ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
พอลิเมอร์ (Polymer) โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ วิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ผู้สอน นายทรงพล งามตา
2
ความหมายของพอลิเมอร์
Monomer POLYMER พอลิเมอร์ ( polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ที่ ประกอบด้วยโมเลกุลเล็กๆ ที่เรียกว่ามอนอเมอร์ (monomer) จำนวน มาก เกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชั่น (polymerization) รวมกันด้วย พันธะโควาเลนซ์ ได้สารโมเลกุลขนาดใหญ่ มีมวลโมเลกุลตั้งแต่ 10,000 ขึ้นไป
3
ประเภทของพอลิเมอร์ 1.ประเภทพอลิเมอร์ตามลักษณะการเกิด
2.ประเภทพอลิเมอร์ตามจำนวนชนิดของมอนอเมอร์
4
ประเภทของพอลิเมอร์ พอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ไหม ปอ ขนสัตว์
พอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น พลาสติก เม็ดพลาสติก พอลิเมอร์กึ่งสังเคราะห์ เช่น เรยอน
5
ชนิดของพอลิเมอร์ Homopolymer เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน -(A-A-A-A-A-A-A-A)n- Copolymer (โคพอลิเมอร์หรือพอลิเมอร์ร่วม) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจาก มอนอเมอร์ต่างชนิดกัน -(A-B-A-B-A-B-A-B-A-B-A)n-
6
ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน
ปฏิกิริยาที่สารโมเลกุลเล็กหลายๆ โมเลกุลมารวมกันเป็นโมเลกุลใหญ่ Monomer ไดเมอร์ไรเซชัน Monomer ไตรเมอร์ไรเซชัน Monomer Polymer
7
ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน
1. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม (Addition polymerization reaction) 2. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น (Condensation polymerization reaction)
8
ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม
เกิดจากมอนอเมอร์ที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอนทำปฏิกริยา รวมตัวได้เป็นพอลิเมอร์สายยาว โดยพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน ในโมเลกุลของมอนอเมอร์จะเปิดออกกลายเป็นพันธะเดี่ยว และสร้างพันธะ กับอะตอมของคาร์บอนในมอนอเมอร์อื่น เช่น พอลิเอทิลีน (PE) nH2C=CH2 อุณหภูมิสูง (CH2—CH2 )n ความดันสูง
9
พอลิเมอร์ที่เกิดจากปฏิกิริยาแบบเติม
Polyethylene (PE) สมบัติ: ป้องกันการผ่านของไอน้ำได้ดีแต่ยอมให้อากาศผ่านเล็กน้อย เป็นแผ่นฟิล์มใส เหนียว ทนสารเคมี ทนกรด ทนเบส การนำไปใช้: ภาชนะบรรจุอาหาร ถุงพลาสติกชนิดใส่ของเย็น แผ่นพลาสติกบางที่ใช้หอผักและผลไม้ ถุงขยะ เครื่องใช้ในบ้าน ของเล่น ท่อน้ำ ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า เคลือบกล่องกระดาษใส่นม ถุงซิบใส่ยา เป็นต้น
10
พอลิเมอร์ที่เกิดจากปฏิกิริยาแบบเติม
Polypropylene (PP) สมบัติ: คล้ายพอลิเอทิลีนแต่แข็งแรงกว่า เหนียวแข็งแรง ผิวเป็นมันวาว น้ำหนักเบา ทนต่อแรงดึง ไม่ว่องไวต่อสารเคมี ทนน้ำ การนำไปใช้: ภาชนะบรรจุสารเคมี เช่น หม้อแบตเตอรี่ หุ้มสายไฟฟ้า กระเป๋าเดินทาง พรม เชือก เครื่องมือแพทย์ เช่น ตัวกระบอกฉีดยาและเครื่องมือในห้องทดลอง ถุงน้ำร้อนชนิดขุ่น เป็นต้น
11
ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น
เกิดจากมอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมู่ทำปฏิกิริยากันได้เป็นพอลิเมอร์และสาร ที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเกิดขึ้น เช่นการสังเคราะห์ไนลอน- 6,6 ซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยา ระหว่างกรดอะดิปิกกับเฮกซะเมทิลีนไดเอมีน ไนลอน -6,6 จะมีความเหนียว ยืดหดได้ ทนต่อการถู นำมาทำเชือก เส้นด้าย ถุงน่อง
12
พอลิเมอร์แบบเส้น (linear polymer)
เกิดจากมอนอเมอร์ต่อกันเป็นสายยาว สายของพอลิเมอร์มีการเรียงตัวอยู่ชิดกันมาก ทำให้ จุดหลอมเหลวสูง แข็ง ขุ่น เหนียว ความหนาแน่นสูง เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์(PVC), พอลิสไตรีน (PS), พอลิเอทิลีน (PE), พอลิโพรพิลีน (PP), พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET), ไนลอน 6-6 PET PE PS HDPE
13
พอลิเมอร์แบบกิ่ง (branched polymer) มีโซ่กิ่งแตกออกไปจากโซ่หลัก กิ่งก้านเหล่านี้จะเป็นสิ่งขัดขวาง ทำให้สายของมอนอเมอร์ไม่สามารถ เข้ามาเรียงตัวอยู่ชิดกัน จุดหลอมเหลวต่ำ โครงสร้างเปลี่ยนรูปร่างได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น มีความหนาแน่นและความเหนียวต่ำ เช่น พอลิเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) โครงสร้างแบบเส้นและแบบกิ่งจะอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน เมื่ออุณหภูมิลดลงจะแข็งตัวได้ดังเดิมเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ (Recycle)
14
พอลิเมอร์แบบร่างแห (network polymer) มอนอเมอร์ต่อกันเป็นร่างแห ถ้ามีพันธะที่เชื่อมระหว่างสายโซ่อยู่น้อยก็จะยืดหยุ่นได้มาก แต่หากมีมากก็จะแข็ง ไม่ยืดหยุ่น มีความแข็งแกร่ง และเปราะหักง่าย ใช้สำหรับทำถ้วยชาม เช่น เบกาไลต์, เมลามีน เมื่อได้รับความร้อน จะไม่หลอมและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้
15
พอลิเมอร์ชนิดเดียวกัน แต่มีโครงสร้างโมเลกุลต่างกัน สมบัติของพอลิเมอร์ก็
จะต่างกันด้วย
16
การบ้าน จงยกตัวอย่างสารพอลิเมอร์จากธรรมชาติและพอลิเมอร์สังเคราะห์ พร้อมทั้งบอกชนิดมอนอเมอร์ของสารนั้น มาอย่างละ 4 ชนิด พอลิเมอร์ของโปรตีนและแป้งเป็นปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชั่นแบบใด และเกิดผลิตภัณฑ์ของสารใดเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก จงเขียนแผนภาพแสดงการเกิดพอลิเมอร์ของยางพารา จงเขียนพอลิเมอไรเซชันแบบเติมและแบบควบแน่นมาอย่างละ 2 ชนิด
17
พลาสติก พลาสติกเป็นวัสดุสำคัญและจำเป็นสำหรับมนุษย์ทั้งในด้านที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน อวัยวะเทียมและยานพาหนะ สารสังเคราะห์ประเภทพอลิเมอร์ที่นักวิทยาศาสตร์สังเคราะห์ขึ้น มีลักษณะอ่อนตัวในขณะผลิตหรือใช้ความร้อนทำให้อ่อนตัวได้สามารถนำไปนำไปหล่อ หรืออัดฉีดเป็นรูปต่างๆ ได้
18
ชนิดของพลาสติก เทอร์โมพลาสติก (thermoplastics)
เป็นพลาสติกที่ถูกความร้อนจะอ่อนตัว เมื่อเย็นลงจะกลายเป็นของแข็ง สามารถนำกลับมาหลอมและแข็งตัวได้ใหม่ โดยไม่ทำให้สมบัติทางเคมีเปลี่ยนไป มีโครงสร้างเป็นแบบเส้นหรือกิ่ง
19
พลาสติกเทอร์โมเซต (thermosetting plastic or thermosets)
ไม่อ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน จะเกรียมและแตกร้าวไม่สามารถหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้อีก มีโครงสร้างแบบร่างแห นิยมใช้ทำตู้วิทยุ โทรทัศน์ พัดลม ภาชนะใส่อาหาร เช่น เบกาไลต์ เมลานีน พอลิยูรีเทน พอลิยูเรียฟอร์มาดีไฮด์ polyurethane
20
โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์
พอลิเมอร์แบบเส้น (linear polymer) พอลิเมอร์แบบกิ่ง (branched polymer) พอลิเมอร์แบบร่างแห (network polymer) Thermoplastic Thermoset
22
พลาสติก 1. Polyethylene (PE)
Low-density polyethylene (LDPE) ยืดหยุ่นได้ ทนทานมาก ทนสารเคมี ขวด หีบห่ออาหาร และของเล่น Linear low-density polyethylene (LLDPE) สมบัติ ระหว่าง LDPE และ HDPE แต่นิ่ม และเหนียวกว่า ทำฟิล์ม,ถุงบรรจุสิ่งของน้ำหนักสูง ถุงบรรจุ เสื้อผ้า บรรจุอาหารแช่เย็น High-density polyethylene (HDPE) เชื่อมกันแน่นหนา แข็งแรง โปร่งแสง น้อยถุง ถังน้ำมันรถ หีบห่อและท่อน้ำ D g/cm3 D g/cm3
23
พลาสติก 1. Polyethylene (PE) (ต่อ) สมบัติ: ป้องกันการผ่านของไอน้ำได้ดีแต่ยอมให้อากาศผ่านเล็กน้อย เป็นแผ่นฟิล์มใส เหนียว ทนสารเคมี ทนกรด ทนเบส การนำไปใช้: ภาชนะบรรจุอาหาร ถุงพลาสติกชนิดใส่ของเย็น แผ่นพลาสติกบางที่ใช้หอผักและผลไม้ ถุงขยะ เครื่องใช้ในบ้าน ของเล่น ท่อน้ำ ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า เคลือบกล่องกระดาษใส่นม ถุงซิบใส่ยา เป็นต้น
24
พลาสติก 2. Polypropylene (PP) สมบัติ: คล้ายพอลิเอทิลีนแต่แข็งแรงกว่า เหนียวแข็งแรง ผิวเป็นมันวาว น้ำหนักเบา ทนต่อแรงดึง ไม่ว่องไวต่อสารเคมี ทนน้ำ การนำไปใช้: ภาชนะบรรจุสารเคมี เช่น หม้อแบตเตอรี่ หุ้มสายไฟฟ้า กระเป๋าเดินทาง พรม เชือก เครื่องมือแพทย์ เช่น ตัวกระบอกฉีดยาและเครื่องมือในห้องทดลอง ถุงน้ำร้อนชนิดขุ่น เป็นต้น
25
พลาสติก 3. Polyvinylchloride (PVC) สมบัติ: แข็งและคงรูป ทนต่อความชื้น ทนต่อสารเคมีแลการขัดถู ทนต่อการกัดแทะของแมลงและไม่เป็นเชื้อรา ไม่ทนความร้อนและแสง การนำไปใช้: กระเบื้องยางปูพื้น ท่อน้ำ หนังเทียม เสื้อกันฝน บัตรเครดิต แผ่นเสีง ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า เป็นต้น
26
พลาสติก 4. Polytetrafluoroethylene (PTFE = Teflon) สมบัติ: เหนียว ทนสารเคมีดีทุกช่วงอุณหภูมิ ทนความร้อนได้ดี ไม่นำไฟฟ้า ผิวลื่น ทนต่อแรงกระแทก การนำไปใช้: เคลือบผิวภาชนะหุงต้มเพื่อไม่ให้อาหารติดภาชนะ ฉนวนไฟฟ้า วงแหวนลูกสูบและลูกปืนในเครื่องยนต์ เคลือบสาบเคเบิล สายไฟฟ้า
27
พลาสติก 5. Polystyrene (PS) สมบัติ: แข็งมากแต่เปราะ ไม่ทนต่อตัวทำละลายอินทรีย์แต่ทนต่อกรดและเบส ใส โปร่งแสง ผิวเรียบ ไม่นำไฟฟ้า การนำไปใช้: ภาชนะบรรจุสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้ง ชิ้นส่วนของตู้เย็น เครื่องเรือน ตลับเทป กล่องใสใส่ขนม โฟมบรรจุอาหาร ฉนวนสำหรับกระติกน้ำร้อน น้ำเย็น วัสดุลอยน้ำ
28
พลาสติก 6. Polyethylene terephthalate (PET) + Dimethyl terephthalate Ethylene glycol Thermoplastic สมบัติ: แข็ง ง่ายต่อการย้อมสี ทนความชื้น เหนียว ทนต่อการขัดถู การนำไปใช้: เส้นใย เอ็น เชือก ขวดน้ำอัดลม แก้วเทียม เป็นต้น
29
พลาสติก 7. Polyamide (PA) สมบัติ: เหนียว ผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย แห้งเร็ว ยืดหดได้ ทนต่อการขัดถู ทนต่อ การใช้งานนอกอาคาร การนำไปใช้: เชือก เส้นด้าย ถุงน่อง ชุดชั้นใน ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น เฟือง เกียร์ ปลอกหุ้มสายไฟ เป็นต้น
30
พลาสติก สมบัติ: ยืดหยุ่น ทนการขีดข่วนได้ดี ทนต่อตัวทำละลาย ทนแรงกระแทก
8. Polyurethane (PU) สมบัติ: ยืดหยุ่น ทนการขีดข่วนได้ดี ทนต่อตัวทำละลาย ทนแรงกระแทก การนำไปใช้: เส้นใยชุดว่ายน้ำ ล้อรถเข็น น้ำยาเคลือบผิว โฟมบุเก้าอี้ เป็นต้น
31
เส้นใย (fiber) เส้นใยจากธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ไหม ปอ ขนสัตว์ เป็นต้น
เส้นใยจากธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ไหม ปอ ขนสัตว์ เป็นต้น เส้นใยดัดแปลงจากธรรมชาติ เช่น เรยอน (rayon) ผลิตจากเซลลูโลส เส้นใยสังเคราะห์ เช่น ไนลอน พอลิเอสเทอร์ พอลิโพรพิลีน เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนำมาผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้
32
เส้นใยกึ่งสังเคราะห์
ผลิตภัณฑ์จากเส้นใย เส้นใย เส้นใยธรรมชาติ พืชเซลลูโลส สัตว์ โปรตีน แร่ธาตุ ใยหิน เส้นใยกึ่งสังเคราะห์ เรยอน เส้นใยสังเคราะห์ พอลิ เอสเตอร์ เอไมด์ เอสเทอร์ อื่นๆ เซลลูโลสอะซิเตต: เซลลูโลส+ อะซิติก ทำเส้นใย แผ่นพลาสติกฉนวน หุ้มสายไฟ เรยอน :คล้ายเส้นใยพืช สัตว์ ผลิตผ้า มัน ย้อมติดง่าย ซับเหงื่อดี ทำเสื้อผ้าฤดูร้อน เตรียม: เซลลูโลส + CS2 ไนลอน 6,6 ดี : ระบายอากาศดี ใส่สบาย เสีย : ผ้าฝ้ายเป็นรา ผ้าไหมหดตัวเมื่อร้อน ชื้น ลินิน ป่าน ต้องทอมือ ทนจุลินทรย์ เชื้อรา ทนสารเคมี ทนความร้อน แสง ซักง่าย แห้งเร็ว
33
ยาง น้ำยางสด มีลักษณะเป็นอิมัลชัน สีขาวข้นคล้ายนม
น้ำยางสด มีลักษณะเป็นอิมัลชัน สีขาวข้นคล้ายนม เติมกรดแอซิติก/กรดฟอร์มิกเจือจาง แยกเนื้อยางจากน้ำยาง ยางดิบ ข้อดี : ยืดหยุ่นสูง ต้านแรงดึงสูง ทนต่อการขัดถู เป็นฉนวนที่ดี ทนน้ำ ข้อเสีย : ไม่ทนต่อน้ำมันเบนซินและตัวทำละลายอินทรีย์ เหนียวและอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน แข็งและเปราะเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง ยาง
34
โครงสร้างทางเคมีของเนื้อยาง
ยางพารา (cis -1,4-polyisoprene) ยางกัตตา (trans -1,4-polyisoprene)
35
การปรับปรุงคุณภาพของยาง การวัลคาไนเซชัน (Vulcanization)
การนำยางธรรมชาติมาทำปฏิกิริยากับกำมะถัน (s) โดยการเผาและใช้ตัวเร่ง ปฏิกิริยาทำให้กำมะถันเกิดพันธะโคเวเลนต์กับโมเลกุลของยางที่เป็นสายยาว โมเลกุล ของยางที่เป็นสายยาวแต่ละโมเลกุลจึงถูกยึดเข้าด้วยกัน ยางธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชัน จะทำให้ยางมีความแข็งแรงมากขึ้น มี ความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงพอสมควรโดยไม่อ่อนตัว ต้องการใช้ยางที่แข็งกว่าปกติ เติมกำมะถัน ต้องการเพิ่มความแข็งแรง การเติมผงถ่าน ต้องการให้ยางทนทานต่อการฉีกขาด เติมซิลิกา หรือดินเหนียว
36
วัลคาไนเซชัน
37
พอลิบิวทาไดอีน ยางสังเคราะห์
เมื่อผ่านกระบวนการวัลคาไนซ์แล้วจะยืดหยุ่นมากกว่ายางธรรมชาติ ใช้ทำยางรถยนต์ ยางล้อเครื่องบิน
38
พอลิคลอโรพรีน CR, chloroprene
ยางนีโอพรีน chloroprene polychloroprene ความทนต่อแรงดึงสูง ความต้านทานต่อการฉีกขาดสูงและการขัดสีสูง มีสมบัติบางอย่างที่ดีกว่ายางธรรมชาติ เช่น สลายตัวยากไม่ถูกกัดกร่อนด้วยโอโซนทนไฟ ไม่อ่อนนุ่ม หรือบวมเมื่อถูกน้ำ ทนต่อกรดและเบส ทนต่อน้ำมัน น้ำมันเบนซินและตัวทำละลายต่าง ๆ จึงนำไปทำท่อหรือภาชนะที่ใช่สำหรับใส่น้ำมัน
39
ยางSBR styrene butadiene rubber
ยางเอสบีอาร์ทนต่อการขัดถูและเกิดปฏิกิริยากับ o2 ได้ยากกว่ายางธรรมชาติ ยืดหยุ่นต่ำ ส่วนใหญ่ใช้ทำยางรถยนต์ มีราคาถูก ใช้สำหรับทำยางที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานหนัก เช่น ส้นรองเท้า ยางปูพื้น ถุงเท้ายาง และ สายรัด เป็นต้นใช้ในการผลิตสายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟท่อยาง **ส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางยานพาหนะขนาดเล็ก
40
การบ้าน พลาสติกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้นั้นเป็นพลาสติกประเภทใด
จงยกตัวอย่างให้เห็นจริง 2. พลาสติกที่นำมาผลิตถุงใส่ของ เชือก และขวดน้ำ มีโครงสร้างของพอลิเมอร์ใด และมีลักษณะอย่างไร 3. จงจับคู่ระหว่างสารพอลิเมอร์กับการนำไปใช้ประโยชน์ให้ถูกต้อง ก. ทำฟิล์มบางสำหรับห่ออาหารสด 1. ไนลอน ข. ทำยางรถยนต์ 2. เมลานีน ค. เสื้อผ้านุ่งห่ม 3. เบกาไลต์ ง. ภาชนะใส่อาหาร 4. ยางสังเคราะห์ (SBR) จ. ปิดผิวเคาน์เตอร์ใช้กันความร้อน 5. พอลิเอสเอร์ 6. พอลิสไตรีน 7. เทฟลอน
41
มลพิษที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิง มลพิษทางอากาศ
แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 1.เกิดจากการเผาไหม้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่สมบูรณ์ C7H16(l) + 10O2(g) 5CO2(g) + 2CO(g) + 8H2O(g) 2.เมื่อรวมตัวกับฮีโมโกลบินแล้วทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถรับ O2 ได้ตามปกติ Hb.O2 + CO(g) O2(g) + Hb.CO (aq) **การลำเลียง O2 เพื่อนำไปใช้ในส่วนต่างๆ ของร่างการลดลง เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
42
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงปิโตรเลียม
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงปิโตรเลียม เป็นแก๊สที่สลายตัวยากในบรรยากาศเป็นแก๊สที่เป็นสาเหตุของการเกิด ปรากฏการณ์เรือนกระจก ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม - สลายตัวยากในบรรยากาศ - ทำหน้าที่ห่อหุ้มโลกและกักเก็บความร้อนไว้ เรียกว่า แก๊สเรือนกระจก
43
สาเหตุ ผลกระทบ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหินและปิโตรเลียมที่มี S ปนอยู่ เกิด SO2 เกิดจากภูเขาไฟประทุ ผลกระทบ เมื่อละลายน้ำได้สารละลายทีมีสมบัติเป็นกรด เนื่องจาก SO2(g) ถูกออกซิไดซ์เป็น SO3(g) เมื่อทำปฏิกิริยากับไอน้าในอากาศได้ H2SO4 เมื่อร่างกายได้รับ SO2 จะเกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรังและโลหิตจาง เกิดหมอกควัน ทำให้เกิดการสึกกร่อนของโลหะในธรรมชาต
44
มลพิษที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิง มลพิษทางน้ำ
ผงซักฟอกและปุ๋ยเคมี มีสารฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบ ประมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำลดลง ทำให้พืชตาย ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชในแหล่งน้ำอย่างรวดเร็ว แหล่งน้ำขาดแก๊สออกซิเจน ทำให้แอนาโรบิกแบคทีเรียย่อย สลายซากพืชแบบไม่ใช้ออกซิเจน ได้ H2S ซึ่งมีกลิ่นเหม็น
45
คราบน้ำมัน เกิดการแผ่กระจายของน้ำมันในทะเลโดยเกิดเป็นแผ่นฟิล์มปิดกั้นระหว่างผิวน้ำกับอากาศ แหล่งน้ำมีอุณภูมิสูงขึ้นและขาดแก๊สออกซิเจน ทำให้พืชน้ำและสัตว์น้ำตาย และสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยและขยายพันธุ์
46
มลพิษที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิง มลพิษทางดิน
สาเหตุ - การทิ้งขยะ - การใช้พลาสติกและโฟมและกำจัดไม่ถูกต้อง - การฝังกลบพลาสติกและสารพิษ - การใช้สารเคมีและสารปราบศัตรูพืช
47
การอนุรักษ์ดินให้ปลอดมลพิษ
วิธีกำจัดพลาสติก ด้วยการทำให้เสื่อมสลาย ใช้ชีวเคมี เช่น เอนไซม์จากแบคทีเรียและเชื้อราในการย่อยสลาย การละลายน้ำพวกไนลอน, พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ ใช้แสงแดด พลาสติกเมื่อถูกกับแสงแดดจำทำปฏิกิริยากับ O2 ทำให้เปราะและแตกง่าย 4. ใช้การเผา เช่น พอลิเอทิลีน (ติดไฟง่าย ไม่มีสารพิษ), PVC(เกิด HCl), PS (ให้ควันดำ มีสาร CFC เข้าสู่บรรยากาศ)
48
วิธีกำจัดพลาสติก ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่
พลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติก เมื่อใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เศษพลาสติกจากขยะมูลฝอย จะนำไปทำความสะอาด แยกประเภท ตดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนนำไปหลอมละลาย และทำเป็นเม็ด เรียกว่า “เม็ดเก่า” - อัดเป็นแผ่นใช้ทำอิฐ หรือแผ่นรองเท้า - ผสมกับซีเมนต์ทำก้อนหินเทียม - ทำกาวจากวัสดุเหลือใช้
52
พลาสติกกลุ่มที่ 4 คือ LDPE สัญลักษณ์คือ 4 เป็นพลาสติกที่มีความหนาแน่นต่ำ มีความนิ่มกว่า HDPE มีความเหนียว ยืดตัวได้ในระดับหนึ่ง ส่วนใหญ่ใสมองเห็นได้ จุดหลอมเหลว 110 องศาเซลเซียส มีความหนาแน่น นิยมนำมาใช้ทำแผ่นฟิล์ม ห่ออาหารและห่อของ
55
พลาสติกกลุ่มที่ 7 คือ อื่นๆ เป็นพลาสติกที่นอกเหนือจากพลาสติกทั้ง 6 กลุ่ม พบมากมายหลากหลายรูปแบบ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.