ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ผู้วิจัย : สุภาพร อภิพันธุ์
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ วิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ ผู้วิจัย : สุภาพร อภิพันธุ์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
3
กรอบแนวคิดของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) ซึ่งดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบกลุ่มเดี่ยวสอบก่อนและสอบหลัง (One group pretest posttest design) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540: 60) และ จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้นำมาเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัยดังนี้ การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค การคิดแบบหมวกหกใบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
4
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 สาขางานการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา จำนวน 2 ห้องเรียน 83 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 สาขางานการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
5
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดยใช้เทคนิคการคิดหมวกหกใบก่อนเรียนและหลังเรียน ดังตารางที่ 4.1 ตาราง 4.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดหมวกหกใบก่อนเรียน และหลังเรียน วิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน N t p ก่อนเรียน 40 9.53 888 19814 87.51** .000 หลังเรียน 30.73 จากตารางที่ 4.1 พบว่านักศึกษาที่เรียนโดยใช้เทคนิคการคิดหมวกหกใบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียน และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6
สรุปผลการวิจัย เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิด แบบหมวกหกใบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน วิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ ปรากฏว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
7
ข้อเสนอแนะ 1.ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1.1 การจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดแบบหมวกหกใบ ผู้สอนควรศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคนิค การคิดแบบหมวกหกใบให้ชัดเจนก่อนการนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้เกิด ความเข้าใจและไม่สับสนในการใช้หมวก เพราะหากสับสนในการใช้หมวกก็จะส่งผลให้เกิด ความสับสนในการคิดแบบต่างๆ ได้ 1.2 ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครูผู้สอนควรนำเรื่องราวที่ใช้เป็นสถานการณ์ให้ นักศึกษา ได้ฝึกคิด ควรเป็นสถานการณ์ที่หลากหลาย ใกล้ตัวนักศึกษาหรือเหมาะสมกับวัย ของนักศึกษา ทั้งนี้เพราะจะทำให้นักศึกษาเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายและสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ได้
8
ข้อเสนอแนะต่อ 1.3 ครูผู้สอนต้องให้ความสนใจและเอาใจใส่ต่อการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา เพราะได้ฟังคำอธิบายของนักศึกษาทำให้ครูทราบว่า ความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาอยู่ใน ระดับใด เพื่อจะได้ส่งเสริมให้นักศึกษา สามารถคิดวิเคราะห์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 1.4 ครูผู้สอนไม่ควรตั้งคำถามหรือกระตุ้นให้นักศึกษาคิดเกี่ยวกับหมวกใบหนึ่ง ใบใด จนเกินไป ควรที่จะสับเปลี่ยนให้นักศึกษาคิดหมวกใบอื่นอย่างเท่าเทียมกัน จะเป็นการสร้าง แรงกระตุ้นทางความคิดและไม่ทำให้นักศึกษาเกิดความเบื่อหน่าย
9
ข้อเสนอแนะต่อ 2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิค การคิดแบบหมวกหกใบในการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆและระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป 2.2 ควรทำการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหกใบกับเทคนิคการสอนแบบอื่นๆ
10
จบการนำเสนอ......สวัสดี สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.