งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ ดร.ศุภกิจ แย้มประชา

2 วัน เวลาบรรยาย อังคาร ๒๒ พฤษภาคม – ๑ ชั่วโมง ๑๗ ถึง ๑๗.๕๐ น.
อังคาร ๕ มิถุนายน – ๑ ชั่วโมง ๑๗ ถึง ๑๗.๕๐ น. อังคาร ๑๒ มิถุนายน- ๑ ชั่วโมง ๑๗ ถึง ๑๗.๕๐ น. อังคาร ๑๙ มิถุนายน- ๒ ชั่วโมง ๑๗ ถึง ๑๘.๕๐ น. อังคาร ๒๔ กรกฎาคม- ๒ ชั่วโมง ๑๗ ถึง ๑๘.๕๐ น. อังคาร ๓๑ กรกฎาคม- ๒ ชั่วโมง ๑๗ ถึง ๑๘.๕๐ น. อังคาร ๗ สิงหาคม- ๒ ชั่วโมง ๑๗ ถึง ๑๘.๕๐ น. อังคาร ๒๘ สิงหาคม- ๒ ชั่วโมง ๑๗ ถึง ๑๘.๕๐ น. อังคาร ๔ กันยายน- ๒ ชั่วโมง ๑๗ ถึง ๑๘.๕๐ น. รวม ๑๕ ชั่วโมง

3 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๒๐๙ ถึง ๒๑๖ (๘ มาตรา) มาตรา ๒๐๙ อั้งยี่ มาตรา ๒๑๐ ซ่องโจร มาตรา ๒๑๑ บทลงโทษผู้เข้าร่วมประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร มาตรา ๒๑๒ บทลงโทษผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลอั้งยี่หรือซ่องโจร มาตรา ๒๑๓ บทลงโทษสมาชิกหรือพรรคพวกกรณีมีการกระทำผิดสมความมุ่งหมายอั้งยี่หรือซ่องโจร มาตรา ๒๑๔ ประพฤติตนเป็นปกติธุระจัดหาที่พัก ที่ประชุมให้ผู้กระทำผิดในภาค ๒ มาตรา ๒๑๕ มั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง มาตรา ๒๑๖ ไม่เลิกมั่วสุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก

4 ๓.ประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร มาตรา ๒๑๑
มาตรา ๒๑๑ ผู้ใดประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร ผู้นั้นกระทําความผิดฐานเป็น อั้งยี่หรือซ่องโจร เว้นแต่ผู้นั้นจะแสดงได้ว่า ได้ประชุมโดยไม่รู้ว่าเป็นการประชุมของอั้งยี่หรือซ่องโจร องค์ประกอบภายนอกคือการประชุม ต้องมีเจตนาคือรู้ว่าเป็นการประชุม (แต่อาจไม่รู้ว่าเป็นการประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร) ไปงานวันเกิดเพื่อน ไม่ทราบว่ามีการประชุม ไม่ผิด ผู้ประชุมสามารถพิสูจน์หักล้างได้ว่าประชุมโดยไม่รู้ว่าเป็นการประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร ถ้าพิสูจน์ได้ก็ไม่มีความผิด ถ้าไม่หักล้างก็ต้องรับผิด ท่านอาจารย์จิตติเห็นว่าเป็นกรณีรับผิดโดยไม่ต้องมีเจตนา เป็นการผลักภาระการพิสูจน์ให้จำเลย อัยการสืบแค่ว่าเข้าร่วมประชุมโดยน่าจะรู้ว่าเป็นการประชุมเท่านั้น

5 ๔. บทลงโทษผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลอั้งยี่หรือซ่องโจร มาตรา ๒๑๒
มาตรา ๒๑๒ ผู้ใด (๑) จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่อั้งยี่หรือซ่องโจร  (๒) ชักชวนบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร  (๓) อุปการะอั้งยี่หรือซ่องโจรโดยให้ทรัพย์ หรือโดยประการอื่น หรือ (๔) ช่วยจำหน่ายทรัพย์ที่อั้งยี่หรือซ่องโจรได้มาโดยการกระทำความผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจรแล้วแต่กรณี  ข้อสังเกต (๑) เพียงจัดหาก็เป็นความผิดสำเร็จ ยังไม่ต้องประชุมหรือพำนัก (๒) ผู้ชักชวนไม่ต้องเป็นสมาชิกหรือพรรคพวก และความผิดสำเร็จเมื่อเข้าเป็นสมาชิกหรือพรรคพวก (๓) อุปการะ เช่น ให้เงินสนับสนุน ให้ข่าว (๔) ช่วยจำหน่ายทรัพย์หลังอั้งยี่ซ่องโจรเลิกไปแล้วก็ผิด

6 ๕. บทลงโทษสมาชิกหรือพรรคพวกกรณีมีการกระทำผิดสมความ มุ่งหมายอั้งยี่หรือซ่องโจร มาตรา ๒๑๓
มาตรา ๒๑๓ ถ้าสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรคนหนึ่งคนใดได้กระทำความผิดตามความมุ่งหมายของอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น สมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรที่อยู่ด้วยในขณะกระทำความผิด หรืออยู่ด้วยในที่ประชุมแต่ไม่ได้คัดค้านในการตกลงให้กระทำความผิดนั้น และบรรดาหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นทุกคน  ข้อสังเกต ผู้จะผิดมาตรานี้ต้องเป็นสมาชิกหรือพรรคพวก จึงไม่รวมกรณีมาตรา ๒๑๒ มาตรานี้เป็นกรณีที่คนหนึ่งคนใด (ไม่ใช่ทั้งหมด) ไปกระทำผิดตามความมุ่งหมายของอังยี่หรือซ่องโจรนั้น ผลทางกฎหมายทำให้มีบุคคลสองกลุ่มต้องรับผิด โดยเป็นกรณีต้องรับผิดเนื่องจากการกระทำของบุคคลอื่น (vicarious liability) กลุ่มแรกคือ สมาชิกหรือพรรคพวก ที่อยู่ด้วยในขณะกระทำความผิด หรือ ที่อยู่ด้วยในที่ประชุมแต่ไม่ได้คัดค้าน อยู่ด้วยในขณะกระทำความผิด ไม่จำต้องอยู่ด้วยในฐานะที่เป็น “ตัวการ” ตามมาตรา ๘๓ และน่าจะรวมถึงการบังเอิญอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย (เช่นจำวันกระทำความผิดตามที่นัดหมายไม่ได้) กลุ่มที่สอง คือ หัวหน้า ผู้จัดการ ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในอั้งยี่หรือซ่องโจร โดยกลุ่มนี้ไม่จำต้องอยู่ด้วยในขณะกระทำผิดหรือในที่ประชุม กรณีกระทำผิดนอกความมุ่งหมาย จะนำมาตรานี้มาปรับใช้ไม่ได้ ตัวอย่าง ห้าคนสมคบไปปล้นทรัพย์ วันปล้นคนหนึ่งไปไม่ได้ อีกคนหนึ่งไปแล้วกลับใจไม่ปล้น สามคนที่เหลือปล้นจนสำเร็จ คนที่ไม่ไปกับคนที่กลับใจมีความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วย

7 ฎีกาที่น่าสนใจ ๔๕๔๘/๒๕๔๐ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ กับพวกรวม ๖ คน ร่วมกันวางแผนไปกระทำการปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ ๒ อันเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค ๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญาจึงมีความผิดฐานเป็นซ่องโจร และเมื่อจำเลยที่ ๔ กับพวกไปปล้นร้านทองของผู้เสียหายที่ ๒ ตามแผนที่ร่วมกันวางไว้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ผู้ร่วมงานแผนย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการปล้นร้านทองร่วมกับจำเลยที่ ๔ กับพวกด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๓ และความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานปล้นทรัพย์เกี่ยวเนื่องกันเพราะพวกจำเลยกระทำผิดฐานเป็นซ่องโจรเพื่อจะไปปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานปล้นทรัพย์อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

8 ๖.ประพฤติตนเป็นปกติธุระจัดหาที่พัก ที่ประชุมให้ผู้กระทำผิดในภาค ๒ มาตรา ๒๑๔
มาตรา ๒๑๔ ผู้ใดประพฤติตนเป็นปกติธุระเป็นผู้จัดหาที่พำนัก ที่ซ่อนเร้นหรือที่ประชุมให้บุคคลซึ่งตนรู้ว่าเป็นผู้กระทำความผิดที่บัญญัติไว้ในภาค ๒ นี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมืนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดนั้น เป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดา มารดา บุตร สามีหรือภริยาของผู้กระทำ ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้  ข้อสังเกต เป็นปกติธุระหมายถึงกระทำสม่ำเสมอ มากกว่าหนึ่งครั้ง ต้องทำให้แก่บุคคลผู้กระทำผิดในภาค ๒ ไม่รวมภาค ๓ และความผิดอื่นที่มีโทษอาญา มาตรานี้เป็นการช่วยเหลือหลังการกระทำผิด ส่วนการช่วยเหลือก่อนการกระทำผิดเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา ๘๖ อยู่แล้ว ต่างจากมาตรา ๑๘๙ ทีทำครั้งเดียวก็ผิดและต้องมีเจตนาพิเศษ คือเพื่อไม่ให้ต้องโทษ วรรคสองเป็นดุลพินิจศาลที่จะไม่ลงโทษก็ได้

9 ๗. มั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง มาตรา ๒๑๕
มาตรา ๒๑๕ ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ บรรดาผู้ที่กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ข้อสังเกต มั่วสุม คือการเข้ามารวมกัน โดยไม่จำต้องรู้จักกันหรือมีการนัดหมายวางแผนกันมาก่อน โดยอาจมาทีละคนจนครบสิบคน การกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายในบ้านเมือง ต้องเป็นการกระทำด้วยความประสงค์รวมกัน แต่ ไม่จำต้องมีเจตนากระทำผิดในรายละเอียดอย่างเดียวกัน (๓๔๖/๒๕๓๕, ๕๕๗๓/๒๕๕๔)

10 ข้อสังเกตมาตรา ๒๑๕ (ต่อ) ใช้กำลังประทุษร้าย มีนิยามในมาตรา ๑ (๖) หมายความว่าทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใดๆซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน การวุ่นวายในบ้านเมือง คือ ทำให้เสียความสงบของประชาชน และหมายถึงคนที่มั่วสุมนั้นวุ่นวายกันเอง โดยวุ่นวายหรือไม่ต้องถือความเห็นของคนธรรมดาทั่วไป การเดินขบวนคัดค้าน โดยปกติไม่ถือเป็นการวุ่นวาย เว้นแต่มีการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น ขว้างปาทำลายสิ่งของ ทุบรถยนต์ เผาบ้าน (๒๐๓๘-๒๐๔๑/๒๕๒๗, ๒๓๘๗/๒๕๓๖) วรรคสองและวรรคสามเป็นเหตุฉกรรจ์ที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น วรรคสองเป็นกรณีคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ วรรคสาม คือกรณีผู้เป็นหัวหน้า หรือผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำผิดนั้น

11 ฎีกาที่น่าสนใจ ๓๔๖/๒๕๓๕ การมั่วสุมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๕ ผู้มั่วสุมไม่จำต้องมีเจตนากระทำผิดในรายละเอียดอย่างเดียวกัน เพียงแต่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองก็เป็นความผิดแล้ว และผู้ที่มามั่วสุมก็ไม่จำต้องรู้จักหรือมีการนัดหมายวางแผนกันมาก่อน ๕๕๗๓/๒๕๕๔ การที่ชาวบ้านร่วมชุมนุมและเดินขบวนกันเพราะไม่พอใจที่ทางราชการมีมติให้จัดตั้งกิ่งอำเภอนาทมในที่อื่น ที่ไม่ใช่ตำบลนาทมโดยมีชาวบ้านร่วมกันกว่า ๒๐๐ คน ไม่ปรากฏว่ามีการร่วมกันวางแผนหรือคบคิดกระทำการในสิ่งผิดกฎหมาย ไม่มีผู้ใดมีอาวุธ จึงต้องถือว่าเป็นการชุมนุมที่เริ่มต้นด้วยความสงบปราศจากอาวุธ อันเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนโดยชอบที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับให้การรับรองตลอดมา การกระทำความผิดมาเกิดขึ้นในภายหลัง ต้องถือว่าเป็นเจตนาของผู้กระทำความผิดของแต่ละคนแต่ละกลุ่มจะถือเอาเป็นเจตนาร่วมของผู้เข้าชุมนุมทุกคนไม่ได้ ลำพังแต่จำเลยเป็นผู้ร่วมอยู่ในกลุ่มชาวบ้าน ๒ กลุ่ม ที่มีคนร้ายบางคนกระทำความผิดก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง หรือพฤติการณ์อันใดที่แสดงการขัดขวางมิให้ ศ. กับพวกนำรถดับเพลิงเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุเผาสะพาน ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับคนร้าย ตาม ป.อ. มาตรา ๘๓ กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๗ และที่ ๙ มีเสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้

12 ฎีกาที่น่าสนใจ ๒๐๓๘-๒๐๔๑/๒๕๒๗ ป. และ จ. จำเลยทั้งสองเป็นผู้มีส่วนริเริ่มชักชวนนักศึกษา นักเรียน และประชาชนให้มาชุมนุมกัน ณ สนามหน้าเมืองที่เกิดเหตุมาแต่ต้นและร่วมกล่าวโจมตีขับไล่ผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนมีส่วนในการจัดตั้งหน่วยฟันเฟืองขึ้นจากผู้มาร่วมชุมนุม จนคนเหล่านี้รวมตัวกันเป็นจำนวนหลายพันคน ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และขว้างปาและวางเพลิงเผาจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองตลอดจนนักศึกษา นักเรียน และประชาชนดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรอีกสถานหนึ่งด้วย ๒๓๘๗/๒๕๓๖ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำและสั่งการในการนัดหยุดงานของลูกจ้างประมาณ 30 คน การนัดหยุดงานดังกล่าวมิได้เป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ แต่เพื่อต่อรองบีบบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงาน เมื่อปรากฏว่า มีการปะทะและทำร้ายซึ่งกันและกันระหว่างลูกจ้างที่นัดหยุดงานและลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานมีการปิดประตูทางเข้าออกโรงงานเพื่อมิให้ลูกจ้างส่วนหนึ่งที่ประสงค์จะเข้าทำงานเข้าออกได้ มีการขว้างปาวัตถุก้อนหินก้อนอิฐเข้าไปในโรงงาน เหตุเกิดริมถนนสาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง

13 ๘. ไม่เลิกมั่วสุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก มาตรา ๒๑๖
มาตรา ๒๑๖  เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา ๒๑๕ ให้เลิกไป ผู้ใดไม่เลิก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อสังเกต มาตรานี้มุ่งลงโทษผู้ขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกมั่วสุมเพื่อกระทำผิดตามมาตรา ๒๑๕ ดังนั้น ถ้าเป็นการชุมนุมโดยสงบ ไม่ได้มั่วสุมเพื่อใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง แม้เจ้าพนักงานสั่งให้เลิกชุมนุม แต่ไม่เลิก ก็ไม่ผิดมาตรานี้ (๓๐๕/๒๕๔๗) เป็นกรณีที่ผู้มั่วสุมต้องมีเจตนาพิเศษที่จะกระทำการตามมาตรา ๒๑๕ เพียงแต่ยังไม่ได้กระทำการ ถ้ากระทำการนั้นๆสำเร็จแล้ว เจ้าพนักงานจึงมาสั่งให้เลิก ก็ผิดมาตรา ๒๑๕ ไม่ผิดมาตรา ๒๑๖ (๓๔๖/๒๕๓๕, ๕๘๘๙/๒๕๕๔) กรณีมั่วสุมโดยมีเจตนาพิเศษ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิกก็ผิดมาตรา ๒๑๖ หากกระทำต่อไปจนสำเร็จก็ผิดทั้งมาตรา ๒๑๕ และ ๒๑๖ ด้วยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท (๑๙๐๓/๒๕๓๒, ๑๙๗๔/๒๕๓๒)

14 ฎีกาที่น่าสนใจ ๓๐๕/๒๕๔๗ องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๖ ผู้มั่วสุมต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา ๒๑๕ โดยการมั่วสุมยังไม่ถึงขั้นลงมือกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรา ๒๑๕ แต่หากต่อมาผู้นั้นกระทำการดังที่มาตรา ๒๑๕ บัญญัติไว้ต่อไป ก็จะมีความผิดทั้งตามมาตรา ๒๑๕ และมาตรา ๒๑๖ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ กับพวกรวมกัน ๑๐ คน ชุมนุมปราศรัยด้วยความสงบ ไม่มีพฤติการณ์ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองแสดงว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ กับพวกมิได้มั่วสุมโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา ๒๑๕ การกระทำของจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๒๑๕ แม้เจ้าพนักงานสั่งให้เลิกการมั่วสุมแล้วไม่เลิก จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ก็ไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๑๖ ๓๔๖/๒๕๓๕ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๖ มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา ๒๑๕ อันเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดการวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา ๒๑๕ เมื่อเจ้าพนักงานได้สั่งให้จำเลยกับพวกเลิกการมั่วสุมภายหลังที่มีการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๕ แล้ว แม้จำเลยทุกคนไม่เลิกการกระทำของจำเลยทุกคนก็คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๑๕ เท่านั้นไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๒๑๖ ด้วย

15 ฎีกาที่น่าสนใจ ๕๘๘๙/๒๕๕๔ จำเลยที่ ๑ ร่วมอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงตั้งแต่สิบคนขึ้นไปและเป็นผู้จุดไฟเผาทรัพย์สินของผู้อื่นอันเป็นการเข้าร่วมมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปและกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๑๕ วรรคสอง ๒๑๗ และ ๓๕๘ ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจได้ประกาศผ่านเครื่องกระจายเสียงว่าไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกระทำผิดกฎหมายซึ่งเป็นการสั่งให้เลิกมั่วสุมในการก่อเหตุวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองภายหลังจากที่จำเลยที่ ๑ ได้มั่วสุมและกระทำการก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองแล้ว จำเลยที่ ๑ จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๑๖ ที่มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นความผิดสำเร็จตามมาตรา ๒๑๕ การวางเพลิงเผาทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ๑๙๐๓/๒๕๓๒ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๖ มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา ๒๑๕ ซึ่งเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา ๒๑๕ ดังนั้น มาตรา ๒๑๖ จึงเป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่งหากเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกแล้ว แต่ผู้กระทำไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงานและได้กระทำการต่อไปเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา ๒๑๕ ผู้กระทำก็ย่อมมีความผิดทั้งตามมาตรา ๒๑๕ และมาตรา ๒๑๖ อันเป็นกรรมเดียวกัน

16 ฎีกาที่น่าสนใจ ๕๕๕๓-๕๕๕๔/๒๕๕๖ จำเลยที่ ๒ กับพวกได้รวมกลุ่มคัดค้านด้วยความสงบโดยปราศจากอาวุธและมิได้ใช้กำลังประทุษร้ายใด ๆ ได้พยายามที่จะขจัดความเดือดร้อนด้วยการยื่นข้อเรียกร้องในทางรัฐบาลและผู้เสียหายลงไปแก้ปัญหาแล้ว โดยข้อเรียกร้องดังกล่าวก็สมเหตุสมผลและเป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีอยู่จริง แต่ไม่เป็นผลและไม่เคยได้รับคำตอบจากรัฐบาลจำเลยและผู้เสียหาย ทั้งตามพฤติการณ์ในขณะนั้นก็ไม่มีวิธีการอื่นใดเลยที่จำเลยทั้งสองกับพวกจะพึงกระทำได้โดยชอบเพราะการสร้างเขื่อนขวางกั้นแม่น้ำและระเบิดหินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยตรงกำลังดำเนินอยู่อย่างชัดแจ้ง หากกระทำไปแล้วย่อมยากแก่การแก้ไขให้กลับสู่สภาพเดิมได้ จึงถือเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การกระทำของจำเลยที่ ๒ และพวกแม้เป็นการมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานบอกให้เลิกไม่ยอมเลิกตาม ป.อ. มาตรา ๒๑๕, ๒๑๖ และร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา ๓๖๒, ๓๖๕ ก็เป็นการกระทำด้วยความจำเป็นที่ต้องรวมกลุ่มกันและเข้ายึดพื้นที่ที่มีการสร้างเขื่อน จึงจะสามารถระงับยับยั้งภยันตรายดังกล่าวได้ และการกระทำของจำเลยที่ ๒ กับพวกปราศจากอาวุธและมิได้ใช้ความรุนแรงใด ๆ ก็เป็นการพอสมควรแก่เหตุ จำเลยที่ ๒ จึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา ๖๗

17 หัวข้อบรรยายครั้งที่ ๓
เริ่มลักษณะ ๖ ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายแก่ประชาชน มาตรา ๒๑๗ ถึง ๒๒๕ (๙ มาตรา) วางเพลิงเผาทรัพย์/ ก่อให้เกิดระเบิด/ ก่อให้เกิดเพลิงไหม้


ดาวน์โหลด ppt ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google