งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 5 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 5 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 5 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 5 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์

2 ทบทวน Demand Supply Market Equilibrium Invisible Hand
Economics (Microeconomics & Macroeconomics) Productive Factors (Economic Goods & Free Goods) Private Goods & Public Goods

3 รายได้ประชาชาติ (National Income : NI)
หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปจะประมาณ 1 ปี ความรู้เรื่องกระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ ถือเป็นรากฐานที่จะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติกล่าวคือ ระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไปจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมทั้งปัจจัยการผลิตโดยมีเงินทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ดังนั้นเงินจะถูกเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ และเมื่อเงินถูกหมุนเวียนเปลี่ยนมือมากครั้งเท่าใด รายได้รวมของทั้งระบบเศรษฐกิจและผลผลิตรวมของประเทศก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วย

4 รายได้ประชาชาติ (National Income : NI)
ระบบเศรษฐกิจใดๆ ก็ตามจะมีโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปจะประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจ คือ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล และภาคต่างประเทศ

5 1. ภาคครัวเรือน (Houshold Sector)
มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ คือ 1.1 เป็นเจ้าของปัจจัยผลิต ซึ่งได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และการประกอบการ 1.2 ขายหรือให้บริการปัจจัยการผลิตแก่ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล และภาคต่างประเทศ 1.3 นำรายได้ที่ได้จากการขายปัจจัยการผลิตไปซื้อสินค้าและบริการ

6 2. ภาคธุรกิจ (Business Sector)
มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ คือ 2.1 เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ โดยซื้อปัจจัยการผลิต จากภาคครัวเรือน 2.2 ขายสินค้าและบริการให้ภาคครัวเรือน ภาครัฐบาลและภาคต่างประเทศ

7 3. ภาครัฐบาล (Public or Government Sector)
มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ คือ 3.1 ออกกฎหมาย (โดยฝ่ายนิติบัญญัติ) 3.2 ตัดสินคดีความ (โดยฝ่ายตุลากร) 3.3 จัดหาหรือผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ สำหรับบริการประชาชน (โดยฝ่ายบริหาร) 3.4 จัดหารายได้

8 4. ภาคต่างประเทศ (Foreign Sector)
มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ คือ 4.1 การซื้อขายสินค้าและบริการ 4.2 การเคลื่อนย้ายทุนและปัจจัยการผลิตอื่นๆ

9 ปัจจัยการผลิต (Factors of Production)
สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด ได้แก่ ที่ดิน (Land) ใช้เป็นตัวแทนของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ดิน แร่ธาตุ ป่า แรงงาน (Labor) หมายถึงตัวมนุษย์ คุณภาพในมนุษย์ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ฯลฯ ที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตและการทำงานได้ แรงงานแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ แรงงานร่างกาย และ แรงงานสมอง ทุน (Capital) หมายถึง สินค้าที่มนุษย์ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตหรือวิธีการผลิต สินค้าประเภทนี้อาจเรียกว่า สินค้าทุน (Capital Goods) เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์

10 สินค้า (Goods or Commodity)
ในทางเศรษฐศาสตร์ คือ สิ่งของหรือบริการที่เพิ่มอรรถประโยชน์ (utility) ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ แบ่งเป็น Primary Goods = สินค้าเกษตร Secondary Goods = สินค้าอุตสาหกรรม Tertiary Goods อุตสาหกรรมการบริการ เช่น ขนส่ง บันเทิง ธนาคาร ฯลฯ

11 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product)
GDP คือ ผลรวมของมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตได้ภายในประเทศ ในรอบระยะเวลาหนึ่งซึ่งปกติคือ 1 ปี คำว่ามูลค่าได้จากการใช้ราคาตลาดของสินค้าและบริการคูณกับจำนวนของสินค้าและบริการแต่ละชนิดแล้วนำมารวมกัน ซึ่งถ้าจะเรียกเต็มๆ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ตามราคาตลาด

12 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product)
GDP มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ 1. มูลค่าในแต่ละปีอาจเปลี่ยนแปลงเนื่องจากราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง ปริมาณสินค้าเปลี่ยนแปลง หรือทั้งราคาสินค้าและปริมาณสินค้าเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 อย่าง GDP ในแต่ละปี จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อบอกถึงความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการว่าดีขึ้นหรือลดลงจากปีก่อนๆ หรือไม่ จึงเป็นปัญหาในการวัดความกินดีอยู่ดีของคนในประเทศซึ่งวัดจากปริมาณของสินค้าและบริการต่อคน

13 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product)
2. GDP ของปีใด ต้องคำนวณจากสินค้าและบริการที่ผลิตในปีนั้นๆ เท่านั้น ดังนั้นการขายสินค้าเก่า เช่น รถยนต์มือสอง บ้านเก่า จึงไม่นับรวม 3. สินค้าและบริการที่นำมาคำนวณต้องเป็นสินค้าและบริการ ขั้นสุดท้ายเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการนับซ้ำ 4. สินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่นำมาคำนวณจะต้องผลิตภายในอาณาเขตของประเทศเท่านั้น โดยไม่สนใจว่าจะผลิตโดย ในขณะที่สินค้าและบริการที่ผลิตโดยคนไทยแต่ผลิตในต่างประเทศจะไม่นำมาคำนวณ

14 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product)
5. สินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่นำมาคำนวณต้องผ่านกระบวนการตลาด (มีการซื้อ-ขาย) และไม่ผิดกฎหมาย ดังนั้น การซื้อขายยาบ้า สุราเถื่อน บ่อนการพนัน โสเภณี การปลูกพืชผักไว้กินเอง แม่บ้านทำงานบ้านเอง จึงไม่นำมารวมใน GDP นอกจากนี้กิจกรรมที่ไม่มีการบันทึกเพื่อการหลบเลี่ยงภาษี เช่น การซื้อขายสินค้าไม่มีใบเสร็จ แม้จะถูกกฎหมายแต่ก็ไม่สามารถนำมารวมใน GDP ได้

15 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product)
GNP คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตโดยทรัพยากรของประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งปกติคือ 1 ปี ดังนั้น GDP กับ GNP จึงแตกต่างกันตรงที่ GDP ยึดอาณาเขตในขณะที่ GNP ยึดทรัพยากร

16 เป้าหมายพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

17 เป้าหมายพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน (2528) แบ่งเป้าหมายพื้นฐานทางเศรษฐกิจไว้ 4 ประการ คือ ความเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ (economic growth or economic progress) ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (economic stability) ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ (economic justice or economic equity) เสรีภาพทางเศรษฐกิจ (economic freedom)

18 1. ความเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ (economic growth or economic progress)

19 1. ความเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
หมายถึง การเพิ่มขึ้นของผลผลิตทั้งหมด ทั้งในแง่ของ การลงทุน การผลิต และการบริโภค เนื่องจาก ระบบเศรษฐกิจที่มีการลงทุน การผลิต และการบริโภคเพิ่มขึ้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ มีการจัดสรรทรัพยากรและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำมาสู่ ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ในทางตรงข้ามหากระบบเศรษฐกิจมีการลงทุน การผลิต และการบริโภคลดน้อยลง ย่อมแสดงให้เห็นถึงภาวะความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจ ประชาชนก็จะอยู่ด้วยความยากลำบากขึ้น

20 1. ความเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของทุกประเทศ มักจะเป็นแบบขึ้นๆลงๆ ซึ่งเรียกว่า “วัฏจักรเศรษฐกิจ” (Business Cycle) คือ ภาวะที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตแบบขึ้นๆ ลงๆ บางช่วงสูง บางช่วงต่ำ ช่วงก่อนปี 2540 เศรษฐกิจไทยเติบโตประมาณ 9% - 10% ต่อปี เป็นช่วงวัฏจักรขาขึ้น พอปี 2540 เป็นต้นมา ตกต่ำลง บางปีติดลบ การขึ้นๆ ลงๆ เช่นนี้เรียกว่า “ปัญหาวัฏจักรเศรษฐกิจ” ประเทศที่เป็นทุนนิยมล้วน เกิดปัญหาเช่นนี้ทั้งสิ้น นำไปสู่ปัญหาการเจริญเติบโตดังนี้ ในช่วงวัฏจักรขาลง เกิดปัญหาการว่างงาน (demand น้อยกว่า supply ที่เพิ่ม) ในช่วงวัฏจักรขาขึ้น เกิดปัญหาเงินเฟ้อ

21 ภาวะเงินเฟ้อ (Price Inflation)
เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าบริการเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจขยายตัวเร็ว ความต้องการสินค้าบริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ supply ขยายตัวช้าเสมอ เช่น การสร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักรเพิ่ม จ้างคนเพื่อผลิตเพิ่ม เหล่านี้จะช้า เวลาเศรษฐกิจโตเร็วๆ supply จะโตไม่ทัน

22 1. ความเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี คือ ไม่ช้าจนเกิดการว่างงาน และไม่เร็วเกินไปจนเกิดเงินเฟ้อ ประเทศพัฒนาแล้ว โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจดีแล้ว ครบแล้ว อัตราการเพิ่มของประชากรจะไม่มาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ต้องสูง ประเทศกำลังพัฒนายังขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน ประชากรเพิ่มเร็วกว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจึงควรมากกว่า นักวิชาการทางการเงิน การคลังของไทย บอกว่าของไทยควรเป็นประมาณ 5-6% แต่นักการเมืองอยากได้มากกว่านั้น เพราะนักการเมืองไม่เคยคำนึงเรื่องเงินเฟ้อ เพราะ ถ้าเงินเฟ้อ ราคาสินค้าบริการสูงขึ้น นักการเมืองพวกนี้มีธุรกิจ มีหุ้น ฯลฯ จึงชอบ และได้ประโยชน์ จึงไม่คิดเรื่องปัญหา เงินเฟ้อ

23 1. ความเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
ทฤษฎีหลักๆ ที่อธิบายถึง Business Cycle และแนวทางแก้ไข ได้แก่ ทฤษฎีสำนักเคนส์ (Keynesian Theory) เป็นทฤษฎีของ John Meynard Keynes ซึ่งอาจเรียกได้อีกอย่างว่า Pure Theory เป็นทฤษฎีที่เพิ่งนำมาใช้ปฏิบัติได้จริงตอนปี 1970 โดย David Romer (Harvard) M.Gregory (MIT) (เน้นเศรษฐกิจระหว่างประเทศ)

24 1. ความเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
โดยทั่วไปความเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สามารถวัดได้โดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GNP ในปีนั้นๆ ว่าเพิ่มขึ้นในอัตราเท่าไร เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ดังสมการ Y = C + I + G + (X-M) เมื่อ C = การใช้จ่าย ในการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค (ภาคครัวเรือน) I = การใช้จ่ายของธุรกิจในสินค้าประเภททุน (ภาคธุรกิจ) G = การใช้จ่ายของรัฐบาลทั้งหมดในการซื้อสินค้าและบริการ (ภาครัฐบาล) X = มูลค่าการส่งสินค้าออก (export) M = มูลค่าการนำสินค้าเข้าประเทศ (import)

25 2. ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (economic stability)

26 2. ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศและ ของโลกนั้นเกิดขึ้นอยู่เสมอ ในบางช่วงเศรษฐกิจจะเข้าสู่ยุครุ่งเรื่อง (prosperity or boom) การดำเนินการผลิตและการบริโภคไม่เกิดปัญหามากนัก หลังจากนั้นช่วงหนึ่ง ภาวะเศรษฐกิจจะเริ่มถดถอยลงหรือ เสื่อมโทรม (recession or decline) จนกระทั่งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (depression) ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาทั้งการผลิต การบริโภค และการลงทุน อย่างมาก และเมื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ เสร็จสิ้นหรือลดน้อยลงแล้ว ภาวะเศรษฐกิจก็จะเริ่มฟื้นตัว (recovery) และเข้าสู่ช่วงรุ่งเรือง เป็นวัฏจักร (cycle)

27 2. ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเกินไป จะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด การว่างงาน เกิดหนี้เสียในระบบเศรษฐกิจ (non performance loan : npl)

28 Non Performance Loan : NPL
NPL หมายถึง สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ ที่เรียกกันว่าหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งเกิดจากลูกหนี้เงินกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ ไม่สามารถที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นให้กับสถาบันการเงินที่ปล่อยให้กู้ เป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป โดยมีหลักการพิจารณาลูกหนี้ว่ามีการผิดนัดเกิน 3 เดือนหรือไม่ หากเกินจะถือว่า เป็นลูกหนี้ NPL ในทันที

29 2. ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ จึงเป็น การควบคุมดูแลไม่ให้ภาวะเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วเกินไป ดังนั้น รัฐจึงเข้ามาแทรกแซง โดยการออกมาตรการ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มาตรการที่รัฐใช้ ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่ามีความรุนแรงมาก-น้อย เพียงใด

30 2. ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
มาตรการที่รัฐใช้แทรกแซงระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ นโยบายการเงินและนโยบายการคลังของประเทศ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ รัฐก็ควรใช้นโยบายการจัดเก็บภาษี โดยการ เพิ่มฐานภาษี หรืออัตราภาษี เพื่อลดกำลังซื้อของประชาชนลง

31 3. ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ (economic justice or economic equity)

32 3. ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจทุกระบบ จะเน้นจุดมุ่งหมายด้าน ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ประชาชน ในประเทศเดียวกันควรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ใกล้เคียงกัน มีการแบ่งกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ความยุติธรรม จึงหมายถึง การได้รับผลตอบแทนตามความสามารถในการทำงาน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ความยุติธรรม จึงหมายถึง การที่ผู้มี รายได้น้อย มีรายได้พอที่จะจับจ่ายใช้สอย เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ตามอัตภาพ

33 3. ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ถ้าเป็นสังคมนิยมอย่างอ่อน ความยุติธรรม หมายถึง คนทุกคนมีรายได้ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ถ้าเป็นสังคมนิยมอย่างแรง ความยุติธรรม จะเกิดขึ้นถ้าทุกคน มีรายได้เท่าเทียมกัน ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ความยุติธรรม หมายความว่า “จากแต่ละคนตามความสามารถสู่แต่ละคนตามความต้องการ”

34 3. ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ
มีแนวความคิดเรื่องกลไกตลาดอยู่ 2 แนวคิด ได้แก่ 1. Liberalist (ปรัชญาเสรีนิยม) กลุ่มนี้จะเชื่อว่ากลไกตลาดจัดสรรการกระจายรายได้ยุติธรรมดีอยู่แล้ว รัฐไม่จำเป็นต้องแทรกแซง เหตุที่เชื่อเช่นนี้เพราะว่า รายได้ของคนขึ้นอยู่กับ การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ถ้าคนไหนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่หายาก ย่อมได้รายได้มาก ถ้าคนไหนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่พื้นๆ ก็จะรายได้น้อย คนเรียนสูงๆ ย่อมมีรายได้มาก คนเรียนน้อยย่อมมีรายได้น้อย จะได้รายได้ ที่เท่ากันไม่ได้ สิ่งนี้ถือว่าถูกต้องแล้ว หลักการ คือ ถ้าไม่เท่ากันถือว่ายุติธรรมดีแล้ว ถ้าเท่ากันถือว่าไม่ยุติธรรม

35 3. ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ
2. Neo-Liberalist กลุ่มนี้จะไม่เห็นด้วยกับกลุ่มที่ 1 โดยมองว่า กลไกตลาดจัดสรร การกระจายรายได้ไม่ยุติธรรม เป็นเพราะคนมีโอกาสเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ที่ไม่เท่าเทียมกันตั้งแต่ต้น เพราะมนุษย์เลือกเกิดไม่ได้ จึงมีโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกัน เช่น ถ้าเกิดมารวย ก็จะมีโอกาสเรียนสูงๆ มากกว่าคนที่เกิดมายากจน เพราะโอกาสจะได้เรียนยังยากเลย แม้ว่าจะเก่งแค่ไหน

36 3. ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ
2. Neo-Liberalist หลักการ คือ จุดเริ่มต้นของแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้น รัฐต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้การกระจายรายได้มีความเป็นธรรมมากขึ้น โดยใช้การเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า (Progressive Tax) คือ ผู้มีรายได้สูงต้องจัดเก็บในอัตราสูง คนมีรายได้น้อยจัดเก็บในอัตราต่ำ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในด้านสวัสดิการสังคม (Welfare Spending) ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ไม่ใช่การแจกเงิน แต่เป็นเงินที่นำไป สร้างโอกาสในความเท่าเทียมกันให้มากขึ้น เช่น ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ทำให้คนยากจนมีความเท่าเทียมกันในเรื่องของโอกาสกับคนรวย กลุ่มนี้ไม่ได้สนใจเรื่องความเท่าเทียมกันของรายได้ แต่เน้นความเท่าเทียมกันในเรื่องของโอกาส

37 3. ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ
ประเทศไทยมี Welfare Spending แล้ว เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เพราะสุขภาพอนามัย การรักษาพยาบาลถือเป็นสินค้าสาธารณะที่ทุกคนไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวยต้องได้รับประโยชน์ เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในไทย เป็นเรื่องของเงินที่จะมาสนับสนุน นั่นคือ ปัญหาการเก็บภาษีที่จะต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกัน ทุกวันนี้ชนชั้นกลางยังมาใช้น้อย จึงยังไม่ค่อยเป็นปัญหา ถ้ามาใช้กันหมด เงินจะไม่เพียงพอ หลักการกระจายรายได้ คือ จะต้องเอาเงินคนรวยมาช่วยคนจน

38 Progressive Tax 1. ค่าจ้าง เงินเดือน เป็นผลตอบแทนจากการทำงาน
หมายถึง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.91) ในประเทศพัฒนาแล้ว จะใช้อัตราก้าวหน้า ในขณะที่ประเทศไทยจะใช้ที่ 5% - 37% แต่จริงๆ ไม่ใช่อัตราก้าวหน้าที่แท้จริง เนื่องจาก เงินได้ของมนุษย์ มีหลายแหล่ง ได้แก่ 1. ค่าจ้าง เงินเดือน เป็นผลตอบแทนจากการทำงาน 2. เงินปันผล 3. ดอกเบี้ย 4. ผลตอบแทนจากทุน 5. มรดก

39 ข้อสังเกต กรณีนายกรัฐมนตรี ได้รับเงินเดือนนายกฯ 300,000 บาท ในประเทศไทยจะเสียภาษีตามข้อ 1 แต่ข้อ 2 – 5 ซึ่งอาจ มีรายได้มากกว่า 20 ล้าน เสียภาษีน้อยมาก ดังนั้น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค จึงมีปัญหาเมื่อเทียบกับหลักความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกัน ทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นการเก็บภาษีจากคนจน แต่โครงการ 30 บาท เป็นโครงการสำหรับทุกคนที่เป็นคนไทยไม่ว่ารวย หรือจน

40 2. จัดให้มี Welfare Spending
ข้อเสนอแนะ ทุกประเทศ ที่ก้าวจากประเทศกำลังพัฒนา ไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งต้องสร้างชนชั้นกลางให้ขยายฐานออกไปมากขึ้น โดยใช้วิธีการ 1. ใช้ Progressive Tax 2. จัดให้มี Welfare Spending 3. ขยายประกันสังคมโดยให้รัฐอุดหนุน (subsidize)

41 4. เสรีภาพทางเศรษฐกิจ (economic freedom)

42 4. เสรีภาพทางเศรษฐกิจ หมายถึง เสรีภาพในการเลือกที่จะบริโภคสินค้าและบริการ เสรีภาพในการผลิตหรือประกอบการ ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละระบบเศรษฐกิจ


ดาวน์โหลด ppt การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 5 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google