ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยวีระ สมิธ ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
สัปดาห์ที่ ๑๓ ( บทที่ ๑๓) การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพต่างๆ
2
๑. แนะนำหนังสือ ๑.๑ กษัตริย์นักพัฒนา. สำนักงาน กปร. กรุงเทพฯ : ๒๕๕๓.
๑.๒ จอมปราชญ์แห่งการพัฒนา ศาสตร์แห่งพระราชา.สำนักงาน กปร. กรุงเทพฯ : ๒๕๕๕. ๑.๓ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มูลนิธีสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.จากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ...กว่า 1 ทศวรรษ. กรุงเทพฯ: 2555.
3
๒. วัตถุประสงค์การเรียน
๒.๑ นักศึกษาอธิบายหลักการดำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้ ๒.๒ นักศึกษายกตัวอย่างบริษัทที่เป็นต้นแบบธุรกิจพอเพียง และอธิบายว่า เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไรได้ ๒.๓ นักศึกษาประยุกต์การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างไร ๒.๔ นักศึกษาบอกความหมายและหลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ ๒.๕ นักศึกษาอธิบายขั้นตอนของเกษตรทฤษฎีใหม่ได้
4
หัวข้อการเรียนการสอน
๓. การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพต่าง ๆ ๓.๑ ภาคธุรกิจ ๓.๒ ภาคเกษตรกรรม แบบฝึกหัด
5
๓.๑ เศรษฐกิจพอเพียง กับภาคธุรกิจ
6
๓.๑ ธุรกิจ “ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงคืออะไร ไม่ใช่เพียงพอ ไม่ได้หมายความว่าให้ทำกำไรเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นเอง ทำกำไรก็ทำ ถ้าเราทำกำไรได้ดี มันก็ดี แต่ว่าขอให้มันพอเพียง ถ้าท่านเอากำไรหน้าเลือดมากเกินไป มันไม่ใช่พอเพียง นักเศรษฐกิจเขาว่าพระเจ้าอยู่หัว นี่คิดอะไรแปลกๆ ก็แปลกสิ ขายไม่ให้ได้กำไร ซื้ออะไรไม่ขาดทุน เป็นเศรษฐกิจพอเพียงคือไม่ต้องหน้าเลือด แล้วไม่ใช่ว่าจะมีกำไรมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ให้พอเพียง ไม่ใช่เรื่องของการค้าเท่านั้นเอง เป็นเรื่องของการพอเหมาะ พอดี.....” พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2550
7
หลักการทำธุรกิจ การทำธุรกิจแบบเศรษฐศาสตร์ คือ
การทำธุรกิจโดยการเลือกหรือจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการอันไม่จำกัด ของมนุษย์ เน้นการทำธุรกิจแบบแสวงหากำไรทางเศรษฐศาสตร์สูงสุด ในทางบัญชี
8
การทำธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง คือ
การทำธุรกิจโดยการเลือกหรือจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพไม่ต้องเกิดประโยชน์สูงสุดก็ได้ แต่ต้องไม่เอาเปรียบตนเองและผู้อื่น เน้นการทำธุรกิจแบบแสวงหากำไรปกติ คือเพียงพอที่จะทำ ให้ดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยไม่เดือดร้อน
9
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่ได้บอกว่า ไม่ต้องเอากำไร ไม่ได้บอกว่า ให้หันหลังให้กับโลก ไม่ได้บอกว่า ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับใคร ไม่ได้บอกว่า ธุรกิจต้องลดกำไรลง หรือลดการผลิต สินค้าหรือบริการลง เพื่อให้พอเพียง
10
เมื่อเราเรียนเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ถ้าเราทำธุรกิจควรจะ
การเลือกหรือจัดสรร ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพ อย่างประหยัด และไม่ต้องสูงสุด
11
เมื่อเราเรียนเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ถ้าเราทำธุรกิจควรจะ
เน้นการแสวงหากำไรปกติ คือเพียงพอที่จะทำให้ ดำเนินกิจการต่อไปได้โดยไม่เดือดร้อน ไม่แสวงหากำไรเกินควร
12
เมื่อเราเรียนเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ถ้าเราทำธุรกิจควรจะ
ต้องไม่เอาเปรียบ หรือเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น และสังคม
13
หลักบรรษัทภิบาล เป็นหลักของการบริหารจัดการองค์กรที่มุ่งเน้น ให้ทุกคน ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) พึงใช้สิทธิของความเป็นเจ้านาย (Ownership Rights) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเองผ่านกลไกการบริหารงาน การบริหารงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นให้องค์กรธุรกิจมีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมมีแนวทางในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ไม่เอาเปรียบผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ การปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลจะทำให้องค์กรเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมเป็นที่ยอมรับของสังคมและสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในสังคมอย่างยั่งยืนและมีความสุข
14
บรรษัทภิบาลในประเทศไทย
บรรษัทภิบาลในประเทศไทย - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนทุกแห่งต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อสร้างประสิทธิภาพของระบบการดูแลที่ดีซึ่ง เป็นผลดีต่อความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน -การจัดตั้งบรรษัทภิบาลแห่งชาติ รัฐบาลได้กำหนดให้ปี 2545 เป็นปีแห่งการรณรงค์การมีบรรษัทภิบาลที่ดี และเพื่อให้มาตรการในเรื่องการสร้างระบบบรรษัท ภิบาลที่ดีมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีความต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งระบบเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 จึงได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ
15
หลักการพื้นฐานการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล
1. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (Responsibilily) องค์กรต้องกำหนดภารกิจของแต่ละฝ่าย ชัดเจน ทุกคนทุกฝ่ายรู้หน้าที่ของตน และเข้าใจในหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน ยึดหลัก ความถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน 2. ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทำของตน (Accountabilily) ทุกฝ่ายใน องค์กรจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้สึกรับผิดชอบอย่างแท้จริง มีความเข้าใจว่าต้อง รับผิดชอบต่อใครบ้าง ในลักษณะใด แค่ไหน และอย่างไร 3. ความยุติธรรม (Fairness) ถือเป็นหลักจริยธรรมพื้นฐานในการทำธุรกิจ การสร้าง ความยุติธรรมในการดำเนินธุรกิจควรเริ่มตั้งแต่ระดับนโยบาย กฎระเบียบต่าง ๆ จะต้องมี ความเสมอภาคมีความเท่าเทียม มีหลักการที่ชัดเจน
16
หลักการพื้นฐานการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล
4. ความโปร่งใส (Transparency) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล ข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจ โดยเฉพาะผลการดำเนินงานและภายในทางการเงินที่บริษัทเปิดเผยจะต้องโปร่งใส เชื่อถือได้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และตลาดทุน 5. คุณค่าระยะยาว (Long-term Value) หลักบรรษัทภิบาลให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าในระยะยาวแก่องค์การมากกว่าการตักตวงผลประโยชน์ในระยะสั้น คณะกรรมการบริษัทจะมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความมุ่งมั่นที่จะทำธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าในระยะยาว เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน 6. การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) องค์กรต้องส่งเสริมในการปฏิบัติงานในทุกด้านมุ่งสู่ความเป็นเลิศ มุ่งสร้างความสมบูรณ์แบบ โดยมีนโยบายที่ชัดเจน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจมีการผลักดันและสนับสนุนให้ทุกฝ่ายมีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา หลักการพื้นฐานการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล
17
เป็นที่ยกย่องในแวดวงธุรกิจ
ตัวอย่างคนไทยที่ใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นที่ยกย่องในแวดวงธุรกิจ โชค บูลกุล : ผู้พลิกฟื้นธุรกิจฟาร์มโชคชัยจากหนี้สิน 500ล้าน มาสู่ธุรกิจการเกษตรที่ยั่งยืน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
18
นักธุรกิจหนุ่ม โชค บูลกุล
“สำหรับผม เศรษฐกิจพอเพียง คือ สติ ” ถ้าเราไม่เอาความโลภของตนเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นที่เขามี... ตกหลุมพรางของกระแสเห็นคนอื่นเขามีก็อยากมีบ้าง... หลักของเศรษฐกิจพอเพียง (1) การอยู่อย่างพอประมาณ คือ เราไม่ไปเปรียบเทียบสิ่งที่เราขาดกับสิ่งที่คนอื่นมี (2) ความมีเหตุมีผล คือ เราเอาความรู้และ ประสบการณ์ของเรามาพัฒนาต่อยอด และ 3) มีภูมิคุ้มกัน คือ เราอยู่อย่างพอเพียง รักษากระแสเงินสดในมือ ไม่กู้หนี้ยืมสินอีก
19
ผมมีเงินน้อยก็ใช้น้อย มีเงินมากก็ใช้มากตามสัดส่วน
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์
20
พัฒนาคน อบรมพนักงานทุกระดับให้มีจิตสำนึกและเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง
ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน)
21
๓.๒ ภาคเกษตร “ข้าพเจ้าได้เฝ้าติดตามการปฏิบัติงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติด้วยความชื่นชมในความเพียรพยายามที่จะช่วยเหลือพลโลกให้มีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น ทั้งนี้ เพราะข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นเสมอมาว่า การเกษตรเป็นรากฐานของชีวิต ด้วยเป็นแหล่งผลิตอาหารและเป็นวัตถุดิบสำหรับการอุตสาหกรรมหลายอย่าง ข้อสำคัญ ขบวนการผลิตทางการเกษตรนี้อาศัยธรรมชาติเป็นหลักใหญ่ ดังนี้เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาและรักษาความสมดุลสมบูรณ์ของธรรมชาติไว้ให้เป็นปัจจัยสนับสนุนในการเพิ่มพูนผลผลิตเพื่อสร้างเสริมความอยู่ดีกินดีของประชากรในโลก” พระราชดำรัสตอบในโอกาสที่คณะและกงสุลเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ในวโรกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2538
22
เป็นการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อพัฒนาการเกษตร
หลักการทฤษฎีใหม่ เป็นการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อพัฒนาการเกษตร
23
ความหมายทฤษฎีใหม่ แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกษตรกรที่มีที่ดินถือครองประมาณ ไร่ สามารถมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรอย่าง เพียงพอตลอดปี และใช้น้ำกับที่ดินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้มีกินแบบตามอัตภาพ คือ ไม่ได้รวยมากแต่พอกิน ไม่อดอยาก
24
ความหมายทฤษฎีใหม่ โดยการแบ่งที่ดินที่ถือครองออกเป็นสัดส่วน โดยร้อยละ 30 ของพื้นที่สำหรับขุดสระ ร้อยละ 60 ของพื้นที่สำหรับทำนาปลูกข้าว และปลูกพืชไร่ทำสวน และร้อยละ 10 ของพื้นที่สำหรับเป็นที่บริการ เช่น ทางเดิน ที่อยู่อาศัย หรืออื่น ๆ
25
3 2 1 ทฤษฎีใหม่ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
ร่วมค้าขายสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน รวมพลังเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกษตรกรเลี้ยงตัวเองได้
26
ขั้นที่ 1 เกษตรกรเลี้ยงตนเองได้
LOGO ขั้นที่ 1 เกษตรกรเลี้ยงตนเองได้ ส่วนที่ 1 ปลูกข้าว มีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปีโดยถือว่าครอบครัวหนึ่งทำนา 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี ข้อนี้เป็นหลักสำคัญ ส่วนที่ 2 ปลูกพืชสวน พืชไร่ ปลูกพืชแบบผสมผสาน ส่วนที่ 3 จาก 2 ส่วนแรกจะต้องใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าต้องมีน้ำใช้ระหว่างช่วงฤดูแล้งประมาณ ลูกบาศก์เมตร ต่อ 1 ไร่ หากแต่ละแปลงเกษตรมีเนื้อที่ 5 ไร่ และแบ่งตามสัดส่วน จะมีพื้นที่การเกษตรที่ต้องการน้ำอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ นาข้าว 5 ไร่ และพืชไร่ หรือไม้ผล 5 ไร่ เกษตรกรเลี้ยงตนเองได้
27
ขั้นที่ 2 รวมพลังเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงใน 1. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ) 2. การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต) 3. การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ) 4. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้) 5. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา) 6. สังคมและศาสนา
28
ขั้นที่ 3 ร่วมค้าขายสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน
ติดต่อร่วมมือกับแหล่งเงิน (ธนาคาร) และกับแหล่งพลังงาน (บริษัทน้ำมัน) ตั้งและบริหารโรงสี ตั้งและบริหารร้านสหกรณ์ช่วยการลงทุน ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกร และฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ ธนาคารกับบริษัท จะสามารถกระจายบุคลากร
29
ขั้นที่ 3 ร่วมค้าขายสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน
เกษตรกรขายข้าวในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) ธนาคารกับบริษัทซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคาต่ำ (เป็นร้านค้าสหกรณ์ ราคาขายส่ง) ธนาคารกับบริษัท จะสามารถกระจายบุคลากร
30
ประโยชน์ของเกษตรทฤษฎีใหม่
1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ 2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อยก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืชผักต่าง ๆ ได้ แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน 3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้ 4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
31
“...ทฤษฎีใหม่ นี่จะขยายขึ้นไปได้อาจจะทั่วประเทศ แต่ต้องช้า ๆ เพราะว่าจะต้องสิ้นเปลือง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย ๆ แต่ว่าค่อย ๆ ทำ และเมื่อทำแล้วก็นึกว่าเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนมีกินแบบอัตภาพ คืออาจไม่รวยมาก แต่พอกินไม่อดอยาก ฉะนั้นก็นึกว่าทฤษฎีใหม่นี้ คงมีประโยชน์แต่ต้องทำด้วยความ ระมัดระวัง...” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2537
32
ตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จ
การประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2550 ผู้ชนะเลิศด้านเกษตร - ภาคประชาชนได้แก่ นายแสนหมั้น อินทรไชยา อาชีพเกษตรกรและผู้นำชุมชนทำการเกษตรแบบผสมผสาน จัดตั้งกลุ่มสวนสมุนไพรขึ้นในชุมชน มีการปลูกสมุนไพรปีละ 4 ครั้ง
33
ตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จ
การประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2 ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ผู้ชนะเลิศด้านเกษตร -ประเภทประชาชนทั่วไปได้แก่ นายสมพงษ์ พรผล อาชีพทำนา สวนยางพารา ไม้ผลและพืชหมุนเวียน เป็นผู้นำชุมชนที่รวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเศษยางพาราและใบยาง ทำให้กลุ่มเกษตรกรเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง
34
ตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จ
การประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2 ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ผู้ชนะเลิศ-ประเภทกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านถ้ำ ที่อยู่ 262 ม. 5 ต.บ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ประธานกลุ่ม นายอินทวน เครือบุญ
35
แบบฝึกหัด 1.จงอธิบายหลักการดำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง จากความคิดของท่าน 2. จงยกตัวอย่างบริษัทที่เป็นต้นแบบธุรกิจพอเพียง และอธิบายว่าเกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร 3. ถ้าปัจจุบันนักศึกษาเป็นเจ้าของบริษัท โทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของประเทศ จะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างไร 4. จงบอกความหมายและหลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ 5. เกษตรทฤษฎีใหม่ประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.