ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยJordan Harmon ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
งานคุ้มครองผู้บริโภค กับการเฝ้าระวังสื่ออย่างชาญฉลาด
นางสาวเบญจมาศ สุรมิตรไมตรี ผู้อำนวยการกองสุขศึกษา
2
วัตถุประสงค์ รู้จัก เข้าใจ นำไปใช้
3
ประเด็นนำเสนอ รู้จัก เข้าใจ แนวคิดการเฝ้าระวังสื่อ
- แนวคิดพื้นฐานเรื่องการเฝ้าระวังสื่อ งานคุ้มครองกับการเฝ้าระวังสื่อ เรียนรู้สู่การปฏิบัติ
4
ทำไมต้องเฝ้าระวังสื่อ?
ทำไมเราต้องทำ เกี่ยวกับเราอย่างไร ทำไมต้องเฝ้าระวังสื่อ?
5
เฝ้าระวังคืออะไร การเฝ้าระวัง หมายถึง ระบบและกลไกที่สร้างขึ้น เพื่อติดตามสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เพื่อใช้ ในการวางแผน ควบคุม ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือนำไปใช้เพื่อการดำเนินการลดปัจจัยเสี่ยง อย่างมีประสิทธิภาพ
6
ความจำเป็นในการเฝ้าระวังสื่อ
7
ความจำเป็นเชิงกฎหมาย
พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พรบ.สถานพยาบาล ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล
8
ความจำเป็นเชิงสังคม สื่อมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การดำเนินชีวิต
คนใช้ชีวิตอยู่กับสื่อมากขึ้น สื่อมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีกลยุทธ์ ที่หลากหลาย การปฏิรูปสื่อ ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ทั้งการติดตาม ตรวจสอบ ประสิทธิภาพของการจัดการปัญหา /มาตรการแก้ไขปัญหาส่วนกลางกับท้องถิ่นอาจมีความแตกต่างกัน เนื่องจากขาดฐานข้อมูลด้านสถานการณ์และตัวอย่างการจัดการในพื้นที่
9
อุบายสร้างโรค
10
Junk health knowledge
11
จับสัญญาณก่อนเกิดเหตุ
งานคุ้มครองฯกับการเฝ้าระวังสื่อ จับสัญญาณก่อนเกิดเหตุ
12
การคุ้มครองผู้บริโภค “เชิงรุก”
การเฝ้าระวัง การคุ้มครองผู้บริโภค “เชิงรุก” =
13
ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2558 :การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ มาตรการ : สร้างระบบคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความเชื่อมั่นต่อความปลอดภัยที่ใช้สถานประกอบการ สถานบริการสุขภาพและผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับเขตสุขภาพ ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ KPI : ระดับกระทรวง 1.ตัวชี้วัดบังคับ : ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2. ตัวชี้วัดให้เขต/จังหวัดเลือก 2.1 ร้อยละของคลินิกเวชกรรมฯ ได้รับการเฝ้าระวังให้ดำเนินการตามกฎหมาย 2.2 ร้อยละของผลิตภัณฑ์อาหารมีคุณภาพ มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด 2.3 ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชนนำร่อง 2.4 ร้อยละของชิ้นการโฆษณาด้านสุขภาพผิดกฎหมายซึ่งเฝ้าระวังจากสื่อวิทยุกระจายเสียง หรือสื่ออื่นในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการจัดการ 2.5 การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน งานคุ้มครองผู้บริโภค 2.6 ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอื่นๆ KPI : ระดับเขตสุขภาพ
15
จับสัญญาณก่อนเกิดเหตุ
แนวคิดพื้นฐานในการเฝ้าระวังสื่อ จับสัญญาณก่อนเกิดเหตุ
16
ประเด็นที่ 2 เฝ้าระวังผลกระทบ
พิจารณาในสองประเด็นหลัก ประเด็นที่ 1 เฝ้าระวังปรากฏการณ์ 1. การติดตามเฝ้าระวังเนื้อหาที่ปรากฏในสื่อ 2. การติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนในพื้นที่ 3. การติดตามพื้นที่ในการเข้าถึงและบริโภคสื่อ 4. การติดตามมาตรการในการจัดการ การบังคับใช้กฎหมาย ประเด็นที่ 2 เฝ้าระวังผลกระทบ 1. การติดตามเฝ้าระวังเรื่องที่ส่งผลกระทบเชิงลบ 2. การติดตามเฝ้าระวังผลกระทบเชิงบวก
17
เป้าหมายของการเฝ้าระวัง
เพื่อติดตามสถานการณ์ทั้งที่เป็นปัญหา และสถานการณ์สื่อด้านบวก เพื่อสร้างกระแสสังคมอันนำไปสู่การสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อสร้างเครือข่ายแนวร่วมผ่านการรวบรวมเครือข่ายที่มีปัญหา เพื่อเตรียมการจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้กฎหมาย นโยบาย
18
เรียนรู้สู่การปฏิบัติ
19
การดำเนินงานเฝ้าระวังฯ
ดำเนินการ เฝ้าระวังฯ ด้วยตัวเอง ส่งเสริมสนับสนุนให้เครือข่าย มีการเฝ้าระวังฯ
20
ขั้นตอนการดำเนินงาน ...เครือข่ายเฝ้าระวัง
ขั้นตอนที่1 สร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง ประชุมกลุ่มนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องของแต่ละพื้นที่ คัดเลือกกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนและเครือข่ายในพื้นที่ จัดอบรม ให้ความรู้แก่กลุ่มต้นแบบเครือข่ายการเฝ้าระวัง ขั้นตอนที่ 2 การเฝ้าระวัง การเฝ้าระวังการโฆษณา ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ด้านสุขภาพทางสื่อที่กำหนดในแต่ละพื้นที่ การบันทึกข้อมูลเฝ้าระวัง การสรุปผล การจัดทำรายงานการเฝ้าระวังในแต่ละพื้นที่ การสรุปข้อมูลนำเสนอ
21
แหล่งหรือสื่อที่พบข้อมูล ชื่อข่าว/ข้อมูล/ข้อความ เนื้อหาโดยย่อที่สำคัญ
เครื่องมือบันทึก วันที่พบ รายละเอียด แหล่งหรือสื่อที่พบข้อมูล ชื่อข่าว/ข้อมูล/ข้อความ เนื้อหาโดยย่อที่สำคัญ ระดับความเสี่ยง
22
องค์ประกอบของระเบียบวิธี
ในการเฝ้าระวังสื่อ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เป็นการอนุมานข้อความภายในเนื้อหาด้วยการแสดงปริมาณและวิเคราะห์ความหมาย และความสัมพันธ์ของคำ หรือแนวคิดของข้อความนั้นๆ การวิเคราะห์กรอบข่าว หรือกรอบของบทนำ หรือผลงานเขียน หรือรูปแบบของข้อเขียนอื่นๆ (framing analysis) เป็นวิธีการรื้อถอนสิ่งที่สื่อสร้างกรอบว่าเป็นความจริง เพื่อให้ทราบวิธีที่สื่อสร้างความจริง และกลวิธีที่เหตุการณ์ต่างๆถูกย้ำเน้น หรือมีส่วนใดที่ถูกปิดบัง การวิเคราะห์วาทกรรม(discourse analysis) เน้นการใช้ภาษาในการสื่อโครงสร้างข้อมูล ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้เขียน หรือระบบสัญลักษณ์ที่นำมาใช้ เป็นการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์ สื่อ เศรษฐกิจ การเมือง หรืออุดมการณ์ที่ซ่อนอยู่
23
คัดเลือกหน่วยการวิเคราะห์
กรอบการวิเคราะห์ ในการเฝ้าระวังสื่อ -ข่าว -โฆษณาตรง/แฝง -สาธิต -สนทนา/สัมภาษณ์บรรยาย/แนะนำ/ตอบคำถาม - ละคร ฯลฯ - เกม - อาหาร - ออกกำลังกาย - ผลิตภัณฑ์สุขภาพ - แอลกอฮอลล์ - ผลบวก - ผลลบ - เป็นกลาง คัดเลือกหน่วยการวิเคราะห์ สื่อหลัก สื่อท้องถิ่น สื่ออนไลน์ ประเด็นวิเคราะห์ รูปแบบการนำเสนอ ประเด็น เนื้อหา ทิศทางการนำเสนอ
24
เกณฑ์ประเมินผลกระทบกับประชาชน เพื่อการเฝ้าระวังสื่อ
ระดับ ผลกระทบ คำอธิบาย 5 รุนแรงสูง มีการสูญเสียทรัพย์สินอย่างมหันต์ มีการเจ็บป่วยถึงชีวิต 4 ค่อนข้างรุนแรง มีการสูญเสียทรัพย์สินมาก มีการเจ็บป่วยถึงขั้นหยุดงาน 3 ปานกลาง มีการเจ็บป่วยถึงขั้นพักงาน 2 น้อย มีการสูญเสียทรัพย์สินพอสมควร มีการเจ็บป่วยรุนแรง 1 น้อยมาก มีการสูญเสียทรัพย์สินเล็กน้อย ไม่มีการเจ็บป่วย
25
เฝ้าระวังอะไรบ้าง
26
งานศึกษาวิจัยในหัวข้อ ‘สถานการณ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุท้องถิ่น ภายหลังการจัดระเบียบการออกอากาศ จังหวัดลพบุรี’ โดย ภญ.ตุลาภรณ์ รุจิระยรรยง เภสัชกรชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี หลังคสช. ได้อนุญาตให้สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการสามารถดำเนินการออกอากาศได้ การตรวจสอบ ‘ความชุก’ ของการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งหมด 758 ครั้ง/305 ชิ้นโฆษณา ในจำนวนดังกล่าวมีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายมากถึง 483 ครั้ง/254 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ ของการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย รูปแบบของการโฆษณามีความหลากหลาย ส่วนใหญ่มักใช้สปอตและเพลงโฆษณามากที่สุด รองลงมาคือการโฆษณาโดยนักจัดรายการพูดและการนำเสนอสาระสุขภาพ รวมถึงการโฆษณาโดยการสัมภาษณ์ อย่างไรก็ดี การโฆษณาโดยการสัมภาษณ์นั้นถือว่ามีน้ำหนักหรือมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของประชาชนอย่างมาก เนื่องจากมีการรับรองโดยบุคคล และพบว่าการโฆษณาในแต่ละครั้งจะใช้เวลานาน 300-2,000 วินาที บางรายการมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์เดิมๆ 2-3 ผลิตภัณฑ์สลับกันไปมา ซึ่งส่งผลให้ภาพรวมของรายการเป็นการโฆษณายาที่แสดงสรรพคุณเท็จหรือโอ้อวดเกินจริงเกือบทั้งหมด ซึ่งการโฆษณารับรองผลซ้ำๆ กันหลายครั้งอาจส่งผลให้ผู้บริโภคหลงเชื่อได้ สถานการณ์ที่ควรรู้
28
บุกจับ “รักเด้อ เรดิโอ” วิทยุชุมชนเถื่อน ขายของอวดอ้างสรรพคุณ
แม่หมอเทวดา จ.สระแก้ว รักษามะเร็งและเอดส์ได้และสารพัดโรค.. บุกจับ “รักเด้อ เรดิโอ” วิทยุชุมชนเถื่อน ขายของอวดอ้างสรรพคุณ
29
ใช้คำที่ห้ามใช้ในการโฆษณา
30
ตัวอย่างเครื่องมือ ในการเฝ้าระวังสื่อ
วันที่พบ 1 กันยายน 2558 รายละเอียด แหล่งหรือสื่อที่พบข้อมูล 1. ป้ายโฆษณาสี่แยก..... 2. วิทยุชุมชน คลื่น 3. ชาวบ้านบอกข้อมูล/พูดคุยกัน 4. รถเร่ขายของตามหมู่บ้าน 5. ขายตรงตามหมู่บ้าน ชื่อข่าว/ข้อมูล/ข้อความ ว่านชักมดลูก ยาทำสาวนิรันดร์ เนื้อหาโดยย่อที่สำคัญ เป็นยารักษามดลูกพิการ ปวดมดลูก ปวดประจำเดือน ตกขาวมีกลิ่นเหม็นเน่า กินว่านนี้จะหายได้ แม้จะมีลูกหลายคน ไม่ต้องพึ่งมีดหมอผ่าตัด ยกเครื่อง ทำรีแพร์ให้เปลืองเงิน ก็ทำสาวได้ มดลูกรัดตัว สามีไม่ไปเที่ยวนอกบ้าน ระดับความเสี่ยง ข้อมูลเป็นเท็จ เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไป ประเมินด้านความเสี่ยงพบว่า หากประชาชนใช้ผลิตภัณฑ์จะส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วย สูญเสียทรัพย์สิน
31
ตัวอย่างการเฝ้าระวังสื่อ...โดยกองสุขศึกษา
32
ชื่อคอลัมน์/ชื่อโฆษณา วัตถุประสงค์หลักในการนำเสนอข้อมูล
1. ข้อมูลสื่อ 2. ประเภทของข้อมูลข่าวสาร 3. แหล่งข้อมูล ตารางวิเคราะห์สื่อ ชนิดสื่อ ชื่อ ระยะเวลาเผยแพร่ กลุ่มเป้าหมาย ชื่อคอลัมน์/ชื่อโฆษณา วัตถุประสงค์หลักในการนำเสนอข้อมูล ให้ข้อมูลความรู้ โฆษณา 1.ส่งเสริมสุขภาพ 2. โรค (ป้องกัน-รักษา) 3. ผลิตภัณฑ์/บริการด้านสุขภาพ 4. ผสม ผลิตภัณฑ์ บริการ 1+3 2+3 1+2+3 1<3 50/50 1>3 2<3 2>3 1/2/3 1>2+3 2>1+3 3>1+2 ระดับของแหล่งข้อมูล แหล่งอ้างอิง ผู้เขียน องค์กร ในประเทศ ต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รวบรวม คอลัมนิสต์ ระบุเพิ่ม ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ
33
ความน่าเชื่อถือ/ความเหมาะสมของเนื้อหา
4. ความน่าเชื่อถือหรือความเหมาะสมของเนื้อหา ความน่าเชื่อถือ/ความเหมาะสมของเนื้อหา มีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน เนื้อหาเหมาะสมกับกลุ่มผู้รับ มีจุดมุ่งหมายในการจัดทำชัดเจน และบอกวัตถุประสงค์ของสิ่งที่ต้องการชัดเจน เนื้อหามีความเป็นปัจจุบันและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เนื้อหามีความชัดเจน เหมาะสมกับองค์ประกอบการนำเสนอข้อมูล (รูปภาพ โครงเรื่อง) ความน่าเชื่อถือ/ความเหมาะสมของเนื้อหา มีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน มีการลำดับเหตุการณ์ ตั้งแต่ต้นจนจบ ครบถ้วน มีเหตุผลตามความ เป็นจริงน่าเชื่อถือ สำนวนหรือเนื้อหาชัดเจน ไม่มีลักษณะไปทางชวนเชื่อ มีแนวคิดที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.