟาร์มไก่เนื้อดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของบริษัทเอกชน ซึ่งมีระบบการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีระบบการตลาดที่ดี และต่อเนื่อง

21 ๒) สินค้าเกษตรที่เฝ้าระวัง
(๑) ข้าวเพื่อการบริโภคอื่นๆ แม้จะมีราคาค่อนข้างสูง (กิโลกรัมละ ๗๐ – ๑๐๐ บาท) แต่ต้องเฝ้าระวังควบคู่กับการผลิต คือ การแพร่ระบาดของโรค แมลงศัตรูพืช/ข้าว เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่พัฒนาพันธุ์ขึ้นโดยหน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษาต่างๆ แต่ยังไม่ได้รับการรับรองพันธุ์โดยกรมการข้าว รวมทั้งข้อจำกัดด้านจำนวนผู้บริโภค ต้องศึกษาหาวิธีการแปรรูป ใช้ประโยชน์จากข้าวรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย อาทิเช่น เครื่องสำอาง การเพิ่มมูลค่ารูปแบบต่างๆ - ข้าวไรซ์เบอรี่ - ข้าวหอมนิล - ข้าวหอมชลสิทธิ์ - ข้าวอื่นๆ

22 (๒) ข้าวขาว (ข้าวโดยทั่วไปเพื่อการส่งออก) เนื่องจากระยะปีนี้คาดว่าจะไม่มีการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าว จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็ไม่มีปัญหาผลผลิตข้าวที่เกินกว่ากำลังการผลิตของโรงสีข้าวที่มีอยู่ เกษตรกรต้องมีการดำเนินการเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ซึ่ง คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรปราดเปรื่องด้านข้าวได้คัดเลือกเกษตรกรปราดเปรื่องด้านข้าว (Smart Farmer) จำนวน 10 คน สามารถเป็นวิทยากร แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตข้าวลดลงให้เหลือเพียง 1,500 – ๓,๕๐๐ บาท/ไร่ จากต้นทุนการผลิตข้าวโดยทั่วไปของเกษตรกร ๕,๐๐๐ – ๗,๐๐๐ บาท/ไร่

23 การใช้วิธีการของทางหน่วยงานราชการ คือ ๓ ต้องทำ (ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ต้องปลูกข้าวปีละไม่เกินปีละ ๒ ครั้ง และต้องทำบัญชีฟาร์ม) ๓ ลด (ลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการใช้สารเคมี)

24 (๓) ปลาน้ำจืด การผลิตปลาน้ำจืดต้องมีการส่งเสริมการผลิตให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานที่ปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน ต้องเว้นการเพาะเลี้ยงปลาในช่วงที่มีปริมาณน้ำน้อย เพื่อลดผลกระทบต่อผลผลิต ควรมีระบบบำบัดน้ำก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งในการผลิตรายใหญ่เกษตรกรควรมีแหล่งน้ำสำรองเพื่อสามารถทำการผลิตได้ตลอดทั้งปี - ปลาสวาย มีการผลิตและแปรรูปเป็นปลาอบแห้ง(ตำบลเจ้าปลูก อำเภอมหาราช) จำหน่ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ - ปลาทับทิม ปลานิลแดง ปลานิล ปลาตะเพียน ทั้งการเลี้ยงในกระชัง และบ่อดิน ยังมีลู่ทางการตลาดที่ดี

25 ๓) สินค้าเกษตรที่น่าเป็นห่วง (ควรจำกัด หรือ เลิกการผลิต)
(๑) กุ้งขาววานาไมน์ ซึ่งตามกฎหมายห้ามเลี้ยงในพื้นที่จังหวัดฯ เนื่องจากมีการใช้น้ำเค็มมาใช้ในการเพาะเลี้ยง จึงเกิดมลภาวะต่อพื้นที่แหล่งน้ำ ซึ่งมีการเลี้ยงบางส่วน ในพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี เกษตรกรควรปรับเปลี่ยนไปเลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ เช่นปลาน้ำจืด กุ้งก้ามกราม เป็นต้น

26 (๒) ข้าวอายุสั้น (อายุต่ำกว่า ๙๐ วัน)
พันธุ์ข้าวตามประกาศของกรมการข้าว และคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่ไม่รับจำนำตามโครงการรับจำนำข้าว แม้ว่าจะให้ผลผลิตในระยะเวลาสั้น แต่คุณภาพผลผลิตจะค่อนข้างต่ำ จะเกิดปัญหาการรับซื้อผลผลิต จำหน่ายได้ราคาต่ำมาก

27 ๒. ด้านเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสม ๒.๑ การใช้เทคโนโลยี
2.1.1 การใช้พันธุ์ข้าวที่ได้การรับรองจากกรมการข้าว 2.1.2 การลดต้นทุนการผลิตข้าว ๒.๒ เทคนิค ข้อแนะนำ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ๒.๓ ตัวอย่างการผลิตให้ดู เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) เกษตรกรอาสา เกษตรกรผู้นำ

28 ๓. ด้านการบริการทางการเกษตรในพื้นที่
๓.๑ ปัจจัยการผลิต ราชการสนับสนุน (โครงการตามงบประมาณปกติ งบประมาณพัฒนาจังหวัด / กลุ่มจังหวัด หรืออื่นๆ) ๓.๒ ปัจจัยการผลิตที่จำหน่าย ๑) ของภาครัฐและเครือข่าย สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์เพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) ศูนย์ข้าวชุมชน ฯลฯ ๒) ของภาคเอกชน ร้าน / สถานที่ที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง (กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง ฯลฯ)

29 ๓.๓ การให้บริการความรู้ ๓.๔ การให้คำปรึกษา แนะนำ และรับเรื่องร้องเรียน หน่วยงานระดับตำบล อำเภอ ที่ใกล้ชิดเกษตรกร ได้แก่ ศูนย์บริการและถ่ายทอดการเกษตร ประจำตำบล เจ้าหน้าที่ /นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล เครือข่ายอาสาสมัครเกษตรกรแต่ละด้านของหน่วยงาน สมาชิกสภาเกษตรกร สมาชิกกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

30 ปัญหาเร่งด่วนที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปัญหาของเกษตรกรที่พบอยู่ในปัจจุบันคือผลผลิตต่ำ ขาดแคลนน้ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดิน – น้ำ เป็นกรด ดินเปรี้ยว ดินเค็ม มีการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูกต้อง ตั้งแต่การเตรียมดิน ใช้เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและสารเคมีเกินจำเป็น ทำให้มีการระบาดของโรคและแมลง ต้องใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงและมีการใช้ปัจจัยการผลิตตามระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะปุ๋ยและสารเคมี มีราคาสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวสูงขึ้น

31 พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1)
จำนวน 1,093,424 ไร่

32 เหมาะสมปานกลาง จำนวน 11,995 ไร่
(S2)

33 เหมาะสมน้อย จำนวน 34,274 ไร่ (S3)

34 พื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสม จำนวน 299 ไร่
(N)

35 การปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าว ที่ไม่เหมาะสม เป็นกิจกรรมอื่นๆ ได้แก่
แนวทางการดำเนินนโยบายที่สำคัญด้านการ Zoning ด้านข้าว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ได้ดำเนินการแล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินการได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการผลิตข้าวในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ได้แก่ จัดตั้งดำเนินการทดลองสาธิตศูนย์ส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาเทคนิคด้านการผลิตข้าว ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้(Smart Farmer) ลดต้นทุนการผลิต การทดสอบสาธิตการเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าว เพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าว แปรรูปผลผลิตข้าวเพื่อบริโภค ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี การทดสอบสาธิตการจัดระบบปลูกข้าวและการเกษตรผสมผสานแบบบูรณาการ จัดระบบปลูกข้าวและการเกษตรผสมผสานในพื้นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขัง การบริหารจัดการโครงการข้อมูลสารสนเทศ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าว ที่ไม่เหมาะสม เป็นกิจกรรมอื่นๆ ได้แก่ การส่งเสริมการทำไร่นาสวนผสม การส่งเสริมปลูกข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ การส่งเสริมปลูกมันเทศ กล้วย และอื่นๆ

36 พื้นที่ลุ่มของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่ไม่สามารถเพาะปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน (สิงหาคม ถึง ธันวาคม ของทุกปี) พื้นที่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามหาราช 8 หมู่บ้าน 5 ตำบล 3 อำเภอ พื้นที่รวม 1,760 ไร่ พื้นที่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครหลวง 21 หมู่บ้าน 6 ตำบล 2 อำเภอ พื้นที่รวม 10,138 ไร่ พื้นที่ส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร 3 ตำบล 1 อำเภอ รวม 16,849 ไร่ พื้นที่ส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ 20 ตำบล 4 อำเภอ รวม 101,065 ไร่ พื้นที่ส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล 34 ตำบล 4 อำเภอ รวม 159,500 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 289,312 ไร่


ดาวน์โหลด ppt ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google