ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMika Majanlahti ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
2
วิลเลียม ฮาร์วีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่ค้นพบหมุนเวียนของเลือด ซึ่งมีการไหลเวียนไปทางเดียวกัน
3
ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System)
เป็นระบบนำสารต่างๆ เช่น สารอาหาร แก๊สต่างๆ เกลือแร่ ฮอร์โมนไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย เพื่อเผาผลาญอาหารทำให้เกิดพลังงาน คาร์บอนไดออกไซด์ และ น้ำ และรับของเสียส่งออกนอกร่างกายทางลมหายใจออก โดยลำเลียงไปตามเส้นเลือดไปยังปอดและส่งออกนอกร่างกาย
4
โครงสร้างภายในของหัวใจ
หัวใจ (heart) หัวใจอยู่ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจ ประกอบด้วย กล้ามเนื้อหัวใจ มี 4 ห้อง แบ่งเป็น ห้องบน 2 ห้อง เรียกว่า เอเตรียม (Atrium) ห้องล่าง 2 ห้อง เรียกว่า เวนตริเคิล (Ventricle) ระหว่างห้องบนซ้าย-ล่างซ้าย จะมีลิ้น ไบคัสพิด(bicuspid valve)คั่นอยู่ และ ห้องบนขวา –ล่างขวา มีลิ้น ไตรคัสพิด (tricuspid valve) คั่นอยู่ ลิ้นหัวใจทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ โครงสร้างภายในของหัวใจ
5
การไหลเวียนเลือดในคน
6
องค์ประกอบ ของระบบหมุนเวียนเลือด
1. เลือด (blood) 2. หลอดเลือด (blood vessel) 3. หัวใจ (heart) 4. ความดันเลือด (blood pressure) 5. ชีพจร (pulse)
7
1. หลอดเลือด (blood vessel)
8
หลอดเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ หลอดเลือดในร่างกายเรา มี 3 ชนิด ได้แก่
9
1. หลอดเลือดแดง (Artery)
คือหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย มีผนังหนาแข็งแรง เพื่อให้มีความทนทานต่อแรงดันเลือดที่ถูกฉีดออกไปไม่มีลิ้นกั้นภายใน เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดง มีปริมาณแก๊สออกซิเจนมาก เรียกว่า “ เลือดแดง ” ส่วนหลอดเลือดแดงที่นำเลือด ออกจากหัวใจไปยังปอด
10
2. หลอดเลือดดำ (Vein) คือ หลอดเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ หลอดเลือดดำมีผนังบางกว่าหลอดเลือดแดง มีลิ้นกั้นภายใน เพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ เลือดที่ไหลอยู่ภายในหลอดเลือดมีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก ยกเว้น หลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจ จะเป็นเลือดแดง
11
3. หลอดเลือดฝอย (Capillary)
คือ หลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ สานเป็นร่างแหแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย มีขนาดเล็ก ละเอียดเป็นฝอย ผนังบางมากมีเซลล์ชั้นเดียว เป็นแหล่งที่มีการแลก เปลี่ยนแก๊ส และ สารต่าง ๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์ร่างกาย ที่มา :
13
ส่วนประกอบและหน้าที่ของเลือด
2. เลือด (blood) ส่วนประกอบและหน้าที่ของเลือด
14
ส่วนประกอบของเลือด เรียกว่า พลาสมา หรือน้ำเลือด
เรียกว่า พลาสมา หรือน้ำเลือด ส่วนที่เป็นของเหลว 55 % ประกอบด้วย น้ำ 91 % สารต่าง ๆ เอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส ของเสีย ได้แก่ ยูเรีย CO2 ส่วนประกอบของเลือด เม็ดเลือดแดง (Red blood cell ) เม็ดเลือดขาว (White blood cell ) ส่วนที่เป็นของแข็ง 45 % เกล็ดเลือด (Platelet)
16
น้ำเลือด หรือ พลาสมา พลาสมาหรือน้ำเลือด ทำหน้าที่ควบคุมความดันเลือด ปริมาณของเลือด ป้องกันเลือดออก พลาสมาประกอบด้วย น้ำประมาณ ร้อยละ 92 และโปรตีนประมาณ ร้อยละ 8 ซึ่งโปรตีนส่วนนี้มีความสำคัญในการรักษาสมดุลของน้ำในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อ เป็นภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย
17
ที่มา http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson2.php
เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red blood cell) เป็นสารประกอบโปรตีน ลักษณะค่อนข้างกลม มีสีแดง ตรงกลางเว้า เมื่อโตเต็มที่ไม่มีนิวเคลียส มีสารสีแดง เรียกว่า ฮีโมโกลบิน มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ มีอายุ วัน สร้างที่ ไขกระดูก ถูกส่งไปทำลายที่ ตับ ในเด็กสร้างที่ ตับ ม้าม และไขกระดูก หน้าที่ของเซลล์เม็ดเลือดแดง คือ ลำเลียง O เซลล์ ลำเลียง CO ปอด ฮีโมโกลบิน(Hb) + O ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) 1 cm3 มีเซลล์เม็ดเลือดแดงประมาณ 5 ล้านเม็ด รูป เซลล์เม็ดเลือดแดง ที่มา
18
1 cm3 มีเซลล์เม็ดเลือดขาวประมาณ 4,000 - 10,000 เม็ด
เซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cell ) กลม ไม่มีสี มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ สร้างที่ ไขกระดูก ม้ามและต่อมน้ำเหลือง อายุ วัน ทำหน้าที่ ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม 1 cm3 มีเซลล์เม็ดเลือดขาวประมาณ 4, ,000 เม็ด ที่มา :
19
เพลตเลต (Platelet) เศษเม็ดเลือด เกล็ดเลือด แผ่นเลือดไม่ใช่เซลล์ เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ ไม่มีสี ไม่มีนิวเคลียสรูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงเกือบ 4 เท่า มีอายุ 4 วัน ทำหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ในขณะที่เส้นเลือดฉีก
20
กระบวนการแข็งตัวของเลือด
เมื่อเลือดไหลออกจากบาดแผล สักครู่หนึ่งจะเห็นเลือดเปลี่ยนเป็นลิ่มคล้ายวุ้น ลิ่มเลือดประกอบด้วย ไฟบริน โดยมีเกล็ดเลือดเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยา ลิ่มเลือดทำหน้าที่ ช่วยห้ามเลือด และป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าสู่บาดแผล ที่มาของภาพ : สสวท. ชีววิทยาเล่ม 2 : 88
21
การไหลเวียนเลือดในคน
22
เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System)
วงจรเลือด เลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เอเตรียมขวา ผ่านลิ้นไตรคัสพิด เวนตริเคิลซ้าย เอเตรียมซ้าย ผ่านไบคัสพิด เวนตริเคิลขวา ปอด
23
4. ความดันเลือด (blood pressure)
คือ เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ขณะหัวใจบีบตัวเลือดจะถูกดันออกไปตามหลอดเลือดแดงด้วยความดันสูง ทำให้เลือดเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ขณะหัวใจคลายตัว เลือดจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจตามหลอดเลือดดำด้วยความดันต่ำ ความดันเลือดมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของปรอท มีค่าตัวเลข 2 ค่า เช่น 120 / 80 มิลลิเมตรของปรอท 120 = ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ(Systolic pressure) 80 = ค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจ(Diastolic pressure)
24
เครื่องมือวัดความดันเลือด
ความรู้เพิ่มเติม ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจ บีบตัว มีค่า 100 mmHg + อายุ ความดันเลือดขณะหัวใจ คลายตัวไม่ควรเกิน 90 mmHg เครื่องมือวัดความดันเลือดเรียกว่า มาตรความดันเลือด (Sphygmomanometer)ใช้คู่กับหูฟังหรือสเตทโทสโคป (Stethoscope) วัดความดันหลอดเลือดแดง ที่ต้นแขน เครื่องมือวัดความดันเลือด
25
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด
1. อายุ ผู้สูงอายุมีความดันเลือดสูงกว่าเด็ก เนื่องจากผนังหลอดเลือดมีความ ยืดหยุ่นลดลง 2. เพศ ปกติเพศหญิงมีความดันเลือดต่ำกว่าเพศชาย ยกเว้นหญิงที่กำลังจะหมด ประจำเดือน 3. ขนาดของร่างกายคนตัวใหญ่หรือคนอ้วนมีความดันเลือดสูงกว่าคนผอม 4. อารมณ์ เครียดวิตกกังวลโกรธหรือตกใจมีความดันเลือดสูงกว่าคนอารมณ์ปกติ 5. การทำงาน ทำงานหนักและการออกกำลังกาย จะมีความดันเลือดสูง 6. สภาพร่างกาย เช่น หลอดเลือดตีบ ไขมันในเลือดสูงจะทำให้ความดันเลือดสูง
26
ความรู้เพิ่มเติม 1. ความดันเลือดเฉลี่ยปกติของหญิงในวัยหนุ่มสาว คือ 110 / 70 มิลลิเมตรปรอท 2. ความดันเลือดเฉลี่ยปกติของชายในวัยหนุ่มสาว คือ 120 / 80 3. โรคความดันเลือดสูงจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่โกรธง่าย และ เกิด ภาวะเครียดเป็นประจำ สาเหตุสำคัญคือการตีบตันของหลอดเลือด
27
คือจังหวะการบีบตัวและคลายตัวของ
5. ชีพจร (pulse) คือจังหวะการบีบตัวและคลายตัวของ ผนังหลอดเลือดตามจังหวะการเต้น ของหัวใจ โดยปกติหัวใจเต้นเฉลี่ย ประมาณ 72 ครั้ง/นาที อัตราการเต้น ของชีพจรเพศชายสูงกว่าเพศหญิง โดยวัดจากเส้นเลือดแดงบริเวณข้อมือ ข้อศอก และ ซอกคอ
28
การป้องกัน 1. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน ต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ดี 2. ระมัดระวังไม่ให้เป็นหวัด เพื่อหลีกเลี่ยงการติด เชื้อสเตปโตค็อกคัส โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาร่างกาย ให้อบอุ่น ไม่ไอจามรดกัน ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น 3. เมื่อเป็นหวัด เจ็บคอ ไอ ควรไปพบแพทย์ ถ้ามีการติดเชื้อบัคเตรี แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อเป็นการป้องกันไข้รูห์มาติคด้วย
29
ขอให้โชคดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.