งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดทำงบการเงินและการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดทำงบการเงินและการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดทำงบการเงินและการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50
การจัดทำงบการเงินและการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50 20-23 มีนาคม 2561 กองกฎหมาย กรมสรรพากร

2 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
“ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

3 ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หลักการทั่วไป
- รอบระยะเวลาบัญชี (ระยะเวลา 12 เดือน) - การยื่นแบบภาษีประจำปี: ภงด. 50/ ชำระภาษี 150 วัน - การยื่นแบบภาษีครึ่งปี: ภงด.51/ ชำระภาษี 2 เดือน - เกณฑ์สิทธิ: ม.65 ว.2 และ ทป.1/2528 - ฐานภาษี: กำไรสุทธิ (รายได้ - รายจ่าย ) - ม.65 ทวิ: เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ - ม.65 ตรี: รายจ่ายต้องห้าม - อัตราภาษี 20 %

4 ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การคำนวณกำไรสุทธิ
รายได้ หัก รายจ่าย กำไรสุทธิ คูณ อัตราภาษี ภาษีเงินได้

5 - มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท
- มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท

6 - มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท
- มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท - จดแจ้งบัญชีชุดเดียวต่อกรมสรรพากร

7 การคำนวณกำไรสุทธิทางบัญชีและภาษี
กำไร/ขาดทุนสุทธิ ทางบัญชี กำไร/ขาดทุนสุทธิ ทางภาษี คำนวณเสียภาษี เงินได้นิติบุคคล ตามอัตราภาษี หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฎากร กระดาษทำการ กระทบยอด

8 ฐานภาษี: กำไรสุทธิ รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่เกิดขึ้น ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในม. 65 ทวิ และม. 65 ตรี (ม. 65 ว. หนึ่ง)

9 ภาษีเงินได้นิติบุคคล: รายได้
รายได้จากกิจการ หรือ รายได้เนื่องจากกิจการ: ข้อพิจารณา รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินปันผล รายได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน รายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินเก่า ทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคจากบุคคลภายนอก

10 การรับรู้รายได้และรายจ่าย: เกณฑ์สิทธิ
เกณฑ์สิทธิทางภาษี ม.65 ว.2 และ ท.ป.1/2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดย ท.ป.155/2549 ให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยัง ไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็น รายได้ และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยัง ไม่ได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็น รายจ่าย

11 การรับรู้รายได้และรายจ่าย: เกณฑ์สิทธิ
ขายสินค้า : หลักการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทน ที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้า ให้บริการ : การให้บริการสิ้นสุดหรือเฉลี่ยตามส่วนงาน บริการที่ทำในแต่ละรอบบัญชี คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดย ท.ป.155/2549

12 การรับรู้รายได้และรายจ่าย: เกณฑ์สิทธิ
กรณีศึกษา - ส่งออกสินค้า/ ฝากขาย(consignment)/ ม.70 ตรี - สถาบันการเงิน: ดอกเบี้ยผิดนัด - เช่าทรัพย์ - เงินล่วงหน้า/เงินประกัน/มัดจำ/ป. 73/2541 - รับเหมาก่อสร้าง/ค้าอสังหาริมทรัพย์

13 ม. 65 ทวิ : การคำนวณกำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ
ม. 65 ทวิ (1) รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย ข้อพิจารณา ; รายจ่ายสวัสดิการ ค่าจ้างที่ปรึกษา

14 ทรัพย์สินและค่าเสื่อมราคา
ม. 65 ตรี (5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่าย ในการต่อเติมเปลี่ยนแปลงขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่ง ทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ม. 65 ทวิ (2) ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน พรฎ. (ฉ. 145) พ.ศ. 2527 พรฎ. (ฉ. 315) พ.ศ. 2540

15 รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
รายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (Ownership) หรือสิทธิประโยชน์ตอบแทนที่นานกว่า 1 รอบ ระยะเวลาบัญชี (Benefit) รายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ ทรัพย์สินดีขึ้น ข้อยกเว้น: รายจ่ายการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ข้อพิจารณา: ความมีสาระสำคัญ (Materiality)

16 ทรัพย์สินและค่าเสื่อมราคา
พรฎ. (ฉ.145) พ.ศ. 2527 ม.3 ให้ใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป ให้ใช้วิธีการทางบัญชีและอัตรานั้นตลอดไป เว้นแต่ จะได้รับ อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร

17 ทรัพย์สินและค่าเสื่อมราคา
ม.4 ให้คำนวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละ รอบระยะเวลาบัญชีเป็นรายวัน ให้หักได้ไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของ ทรัพย์สิน (แบ่งทรัพย์สินเป็น 5 ประเภท) หากเลือกใช้วิธีการบัญชีที่อัตราไม่เท่ากันในแต่ละปี จะหักค่า เสื่อมราคาเกินอัตราที่กำหนดในบางปีได้ แต่จำนวนปีอายุการใช้ ทรัพย์สินต้องไม่น้อยกว่า 100 หารด้วยร้อยละที่ประมวลรัษฎากร กำหนด

18 ทรัพย์สินและค่าเสื่อมราคา : อัตรา
 (1) อาคาร อาคารถาวร     ร้อยละ 5 อาคารชั่วคราว     ร้อยละ 100 (2) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้ ร้อยละ 5 (3) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า * กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หรือมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้ โดย เงื่อนไขในการต่ออายุนั้นเปิดโอกาสให้ต่ออายุการเช่ากันได้ต่อ ๆ ไป     ร้อยละ 10      * กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้หรือมีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่า ได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน     ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวน ปีอายุการเช่าและอายุที่ต่อได้ รวมกัน  

19 ทรัพย์สินและค่าเสื่อมราคา : อัตรา
(4) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิ ในกรรมวิธี สูตร กู๊ดวิล เครื่องหมายการค้า สิทธิประกอบ กิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น กรณีไม่จำกัดอายุการใช้     ร้อยละ 10      กรณีจำกัดอายุการใช้     ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการใช้ (5) ทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งโดยสภาพของทรัพย์สินนั้นสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้ นอกจาก ที่ดินและสินค้า     ร้อยละ 20

20 ทรัพย์สินและค่าเสื่อมราคา
มูลค่าต้นทุนทรัพย์สินที่จะหักค่าสึกหรอค่าเสื่อมราคา ราคาทรัพย์สินที่ซื้อมาครั้งแรก ค่าใช้จ่ายเพื่อการติดตั้งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ทำให้ทรัพย์สินพร้อมใช้งาน ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจนถึงเวลาที่ทรัพย์สินพร้อมใช้งาน (กรณีกู้ยืมเงินมาซื้อทรัพย์สิน)

21 รายจ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สิน
ยกเว้นรายจ่ายสำหรับการลงทุนฯ ในทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ (2) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (3) ยานพาหนะที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๐ คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ที่มิใช่ได้มาเพื่อนำออกให้เช่า (4) อาคารถาวร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย

22 พรฎ. 604 และ 642 หลักเกณฑ์ลักษณะของทรัพย์สิน
(1) ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน (2) สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตาม 65 ทวิ (2) ได้ และต้องได้ทรัพย์สินนั้นมาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การได้ตามประสงค์ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 59 หรือ 31 ธ.ค. 60 แล้วแต่กรณี เว้นแต่ เครื่องจักรและอาคารถาวร (3) ต้องอยู่ในราชอาณาจักร เว้นแต่ยานพาหนะ

23 พรฎ. 604 และ 642 หลักเกณฑ์ลักษณะของทรัพย์สิน (ต่อ)
(4) ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ ใช้สิทธิตาม พรฎ.604 (5) ไม่เป็นทรัพย์สินที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ เป็นการนำไปใช้ในโครงการตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น

24 พรฎ. 604 และ 642 เงื่อนไขและระยะเวลาการใช้สิทธิ
หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามปกติตามประเภททรัพย์สินตามที่กฎหมายกำหนด หักรายจ่ายตามจำนวนส่วนเฉลี่ยของเงินได้ที่ได้จ่ายไปจริงระหว่างวันที่ - 3 พ.ย. 58 ถึง 31 ธ.ค. 59 (พรฎ.604) หักได้ 100% - 1 ม.ค. 60 ถึง 31 ม.ค. 60 (พรฎ.642) หักได้ 50%

25 จำนวนรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้สิทธิ
พรฎ. 604 และ 642 ประเภททรัพย์สิน จำนวนรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้สิทธิ 1. เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ 5 รอบต่อเนื่องกัน 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3 รอบต่อเนื่องกัน 3. ยานพาหนะ 4. อาคารถาวร 20 รอบต่อเนื่องกัน

26 พรฎ. 604 และ 642 เงื่อนไขและระยะเวลาการใช้สิทธิ กรณีทั่วไป
ให้เริ่มใช้สิทธิหักรายจ่ายตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา กรณีนำทรัพย์สินไปใช้ในโครงการตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้เริ่มใช้สิทธิหักรายจ่ายตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบที่สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลง

27 พรฎ. 604 และ 642 การสิ้นสุดการใช้สิทธิ
กรณีปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขตามมาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 5 ข้อใดข้อหนึ่ง ให้สิทธิยกเว้นสิ้นสุดลงตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ใช้สิทธิ กรณีทรัพย์สินมีการขาย / ถูกทำลาย / สูญหาย / สิ้นสภาพให้ สิทธิยกเว้นสิ้นสุดลงนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ขายทรัพย์สิน / ทรัพย์สินถูกทำลาย / สูญหาย / สิ้นสภาพ

28 พรฎ. 604 และ 642 พรฎ.604 พรฎ.642 * จัดทำรายงานแสดงรายละเอียดทรัพย์สิน
1. จัดทำโครงการลงทุน + แผนการลงทุน (ลงทุนใหม่) 2. แจ้งแผนการลงทุน (ลงทุนต่อเนื่อง)

29 การประเมินรายได้ของเจ้าพนักงานประเมิน
ม. 65ทวิ (4) ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือ ดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงิน   คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 113/2545

30 การประเมินรายได้ของเจ้าพนักงานประเมิน
 กรณีศึกษาและข้อพิจารณา “เหตุอันสมควร” - ขายสินค้าที่มีตำหนิ ชำรุดบกพร่อง ล้าสมัย - ขายอสังหาริมทรัพย์ - ให้บริการไม่คิดค่าตอบแทน - ให้กู้ยืมเงินแก่กรรมการ ลูกจ้าง หรือบริษัทในเครือ

31 ภาษีเงินได้นิติบุคคล : รายได้
รายได้เงินปันผล - ยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ม.65 ทวิ (10) - เงินปันผลจากบริษัท BOI - เงินปันผลค้างจ่าย

32 (หน้า 3 หลัง 3)

33

34 เงินปันผล : หัก ณ ที่จ่าย
10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าผู้มีเงินได้ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าผู้มีเงินได้เป็นบริษัทจดทะเบียนและได้ถือหุ้นเป็น เวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล จากบริษัทไทยหรือกองทุนรวม ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าผู้มีเงินได้ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลอย่างน้อย 25 % ของหุ้นทั้งหมดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล และบริษัทดังกล่าวมิได้ถือหุ้นในบริษัท ผู้มีเงินได้้ ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าได้รับเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ดอกเบี้ย : 1% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือ ไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้รับดอกเบี้ยจาก ธนาคารพาณิชย์

35 การจำหน่ายหนี้สูญ ม.65 ทวิ (9): การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดย กฎกระทรวง แต่ถ้าได้รับชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้ นำมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หนี้สูญรายใดได้นำมาคำนวณเป็นรายได้แล้ว หากได้รับ ชำระในภายหลังก็มิให้นำมาคำนวณเป็นรายได้อีก กฎกระทรวง ฉ. 186 (พ.ศ. 2534)

36 ลักษณะของหนี้ที่จะจำหน่ายหนี้สูญได้
หนี้จากการประกอบกิจการ/เนื่องจากการประกอบ กิจการหรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณ กำไรสุทธิ(ไม่รวมถึงหนี้ที่ผู้เป็นหรือเคยเป็น กรรมการเป็นลูกหนี้) หนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ และมีหลักฐานโดยชัดแจ้ง ที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้

37 การจำหน่ายหนี้สูญ กฎกระทรวง ฉ. 186 (พ.ศ. 2534)
ลักษณะของหนี้ที่จะจำหน่ายหนี้สูญได้ (ข้อ 3) วิธีการจำหน่ายหนี้สูญ: แบ่งหนี้เป็น 3 ระดับ - หนี้เกินกว่า 500,000 บาท (ข้อ 4) - หนี้ไม่เกิน 500,000 บาท (ข้อ 5) - หนี้ไม่เกิน 100,000 บาท (ข้อ 6) รอบระยะเวลาบัญชีที่ลงรายจ่าย (ข้อ 7)

38 หลักเกณฑ์วิธีการจำหน่ายหนี้สูญ
พิจารณาตามจำนวนหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย หนี้เกิน 500,000 บาท หนี้ไม่เกิน 500,000 บาท หนี้ไม่เกิน 100,000 บาท

39 หนี้ของลูกหนี้แต่ละราย
หนี้ของลูกหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว ต้องเอาหนี้ทุกจำนวนมารวมเป็นจำนวนเดียวกัน (หากเป็นลูกหนี้หลายครั้ง/หลายจำนวน) เพื่อพิจารณาว่า หนี้ของลูกหนี้รายนั้นอยู่ในระดับใด ต้องใช้เกณฑ์ใดในการจำหน่ายหนี้นั้น

40 หนี้เกิน 500,000 บาท มีหลักฐานติดตามทวงถาม ตัดจำหน่ายหนี้สูญ
ลูกหนี้ตาย/สาบสูญ/มีหลักฐานว่าหาย สาบสูญและไม่มีทรัพย์สินใดจะชำระหนี้ มีหลักฐานติดตามทวงถาม ตัดจำหน่ายหนี้สูญ ลูกหนี้เลิกกิจการและมีเจ้าหนี้รายอื่นมี บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ ยื่นฟ้องลูกหนี้ ในคดีแพ่ง/ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ ได้มีคำบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้ ตัดจำหน่ายหนี้สูญ ยื่นฟ้องลูกหนี้ ในคดีล้มละลาย/ยื่นขอรับ ชำระหนี้ ศาลเห็นชอบกับการประนอมหนี้ ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย และ มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว

41 หนี้ไม่เกิน 500,000 บาท มีหลักฐานติดตามทวงถาม ตัดจำหน่ายหนี้สูญ
ลูกหนี้ตาย/สาบสูญ/มีหลักฐานว่าหาย สาบสูญและไม่มีทรัพย์สินใดจะชำระหนี้ มีหลักฐานติดตามทวงถาม ตัดจำหน่ายหนี้สูญ ลูกหนี้เลิกกิจการและมีเจ้าหนี้รายอื่นมี บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ ยื่นฟ้องลูกหนี้ ในคดีแพ่ง/ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ กรรมการบริษัท อนุมัติจำหน่าย หนี้ภายใน 30 วัน นับแต่สิ้นรอบระยะ เวลาบัญชี ที่จำหน่ายหนี้ได้ ศาลมีคำลั่งรับฟ้องคดีกรณีฟ้องเอง ศาลรับคำขอเฉลี่ยหนี้กรณี เจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง ยื่นฟ้องลูกหนี้ ในคดีล้มละลาย/ยื่นขอรับ ชำระหนี้ ศาลมีคำลั่งรับฟ้องกรณีฟ้องเอง ศาลรับคำขอรับชำระหนี้กรณี เจ้าหนี้อื่นฟ้อง

42 หนี้ไม่เกิน 100,000 บาท หนังสือทวงถามให้ลูกหนี้ ชำระหนี้พร้อมไปรษณีย์ตอบรับ อย่างน้อย 2 ครั้ง ตัดจำหน่ายหนี้สูญ หลักฐานความเห็นของ ทนายความว่าถ้าฟ้องค่าใช้จ่ายจะไม่คุ้มมูลค่าหนี้

43 รอบระยะเวลาบัญชีที่ลงรายจ่าย
หนี้ของลูกหนี้ที่ได้ดำเนินวิธีการจำหน่ายหนี้สูญ ครบถ้วนในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้จำหน่ายเป็นหนี้ สูญในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่ กรณีตามข้อ 5(2) และ (3) ให้ถือเป็นรายจ่าย ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้อง

44 VAT กับรายรับ ม. 65 ทวิ (14) ภาษีขายซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับหรือ พึงได้รับ ซึ่งได้รับคืนเนื่องจากการขอคืนไม่ต้อง นำมารวมคำนวณเป็นรายได้

45 รายจ่ายต้องห้าม ม. 65 ตรี (3)
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล เว้นแต่รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้ในส่วนที่ไม่เกินร้อย ละ 2 ของกำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่ อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้อีกในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ

46

47 มาตรา 65 ตรี (4) ค่ารับรองหรือค่าบริการ
ส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทางบัญชีหักได้เป็นรายจ่ายได้ทั้งหมด ทางภาษีอาจหักเป็นรายจ่ายได้ตามเงื่อนไข กรณีเป็นสิ่งของหักได้ไม่เกินคนละ 2,000 บาท ตามกฎกระทรวง(ฉบับที่ 143) พ.ศ. 2522

48

49 รายจ่ายตาม ม. 65 ตรี (5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อ เติมเปลี่ยนแปลงขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม

50 รายจ่ายค่าปรับ ม. 65 ตรี (6)
เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา ภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เดิม ต้องห้ามเฉพาะค่าปรับจาก ป.รัษฎากร

51 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 40/2560
เรื่อง เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากรและค่าปรับอาญาตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลว.9 มี.ค. 2560 เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มและค่าปรับทางอาญา กฎหมายภาษีอากรทุกประเภท ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2559

52 รายจ่ายภาษีซื้อ ม. 65 ตรี (6) ทวิ
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ และภาษีซื้อของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีซื้อของผู้ประกอบการจด ทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีตามมาตรา 82/16 ภาษีซื้อที่ต้องห้าม นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (4) หรือภาษีซื้ออื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62


ดาวน์โหลด ppt การจัดทำงบการเงินและการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google