ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อาจารย์หุดา แม้นมินทร์
2
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีทางอ้อมที่กำหนดให้ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้าและผู้ที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สามารถผลักภาระภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าและ/หรือผู้บริการ โดยเรียกเก็บค่าภาษีมูลค่าเพิ่มนอกจากค่าสินค้าและบริการ
3
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ลักษณะของภาษีมูลค่าเพิ่ม การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษี อัตราภาษี ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษี การปฏิบัติตามกฎระเบียบ
4
1. ลักษณะของภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยแทนภาษีการค้า ตั้งแต่ปี 2535 เพื่อปรับปรุงระบบภาษีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น มุ่งเน้นการผลิตเพื่อส่งออก สอดคล้องกับกฎเกณฑ์สากล และพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงทั่วไปทางการค้า และศุลกากร
5
1. ลักษณะของภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บภาษีแทนระบบภาษีการค้าที่มีปัญหา ลดปัญหาด้านการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน ลดปัญหาด้านความไม่เป็นกลางทางเศรษฐกิจ ลดปัญหารูปแบบการจัดเก็บที่ไม่เอื้อต่อการส่งออก และการลงทุน ลดปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษี
6
1. ลักษณะของภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีทางอ้อมที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ จัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ จำนวนมูลค่าเพิ่มโดยทั่วไปคิดจากความแตกต่างระหว่างมูลค่าการขาย (นำออก) และซื้อ (นำเข้า) ของผู้ประกอบการ
7
ภาษีทางอ้อม ภาษีทางตรง
1. ลักษณะของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีที่ภาระภาษีสามารถถูกผลักไปยังผู้อื่นได้ง่าย ผู้รับภาระภาษีจริง อาจไม่ใช่ผู้ที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ ภาษีทางอ้อม ภาระภาษีตกอยู่แก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ ไม่สามารถผลักภาระภาษีดังกล่าวไปให้ผู้อื่น หรือผลักภาระภาษีนั้นไปให้แก่ผู้อื่นได้ยาก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทางตรง
8
มูลค่าส่วนเพิ่ม (Value added)
คือ มูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการนั้น แผนภาพของมูลค่าเพิ่ม
9
แผนภาพของ VAT : 7%
10
ขอบเขตการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
หลักต้นทาง (หลักการบริโภค) ฐานภาษี คือ รายจ่ายในการบริโภค เช่น ภาษีจากสินค้าที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริโภคของผู้เสียภาษี 2. หลักปลายทาง (หลักสถานที่ ที่บริโภค) หลักการซึ่งจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าซึ่งสะท้อนแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีจากการบริโภค (ปลดเปลื้องภาษีสำหรับสินค้าหรือบริการที่ได้ส่งออก หรือได้ถูกบริโภคนอกประเทศ)
11
สรุปหลักสำคัญของภาษีมูลค่าเพิ่ม
สะสมจากทุกๆขั้นของการบริโภค สมัครใจ (ผู้บริโภคไม่มีหน้าที่ต้องทำการซื้อขาย หรือใช้บริการ) ภาระภาษีมักจะตกกับผู้บริโภคคนสุดท้าย ไม่มีการเก็บภาษีซ้ำซ้อน เอกสารเป็นหลักฐานสำคัญ ป้องกันการเลี่ยงภาษี (สามารถติดตามตรวจสอบได้ดี)
12
บทบาท และความสำคัญ เป็นแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นตัวบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจของประเทศ เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
13
ข้อดี ความมีประสิทธิภาพ: เป็นเครื่องมือใช้ในการควบคุมการบริโภคภายในประเทศและการเติบโตของประชาชาติ ความยุติธรรม: ฐานภาษีจากการบริโภค, อัตราเดียว ภาษีที่จัดเก็บโดยรัฐบาล (เพิ่มความสะดวก) ส่งเสริมการส่งออก สามารถตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีได้ง่าย
14
ข้อเสีย โครงสร้างซับซ้อน
ต้นทุนการจัดการ จัดเก็บ การตรวจสอบ และการประเมินราคาสูง เป็นภาษีที่ผู้มีเงินได้น้อยกว่าต้องจ่ายภาษี (เทียบกับเงินได้) ในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่มีเงินได้มากกว่า
15
เนื้อหาหลักในการเรียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
What อะไร? การกระทำที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม Who ใคร? ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม How much เท่าไหร่? ฐานภาษีและอัตราภาษี When เมื่อใด? ความรับผิดในการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม(Tax Point)
16
2. การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
การกระทำที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (มาตรา77/2 แห่งประมวลรัษฎากร) การขายสินค้าในประเทศไทย (โดยผู้ประกอบการ) การให้บริการในประเทศไทย (โดยผู้ประกอบการ) การนำเข้าสินค้าและบริการ (โดยผู้นำเข้า)
17
การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ
ความหมายของคำว่า “สินค้า”: ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ที่อาจมีราคาและถือเอาได้ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใด ๆ และให้หมายความรวมถึงสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า (มาตรา 77/1(9) ประมวลรัษฎากร)
18
การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ
ตัวอย่างของ “สินค้า” ในวัตถุประสงค์ทางภาษีมูลค่าเพิ่ม Software / Program ที่บันทึกลงในแผ่น CD สิทธิในเวลาออกอากาศ ขายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปา
19
การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ ความหมายของ “การขายสินค้า” :
ความหมายของ “การขายสินค้า” : จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์ หรือค่าตอบแทน หรือไม่ ... (มาตรา 77/1(8) ประมวลรัษฎากร)
20
การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ
ตัวอย่างของ “การขาย” มอบตัวอย่างให้ใช้ฟรี มอบรถยนต์ให้ลูกค้าเป็นรางวัล การแลกเปลี่ยนสินค้า ให้ยืมสินค้าชนิดใช้สิ้นไป โอนกิจการบางส่วน เคลื่อนย้ายสินค้าไปยังสถานที่อื่น
21
การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ
22
ผู้ประกอบการ 1. เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคล 2. ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ 3. ประกอบกิจการในราชอาณาจักร นิติบุคคล หมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล
23
ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
องค์การโทรศัพท์ฯให้บริการโทรศัพท์ และ การไฟฟ้าฯ ขายกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่??? ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะถือเป็นนิติบุคคลที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ
24
นาย แสน ทำงานเป็นลูกจ้างมีรายได้เป็นเงินเดือน มีรถยนต์ที่ซื้อมาใช้ ต่อมาได้ขายรถยนต์ดังกล่าวไป การขายรถยนต์ดังกล่าว ถือเป็นการขายในทางธุรกิจหรือวิชาชีพหรือไม่ ??? การขายรถยนต์ดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ นาย แสน ไม่ใช่ผู้ประกอบการ
25
การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ
ความหมายของ “บริการ”: การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึงการใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการใดๆ (มาตรา 77/1(10) ประมวลรัษฎากร)
26
2. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ
ตัวอย่างของ “บริการ” ในทางภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่าสังหาริมทรัพย์ สัญญารับจ้างผลิต ซ่อมแซม โทรศัพท์
27
2. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ
28
การขายสินค้าหรือการให้บริการนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย
เช่น : ซื้อสินค้านอกประเทศไทยและขายสินค้านั้นนอกประเทศโดยไม่ได้นำเข้าสินค้าดังกล่าวมาในประเทศไทย ติดต่อผู้ให้บริการนอกประเทศทำการโฆษณาในต่างประเทศ
29
3. การนำเข้าโดยผู้นำเข้า
ผู้นำเข้า: ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า (มาตรา 77/1(11) ประมวลรัษฎากร) นำเข้า : นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้า หรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตปลอดอากรโดยมิใช่เพื่อส่งออกด้วย
30
3. การนำเข้าโดยผู้นำเข้า
31
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
32
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการ : หมายถึง บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ (มาตรา 77/1(5) ประมวลรัษฎากร).
33
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการต้องเป็น : 1) บุคคลธรรมดา 2) ห้างหุ้นส่วน 3) หรือ นิติบุคคล (บริษัท, สหกรณ์, องค์การ, ฯลฯ) 4) หรือบุคคลซึ่งขายสินค้า หรือให้บริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพ
34
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้นำเข้า : ผู้ประกอบการ หรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า (มาตรา 77/1(11) ประมวลรัษฎากร) นำเข้า หมายถึง นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้า หรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตปลอดอากรโดยมิใช่เพื่อส่งออกด้วย
35
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บุคคลซึ่งมีการชำระราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการให้กับผู้ประกอบการดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว (2) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร (บริการซึ่งในท้ายที่สุดได้ถูกบริโภค(ใช้)ในประเทศไทย) (มาตรา 83/6 ประมวลรัษฎากร)
36
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
37
3. การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มยกเว้นในกรณีที่ : สินค้าที่มีความจำเป็นต่อคนจำนวนมาก เป็นสวัสดิการทางสังคม ผู้ประกอบการในกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่สามารถเรียกคืนภาษีขาย
38
กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ขายหรือนำเข้าพืชผลทางการเกษตรและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น ปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น ขายหรือนำเข้าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
39
การให้บริการพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง – ภายในและภายนอกประเทศ โดยเป็นการขนส่งทางบก การให้บริการรักษาพยาบาล การให้บริการการศึกษา การให้บริการวิชาชีพเฉพาะ การให้บริการการประกอบโรคศิลป์ และ การสอบบัญชี การว่าความ หรือการประกอบวิชาชีพอิสระอื่น เฉพาะวิชาชีพอิสระที่มีกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพอิสระนั้น การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
40
5. การให้บริการทางสังคม เช่น การจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และสวนสัตว์
การให้บริการพื้นฐานตามสัญญาจ้างแรงงาน การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ และนักแสดงสาธารณะ สินค้าซึ่งได้รับการยกเว้นจากอากรนำเข้า ภายใต้กฎหมายการนิคมอุตสาหกรรม และการนำเข้ามาในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ภายใต้หมวด 4 แห่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร
41
8. การนำเข้าสินค้าซึ่งอยู่ในอารักขาของศุลกากรแล้ว ได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยได้คืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร 9. การให้บริการอื่น เช่น การให้บริการด้านศาสนาและการกุศล การให้บริการของหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
42
4. ฐานภาษี สินค้าและบริการทั่วไป
ฐานภาษีสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ มูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ มูลค่า หมายถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมการบริการ หรือ ผลประโยชน์อื่นใดซึ่งอาจคำนวณเป็นเงินได้
43
4. ฐานภาษี สินค้าและบริการทั่วไป
ฐานภาษีรวมถึงภาษีสรรพสามิตที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกับการจัดหาสินค้าหรือการให้บริการนั้นๆ ฐานภาษี คิดเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น และไม่นำส่วนลดหรือค่าลดหย่อนมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษี
44
สินค้านำเข้า ฐานภาษี =
ราคา C.I.F + บวกอากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายกำหนด ราคา C.I.F (Certified Insurance and Freight) เป็นราคาสินค้ารวมค่าประกันภัยและค่าขนส่งจนถึงท่าเรือผู้ซื้อ
45
สินค้านำเข้า
46
ตัวอย่าง บริษัท Africa เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นำเข้าสินค้ามูลค่า 5,000,000 บาท เสียอากรขาเข้าร้อยละ 5 เสียภาษีสรรพสามิตร้อยละ 2 และค่าธรรมเนียมอื่นๆ 80,000 บาท บริษัท ต้องชำระ vat เท่าใด
47
บริษัท Africa ตัวอย่าง อากรขาเข้า = 5,000,000 x 5% = 250,000
ราคา C I F = 5,000,000 ค่าธรรมเนียมพิเศษอื่นๆ = 80,000 รวมฐานภาษี = 5,430,000 ภาษีที่ต้องชำระจากการนำเข้า 5,430,000 x 7% = 380,100 บาท
48
ฐานภาษี : ราคา F.O.B + ภาษีสรรพสามิตและภาษีหรือ
3. การส่งออกสินค้า ฐานภาษี : ราคา F.O.B + ภาษีสรรพสามิตและภาษีหรือ ค่าธรรมเนียมอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ราคา F.O.B (Free on Board) เป็นราคาสินค้าไม่รวมค่าประกันภัยสินค้าและค่าขนส่ง
49
5. อัตราภาษี อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7
(ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 6.3 บวกกับภาษีท้องถิ่นร้อยละ 0.7 ) 2. ร้อยละ 0 การส่งออกสินค้าออกนอกราชอาณาจักร การนำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร การส่งออกบริการ การขนส่งระหว่างประเทศ การขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการในเขตปลอดภาษีอากร และอื่นๆ
50
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 0 : การส่งออกบริการ
51
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 0 : การส่งสินค้าไปยังเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือ เขตปลอดภาษีอากร
52
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 0 : การขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือ เขตปลอดอากร
53
6. ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
= กรณีที่พึงชำระภาษี สำหรับ 3 กรณี 1. การขายสินค้า 2. การให้บริการ 3. การนำเข้า
54
ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อ โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
1. ขายสินค้า ขายสินค้าทั่วไป ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อ โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ ได้ออกใบกำกับภาษี กรณีอื่น กรณีขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบ กรณีขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขาย กรณีขายสินค้าโดยส่งออก
55
ตัวอย่าง บริษัท มารวย จำกัด ขายรถยนต์แก่นายธาดา ความรับผิด (Tax Point) เกิดขึ้นเมื่อใด
56
แล้วแต่เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนกัน
ตอบ เมื่อโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้นายธาดา หรือ ส่งมอบ หรือ ชำระค่ารถยนต์ หรือ ออกใบกำกับภาษี แล้วแต่เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนกัน
57
ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อ
2. การให้บริการ ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อ ได้ออกใบกำกับภาษี ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น เมื่อได้รับชำระค่าบริการ กรณีอื่น สัญญาบริการที่กำหนดค่าตอบแทนตามส่วน
58
ตัวอย่าง บริษัท ซ่อมด้าย จำกัด รับซ่อมรถยนต์ ความรับผิด (Tax Point) เกิดขึ้นเมื่อใด
59
ตอบ เมื่อชำระค่าซ่อมรถยนต์ หรือ ออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า แล้วแต่เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนกัน
60
ตัวอย่าง บริษัท รับเหมา จำกัด รับเหมาก่อสร้าง ตกลงแบ่งส่วนชำระราคา งานสร้างบ้านออกเป็น 3 งวด งวดที่ 1 เมื่อตอกเสาเข็ม ทำคาน ทำเสาเสร็จ งวดที่ 2 เมื่อทำผนัง ทำหลังคา ทำพื้นเสร็จ งวดที่ 3 เมื่อเดินไฟฟ้า ประปา ทาสี และเก็บความเรียบร้อย ความรับผิด (Tax Point) เกิดขึ้นเมื่อใด
61
ตัวอย่าง บริษัท รับเหมา จำกัด รับเหมาก่อสร้าง ตกลงแบ่งส่วนชำระราคา งานสร้างบ้านออกเป็น 3 งวด งวดที่ 1 เมื่อตอกเสาเข็ม ทำคาน ทำเสาเสร็จ งวดที่ 2 เมื่อทำผนัง ทำหลังคา ทำพื้นเสร็จ งวดที่ 3 เมื่อเดินไฟฟ้า ประปา ทาสี และเก็บความเรียบร้อย ความรับผิด (Tax Point) เกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อชำระราคาแต่ละงวด หรือ เมื่อออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าแล้วแต่ว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อน
62
3. การนำเข้า ความรับผิดเกิดเมื่อ ชำระอากรขาเข้า
3. การนำเข้า ความรับผิดเกิดเมื่อ ชำระอากรขาเข้า วางหลักประกันภาษีศุลกากร หรือ จัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาเข้า กรณีไม่ต้องเสียอากรขาเข้า หรือได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าเข้ามา
63
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีพิเศษ
การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ กระแสไฟฟ้า หรือ การขายสินค้าบางชนิดที่ตามลักษณะของสินค้าไม่อาจกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใด (เมื่อโอนกรรมสิทธิ์หรือออกใบกำกับภาษี) การขายสินค้าหรือการให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ (เมื่อนำเหรียญ ธนบัตร หรือสิ่งอื่นออกจากเครื่องอัตโนมัติ) การขายสินค้าหรือการให้บริการโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิต การขายสินค้าตามสัญญาจะขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8)(ก)
64
7. วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระรายเดือน = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ ภาษีขาย = ผู้ขายหรือผู้ให้บริการเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการโดยผู้ขายหรือผู้ให้บริการ (รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มในการนำเข้า หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งภายใต้มาตรา 83/6)
65
คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ (หรือมีสิทธิได้รับคืน) เดือนละครั้งตามเดือนปฏิทิน
ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิขอคืนเป็นเงินหรือเป็นเครดิตภาษี ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ยื่นแบบ (ภ.พ.30) ยื่นรายการในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
66
ตัวอย่าง คณะวารสารศาสตร์ มธ. Metro System Computer = 20,000 บาท
Vat 7% = 1,400 บาท (ภาษีซื้อ) รวมจ่ายเงิน = 21,400 บาท Computer = 20,000 บาท Vat 7% = 1,400 บาท (ภาษีขาย ) รวมได้รับเงิน 21,400 บาท ภาษีขาย 1,400 บาท
67
ตัวอย่าง บริษัท รีเทล จำกัด เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในเดือนมีนาคม 2552 ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าราคา 8,000 บาท 1) คำนวณภาษีขาย ภาษีขาย = 8,000 x 7% = 560 บาท นอกจากนี้ บริษัท ได้ซื้อสินค้ามาเพื่อขายในเดือน มีนาคม 2552 เป็นจำนวน 20,000 บาท 2) คำนวณภาษีซื้อ ภาษีซื้อ = 20,000 x 7% = 1,400 บาท
68
3) คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = – 1,400 = บาท จากตัวอย่าง กิจการมีสิทธิได้รับคืนภาษี จำนวน 840 บาท
69
ภาษีซื้อต้องห้าม : ไม่มีใบกำกับภาษี มีใบกำกับภาษีแต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ภาษีซื้อไม่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของผู้ประกอบการจดทะเบียน
70
ภาษีซื้อต้องห้าม : ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ (ตามมาตรา 86/6 และ 86/7)
71
ภาษีซื้อต้องห้าม : ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 รายการคำว่า “ใบกำกับภาษี” มิได้ตีพิมพ์ขึ้นไว้หรือมิได้จัดทำจากระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ อื่นๆ
72
ภาษีซื้อที่เกิดจากการส่งพนักงานไปซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ลูกค้าต่างจังหวัดตามสัญญา ซึ่งมีค่าที่พัก ค่าอาหารเครื่องดื่ม ค่าซักรีด ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามหรือไม่ ??? Question Answer >> ไม่ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม << สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายได้
73
ภาษีซื้อที่เกิดจากรางวัลการปฏิบัติงานที่บริษัทจ่ายให้พนักงานเป็นโล่เข็มเชิดชูเกียรติ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามหรือไม่ ??? Question Answer >> เป็นภาษีซื้อต้องห้าม << เนื่องจากไม่เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ
74
8. ใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งและต้องจัดทำทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเกิดขึ้น
75
8. ใบกำกับภาษี กรณีที่ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษี : ขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งพันบาท (86/8) แผงขายหนังสือพิมพ์, แผงขายของ, รถเข็น ทางด่วน ขายน้ำมันเชื้อเพลิง (ปั๊มน้ำมัน)
76
ผู้ขายสินค้าสามารถออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อสินค้า โดยส่งมอบใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อทุกต้นอาทิตย์ หรือทุกต้นเดือนตามความร้องขอขอผู้ซื้อ ได้หรือไม่ ??? >> ไม่ได้ << ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าต้องออกใบกำกับภาษี ให้แก่ผู้ซื้อทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อสินค้า ตามาตรา 86
77
เนื่องจากถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ลูกค้าของบริษัทได้ชำระเงินให้แก่พนักงานของบริษัทแล้ว แต่พนักงานยังไม่ได้นำเงินมาส่งมอบให้บริษัท บริษัทมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีหรือยัง ??? >> มีหน้าที่ต้องจัดทำ<< เนื่องจากถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แล้ว บริษัทจึงมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86
78
ประเภทของใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบกำกับภาษีที่อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจกำหนดให้มีรายการเป็นอย่างอื่น ใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้
79
ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ
คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่เห็นได้เด่นชัด ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายเลขกำกับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับสินค้า ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
80
วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี ชื่อ ที่อยู่ ผู้ซื้อ/ผู้รับบริการ
2 ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำ ตัวผู้เสียภาษี ผู้ออกใบกำกับภาษี 1 คำว่า“ใบกำกับภาษี” 4 7 3 วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี ชื่อ ที่อยู่ ผู้ซื้อ/ผู้รับบริการ 5 หมายเลขลำดับใบกำกับภาษี ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณมูลค่าสินค้าและบริการ 6 มูลค่าสินค้าบริการที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม
83
2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด ชื่อและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายหรือผู้ให้บริการ หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ราคาสินค้าหรือราคาบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่า ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
84
ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและขายให้ลูกค้ารายย่อย เช่น ห้างสรรพสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต ปั๊มน้ำมัน ลูกค้ารายย่อย ร้านอาหาร โรงแรม โรงภาพยนตร์
85
หมายเลขลำดับที่ใบกำกับภาษี
3 1 คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” 2 5 วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี ชื่อ ชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ผู้ออกใบกำกับภาษี 4 ราคาสินค้า ราคาบริการ ข้อความที่ระบุว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณมูลค่าสินค้าและบริการ 6 (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) 7 ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
87
3. ใบเสร็จรับเงินของส่วนราชการ
เช่น ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพามิต ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร
88
4. ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) และใบลดหนี้ (Credit Note)
เพิ่มราคาสินค้าและบริการเกินกว่าข้อกำหนดที่ตกลงกัน การวินิจฉัยผิดนำไปสู่ราคาที่ต่ำกว่าราคาที่แท้จริง ใบลดหนี้ (Credit Note): เพิ่มราคาสินค้าหรือบริการเพราะเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ลดราคาสินค้าและบริการเกินกว่าข้อกำหนดที่ตกลงกัน การวินิจฉัยผิดนำไปสู่ราคาที่สูงกว่าราคาที่แท้จริง
89
วัน เดือน ปีที่ออกใบลดหนี้ ชื่อ ที่อยู่ ผู้ซื้อ/ผู้รับบริการ
ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ผู้ออกใบลดหนี้ 2 1 คำว่า “ใบลดหนี้” 3 4 วัน เดือน ปีที่ออกใบลดหนี้ 5 ชื่อ ที่อยู่ ผู้ซื้อ/ผู้รับบริการ หมายเลขลำดับของใบกำกับเดิมและหมายลำดับเล่ม (ถ้ามี) เหตุผลในการออกใบลดหนี้ 6
90
ตัวอย่าง ใบลดหนี้
91
ตัวอย่าง ใบเพิ่มหนี้
92
9. หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ
การจดทะเบียน จัดทำรายงานเกี่ยวกับภาษีซื้อ และภาษีขาย รายงานสินค้าคงเหลือ เก็บรักษาเอกสาร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.