งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีจริยศาสตร์ จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีจริยศาสตร์ จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีจริยศาสตร์ จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ
1. แนวคิดของจริยศาสตร์ 1.1 ความสำคัญ ขอบเขตของจริยศาสตร์ และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง 1.2 จริยศาสตร์ชีวภาพ 2. ทฤษฎีจริยศาสตร์ 2.1 ทฤษฎีหน้าที่นิยม 2.2 ทฤษฎีประโยชน์นิยม 3. โครงสร้างของจริยธรรม 3.1 โครงสร้างของจริยธรรม 3.2 การพัฒนาจริยธรรมในวิชาชีพ 3.3 ทฤษฎีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบอร์ก

2 ทางกาย (พฤติกรรม) มนุษย์ กฎหมาย ทางจิต ความรู้สึก จิตสำนึก
สังคมตรวจสอบ มนุษย์ คุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย ทางจิต ความรู้สึก จิตสำนึก

3 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทาน พระบรมราโชวาท มีใจความว่า “ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่น่าวิตกก็คือ ทุกวันนี้ความคิดอ่าน และความประพฤติ หลาย ๆ อย่างซึ่งแต่ก่อนถือว่าเป็นความชั่วความผิดได้กลายเป็นสิ่งที่คนในสังคมยอมรับ แล้วพากัน ประพฤติปฏิบัติโดย ไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือน จนทำให้เกิดปัญหาและทำให้วิถีชีวิต แต่ละคนมืดมนลงไป”

4 รพ.นราธิวาสออกแถลงการณ์เสียใจและขออภัยผู้เกี่ยวข้องกรณีภาพฉาวพยาบาลชู 2 นิ้วในห้องดับจิต ชี้เป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าหน้าที่ ไม่มีประเด็นอื่นแทรกซ้อน ย้ำจะไม่ให้เกิดขึ้นอีกแน่นอน... เมื่อวันที่ 30 ต.ค. มีรายงานว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพ นางพยาบาล รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ ชู 2 นิ้ว โดยเบื้องหลังเป็นภาพร่างชาย มีบาดแผลนอนบนเตียงโดยมีเจ้าหน้าที่ แสดงท่าทางเหมือนให้การรักษา พยาบาลอยู่เป็นเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้ ระเบิดที่เสียชีวิตจากเหตุลอบวางระเบิดในพื้นที่ภาคใต้

5 ความสัมพันธ์ของจริยศาสตร์กับการพยาบาล
การพยาบาลเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ที่ใช้ความอ่อนโยน เมตตากรุณา เอื้ออาทรของพยาบาลในการบรรเทาความทุกข์ทรมาน สร้างความอุ่นใจ แก่ผู้เจ็บป่วย สิ่งที่ธรรมชาติและพยาบาลให้แก่มนุษย์ได้เหมือนกันก็คือผู้นำทางการพิทักษ์รักษาจิตใจและวิญญาณของมนุษย์(William Wordworth)

6 ความหมายของจริยศาสตร์
1. แนวคิดของจริยศาสตร์ 1.1 ความสำคัญ ขอบเขตของ จริยศาสตร์ และศัพท์ที่เกี่ยวข้อง จริยศาสตร์ หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และ กำหนดเกณฑ์เพื่อตัดสินพฤติกรรมที่มนุษย์ได้กระทำด้วยความประพฤติและการครองชีวิต อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร

7 ปัญหาที่จริยศาสตร์หาคำตอบ มี 3 กลุ่มคือ
1.ปัญหาเรื่องความมีอยู่ของคุณค่า ความดี คืออะไร ความดีมีอยู่ในตัวเองหรือเป็นค่านิยมที่คนสมมติขึ้นมา 2.ปัญหาเรื่องมาตรการตัดสิน อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าการกระทำนั้น ๆ ดีหรือไม่ดี 3.ปัญหาเรื่องค่าของชีวิต ใช้ชีวิตอย่างไร จึงจะทำให้ชีวิตมีค่าสมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ โดยพยายามให้เหตุผลว่า ทำไมชีวิตเช่นนั้นจึงเป็นชีวิต แบบดีที่สุด

8 ปัญหาที่จริยศาสตร์หาคำตอบ มี 3 กลุ่มคือ
ความมีอยู่ของคุณค่า ความดี คืออะไร มาตรการตัดสิน ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด มีอะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน คุณค่าของชีวิต นั่นคือใช้ชีวิตอย่างไร จึงจะทำให้ชีวิตมีค่าสมกับที่ได้เกิดมา

9 วิวัฒนาการของจริยธรรม
1.   สังคม ประเพณี 2.   กฎหมาย 3.   ศาสดาและเจ้าลัทธิ 4.   การยึดถือเหตุผล 5.  การเมือง การปกครอง 6. วรรณคดี 

10 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
“คุณธรรม” (Virtue) หมายถึงสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของบุคคล คุณธรรมจึงเป็นจริยธรรมที่ฝึกฝนจนเป็นนิสัย เช่น ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน เสียสละ รับผิดชอบ “มโนธรรม” (Conscience)หมายถึง ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความรู้สึกว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เชื่อกันว่า มนุษย์ทุกคนมีมโนธรรม เนื่องจากบางขณะเราจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งในใจระหว่างความรู้สึกว่าต้องการทำสิ่งหนึ่ง และรู้ว่าควรทำอีกสิ่งหนึ่ง

11 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
“จริยศาสตร์” (morality)  หมายถึง ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร “จริยธรรม” (Ethics) หมายถึง ความประพฤติที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม

12 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
“จรรยาบรรณ” (Code of Conduct) หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก

13 ประโยชน์ของจรรยาบรรณ
1) ช่วยควบคุมจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพ ให้มีความ ซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม ฯลฯ 2) ช่วยส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพและปริมาณที่ดีมีคุณค่าและเผยแพร่ให้รู้จัก เป็นที่นิยมเชื่อถือ 3) ช่วยส่งเสริมจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพและผู้ผลิต เช่น ให้มีเมตตา กรุณา ปรองดอง เห็นอกเห็นใจ สามัคคี 4) ช่วยลดปัญหาอาชญากรรม ลดปัญหาการฉ้อโกง เอารัดเอาเปรียบ ลดการ ปลอมปน เห็นแก่ตัวและเห็นแก่ได้ 5) ช่วยเน้นให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในภาพพจน์ที่ดีของผู้มีจริยธรรม เช่น ในการเสียสละ การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

14 จริยศาสตร์กับจริยธรรมต่างกันอย่างไร
จริยศาสตร์ทำหน้าที่เสนอทฤษฎีแห่งความประพฤติ เสนอเหตุผลและหลักการแห่งความดีให้กับระบบจริยธรรม จริยธรรมเสนอวิธีการประพฤติปฏิบัติที่ดี ประมวลหลักปฏิบัติ ที่ควรทำตาม สำหรับปัญหาต่อไปที่ว่า ทำอย่างไรคนจึงจะมีจริยธรรมนั้น

15 ชีวจริยธรรม (bioethics)
การปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมีคุณธรรม ไม่ทำร้าย หรือทำอันตรายต่อสัตว์หรือมนุษย์เพื่อการศึกษาหรือการวิจัย การกำกับดูแลให้ผู้ใช้สัตว์ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทั้งระดับองค์กร และระดับชาติ มีคณะกรรมการกำกับติดตามดูแลรับผิดชอบ

16 จรรยาบรรณในการใช้สัตว์ทดลอง (สกว. ) 1
จรรยาบรรณในการใช้สัตว์ทดลอง (สกว.)                     1. ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตสัตว์                     2. ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงความแม่นยำของผลงานโดยใช้สัตว์จำนวนน้อยที่สุด                     3. การใช้สัตว์ป่าต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์ป่า                     4. ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์                     5. ผู้ใช้สัตว์ต้องบันทึกการปฏิบัติต่อสัตว์ไว้เป็นหลักฐานอย่างครบถ้วน

17 -การโคลนมนุษย์ (cloning)
ประเด็นที่พิจารณา -การโคลนมนุษย์ (cloning) นักฟิสิกส์ชาวสหรัฐ ชื่อนายริชาร์ด ซี้ด ได้ความคิดใหม่ที่ว่าจะตั้งคลินิกรับผลิตเด็กด้วยวิธีการโคลนนิ่ง ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการการโคลนนิ่ง(cloning)มนุษย์เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เนื่องด้วยปัญหาทางด้านจริยธรรม -ปัญหาด้านกฎหมายอย่างในการพิสูจน์จำแนกผู้กระทำผิด -ปัญหาการบริจาคอวัยวะนั้นอยู่เพื่อการปลูกถ่ายทดแทนอวัยวะเดิมที่สูญเสียไป

18 -การโคลนมนุษย์ (cloning)

19 -การอุ้มบุญ(surrogacy)
ประเด็นที่พิจารณา -การอุ้มบุญ(surrogacy) เป็นการยืมมดลูกหญิงอื่นเพื่อตั้งครรภ์แทน ใช้ในกรณีที่ผู้มีความประสงค์จะมีบุตรแต่ไม่สามารถตั้งท้องเองได้ โดยนำน้ำเชื้อและไข่มาผสมกันภายนอก เช่นเดียวกับกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) จากนั้นจึงฉีดเข้าไปเพื่อให้ฝังตัวตัวในมดลูกของผู้รับฝากครรภ์หรือคุณแม่อุ้มบุญ (ความสำเร็จในการอุ้มบุญยังขึ้นอยู่กับอายุของคุณแม่ผู้รับท้องแทน ซึ่งควรอยู่ในช่วงวัย ปี อันเป็นวัยเจริญพันธุ์ รวมทั้งควรผ่านการมีบุตรมาแล้วอย่างน้อย 1 คน)

20 ประเด็นที่พิจารณา การรับตั้งครรภ์แทน หรือการอุ้มบุญ (surrogacy )
1) อุ้มบุญแท้ ( full surrogacy ) ใช้ไข่ของตัวเอง 2) อุ้มบุญเทียม ( partial surrogacy) ไม่ได้ใช้ไข่ของตัวเอง

21 -สิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs: genetically modified organisms )  คือ พืชที่ได้รับการคัดเลือกให้มาผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม(Genetic Engineering) เพื่อที่จะให้พืชชนิดนั้นมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่จำเพาะเจาะจงตรงตามความต้องการ ปัจจุบัน ได้แก่ ข้าวโพด, มะเขือเทศ, ถั่วเหลือง, ฝ้าย, มันฝรั่ง, มะละกอ, สควอช (Squash) และ คาโนลา (Canola) (พืชที่ให้น้ำมัน) -ปัญหาสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถมีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติ -ปัญหาไม่สามารถอาศัยในถิ่นที่อยู่ธรรมชาติ -ปัญหาผสมข้ามสายพันธุ์กับสิ่งมีชีวิตที่และควบคุมไม่ได้

22 -สิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs)

23 -สิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs)

24 -อาวุธชีวภาพ ( Biological weapons ) คืออาวุธที่ได้จากสิ่งมีชีวิตซึ่งครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตเอง สารพิษจากสิ่งมีชีวิต และ ฮอร์โมน หรือ สารอื่นที่สิ่งมีชีวิตผลิตขึ้น หรือที่เราเรียกว่า "อาวุธเชื้อโรค" หรือสารพิษที่สกัด มาจากจุลินทรีย์ อาวุธชีวภาพเป็นอาวุธที่ผลิตได้ง่าย และราคาถูกกว่าอาวุธร้ายแรงประเภทอื่น

25 -อาวุธชีวภาพ ( Biological weapons )
-เชื้อโรคแอนแทรกซ์ (anthrax)  ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ -พิษบอตทูลินัม (botulinnum) ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท -คลอสทริเดียมเพอร์ฟริงเกนส์ (clostridium perfringens) เนื้อเน่าตาย -อะฟลาทอกซิน (aflatoxin)  ทำให้เกิดมะเร็งในตับ -ไรซิน (ricin)  ยับยั้งการผลิตโปรตีนของเซลล์

26 ประเด็นที่พิจารณา -ทัวร์อวสานชีวิต/กรุณพิฆาต (mercy killing)

27 ประเด็นที่พิจารณา การเปลี่ยนอวัยวะ (organ transplantation)

28 -การทำแท้ง (Abortion)

29 ทฤษฎีจริยศาสตร์ แนวคิดของสจ็วต มิลล์ (ประโยชน์นิยม) ความสุขใช้เป็นมาตรฐานของประโยชน์นิยม (The greatest Happiness Principle) ความสุข ใช้เป็นมาตรฐานของประโยชน์นิยม ที่ตัดสินว่าการกระทำใดถูก มิใช่ความสุขส่วนตัวของผู้กระทำ แต่ของทุกคนที่เกี่ยวข้องระหว่างความสุขของผู้กระทำกับผู้อื่น ประโยชน์นิยมเรียกร้องให้ผู้กระทำวางตัวเป็นกลางอย่างเข้มงวด โดยทำตัวเป็นเหมือนผู้ดู ไม่เข้าข้างใด

30 ความสุข ใช้เป็นมาตรฐานของประโยชน์นิยม ที่ตัดสินว่าการกระทำใดถูก มิใช่ความสุขส่วนตัวของผู้กระทำ แต่ของทุกคนที่เกี่ยวข้องระหว่างความสุขของผู้กระทำกับผู้อื่น ประโยชน์นิยมเรียกร้องให้ผู้กระทำวางตัวเป็นกลางอย่างเข้มงวด โดยทำตัวเป็นเหมือนผู้ดู ไม่เข้าข้างใด

31 คุณค่าทางจริยธรรม ไม่มีอยู่จริง มนุษย์สร้างขึ้น ขึ้นกับ สวล
คุณค่าทางจริยธรรม ไม่มีอยู่จริง มนุษย์สร้างขึ้น ขึ้นกับ สวล. กาลเวลา และเปลี่ยนแปลงได้ เกณฑ์ตัดสิน มีได้หลายเกณฑ์ เป็นมาตรการตัดสินการกระทำ ผลการกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนเป็นจำนวนมาก ผลประโยชน์ย่อมอยู่เหนือหลักการ

32 แนวคิดของค้านท์ (หน้าที่นิยม)
ทฤษฎีจริยศาสตร์ แนวคิดของค้านท์ (หน้าที่นิยม) ค้านท์เห็นว่าควรยึดเป้าหมายของการกระทำ ควรวางจริยศาสตร์อยู่บนพื้นฐานเรื่อง 1) ความเป็นอิสระของเหตุผล (autonomy of reason) ผู้กระทำการทางจริยธรรมต้องมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง (radical autonomy)

33 2) เจตนาดี (good will) ซึ่งเป็นการกระทำที่เกิดจาก "หน้าที่" (duty) ตามเหตุผลแห่งกฎจริยธรรม การเจตนาให้การกระทำอันหนึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องในตนเอง และต้องไม่มีเป้าหมายอื่นแอบแฝง หลักจริยธรรม ของค้านท์ คือ"จงทำในสิ่งที่เราสามารถปรารถนาให้หลักการของการกระทำนั้นกลายเป็นกฎสากลได้" ดังนั้น สำหรับค้านท์ ความสุขแม้ว่าจะมีคุณค่า แต่ก็เป็นเพียงสิ่งที่มีเงื่อนไข (กล่าวคือมีคุณค่าเมื่อเทียบกับเป้าหมาย และบุคคลผู้ตั้งเป้าหมายก็ถูกกำหนดโดย เงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ ด้วย)

34 โครงสร้างของจริยธรรม
1) ความรับผิดชอบ  การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ   2) ความซื่อสัตย์ การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา  3) ความมีเหตุผล การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง  4) ความกตัญญูกตเวที  ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ  5) ความอุตสาหะ  ทำงานหรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็ง ไม่ย่อท้อ  6) ความสามัคคี ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน 

35 โครงสร้างของจริยธรรม
 7) ความมีระเบียบวินัย การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง  8) ความเสียสละ การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้  9) ความประหยัด การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะพอควร   10) ความยุติธรรม การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรงการพิจารณาเรื่องราวต่างๆ   11) ความเมตตากรุณา ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข ช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์

36 โครงสร้างของจริยธรรม
องค์ประกอบของจริยธรรม Chatchai Srisom (June 28, 2010)      1) ระเบียบวินัย (Discipline) การที่สังคมจะมีระเบียบวินัย ในสังคมจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามข้อตกลงของสังคม อันได้แก่ กฎหมาย จารีต ประเพณี      2) สังคม (Society) การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมหรือประกอบกิจกรรมใด ในสังคมก็ตามจะต้องมีแบบแผน มุ่งเน้นหรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม      3) อิสระเสรี (Autonomy) การมีอิสระเสรีนั้นสังเกตได้จากการที่บุคคลในสังคมมีเสรีภาพในการปกครองตน

37 ทฤษฎีในการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรม
มี 4 รูปแบบ (ชัยพร วิชชาวุธ, 2530)  1. วิธีการกระจ่างค่านิยม (Value Clarification)  2. วิธีการให้เหตุผลทางจริยธรรม (Moral Reasoning)  3. วิธีการปรับพฤติกรรม (Behavior Modification)  4. วิธีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning) 

38 ทฤษฎีจริยศาสตร์ ทฤษฎีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบอร์ก โคลเบอร์กได้ยึดถือทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ เป็นหลักสร้างทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม (ลำดับขั้นของพัฒนาการและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับความขัดแย้ง ความเข้ากันไม่ได้ ความไม่สมดุลยกัน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา) โดยแบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ระดับ ภายในแต่ละระดับมี 2 ขั้นตอน รวมเป็น 6 ขั้น คือ

39 ระดับที่ 1 ระดับก่อนเกณฑ์ การตัดสินใจ เลือกกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้อื่น แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ 1. เลือกกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้อื่น มุ่งหลบหลีกมิให้ตนเองโดนลงโทษทางกาย เพราะกลัวความเจ็บปวดที่ได้รับ 2. เลือกกระทำในสิ่งที่จะนำความพอใจมาให้ตนเองเท่านั้น

40 ระดับที่ 2 ระดับตามกฎเกณฑ์ การกระทำตามกฎเกณฑ์ของกลุ่มย่อยๆ ของตน หรือทำตามกฎหมายและหลักสากล มีความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเรา และสามารถแสดงบทบาททางสังคมได้ 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 3 เลือกกระทำตามผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนและบุคคลในวัยเดียวกัน ขั้นที่ 4 เลือกกระทำตามบทบาทและหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งของสังคมของตน

41 ระดับที่ 3 ระดับเหนือกฎเกณฑ์ การตัดสินข้อขัดแย้งต่างๆ ด้วยการนำมาคิดไตร่ตรอง หรือชั่งใจโดยตนเองเสียก่อน แล้วจึงตัดสินไปตามแต่ว่าจะเป็นความสำคัญของสิ่งใดมากกว่ากัน แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 5 เป็นขั้นที่เลือกกระทำโดยไม่ขัดต่อสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้อื่น และคนหมู่มาก ขั้นที่ 6 เป็นขั้นสูงสุดของเหตุผลเชิงจริยธรรมของโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสงบสุขของสังคม

42 หัวใจสำคัญของทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ โคลเบอร์กคือ ลำดับขั้นของพัฒนาการ พัฒนาการทางด้านโครงสร้างทักษะความรู้ความจำของคนนั้นเกิดขึ้นเป็นขั้นตอน พัฒนาการขั้นต่ำก่อนขั้นที่สูงๆ ขึ้นไป จากขั้นที่ 1 ไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นที่ 6 จะพัฒนาข้ามขั้นไม่ได้ ไม่มีการย้อนขั้น และไม่มีการ เร่งลำดับขั้นตอน

43 ขั้นการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม
ระดับของจริยธรรม ขั้นการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม ระดับก่อนกฎเกณฑ์ ขั้น 1 หลักการหลบหลีกการถูกลงโทษ ขั้น 2 หลักการแสวงหารางวัล ระดับตามกฎเกณฑ์ ขั้น 3 หลักการทำตามผู้อื่นที่เห็นชอบ ขั้นที่ 4หลักการทำตามหน้าที่สังคม ระดับเหนือกฎเกณฑ์ ขั้นที่ 5 หลักการทำตามคำมั่นสัญญา ขั้นที่ 6 หลักการยึดอุดมคติสากล

44 ประโยชน์ของการประพฤติตามหลักจริยธรรม
1.สามารถปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง 2. มีชีวิตอยู่อย่างมั่นใจ ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และ 3.เกิดความมีระเบียบเรียบร้อย เกิดความสงบเรียบร้อย ความสวยงาม ความเจริญรุ่งเรือง 4. ทำประโยชน์แก่สังคมได้อย่างกว้างขวาง 5.เจริญก้าวหน้าในชีวิตความเป็นอยู่ บุญมี แท่นแก้ว (2539: )

45 สภาการพยาบาล

46 สภาการพยาบาล

47 สภาการพยาบาล


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีจริยศาสตร์ จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google